ASTVผู้จัดการรายวัน -ผ้าพื้นเมืองเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมที่บ่งบอกถึง ความเจริญรุ่งเรื่องทางศิลปวัฒนธรรมของชนชาตินั้นๆ และความสวยปราณีต ที่เป็นรูปแบบเฉพาะตัวของผ้าทอพื้นเมืองชาวเขาเผ่าต่างๆ ในพื้นที่ภาคเหนือของไทยเป็นที่มาขอผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายผ้าพื้นเมือง ของ “บริษัท ฝ้ายเอื้องคำ จำกัด”
สำหรับผลิตภัณฑ์ของฝ้ายเอื้องคำประกอบด้วย เสื้อผ้า หมวก กระเป๋า โดยผ้าที่ใช้หลักจะเป็นผ้าฝ้าย และสร้างลวดลายด้วยการนำผ้าชาวเขามาตกแต่งเกิดเป็นผลิตภัณฑ์จากผ้าพื้นเมืองต่างๆ สร้างจุดขายในสไตล์ล้านนา เจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ต้องการของฝากที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นเมืองเชียงใหม่
นางเอื้องคำ จิตตาวงศ์ เจ้าของผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายเอื้องคำ เล่าว่า เริ่มทำธุรกิจนี้ จากการตัดเย็บผ้าอยู่หน้าบ้าน และวันหนึ่งลูกค้ามาสั่งตัดเย็บเสื้อผ้า เพื่อนำไปขายต่ออีกที่หนึ่ง จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการรับจ้างผลิตในรูปแบบของโรงงานตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา มียอดการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นมาเรื่อย
หลังจากนั้นค่อยพัฒนาสร้างแบบของตัวเอง ด้วยการนำผ้าพื้นเมืองของชาวเขามาตกแต่งลวดลายบนหมวก กระเป๋า เสื้อผ้า ฯ โดยเปิดร้านเพื่อเป็นแหล่งโชว์สินค้า ชื่อร้านวโรรส อยู่ในตอกเล่า
โจ้ว บนถนนท่าแพ แหล่งช็อปปิ้งผ้าพื้นเมืองของนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผลตอบรับออกมาค่อนข้างดี โดยเฉพาะลูกค้าจากต่างประเทศ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาสู่ตลาดส่งออกเป็นช่องทางขายหลัก โดยปัจจุบันยอดขายเกือบทั้งหมดถึง 90% เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งลูกค้าหลักมาจากประเทศญี่ปุ่น
“ในส่วนของตลาดต่างประเทศนั้น จะมีเทรดเดอร์มารับไปทำตลาดต่ออีกทอดหนึ่งไม่ได้ติดต่อกับลูกค้าโดยตรง เพราะต้องการลดขั้นตอน และประกอบกับเรายังไม่มีความรู้เรื่องของภาษาและขั้นตอนในการทำตลาดส่งออก เนื่องจากที่ผ่านมาเราเป็นผู้ผลิตมาตลอด จึงต้องอาศัยเทรดเดอร์เข้ามาทำช่วยทำตลาดตรงจุดนี้”
รูปแบบของสินค้า จะมี 2 แบบ เป็นแบบที่เราคิดขึ้นมา และแบบที่ลูกค้ามาสั่งทำตามแบบ ในช่วงไหนที่ออร์เดอร์ไม่เยอะ เราก็จะมีเวลาคิดแบบและนำเสนอลูกค้า ส่วนของวัตถุดิบ ผ้าฝ้ายนั้นจะรับมาจากจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียง เป็นผ้าฝ้ายทอมือ และเรานำมาย้อมสีเองตามที่ลูกค้าต้องการ ส่วนสีที่ใช้เป็นสีเคมี เพราะติดทนนาน และได้สีอย่างที่ลูกค้าต้องการ
