ASTVผู้จัดการรายวัน – "วิสิฐ" ตาสว่าง นัดขอเข้าชี้แจง ป.ป.ท. "ธาริต" ยอมรับยังไม่ส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. เผยบอร์ด กบข.อาจพ้นผิดอาญาเพราะไม่เจตนาทำผิด แต่กรณีให้อนุกรรมการฯ ตัดสินใจลงทุนเองยังต้องเคลียร์ข้อกฎหมาย "พีระพันธุ์" สั่งสอบเชิงลึกหาเจ้าหน้าที่ใช้ข้อมูลวงในเก็งกำไรหุ้น รมว.คลังแนะ กบข.ร่วมมือ ก.ล.ต.ฟื้นฟูภายในองค์กร เน้นธรรมาภิบาล เรียกความเชื่อมั่นวงการ ส่วนประธานบอร์ด กบข.โล่งเจ้าตัวลาออกเองไม่ต้องเสียเวลาสอบ ประชุมด่วน 8 มิ.ย.สางปัญหาพร้อมลุยสรรหา เลขาฯ คนใหม่
วานนี้ (3 มิ.ย.)ที่กระทรวงยุติธรรม นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม เป็นประธานการประชุมสรุปผลตรวจสอบการบริหารขาดทุนของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ร่วมกับนายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และทีมงานชุดเฉพาะกิจ โดยใช้เวลาในการประชุมตรวจสอบเอกสารหลักฐานทั้งหมดนานกว่า 2 ชั่วโมง
นายธาริต แถลงผลการประชุมว่า รมว.ยุติธรรมได้ สั่งให้ป.ป.ท.ตรวจสอบเชิงลึกในหลายประเด็น เช่น เรื่องการซื้อหุ้นยานภัณฑ์ ที่มีการตัดสินใจเข้าซื้อเป็นมูลค่า 200 ล้านบาท แบบไม่ปกติ โดยผู้มีอำนาจตัดสินใจซื้อไปก่อน จากนั้นจึงกลับมาลงสัตยาบัน จึงอาจมีลักษณะเอื้อประโยชน์ต่อบุคคลใดบ้าง ส่วนเรื่องบอร์ด กบข. ตามกฎหมายกำหนดให้หน้าที่หรืออำนาจในการตัดสินใจลงทุนเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการที่มีผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง เป็นผู้ตัดสินใจลงทุน แต่บอร์ดก็ไปมอบอำนาจให้คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนแทนในวงเงินไม่เกิน 200 ล้านบาท กลายเป็นการบริหารจัดการไม่ตรงตามกฎหมาย
"นายวิสิฐก็เป็นประธานในคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าว ดังนั้นจึงต้องเชิญบอร์ดมาชี้แจงว่า ทำไมจึงมอบอำนาจให้อนุกรรมการฯ หากการดำเนินพบว่า ไม่มีเจตนาที่จะทุจริตก็ไม่จำเป็นต้องรับผิดทางอาญาเพราะการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายนั้นไม่จำเป็นต้องมีโทษทางอาญาเสมอไป แต่ให้ดูที่เจตนา"
นายธาริตกล่าวว่า ตามกฎหมาย กบข. ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท กำหนดว่า ถ้ากบข.จะลงทุนต้องออกกฎกระทรวงว่าจะลงทุนอย่างไร การที่กฎหมายกำหนดเช่นนี้เพราะวางหลักเกณฑ์ที่ต้องการให้คณะรัฐมนตรีร่วมพิจารณาการลงทุนในภาพรวม กบข.เสนอออกกฎกระทรวงเพื่อวางหลักเกณฑ์การลงทุนครั้งแรกในปี 2546 ซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย แต่ในปี 2547,2550 และ2551 ได้มีการอ้างถึงสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศ แต่กฎเกณฑ์ของการลงทุนกลับระบุว่าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของประกาศคณะกรรมการ กบข.ซึ่งก็ชัดเจนว่าไม่เป็นไปตามกฎหมาย
