ตาก- ถกตั้งมหาวิทยาลัยนานาชาติแม่สอดฉลุย “นายกเล็กแม่สอด-นายอำเภอ”หนุนเต็มสูบ หวังพัฒนาศักยภาพทางการศึกษา-เศรษฐกิจ-สังคม-การเมือง และความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจตามกรอบความร่วมมือกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในอนาคต
นายเทอดเกียรติ ชินสรนันท์ นายกเทศมนตรีเมืองแม่สอด เทศบาลเมืองแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก เปิดเผยถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนานาชาติ ที่ อำเภอแม่สอด ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำลังศึกษา-สำรวจและวิจัย ที่มีการประชุมร่วมระหว่างคณะคณาจารย์ ม.ธรรมศาสตร์-นายกิตติศักดิ์ โตมรศักดิ์ นายอำเภอแม่สอด และผู้บริหารเทศบาลเมืองแม่สอด ที่ห้องประชุมทับทิม เทศบาลเมืองแม่สอด เมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่า ผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 50 คน ต่างมีความเห็นและแนวคิดเห็นควรจัดตั้งมหาวิทยาลัยนานาชาติที่แม่สอด
ในขณะที่เขาเองในฐานะผู้นำท้องถิ่นพร้อมจะเป็นศูนย์กลางในการดำเนินการช่วยเหลือ เพื่อให้เกิดโครงการดังกล่าวอย่างเต็มที่ ทั้งการหาสถานที่ก่อสร้าง การเข้าร่วมทำบันทึกข้อตกลงร่วม MOU เพื่อพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่น เพราะจะเป็นคุณประโยชน์อย่างมหาศาลแก่ลูกหลานในอนาคต นอกจากนี้มหาวิทยาลัยนานาชาติยังเป็นการรองรับการยกฐานะแม่สอด เป็นเขตปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษและเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนอีกด้วย
นายกิตติศักดิ์ โตมรศักดิ์ นายอำเภอแม่สอด กล่าวว่า การจัดตั้งมหาวิทยาลัยนานาชาติที่แม่สอด ถือว่า เป็นเรื่องที่ ม.ธรรมศาสตร์ เดินมาถูกทางแล้ว เพราะแม่สอดเป็นพื้นที่ชายแดนลักษณะพิเศษที่มีศักยภาพสูงในทางเศรษฐกิจ มีมูลค่าการส่งออกสินค้าผ่านแดนจากการสำรวจล่าสุดปีละ 17,000-20,000 ล้านบาท แม้ว่าเศรษฐกิจในประเทศและของโลกจะถดถอยลดลง แต่แม่สอดกลับไม่ได้รับผลกระทบ เป็นเมืองแห่งเดียวในประเทศที่ไม่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจเลย
นายอำเภอแม่สอด ย้ำว่า เขาเห็นสมควรและสนับสนุนโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนานาชาติ ที่อ. แม่สอด โดยพื้นที่ก่อสร้างน่าจะอยู่บริเวณเส้นทาง ระหว่างต.แม่ปะเชื่อมกับ ต.แม่กาษา อ.แม่สอด เพราะเป็นยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมที่สุด
“มหาวิทยาลัยนานาชาติแม่สอด จะเป็นสถาบันการศึกษานานาชาติ ที่สร้างคุณค่ามหาศาลทางการศึกษา ให้แก่นักศึกษาและเยาวชนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ในกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคไทย-พม่า-ลาว-กัมพูชา-เวียดนามและจีน และโครงการพัฒนาความร่วมมือในกลุ่มอนุภูมิภาค ที่จะเป็นสะพานเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างไทย-พม่า และประเทศในกลุ่มเส้นทางสายเศรษฐกิจ East-West Economic Corridor และทำให้เกิดความสงบ สันติสุข โดยมีการศึกษานำ” นายอำเภอแม่สอด กล่าว
ดร.เดชา ตั้งสีฟ้า อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ประสานงานโครงการวิจัย กล่าวว่า มหาวิทยาลัยนานาชาติ ณ อำเภอแม่สอด อยู่ในขั้นตอนของการวิจัยถึงความเป็นไปได้ แต่เท่าที่ได้ประชุมร่วมกับนายอำเภอแม่สอด-ผู้บริหารท้องถิ่น-สื่อมวลชน-และผู้เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ ค่อนข้างมีความคิดเห็นไปในทิศทางที่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว จึงมีความเป็นไปได้ในการจัดตั้งให้เกิดเป็นรูปธรรมต่อไป เนื่องจากนายกเทศมนตรีเมืองแม่สอด และนายอำเภอแม่สอด ในฐานะผู้นำในพื้นที่มีความเห็นพ้องและสนับสนุนโครงการวิจัยเพื่อให้เกิดความเป็นไปได้อย่างเต็มที่
รายงานข่าวแจ้งว่า จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นของคณะวิจัยศึกษา พบว่า มีนักเรียน-นักศึกษา ไร้รัฐ-ไร้สัญชาติ-ไร้สถานะ-และพลัดถิ่น ที่ต้องการเข้าสู่ระบบการศึกษามากกว่า 10,000 คนต่อปี ในพื้นที่ 5 อำเภอชายแดนไทย-พม่า (อ.แม่สอด-พบพระ-แม่ระมาด-อุ้มผาง และ อ.ท่าสองยาง)ซึ่งไม่รวมนักเรียนไทยในพื้นที่ที่จะสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยม 6 ปีละเกือบ 1,300 คน มหาวิทยาลัยนานาชาติ ที่ อ.แม่สอด จึงเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่จะเปิดในรูปแบบของการศึกษาไร้พรมแดน