นอกจากผ้าฝ้าย วัตถุดิบที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง คือ ผ้าพื้นเมืองชาวเขา ซึ่งเลือกใช้ผ้าที่เป็นผ้ามือสอง ที่ชาวเขานำมาขาย เนื่องจากราคาถูก ในขณะที่ผ้าใหม่นั้นราคาค่อนข้างแพงมาก เพราะเป็นงานฝีมือที่กว่าจะทำออกมาได้แต่ละชิ้นต้องใช้เวลากันเป็นเดือน และหลังจากได้ผ้ามาแล้ว ก็นำมาทำความสะอาดให้เหมือนใหม่ ก่อนจะนำมาตกแต่งออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
และนอกจากผ้าฝ้าย และผ้าชาวเขา สิ่งที่ฝ้ายเอื้องคำนำมาใช้อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ผ้าไหม แต่เป็นไหมมือสองที่ตัดเย็บเป็นดอก และนำมาตัดเพื่อใช้เป็นของตกแต่ง ส่วนผ้าฝ้ายที่ใช้จะมีด้วยกันหลายเกรดเพื่อให้ลูกค้าได้เลือก โดยราคาผ้าฝ้ายมีให้เลือกตั้งแต่เมตรละ 20 บาท ไปจนถึง 60 บาท ส่วนผ้าชาวเขารับซื้อมาในราคาผืนละ 250 บาท
“จุดขายผ้าของร้านเราก็คงอยู่ที่ลวดลายผ้าชาวเขาที่เรานำมาใช้ และเมื่อนำมาผสมผสานกับผ้าฝ้าย ซึ่งเป็นผ้าเส้นใยธรรมชาติ จึงไปด้วยกันได้ดี เพราะลูกค้าจากญี่ปุ่นชอบผ้าทอมือเส้นใยธรรมชาติ โดยเฉพาะผ้าฝ้าย และประเทศญี่ปุ่นเป็นเมืองหนาว เมื่อใส่ผ้าฝ้ายจะช่วยเพิ่มความอบอุ่น และจุดขายอีกอย่างหนึ่งของเรา ก็คือ ฝีมือการตัดเย็บ ซึ่งโรงงานของเราให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพื่อให้ลูกค้าได้รับสิ่งที่ดีที่สุด และราคาก็ต้องสมเหตุสมผลไม่แพงเกินไป”
ส่วนผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งทางโรงงานของเราไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด เพราะความเสมอต้น เสมอปลายในการทำงาน และขายรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะที่ไม่มีชาติไหนเลียนแบบได้ ทำให้ยังคงรักษายอดขายไว้ได้แม้ว่าเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไรก็ตาม
นอกจากนี้ ทาง นายนวภาคย์ สุริยะคต ผู้เป็นสามี ก็ไม่ประมาทแม้ว่าในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเช่นนี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อยอดขายในการส่งออกของเขาก็ตาม เขาก็ได้เตรียมรับมือเอาไว้ด้วยการฉวยโอกาสในช่วงที่รัฐบาลได้ออกมาอุดหนุนเงินสำหรับการซื้อชุดนักเรียน เขาจึงหันมารับออร์เดอร์ตัดชุดนักเรียนส่งให้กับทางโรงเรียน ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นมา
อย่างไรก็ตาม ในส่วนผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจส่งผลต่อยอดขายในส่วนของการขายหน้าร้านให้กับนักท่องเที่ยวในตัวเมืองเชียงใหม่ ซึ่งนักท่องเทียวที่มาซื้อปลีกหน้าร้านตรงจุดนี้นั้น หายไปกว่า 40% และเนื่องจากในช่วงนี้ของเราเป็นช่วงของการขยายงานเพิ่มขึ้น จึงต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้นในการปรับปรุงโรงงาน โดยได้ขอกู้เงินจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นจำนวนเงิน 1.8 ล้านบาท (สินเชื่อ SME POWER)