สำหรับการดำเนินการภายหลังออกกฎกระทรวงโดยไม่ชอบผู้ออกกฎจะมีความผิดหรือไม่ ก็ต้องพิจารณาว่าขณะนั้นใครเป็นบอร์ดบ้าง ส่วนผลของการใช้จะเป็นโมฆะหรือไม่ก็ต้องพิจารณาอีกครั้ง แต่ตนเห็นว่าเมื่อกฎกระทรวงออกโดยไม่ชอบ ผลที่ตามมาก็ต้องผิดด้วย ส่วนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดในเรื่องดังกล่าวจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม มีทั้งระดับ บอร์ด ผู้ปฎิบัติการและผู้ริหารที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการลงทุน ประมาณ 7 คน
“ที่ผ่านมา ปปท.ไม่ได้รับการตอบสนองในการขอข้อมูลใดๆทั้งสิ้น ดังนั้นในอนาคตจึงเป็นเรื่องที่ดีที่ นายวิสิฐ พร้อมจะเข้ามาชี้แจง เพราะการตรวจสอบเบื้องต้นยังมีประเด็นที่ยังมีความไม่ชัดเจนอยู่หลายประเด็นหากนายวิสิฐ ชี้แจงได้จะทำให้ประเด็นนั้นๆชัดเจน คลายข้อสงสัยได้ โดยวันนี้ นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาฯกบข. ได้ทำหนังสือมายัง ป.ป.ท.ขอเข้าชี้แจง ดังนั้น ที่ประชุมวันนี้ จึงจะยังไม่ส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. โดยจะรอให้นายวิสิฐเข้าชี้แจงในอีกหลายประเด็นที่สงสัย รวมทั้งจะมีหนังสือเชิญไปยังบอร์ดกบข.ทั้งหมด ซึ่งขอความอนุเคราะห์ให้ความร่วมมือมาชี้แจงเพื่อตอบข้อสงสัยบางประเด็นที่ยังไม่ชัดเจน ”นายธาริต กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่ามีหลักฐานอะไรที่ระบุถึงการนำข้อมูลภายในไปใช้ในการซื้อหุ้น นายธาริต กล่าวว่า ปปท.จะประสานไปยังกลต.เพื่อตรวจสอบข้อมูลเชิงลึก อย่างไรก็ตามหากผลสอบสรุปว่ามีเจ้าหน้าที่ไม่ว่าระดับใดเข้าไปเกี่ยวข้อง จะแยกส่วนในการดำเนินการโดยพิจารณาทางวินัยหากต้นสังกัดไม่ดำเนินการ ปปท.จะส่งข้อมูลเพื่อชี้มูลความผิดไปให้ ส่วนการดำเนินคดีทางอาญา ปปท.จะส่งให้อัยการพิจารณาและหากพบว่าเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปเกี่ยวข้องมีความร่ำรวยผิดปกติจะเข้าไปตรวจสอบด้วยตาม พรบ.มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า กรณีกบข. หากเป็นความผิดของข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง ป.ป.ท.จะสรุปผลการตรวจสอบส่งให้ป.ป.ช. หากเกี่ยวพันถึงข้าราชการที่ต่ำกว่าระดับ 8 จะรอจนกว่าจะมีบอร์ดป.ป.ท.ขึ้นมาพิจารณาดำเนินการ อย่างไรก็ตาม ตนได้สั่งการให้ป.ป.ท.ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม เนื่องจากมีเหตุต้องสงสัยว่า เจ้าหน้าที่กบข.หลายระดับใช้ข้อมูลที่ได้จากการทำงาน ซื้อขายหุ้นผิดหลักเกณฑ์ธรรมาภิบาลของกบข. มีการออกกฎกระทรวงเรื่องการลงทุนซึ่งไม่น่าทำได้ และมีผลกระทบกับการลงทุนหลายเรื่อง