นายเทอดเกียรติ ชินสรนันท์ นายกเทศมนตรีเมืองแม่สอด เทศบาลเมืองแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก เปิดเผยถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนานาชาติ ที่ อำเภอแม่สอด ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำลังศึกษา-สำรวจและวิจัย ที่มีการประชุมร่วมระหว่างคณะคณาจารย์ ม.ธรรมศาสตร์-นายกิตติศักดิ์ โตมรศักดิ์ นายอำเภอแม่สอด และผู้บริหารเทศบาลเมืองแม่สอด ที่ห้องประชุมทับทิม เทศบาลเมืองแม่สอด เมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่า ผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 50 คน ต่างมีความเห็นและแนวคิดเห็นควรจัดตั้งมหาวิทยาลัยนานาชาติที่แม่สอด
ในขณะที่เขาเองในฐานะผู้นำท้องถิ่นพร้อมจะเป็นศูนย์กลางในการดำเนินการช่วยเหลือ เพื่อให้เกิดโครงการดังกล่าวอย่างเต็มที่ ทั้งการหาสถานที่ก่อสร้าง การเข้าร่วมทำบันทึกข้อตกลงร่วม MOU เพื่อพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่น เพราะจะเป็นคุณประโยชน์อย่างมหาศาลแก่ลูกหลานในอนาคต นอกจากนี้มหาวิทยาลัยนานาชาติยังเป็นการรองรับการยกฐานะแม่สอด เป็นเขตปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษและเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนอีกด้วย
นายกิตติศักดิ์ โตมรศักดิ์ นายอำเภอแม่สอด กล่าวว่า การจัดตั้งมหาวิทยาลัยนานาชาติที่แม่สอด ถือว่า เป็นเรื่องที่ ม.ธรรมศาสตร์ เดินมาถูกทางแล้ว เพราะแม่สอดเป็นพื้นที่ชายแดนลักษณะพิเศษที่มีศักยภาพสูงในทางเศรษฐกิจ มีมูลค่าการส่งออกสินค้าผ่านแดนจากการสำรวจล่าสุดปีละ 17,000-20,000 ล้านบาท แม้ว่าเศรษฐกิจในประเทศและของโลกจะถดถอยลดลง แต่แม่สอดกลับไม่ได้รับผลกระทบ เป็นเมืองแห่งเดียวในประเทศที่ไม่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจเลย
นายอำเภอแม่สอด ย้ำว่า เขาเห็นสมควรและสนับสนุนโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนานาชาติ ที่อ. แม่สอด โดยพื้นที่ก่อสร้างน่าจะอยู่บริเวณเส้นทาง ระหว่างต.แม่ปะเชื่อมกับ ต.แม่กาษา อ.แม่สอด เพราะเป็นยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมที่สุด
“มหาวิทยาลัยนานาชาติแม่สอด จะเป็นสถาบันการศึกษานานาชาติ ที่สร้างคุณค่ามหาศาลทางการศึกษา ให้แก่นักศึกษาและเยาวชนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ในกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคไทย-พม่า-ลาว-กัมพูชา-เวียดนามและจีน และโครงการพัฒนาความร่วมมือในกลุ่มอนุภูมิภาค ที่จะเป็นสะพานเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างไทย-พม่า และประเทศในกลุ่มเส้นทางสายเศรษฐกิจ East-West Economic Corridor และทำให้เกิดความสงบ สันติสุข โดยมีการศึกษานำ” นายอำเภอแม่สอด กล่าว
ดร.เดชา ตั้งสีฟ้า อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ประสานงานโครงการวิจัย กล่าวว่า มหาวิทยาลัยนานาชาติ ณ อำเภอแม่สอด อยู่ในขั้นตอนของการวิจัยถึงความเป็นไปได้ แต่เท่าที่ได้ประชุมร่วมกับนายอำเภอแม่สอด-ผู้บริหารท้องถิ่น-สื่อมวลชน-และผู้เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ ค่อนข้างมีความคิดเห็นไปในทิศทางที่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว จึงมีความเป็นไปได้ในการจัดตั้งให้เกิดเป็นรูปธรรมต่อไป เนื่องจากนายกเทศมนตรีเมืองแม่สอด และนายอำเภอแม่สอด ในฐานะผู้นำในพื้นที่มีความเห็นพ้องและสนับสนุนโครงการวิจัยเพื่อให้เกิดความเป็นไปได้อย่างเต็มที่
รายงานข่าวแจ้งว่า จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นของคณะวิจัยศึกษา พบว่า มีนักเรียน-นักศึกษา ไร้รัฐ-ไร้สัญชาติ-ไร้สถานะ-และพลัดถิ่น ที่ต้องการเข้าสู่ระบบการศึกษามากกว่า 10,000 คนต่อปี ในพื้นที่ 5 อำเภอชายแดนไทย-พม่า (อ.แม่สอด-พบพระ-แม่ระมาด-อุ้มผาง และ อ.ท่าสองยาง)ซึ่งไม่รวมนักเรียนไทยในพื้นที่ที่จะสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยม 6 ปีละเกือบ 1,300 คน มหาวิทยาลัยนานาชาติ ที่ อ.แม่สอด จึงเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่จะเปิดในรูปแบบของการศึกษาไร้พรมแดน