xs
xsm
sm
md
lg

เครือข่ายเหล้าพื้นบ้านเล็งฟ้องศาลปกครอง จี้รัฐรื้อเกณฑ์ภาษี-อ้างขัด รธน.เอื้อทุนใหญ่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ผู้ผลิตสุราพื้นบ้านแห่งประเทศไทย เข้ายื่นหนังสือผ่านนายสุเมธ แสงนิ่มนวล ผู้ว่าฯเชียงราย และนายนิรุทธิ์ งามศิริ  สรรพสามิตเขตพื้นที่ จ.เชียงราย เพื่อให้แยกฐานภาษีสุรากลั่นกับสุราขาว เมื่อวันที่ 2 เมษายน ที่ผ่านมา
เชียงราย – กลุ่มผู้ผลิตเหล้าพื้นบ้านเล็งยื่นฟ้องศาลปกครอง เตรียมดึงนักวิชาการ – นักกฎหมายหารือร่วมกำหนดแนวทางร่างคำฟ้องก่อนยื่น ชี้รัฐวางกรอบจัดเก็บภาษีสุราขัดรัฐธรรมนูญ ไม่หนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น แถมใช้เป็นข้ออ้างเอื้อประโยชน์นายทุนใหญ่

รายงานข่าวจาก จ.เชียงราย แจ้งว่า จากกรณีที่กลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายสุรากลั่นพื้นบ้านจากเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตสุราพื้นบ้านแห่งประเทศไทยจำนวนประมาณ 100 คน ได้ยื่นหนังสือผ่านนายสุเมธ แสงนิ่มนวล ผู้ว่าราชการ จังหวัดเชียงราย และนายนิรุทธิ์ งามศิริ สรรพสามิตเขตพื้นที่ จ.เชียงราย เมื่อ 2 เมษายน ที่ผ่านมา เพื่อขอให้แยกฐานภาษีสุรากลั่นพื้นบ้านที่ผลิตโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน กับสุราขาวของโรงงานใหญ่ออกจากกัน โดยระบุว่าทำให้เหล้าพื้นบ้านเสียเปรียบและไม่ได้รับการสนับสนุนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ทั้งยังถูกใช้เป็นข้ออ้างในการลดหย่อนภาษีเพื่อประโยชน์ของเอกชนรายใหญ่ด้วยนั้น

ปรากฏว่า ภายหลังยื่นหนังสือ กลับไม่มีการตอบรับใดๆจากภาครัฐ จึงทำให้กลุ่มชาวบ้านเริ่มศึกษาข้อกฎหมายเพื่อเตรียมฟ้องรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่อศาลปกครอง ฐานละเมิดกฎหมายรัฐธรรมนูญและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ด้วย

นายชวลิต หอประเสริฐวงศ์ นักวิชาการของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ผู้ผลิตสุราพื้นบ้านแห่งประเทศไทย เปิดเผย "ASTVผู้จัดการ" ว่า ปัจจุบันเครือข่ายฯอยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลว่า กรณีการออกกฎหมายเกี่ยวกับฐานภาษีสุราของรัฐบาล จะสามารถฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลางหรือที่ศาลปกครองสูงสุดดี โดยกำลังศึกษาว่ากฎหมายออกโดยพระราชกฤษฎีกา มติคณะรัฐมนตรี กฎกระทรวง ฯลฯ ซึ่งในเร็วๆ นี้ จะมีการเชิญคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไปจัดสัมมนาในพื้นที่ รวมทั้งปรึกษาทีมกฎหมาย เพื่อจัดทำเป็นคำฟ้องร้อง พร้อมๆกับการขอให้ศาลปกครองได้มีคำสั่งแยกฐานภาษีสุราพื้นบ้านกับสุราขาวของโรงงานใหญ่ไปพร้อมๆ กันเลย คาดว่าจะได้ข้อสรุปของการฟ้องร้องภายในเดือนมิถุนายน 2552

นายชวลิต กล่าวว่า โดยเบื้องต้นแนวทางที่จะยื่นฟ้องก็คือ ปัจจุบันรัฐได้ควบรวมสุราพื้นบ้านกับสุราขาวของโรงงานใหญ่เอาไว้ในกฎหมายเดียวกันเรียกว่า "สุรากลั่นชุมชน"โดยตั้งแต่ปี 2543-2546 จัดเก็บภาษีที่ 100 บาทต่อลิตรแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ต่อมาปี 2546 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ลดภาษีเหลือ 70 บาทโดยอ้างว่าเพื่อช่วยเหลือภูมิปัญญาชาวบ้าน ทั้งๆ ที่ไม่ได้ช่วยทำให้สุราพื้นบ้านได้ประโยชน์ เพราะพวกเรายังไงก็มีต้นทุนสูงเพราะผลิตกันน้อย ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นประเภทใช้กำลังผลิตไม่เกิน 5 แรงม้า 7 แรงคน แตกต่างจากโรงงานใหญ่ที่กำลังผลิตมหาศาล รวมทั้งสุราพื้นบ้านมีสัดส่วนของการผลิตออกมาเพียง 8% เท่านั้น ที่เหลือ 98% เป็นของโรงงานใหญ่ จึงสรุปได้ว่าข้ออ้างว่าช่วยชาวบ้านนั้นแท้ที่จริงโรงงานใหญ่กลับได้ประโยชน์
เหล้าพื้นบ้าน ที่ผลิตจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ใกล้ล่มสลายจากภาษีที่เพิ่มขึ้น
เชียงราย – กลุ่มผู้ผลิตเหล้าพื้นบ้านเล็งยื่นฟ้องศาลปกครอง เตรียมดึงนักวิชาการ – นักกฎหมายหารือร่วมกำหนดแนวทางร่างคำฟ้องก่อนยื่น ชี้รัฐวางกรอบจัดเก็บภาษีสุราขัดรัฐธรรมนูญ ไม่หนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น แถมใช้เป็นข้ออ้างเอื้อประโยชน์นายทุนใหญ่

