ASTV ผู้จัดการรายวัน – ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชี้ช่องลงทุนหุ้นผลตอบแทนสูง เน้นลงทุนหุ้นที่ประวัติการจ่ายเงินปันผลดี ฐานะการเงินมั่นคง หลังประเมินผลงานปี 52 คาดการณ์บจ.กำไรขยายตัวเพิ่มขึ้น เชื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกของนักลงทุนและผู้มีเงินออม แจงตลาดหุ้นทิศทางเป็นขาขึ้นเหมาะเข้าลงทุนระยะยาว ระบุ “ฮั่วฟง รับเบอร์” คว้าหลักทรัพย์ที่มีอัตราการจ่ายเงินปันผลสูงสุดอันดับหนึ่ง ขณะที่หุ้นขนาดเล็กจ่ายปันผลงาม จากธุรกิจรับเงินสด มีรายได้แน่นอน บริหารความเสี่ยงค่าเงินดี
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รายงานบทวิเคราะห์ (Research Note) หลักทรัพย์คุณค่าเพื่อผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ว่า จากการที่ภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยชะลอตัว แต่บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังมีความแข็งแกร่ง มีผลกำไรจากการประกอบการ ประกาศจ่ายเงินปันผลกว่า 50%ของผลกำไรสุทธิในปี 2551 โดยมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Devident Yield) สูงถึง 8.87%
จากผลตอบแทนเงินปันผลดังกล่าว ทำให้การเลือกลงทุนในหุ้นคุณค่าในตลาดหลักทรัพย์ฯ ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้มีเงินออม และจากข้อมูลจ่ายปันผลไตรมาส 1/52 พบว่า จาก 245 หลักทรัพย์ที่จ่ายปันผล มีหุ้นถึง 158 หุ้นให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลสูง 6.82% หรือมากกว่า 7 เท่าของเงินฝากประจำ 12 เดือน
“การลงทุนในหุ้นปันผลถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของนักลงทุนและผู้มีเงินออม ในการลงทุนที่เน้นการลงทุนในระยะยาวโดยได้รับเงินปันผลเป็นเงินตอบแทน”
ทั้งนี้ หลักทรัพย์คุณค่า น่าลงทุนแค่ไหนในปี 2552 หลักทรัพย์คุณค่า (Valued Stock) มีความน่าสนใจแค่ไหนนั้นสามารถพิจารณาจาก 2 ประเด็น คือ ประเด็นแรกราคาตลาดปัจจุบัน น่าเข้าลงทุนหรือไม่ หากลงทุนระยะยาวมีโอกาสทำกำไรจาราคามากน้อยแค่ไหน ประเด็นที่ 2 หลักทรัพย์นั้นจ่ายปันผลดีแค่ไหน
โดยประเด็นแรกนั้น ดัชนีตลาดหุ้นไทย ในปี 2551 ปรับตัวลดลง 48% จากปี 2550 ซึ่งคาดว่าใกล้จุดต่ำสุดแล้ว ประกอบกับข้อมูล P/Eของหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้นในช่วงสิ้นปี 2551 ถึง สิ้นเดือนมีนาคม 2552 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงขึ้นจาก 7.26 เป็น 11.1 เท่า สะท้อนให้เห็นทิศทางขาขึ้นของตลาดหลักทรัพย์ฯดังนั้นจึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะเข้ามาถือเพื่อลงทุนระยะยาว
สำหรับประเด็นที่ 2 ความสามารถในการจ่ายเงินปันผลนี้ พิจารณา จากความสามารถในการทำกำไร พบว่า จากข้อมูลของสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซด์เซ็ทเทรดดอทคอม ซึ่งสำนักวิจัยต่างๆ ได้ประมาณการผลกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียน ล่าสุดเดือนพฤษภาคม 2552 เปิดเผยว่า ประมาณกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียน ปี 2552 จำนวน 161 บริษัท ซึ่ง เป็นบริษัทในกลุ่ม SET 50 และบริษัทที่ไม่อยู่ในกลุ่ม SET 50 อีก 111 บริษัท มีมูลค่า 354,417 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 17% จากปี 2551 ซึ่งคาดว่าผลการขาดทุนอย่างมากในไตรมาส 4/51 ที่เกิดจากปรับลดลงของราคาสินค้าประเภทพลังงาน ไม่ควรเกิดขึ้นอีก