"กรณ์" สั่งดึง ก.ล.ต.เรียกความเชื่อมั่น
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า การแต่งตั้งเลขาธิการ กบข. คนใหม่นั้น ขณะนี้อยู่ในกระบวนการสรรหา คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายใน 1 - 2 เดือน ส่วนกรณีที่นายวิสิฐได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการ กบข.ไปแล้วว่า ยังต้องรับโทษทางวินัย ส่วนบทลงโทษเป็นอย่างไรนั้น ขณะนี้คณะกรรมการตรวจสอบทางวินัยอยู่ระหว่างการพิจารณาบทลงโทษที่เหมาะสม ซึ่งจะต้องนำกลับมาเสนอภายใน 30 วัน
"การบริหารจัดการองค์กรภายในของ กบข. นั้นได้มอบนโยบายให้คณะกรรมการ กบข.ไปทบทวนขั้นตอนการกำกับดูแลภายในโดยเห็นว่า ควรขอความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เข้ามาเปรียบเทียบระบบกำกับดูแลภายในและเรื่องของธรรมาภิบาลให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับบริษัทที่มีธุรกรรมคล้ายคลึงกับ กบข. และให้มีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อเรียกความเชื่อมั่นของสมาชิก กบข." นายกรณ์กล่าว
นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รักษาการปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะรักษาการประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า ได้รับหนังสือแจ้งลาออกของนายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการ กบข.แล้วเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยเนื้อหาในหนังสือแจ้งลาออก นายวิสิฐได้ยืนยันว่าไม่มีเจตนาที่จะกระทำผิดขั้นตอนหรือผิดระเบียบ แต่เพื่อแสดงความรับผิดชอบจึงประสงค์จะลาออก
การลาออกถือเป็นอำนาจการพิจารณาของคณะกรรมการ กบข. จึงจะต้องเรียกประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเรื่องนี้โดยเร็วที่สุด โดยในวันดังกล่าวจะพิจารณาแต่งตั้งรักษาการเลขาธิการ กบข. พร้อมไปกันด้วย สำหรับกระบวนการสรรหาเลขาธิการคนใหม่นั้นอยู่ระหว่างการพิจารณาอยู่แล้ว เนื่องจากนายวิสิฐจะครบวาระดำรงตำแหน่งเลขาธิการในเดือน ส.ค.นี้ ดังนั้นกระบวนการสรรหาได้เริ่มไปบ้างแล้ว คาดน่าจะสรรหาเลขาธิการคนใหม่ได้ในเวลาใกล้เคียงหรือล่าช้ากว่าเทอมที่กำหนดไว้เล็กน้อย
"แม้ว่าจะขาดเลขาธิการ กบข.ในช่วงเวลานี้แต่จะไม่กระทบกับการลงทุนของ กบข. เพราะมีคณะกรรมการทำหน้าที่ดูแลการลงทุนโดยเฉพาะและเป็นการดำเนินงานตามกรอบเกณฑ์ลงทุนตามปกติของกฎหมาย” นายวิสุทธิ์กล่าว
นัดประชุมบอร์ดด่วน 8 มิ.ย.