รายงานข่าวจาก จ.เชียงราย แจ้งว่า จากกรณีที่กลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายสุรากลั่นพื้นบ้านจากเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตสุราพื้นบ้านแห่งประเทศไทยจำนวนประมาณ 100 คน ได้ยื่นหนังสือผ่านนายสุเมธ แสงนิ่มนวล ผู้ว่าราชการ จังหวัดเชียงราย และนายนิรุทธิ์ งามศิริ สรรพสามิตเขตพื้นที่ จ.เชียงราย เมื่อ 2 เมษายน ที่ผ่านมา เพื่อขอให้แยกฐานภาษีสุรากลั่นพื้นบ้านที่ผลิตโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน กับสุราขาวของโรงงานใหญ่ออกจากกัน โดยระบุว่าทำให้เหล้าพื้นบ้านเสียเปรียบและไม่ได้รับการสนับสนุนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ทั้งยังถูกใช้เป็นข้ออ้างในการลดหย่อนภาษีเพื่อประโยชน์ของเอกชนรายใหญ่ด้วยนั้น

ปรากฏว่า ภายหลังยื่นหนังสือ กลับไม่มีการตอบรับใดๆจากภาครัฐ จึงทำให้กลุ่มชาวบ้านเริ่มศึกษาข้อกฎหมายเพื่อเตรียมฟ้องรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่อศาลปกครอง ฐานละเมิดกฎหมายรัฐธรรมนูญและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ด้วย

นายชวลิต หอประเสริฐวงศ์ นักวิชาการของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ผู้ผลิตสุราพื้นบ้านแห่งประเทศไทย เปิดเผย "ASTVผู้จัดการ" ว่า ปัจจุบันเครือข่ายฯอยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลว่า กรณีการออกกฎหมายเกี่ยวกับฐานภาษีสุราของรัฐบาล จะสามารถฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลางหรือที่ศาลปกครองสูงสุดดี โดยกำลังศึกษาว่ากฎหมายออกโดยพระราชกฤษฎีกา มติคณะรัฐมนตรี กฎกระทรวง ฯลฯ ซึ่งในเร็วๆ นี้ จะมีการเชิญคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไปจัดสัมมนาในพื้นที่ รวมทั้งปรึกษาทีมกฎหมาย เพื่อจัดทำเป็นคำฟ้องร้อง พร้อมๆกับการขอให้ศาลปกครองได้มีคำสั่งแยกฐานภาษีสุราพื้นบ้านกับสุราขาวของโรงงานใหญ่ไปพร้อมๆ กันเลย คาดว่าจะได้ข้อสรุปของการฟ้องร้องภายในเดือนมิถุนายน 2552

นายชวลิต กล่าวว่า โดยเบื้องต้นแนวทางที่จะยื่นฟ้องก็คือ ปัจจุบันรัฐได้ควบรวมสุราพื้นบ้านกับสุราขาวของโรงงานใหญ่เอาไว้ในกฎหมายเดียวกันเรียกว่า "สุรากลั่นชุมชน"โดยตั้งแต่ปี 2543-2546 จัดเก็บภาษีที่ 100 บาทต่อลิตรแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ต่อมาปี 2546 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ลดภาษีเหลือ 70 บาทโดยอ้างว่าเพื่อช่วยเหลือภูมิปัญญาชาวบ้าน ทั้งๆ ที่ไม่ได้ช่วยทำให้สุราพื้นบ้านได้ประโยชน์ เพราะพวกเรายังไงก็มีต้นทุนสูงเพราะผลิตกันน้อย ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นประเภทใช้กำลังผลิตไม่เกิน 5 แรงม้า 7 แรงคน แตกต่างจากโรงงานใหญ่ที่กำลังผลิตมหาศาล รวมทั้งสุราพื้นบ้านมีสัดส่วนของการผลิตออกมาเพียง 8% เท่านั้น ที่เหลือ 98% เป็นของโรงงานใหญ่ จึงสรุปได้ว่าข้ออ้างว่าช่วยชาวบ้านนั้นแท้ที่จริงโรงงานใหญ่กลับได้ประโยชน์

พวกเราสงสัยว่า ข้ออ้างในการขึ้นภาษีว่าเพื่อช่วยภูมิปัญญาชาวบ้าน ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 84 (6) ที่ระบุว่า "ให้ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม คุ้มครอง ส่งเสริมและขยายโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย เพื่อใช้ในการผลิตสินค้า บริการ และการประกอบอาชีพ" หรือไม่ เพราะสุราขาวของโรงงานใหญ่ใช้กากน้ำตาลหรือโมลาส ซึ่งทำให้ต้นทุนต่ำ ข ณะที่ภูมิปัญญาที่แท้จริงคือสุราพื้นบ้านของชาวบ้าน เพราะมีการสืบทอดกันมานานตั้งแต่บรรพบุรุษ มีสูตรสมุนไพรในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันออกไป
กำลังโหลดความคิดเห็น