นางเอื้องคำ เล่าถึงการทำตลาดต่างประเทศ ว่า สิ่งแรกคือ คุณภาพต้องดี ราคาไม่สูงเกินไป และต้องตรงเวลา โดยในส่วนของโรงงานเรามีอัตราการเติบโตปีละประมาณ 30-40% ทุกปี ในระยะหลังมีการพัฒนาช่องทางการขายใหม่เพิ่ม เช่น การขายผ่านเว็บไซต์ หรือการออกงานแสดงสินค้ามากขึ้น เป็นต้น
โทร. 053-360-313,08-1602-8566
สำหรับผลิตภัณฑ์ของฝ้ายเอื้องคำประกอบด้วย เสื้อผ้า หมวก กระเป๋า โดยผ้าที่ใช้หลักจะเป็นผ้าฝ้าย และสร้างลวดลายด้วยการนำผ้าชาวเขามาตกแต่งเกิดเป็นผลิตภัณฑ์จากผ้าพื้นเมืองต่างๆ สร้างจุดขายในสไตล์ล้านนา เจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ต้องการของฝากที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นเมืองเชียงใหม่
นางเอื้องคำ จิตตาวงศ์ เจ้าของผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายเอื้องคำ เล่าว่า เริ่มทำธุรกิจนี้ จากการตัดเย็บผ้าอยู่หน้าบ้าน และวันหนึ่งลูกค้ามาสั่งตัดเย็บเสื้อผ้า เพื่อนำไปขายต่ออีกที่หนึ่ง จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการรับจ้างผลิตในรูปแบบของโรงงานตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา มียอดการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นมาเรื่อย
หลังจากนั้นค่อยพัฒนาสร้างแบบของตัวเอง ด้วยการนำผ้าพื้นเมืองของชาวเขามาตกแต่งลวดลายบนหมวก กระเป๋า เสื้อผ้า ฯ โดยเปิดร้านเพื่อเป็นแหล่งโชว์สินค้า ชื่อร้านวโรรส อยู่ในตอกเล่า
โจ้ว บนถนนท่าแพ แหล่งช็อปปิ้งผ้าพื้นเมืองของนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผลตอบรับออกมาค่อนข้างดี โดยเฉพาะลูกค้าจากต่างประเทศ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาสู่ตลาดส่งออกเป็นช่องทางขายหลัก โดยปัจจุบันยอดขายเกือบทั้งหมดถึง 90% เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งลูกค้าหลักมาจากประเทศญี่ปุ่น
“ในส่วนของตลาดต่างประเทศนั้น จะมีเทรดเดอร์มารับไปทำตลาดต่ออีกทอดหนึ่งไม่ได้ติดต่อกับลูกค้าโดยตรง เพราะต้องการลดขั้นตอน และประกอบกับเรายังไม่มีความรู้เรื่องของภาษาและขั้นตอนในการทำตลาดส่งออก เนื่องจากที่ผ่านมาเราเป็นผู้ผลิตมาตลอด จึงต้องอาศัยเทรดเดอร์เข้ามาทำช่วยทำตลาดตรงจุดนี้”
รูปแบบของสินค้า จะมี 2 แบบ เป็นแบบที่เราคิดขึ้นมา และแบบที่ลูกค้ามาสั่งทำตามแบบ ในช่วงไหนที่ออร์เดอร์ไม่เยอะ เราก็จะมีเวลาคิดแบบและนำเสนอลูกค้า ส่วนของวัตถุดิบ ผ้าฝ้ายนั้นจะรับมาจากจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียง เป็นผ้าฝ้ายทอมือ และเรานำมาย้อมสีเองตามที่ลูกค้าต้องการ ส่วนสีที่ใช้เป็นสีเคมี เพราะติดทนนาน และได้สีอย่างที่ลูกค้าต้องการ
นอกจากผ้าฝ้าย วัตถุดิบที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง คือ ผ้าพื้นเมืองชาวเขา ซึ่งเลือกใช้ผ้าที่เป็นผ้ามือสอง ที่ชาวเขานำมาขาย เนื่องจากราคาถูก ในขณะที่ผ้าใหม่นั้นราคาค่อนข้างแพงมาก เพราะเป็นงานฝีมือที่กว่าจะทำออกมาได้แต่ละชิ้นต้องใช้เวลากันเป็นเดือน และหลังจากได้ผ้ามาแล้ว ก็นำมาทำความสะอาดให้เหมือนใหม่ ก่อนจะนำมาตกแต่งออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
