ASTVผู้จัดการรายวัน - กูรูการตลาดระดับโลก "ฟิลลิป คอทเลอร์" ชี้เทรนด์การตลาดสู่ยุคการจัดการปั่นปวนแนะกลยุทธ์รับมือ สอนมวยรัฐบาลไทยกระตุ้นเศรษฐกิจเชิงรุก สร้างจุดขายประเทศ เร่งทำตลาดท่องเที่ยว-ดึงนักลงทุน ชี้ภาคเกษตรกรรมต้องปรับตัว พึ่งเทคโนโลยี สร้างมูลค่าเกษตรแปรรูป
นายฟิลลิป คอทเลอร์ นักการตลาดระดับโลก กล่าวว่า การจัดการในยุคนี้ต้องผจญกับความปั่นปวน เพราะปัจจุบันมีปัจจัยที่ทำให้เกิดความไม่แน่นอนมากขึ้น โดยมาจากการเปลี่ยนของโลกที่เข้าสู่โลกาภิวัฒน์หรือโลกแห่งดิจิตอล ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั่วโลก ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ คือ วิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก ดังนั้นวิธีการบริหารจัดการมีด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1.ระบบการเตือนล่วงหน้า 2.ระบบการสร้างเหตุการณ์สมมุติ เพื่อรองรับกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดคิด 3.งบประมาณที่ต้องมีความยืดหยุ่น
นอกจากนี้ยังได้แนะนำบริษัทพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสในภาวะเศรษฐกิจ โดยได้ยกตัวอย่าง โมเดลธุรกิจว่า สำหรับบริษัทที่มีความแข็งแกร่งทางการเงินและการตลาด ควรซื้อกิจการหรือธุรกิจต่างๆ เพราะจะได้ราคาที่ถูก ส่วนบริษัทที่อ่อนทั้งการเงินและการตลาด ควรจะขายธุรกิจทิ้ง ขณะที่บริษัทแข็งแกร่งด้านการเงินแต่อ่อนการตลาด ควรซื้อแบรนด์ที่แข็งแกร่งเข้ามาทำตลาดและประการสุดท้าย สำหรับบริษัทที่มีความแข็งแกร่งด้านการตลาดแต่การเงินอ่อน ควรตัดค่าใช้จ่ายต่างๆ และหันมาสร้างแบรนด์ให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
นายคอทเลอร์กล่าวว่า อาเซียนควรมีการรวมตัวกันให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น จากปัจจุบันการรวมตัวกันยังพัฒนาห่างชั้นจากยุโรป 30-40 ปี โดยควรนำโมเดลจากทวีปยุโรปเป็นแบบอย่าง เช่น การใช้เงินสกุลเดียวกัน มีการจัดตั้งสำนักงานใหญ่ที่เบลเยียม เพื่อกำหนดทิศทางหรือมาตรฐานต่างๆ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองให้กับภูมิภาคมากยิ่งขึ้นเพื่อรองรับกับยุคการบริหารจัดการที่ปั่นปวนและอ่อนไหวได้ง่ายและพร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
"ที่ผ่านมาการบริโภคของคนยังต่ำ แม้ว่านักการตลาดมองว่าตลาดเริ่มอิ่มตัว โดยพบว่า กลุ่มประชากรกว่า 4,000 ล้านคน เป็นผู้ที่ยากจนอยู่และมีการบริโภคที่ต่ำ ดังนั้นนักการตลาดควรคิดว่าจะทำอย่างไรให้กลุ่มดังกล่าวมีรายได้ การขอสินเชื่อจากธนาคารง่ายขึ้น เพื่อรุดพ้นจากความยากจน"
สำหรับประเทศไทย ภาครัฐควรกระตุ้นเศรษฐกิจในเชิงรุก โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และการดึงนักลงทุนมาลงทุน เพราะปัจจุบันมีคนรู้จักประเทศอยู่แล้ว แต่จะทำอย่างไรให้คนมาเที่ยวและมาลงทุนมากกว่า มองว่าภาครัฐต้องคิดในเชิงรุก มีการบริหารจัดการใหม่ เพื่อทำให้คนมีรายได้มากขึ้น พร้อมกันนี้ยังได้แนะนำการทำตลาดสำหรับภาครัฐควรดำเนินการตลาดในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยพิจารณาการเลือกกลุ่มเป้าหมายว่า ในเชิงปริมาณหรือคุณภาพ และมีการทำวิจัยกลุ่มดังกล่าวชื่นชอบการท่องเที่ยวลักษณะใด จากนั้นค่อยใส่งบการตลาด โดยกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพสำหรับการทำตลาดขณะนี้ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ คือ ประเทศอินเดีย และจีน
นอกจากนี้ ประเทศไทยควรสร้างจุดขายให้กับประเทศหรือให้กับสินค้า ยกตัวอย่าง ฟินแลนด์ มีคนรู้จักเพราะโทรศัพท์มือถือโนเกีย สิงคโปร์ แอร์ไลน์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นสายการบินดีที่สุด ทั้งที่สายการบินไทยควรจะได้รับ หรือกระทั่งประเทศเกาหลี สร้างอุตสาหกรรมบันเทิง มีคนฟังเพลงเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ฟังภาษาไม่ได้ด้วยซ้ำ
เมืองไทยเป็นประเทศมีภาคเกษตรกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน ควรปรับตัวมุ่งเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น และรวมตัวกันขึ้นเป็นสหกรณ์ เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง และพัฒนามาตรการผลิต และการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าภาคการเกษตร นอกจากนี้ควรมีนักเศรษฐศาสตร์ภาคการเกษตร เพื่อคำนวนทิศทางการเกษตร การปลูกพืชที่สร้างรายได้ เป็นต้น
นายคอลเลอร์กล่าวถึงการเมืองไทยว่า การขาดเสถียรภาพเป็นปัจจัยลบด้านการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ซึ่งต้องกำจัดปัญหาดังกล่าวให้ได้.