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ในฐานะบอร์ด กบข. กล่าวว่า ได้รับแจ้งการประชุมบอร์ดกบข.เพื่อพิจารณาการลาออกของนายวิสิฐเป็นวันที่ 8 มิ.ย. จากเดิมที่กำหนดไว้ว่าจะประชุมในวันที่ 4 ส.ค.นี้ โดยการลาออกดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดเนื่องจากตามหลักการการลาออกของเลขาธิการ กบข.ต้องมีระยะเวลากำหนดไว้ว่าอย่างน้อยกี่วัน แต่ที่ทราบเบื้องต้นการลาออกครั้งนี้ยังไม่เข้าเกณฑ์ของการยื่นลาออกล่วงหน้า ดังนั้นในวันที่ 8 ส.ค.จะหารือในประเด็นนี้ว่าจะอนุมัติการลาออกโดยมีข้อยกเว้นหรือไม่ หรือจะยังไม่อนุมติเพราะนายวิสิฐยังอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบการกระทำผิด แต่แม้ว่าผลการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบจะมีผลอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามผลการตรวจสอบ
ส่วนกระบวนการสรรหาคนใหม่อาจจะหารือพร้อมกันทีเดียวในวันที่ 8 มิ.ย. เนื่องจากในภาวะเศรษฐกิจผันผวนเช่นนี้ กบข.ที่มีเงินออมและเงินลงทุนจำนวนมหาศาลจำเป็นต้องมีเลขาธิการเพื่อดูแลกำกับทิศทางในการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง แต่ในส่วนของคณะกรรมการเองก็จะทำหน้าที่ตามปกติ และไม่ทราบว่าขณะนี้มีการทาบทามบุคคลใดมาดำรงตำแหน่งเลขากบข.คนใหม่แล้วหรือไม่ ส่วนกรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ระบุบอร์ดมีส่วนผิดพลาดในการบริหารงานของ กบข.ด้วยนั้น เรื่องดังกล่าวคงตอบไม่ได้เนื่องจากเพิ่งเข้ามารับตำแหน่งบอร์ด
เปิดโผ 4 แคนดิเดต เลขาฯกบข.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังนายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กบข. ได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการ กบข. เพื่อแสดงสปิริต พร้อมกับยืนยันว่าไม่ได้มีเจตนาหาผลประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ใน กบข. ล่าสุด ได้สำรวจรายชื่อแคนดิเดทเลขาธิการ กบข.คนใหม่ 4 คนประกอบด้วย คนแรกนางดัยนา บุนนาค กรรมการผู้จัดการ บริษัทไทยสมุทรประกันชีวิต อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ด้านการลงทุนและการจัดการลงทุนมาค่อนข้างยาวนาน คนที่ 2 นายพิสิฐ ลี้อาธรรม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัททีทีแอนด์ที และอดีตผู้บริหารธนาคารกรุงเทพ
คนที่ 3 นายพนิช วิกิตเศรษฐ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตรองผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร สมัยนายอภิรัษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าการ กรุงเทพฯ และคนที่ 4.นายธวัช อังสุวรังษี อดีตกรรมการผู้จัดการ บลจ.บัวหลวง ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนเช่นเดียวกัน.
วานนี้ (3 มิ.ย.)ที่กระทรวงยุติธรรม นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม เป็นประธานการประชุมสรุปผลตรวจสอบการบริหารขาดทุนของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ร่วมกับนายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และทีมงานชุดเฉพาะกิจ โดยใช้เวลาในการประชุมตรวจสอบเอกสารหลักฐานทั้งหมดนานกว่า 2 ชั่วโมง