และนอกจากผ้าฝ้าย และผ้าชาวเขา สิ่งที่ฝ้ายเอื้องคำนำมาใช้อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ผ้าไหม แต่เป็นไหมมือสองที่ตัดเย็บเป็นดอก และนำมาตัดเพื่อใช้เป็นของตกแต่ง ส่วนผ้าฝ้ายที่ใช้จะมีด้วยกันหลายเกรดเพื่อให้ลูกค้าได้เลือก โดยราคาผ้าฝ้ายมีให้เลือกตั้งแต่เมตรละ 20 บาท ไปจนถึง 60 บาท ส่วนผ้าชาวเขารับซื้อมาในราคาผืนละ 250 บาท
“จุดขายผ้าของร้านเราก็คงอยู่ที่ลวดลายผ้าชาวเขาที่เรานำมาใช้ และเมื่อนำมาผสมผสานกับผ้าฝ้าย ซึ่งเป็นผ้าเส้นใยธรรมชาติ จึงไปด้วยกันได้ดี เพราะลูกค้าจากญี่ปุ่นชอบผ้าทอมือเส้นใยธรรมชาติ โดยเฉพาะผ้าฝ้าย และประเทศญี่ปุ่นเป็นเมืองหนาว เมื่อใส่ผ้าฝ้ายจะช่วยเพิ่มความอบอุ่น และจุดขายอีกอย่างหนึ่งของเรา ก็คือ ฝีมือการตัดเย็บ ซึ่งโรงงานของเราให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพื่อให้ลูกค้าได้รับสิ่งที่ดีที่สุด และราคาก็ต้องสมเหตุสมผลไม่แพงเกินไป”
ส่วนผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งทางโรงงานของเราไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด เพราะความเสมอต้น เสมอปลายในการทำงาน และขายรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะที่ไม่มีชาติไหนเลียนแบบได้ ทำให้ยังคงรักษายอดขายไว้ได้แม้ว่าเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไรก็ตาม
นอกจากนี้ ทาง นายนวภาคย์ สุริยะคต ผู้เป็นสามี ก็ไม่ประมาทแม้ว่าในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเช่นนี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อยอดขายในการส่งออกของเขาก็ตาม เขาก็ได้เตรียมรับมือเอาไว้ด้วยการฉวยโอกาสในช่วงที่รัฐบาลได้ออกมาอุดหนุนเงินสำหรับการซื้อชุดนักเรียน เขาจึงหันมารับออร์เดอร์ตัดชุดนักเรียนส่งให้กับทางโรงเรียน ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นมา
อย่างไรก็ตาม ในส่วนผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจส่งผลต่อยอดขายในส่วนของการขายหน้าร้านให้กับนักท่องเที่ยวในตัวเมืองเชียงใหม่ ซึ่งนักท่องเทียวที่มาซื้อปลีกหน้าร้านตรงจุดนี้นั้น หายไปกว่า 40% และเนื่องจากในช่วงนี้ของเราเป็นช่วงของการขยายงานเพิ่มขึ้น จึงต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้นในการปรับปรุงโรงงาน โดยได้ขอกู้เงินจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นจำนวนเงิน 1.8 ล้านบาท (สินเชื่อ SME POWER)
นางเอื้องคำ เล่าถึงการทำตลาดต่างประเทศ ว่า สิ่งแรกคือ คุณภาพต้องดี ราคาไม่สูงเกินไป และต้องตรงเวลา โดยในส่วนของโรงงานเรามีอัตราการเติบโตปีละประมาณ 30-40% ทุกปี ในระยะหลังมีการพัฒนาช่องทางการขายใหม่เพิ่ม เช่น การขายผ่านเว็บไซต์ หรือการออกงานแสดงสินค้ามากขึ้น เป็นต้น
โทร. 053-360-313,08-1602-8566