นายฟิลลิป คอทเลอร์ นักการตลาดระดับโลก กล่าวว่า การจัดการในยุคนี้ต้องผจญกับความปั่นปวน เพราะปัจจุบันมีปัจจัยที่ทำให้เกิดความไม่แน่นอนมากขึ้น โดยมาจากการเปลี่ยนของโลกที่เข้าสู่โลกาภิวัฒน์หรือโลกแห่งดิจิตอล ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั่วโลก ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ คือ วิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก ดังนั้นวิธีการบริหารจัดการมีด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1.ระบบการเตือนล่วงหน้า 2.ระบบการสร้างเหตุการณ์สมมุติ เพื่อรองรับกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดคิด 3.งบประมาณที่ต้องมีความยืดหยุ่น
นอกจากนี้ยังได้แนะนำบริษัทพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสในภาวะเศรษฐกิจ โดยได้ยกตัวอย่าง โมเดลธุรกิจว่า สำหรับบริษัทที่มีความแข็งแกร่งทางการเงินและการตลาด ควรซื้อกิจการหรือธุรกิจต่างๆ เพราะจะได้ราคาที่ถูก ส่วนบริษัทที่อ่อนทั้งการเงินและการตลาด ควรจะขายธุรกิจทิ้ง ขณะที่บริษัทแข็งแกร่งด้านการเงินแต่อ่อนการตลาด ควรซื้อแบรนด์ที่แข็งแกร่งเข้ามาทำตลาดและประการสุดท้าย สำหรับบริษัทที่มีความแข็งแกร่งด้านการตลาดแต่การเงินอ่อน ควรตัดค่าใช้จ่ายต่างๆ และหันมาสร้างแบรนด์ให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
นายคอทเลอร์กล่าวว่า อาเซียนควรมีการรวมตัวกันให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น จากปัจจุบันการรวมตัวกันยังพัฒนาห่างชั้นจากยุโรป 30-40 ปี โดยควรนำโมเดลจากทวีปยุโรปเป็นแบบอย่าง เช่น การใช้เงินสกุลเดียวกัน มีการจัดตั้งสำนักงานใหญ่ที่เบลเยียม เพื่อกำหนดทิศทางหรือมาตรฐานต่างๆ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองให้กับภูมิภาคมากยิ่งขึ้นเพื่อรองรับกับยุคการบริหารจัดการที่ปั่นปวนและอ่อนไหวได้ง่ายและพร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
"ที่ผ่านมาการบริโภคของคนยังต่ำ แม้ว่านักการตลาดมองว่าตลาดเริ่มอิ่มตัว โดยพบว่า กลุ่มประชากรกว่า 4,000 ล้านคน เป็นผู้ที่ยากจนอยู่และมีการบริโภคที่ต่ำ ดังนั้นนักการตลาดควรคิดว่าจะทำอย่างไรให้กลุ่มดังกล่าวมีรายได้ การขอสินเชื่อจากธนาคารง่ายขึ้น เพื่อรุดพ้นจากความยากจน"
สำหรับประเทศไทย ภาครัฐควรกระตุ้นเศรษฐกิจในเชิงรุก โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และการดึงนักลงทุนมาลงทุน เพราะปัจจุบันมีคนรู้จักประเทศอยู่แล้ว แต่จะทำอย่างไรให้คนมาเที่ยวและมาลงทุนมากกว่า มองว่าภาครัฐต้องคิดในเชิงรุก มีการบริหารจัดการใหม่ เพื่อทำให้คนมีรายได้มากขึ้น พร้อมกันนี้ยังได้แนะนำการทำตลาดสำหรับภาครัฐควรดำเนินการตลาดในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยพิจารณาการเลือกกลุ่มเป้าหมายว่า ในเชิงปริมาณหรือคุณภาพ และมีการทำวิจัยกลุ่มดังกล่าวชื่นชอบการท่องเที่ยวลักษณะใด จากนั้นค่อยใส่งบการตลาด โดยกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพสำหรับการทำตลาดขณะนี้ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ คือ ประเทศอินเดีย และจีน
นอกจากนี้ ประเทศไทยควรสร้างจุดขายให้กับประเทศหรือให้กับสินค้า ยกตัวอย่าง ฟินแลนด์ มีคนรู้จักเพราะโทรศัพท์มือถือโนเกีย สิงคโปร์ แอร์ไลน์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นสายการบินดีที่สุด ทั้งที่สายการบินไทยควรจะได้รับ หรือกระทั่งประเทศเกาหลี สร้างอุตสาหกรรมบันเทิง มีคนฟังเพลงเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ฟังภาษาไม่ได้ด้วยซ้ำ
เมืองไทยเป็นประเทศมีภาคเกษตรกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน ควรปรับตัวมุ่งเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น และรวมตัวกันขึ้นเป็นสหกรณ์ เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง และพัฒนามาตรการผลิต และการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าภาคการเกษตร นอกจากนี้ควรมีนักเศรษฐศาสตร์ภาคการเกษตร เพื่อคำนวนทิศทางการเกษตร การปลูกพืชที่สร้างรายได้ เป็นต้น
นายคอลเลอร์กล่าวถึงการเมืองไทยว่า การขาดเสถียรภาพเป็นปัจจัยลบด้านการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ซึ่งต้องกำจัดปัญหาดังกล่าวให้ได้.