นายธาริต แถลงผลการประชุมว่า รมว.ยุติธรรมได้ สั่งให้ป.ป.ท.ตรวจสอบเชิงลึกในหลายประเด็น เช่น เรื่องการซื้อหุ้นยานภัณฑ์ ที่มีการตัดสินใจเข้าซื้อเป็นมูลค่า 200 ล้านบาท แบบไม่ปกติ โดยผู้มีอำนาจตัดสินใจซื้อไปก่อน จากนั้นจึงกลับมาลงสัตยาบัน จึงอาจมีลักษณะเอื้อประโยชน์ต่อบุคคลใดบ้าง ส่วนเรื่องบอร์ด กบข. ตามกฎหมายกำหนดให้หน้าที่หรืออำนาจในการตัดสินใจลงทุนเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการที่มีผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง เป็นผู้ตัดสินใจลงทุน แต่บอร์ดก็ไปมอบอำนาจให้คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนแทนในวงเงินไม่เกิน 200 ล้านบาท กลายเป็นการบริหารจัดการไม่ตรงตามกฎหมาย
"นายวิสิฐก็เป็นประธานในคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าว ดังนั้นจึงต้องเชิญบอร์ดมาชี้แจงว่า ทำไมจึงมอบอำนาจให้อนุกรรมการฯ หากการดำเนินพบว่า ไม่มีเจตนาที่จะทุจริตก็ไม่จำเป็นต้องรับผิดทางอาญาเพราะการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายนั้นไม่จำเป็นต้องมีโทษทางอาญาเสมอไป แต่ให้ดูที่เจตนา"
นายธาริตกล่าวว่า ตามกฎหมาย กบข. ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท กำหนดว่า ถ้ากบข.จะลงทุนต้องออกกฎกระทรวงว่าจะลงทุนอย่างไร การที่กฎหมายกำหนดเช่นนี้เพราะวางหลักเกณฑ์ที่ต้องการให้คณะรัฐมนตรีร่วมพิจารณาการลงทุนในภาพรวม กบข.เสนอออกกฎกระทรวงเพื่อวางหลักเกณฑ์การลงทุนครั้งแรกในปี 2546 ซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย แต่ในปี 2547,2550 และ2551 ได้มีการอ้างถึงสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศ แต่กฎเกณฑ์ของการลงทุนกลับระบุว่าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของประกาศคณะกรรมการ กบข.ซึ่งก็ชัดเจนว่าไม่เป็นไปตามกฎหมาย
สำหรับการดำเนินการภายหลังออกกฎกระทรวงโดยไม่ชอบผู้ออกกฎจะมีความผิดหรือไม่ ก็ต้องพิจารณาว่าขณะนั้นใครเป็นบอร์ดบ้าง ส่วนผลของการใช้จะเป็นโมฆะหรือไม่ก็ต้องพิจารณาอีกครั้ง แต่ตนเห็นว่าเมื่อกฎกระทรวงออกโดยไม่ชอบ ผลที่ตามมาก็ต้องผิดด้วย ส่วนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดในเรื่องดังกล่าวจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม มีทั้งระดับ บอร์ด ผู้ปฎิบัติการและผู้ริหารที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการลงทุน ประมาณ 7 คน
“ที่ผ่านมา ปปท.ไม่ได้รับการตอบสนองในการขอข้อมูลใดๆทั้งสิ้น ดังนั้นในอนาคตจึงเป็นเรื่องที่ดีที่ นายวิสิฐ พร้อมจะเข้ามาชี้แจง เพราะการตรวจสอบเบื้องต้นยังมีประเด็นที่ยังมีความไม่ชัดเจนอยู่หลายประเด็นหากนายวิสิฐ ชี้แจงได้จะทำให้ประเด็นนั้นๆชัดเจน คลายข้อสงสัยได้ โดยวันนี้ นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาฯกบข. ได้ทำหนังสือมายัง ป.ป.ท.ขอเข้าชี้แจง ดังนั้น ที่ประชุมวันนี้ จึงจะยังไม่ส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. โดยจะรอให้นายวิสิฐเข้าชี้แจงในอีกหลายประเด็นที่สงสัย รวมทั้งจะมีหนังสือเชิญไปยังบอร์ดกบข.ทั้งหมด ซึ่งขอความอนุเคราะห์ให้ความร่วมมือมาชี้แจงเพื่อตอบข้อสงสัยบางประเด็นที่ยังไม่ชัดเจน ”นายธาริต กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่ามีหลักฐานอะไรที่ระบุถึงการนำข้อมูลภายในไปใช้ในการซื้อหุ้น นายธาริต กล่าวว่า ปปท.จะประสานไปยังกลต.เพื่อตรวจสอบข้อมูลเชิงลึก อย่างไรก็ตามหากผลสอบสรุปว่ามีเจ้าหน้าที่ไม่ว่าระดับใดเข้าไปเกี่ยวข้อง จะแยกส่วนในการดำเนินการโดยพิจารณาทางวินัยหากต้นสังกัดไม่ดำเนินการ ปปท.จะส่งข้อมูลเพื่อชี้มูลความผิดไปให้ ส่วนการดำเนินคดีทางอาญา ปปท.จะส่งให้อัยการพิจารณาและหากพบว่าเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปเกี่ยวข้องมีความร่ำรวยผิดปกติจะเข้าไปตรวจสอบด้วยตาม พรบ.มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า กรณีกบข. หากเป็นความผิดของข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง ป.ป.ท.จะสรุปผลการตรวจสอบส่งให้ป.ป.ช. หากเกี่ยวพันถึงข้าราชการที่ต่ำกว่าระดับ 8 จะรอจนกว่าจะมีบอร์ดป.ป.ท.ขึ้นมาพิจารณาดำเนินการ อย่างไรก็ตาม ตนได้สั่งการให้ป.ป.ท.ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม เนื่องจากมีเหตุต้องสงสัยว่า เจ้าหน้าที่กบข.หลายระดับใช้ข้อมูลที่ได้จากการทำงาน ซื้อขายหุ้นผิดหลักเกณฑ์ธรรมาภิบาลของกบข. มีการออกกฎกระทรวงเรื่องการลงทุนซึ่งไม่น่าทำได้ และมีผลกระทบกับการลงทุนหลายเรื่อง
"กรณ์" สั่งดึง ก.ล.ต.เรียกความเชื่อมั่น
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า การแต่งตั้งเลขาธิการ กบข. คนใหม่นั้น ขณะนี้อยู่ในกระบวนการสรรหา คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายใน 1 - 2 เดือน ส่วนกรณีที่นายวิสิฐได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการ กบข.ไปแล้วว่า ยังต้องรับโทษทางวินัย ส่วนบทลงโทษเป็นอย่างไรนั้น ขณะนี้คณะกรรมการตรวจสอบทางวินัยอยู่ระหว่างการพิจารณาบทลงโทษที่เหมาะสม ซึ่งจะต้องนำกลับมาเสนอภายใน 30 วัน
"การบริหารจัดการองค์กรภายในของ กบข. นั้นได้มอบนโยบายให้คณะกรรมการ กบข.ไปทบทวนขั้นตอนการกำกับดูแลภายในโดยเห็นว่า ควรขอความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เข้ามาเปรียบเทียบระบบกำกับดูแลภายในและเรื่องของธรรมาภิบาลให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับบริษัทที่มีธุรกรรมคล้ายคลึงกับ กบข. และให้มีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อเรียกความเชื่อมั่นของสมาชิก กบข." นายกรณ์กล่าว
นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รักษาการปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะรักษาการประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า ได้รับหนังสือแจ้งลาออกของนายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการ กบข.แล้วเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยเนื้อหาในหนังสือแจ้งลาออก นายวิสิฐได้ยืนยันว่าไม่มีเจตนาที่จะกระทำผิดขั้นตอนหรือผิดระเบียบ แต่เพื่อแสดงความรับผิดชอบจึงประสงค์จะลาออก
การลาออกถือเป็นอำนาจการพิจารณาของคณะกรรมการ กบข. จึงจะต้องเรียกประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเรื่องนี้โดยเร็วที่สุด โดยในวันดังกล่าวจะพิจารณาแต่งตั้งรักษาการเลขาธิการ กบข. พร้อมไปกันด้วย สำหรับกระบวนการสรรหาเลขาธิการคนใหม่นั้นอยู่ระหว่างการพิจารณาอยู่แล้ว เนื่องจากนายวิสิฐจะครบวาระดำรงตำแหน่งเลขาธิการในเดือน ส.ค.นี้ ดังนั้นกระบวนการสรรหาได้เริ่มไปบ้างแล้ว คาดน่าจะสรรหาเลขาธิการคนใหม่ได้ในเวลาใกล้เคียงหรือล่าช้ากว่าเทอมที่กำหนดไว้เล็กน้อย
"แม้ว่าจะขาดเลขาธิการ กบข.ในช่วงเวลานี้แต่จะไม่กระทบกับการลงทุนของ กบข. เพราะมีคณะกรรมการทำหน้าที่ดูแลการลงทุนโดยเฉพาะและเป็นการดำเนินงานตามกรอบเกณฑ์ลงทุนตามปกติของกฎหมาย” นายวิสุทธิ์กล่าว
นัดประชุมบอร์ดด่วน 8 มิ.ย.
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ในฐานะบอร์ด กบข. กล่าวว่า ได้รับแจ้งการประชุมบอร์ดกบข.เพื่อพิจารณาการลาออกของนายวิสิฐเป็นวันที่ 8 มิ.ย. จากเดิมที่กำหนดไว้ว่าจะประชุมในวันที่ 4 ส.ค.นี้ โดยการลาออกดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดเนื่องจากตามหลักการการลาออกของเลขาธิการ กบข.ต้องมีระยะเวลากำหนดไว้ว่าอย่างน้อยกี่วัน แต่ที่ทราบเบื้องต้นการลาออกครั้งนี้ยังไม่เข้าเกณฑ์ของการยื่นลาออกล่วงหน้า ดังนั้นในวันที่ 8 ส.ค.จะหารือในประเด็นนี้ว่าจะอนุมัติการลาออกโดยมีข้อยกเว้นหรือไม่ หรือจะยังไม่อนุมติเพราะนายวิสิฐยังอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบการกระทำผิด แต่แม้ว่าผลการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบจะมีผลอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามผลการตรวจสอบ
ส่วนกระบวนการสรรหาคนใหม่อาจจะหารือพร้อมกันทีเดียวในวันที่ 8 มิ.ย. เนื่องจากในภาวะเศรษฐกิจผันผวนเช่นนี้ กบข.ที่มีเงินออมและเงินลงทุนจำนวนมหาศาลจำเป็นต้องมีเลขาธิการเพื่อดูแลกำกับทิศทางในการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง แต่ในส่วนของคณะกรรมการเองก็จะทำหน้าที่ตามปกติ และไม่ทราบว่าขณะนี้มีการทาบทามบุคคลใดมาดำรงตำแหน่งเลขากบข.คนใหม่แล้วหรือไม่ ส่วนกรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ระบุบอร์ดมีส่วนผิดพลาดในการบริหารงานของ กบข.ด้วยนั้น เรื่องดังกล่าวคงตอบไม่ได้เนื่องจากเพิ่งเข้ามารับตำแหน่งบอร์ด
เปิดโผ 4 แคนดิเดต เลขาฯกบข.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังนายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กบข. ได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการ กบข. เพื่อแสดงสปิริต พร้อมกับยืนยันว่าไม่ได้มีเจตนาหาผลประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ใน กบข. ล่าสุด ได้สำรวจรายชื่อแคนดิเดทเลขาธิการ กบข.คนใหม่ 4 คนประกอบด้วย คนแรกนางดัยนา บุนนาค กรรมการผู้จัดการ บริษัทไทยสมุทรประกันชีวิต อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ด้านการลงทุนและการจัดการลงทุนมาค่อนข้างยาวนาน คนที่ 2 นายพิสิฐ ลี้อาธรรม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัททีทีแอนด์ที และอดีตผู้บริหารธนาคารกรุงเทพ
คนที่ 3 นายพนิช วิกิตเศรษฐ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตรองผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร สมัยนายอภิรัษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าการ กรุงเทพฯ และคนที่ 4.นายธวัช อังสุวรังษี อดีตกรรมการผู้จัดการ บลจ.บัวหลวง ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนเช่นเดียวกัน.