พร้อมกันนี้ ได้คาดการณ์ว่าผลตอบแทนจากเงินปันผลที่จ่ายน่าจะเพิ่มสูงขึ้นตามประมาณการผลประกอบการ ดังนั้นการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้นักลงทุนได้ โดยพิจารณาเลือกลงทุนในหลักทรัพย์คุณค่า มีประวัติการจ่ายเงินปันผลดี ฐานะการเงินมั่นคง และเน้นการลงทุนระยะยาว รับเงินปันผลเป็นรายปี และมีกำไรส่วนต่างราคาในระยะยาว ซึ่งก็เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่น่าสนใจของนักลงทุนและผู้มีเงินออม จากข้อมูลการประกาศจ่ายอัตราเงินปันผลในช่วง 1 มกราคา – 3 มีนาคม 2552 บริษัทจดทะเบียนที่มีอัตราการจ่ายเงินปันผลสูงสุด 50 อันดับ พบหลักทรัพย์ที่จ่ายปันผลสูงสุด 10 อันดับแรก ประกอบด้วย บริษัท ฮั้วฟง รับเบอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ HFT มีการเงินปันผลต่อหุ้น 9.50 บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล 57.87% ซึ่งสูงสุดเป็นอันดับ 1 อันดับ 2 คือ บมจ.ซีเอส ล็อกอินโฟ จ่ายปันผล 0.22 บาทต่อหุ้น คิดเป็น 29.03% อันดับ 3 บมจ.พรีเชียส ชิพปิ้ง 0.80 บาทต่อหุ้น คิดเป็น 26.17% อันดับ 4. บมจ.ค้าเหล็กไทย จ่ายปันผล 1 บาท คิดเป็น 25.91 %
อันดับ 5 บมจ. เอเชียน อินซูเลเตอร์ 0.50 บาทต่อหุ้น คิดเป็น 24.51% อันดับ 6 ธนาคารเกียรตินาคิน จ่ายปันผล 0.75 บาทต่อหุ้น คิดเป็น 22.94% อันดับ 7 บมจ.สหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จ่ายปันผล4 บาทต่อหุ้น คิดเป็น 22.47% อันดับ 8 บมจ.อาหารสยาม จ่ายปันผล 5 บาทต่อหุ้น คิดเป็น 19.61% อันดับ 9 บมจ.แอ๊ดวานซ์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จ่ายปันผล 1.50 บาทต่อหุ้น คิดเป็น 19.5% และอันดับ 10 บมจ. สตีล อินเตอร์เทค จ่ายปันผล 0.12 บาท คิดเป็น 19.29%
สำหรับหุ้นที่ให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงสุดนั้น พบว่าเป็นหุ้นนอกกลุ่ม SET 100 จึงกล่าวได้ว่าหุ้นขนาดกลาง หรือเล็กที่น่าสนใจในตลาดหุ้นไทยยังมีอยู่มาก โดยสาเหตุที่ทำให้หุ้นขนาดกลางและเล็กมีผลประกอบการดี และสามารถปรับตัวได้ในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน คือ เป็นธุรกิจที่มีรายรับเป็นเงินสด หรือให้เครดิตการค้าระยะสั้นเช่นธุรกิจด้านการแพทย์ที่มีรายรับเป็นเงินสด ธุรกิจที่มีลูกค้าหลักที่แน่นอนและเป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มลูกค้าหลัก เช่น ธุรกิจกลุ่มเทคโนโลยีสื่อสาร และเป็นธุรกิจที่มีการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนจากสร้างสมดุลของรายรับรายจ่ายที่เป็นเงินตราต่างประเทศ หรือทำสัญญาซื้อขายเงินตราล่วงหน้ากับธนาคารพาณิชย์
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รายงานบทวิเคราะห์ (Research Note) หลักทรัพย์คุณค่าเพื่อผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ว่า จากการที่ภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยชะลอตัว แต่บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังมีความแข็งแกร่ง มีผลกำไรจากการประกอบการ ประกาศจ่ายเงินปันผลกว่า 50%ของผลกำไรสุทธิในปี 2551 โดยมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Devident Yield) สูงถึง 8.87%
จากผลตอบแทนเงินปันผลดังกล่าว ทำให้การเลือกลงทุนในหุ้นคุณค่าในตลาดหลักทรัพย์ฯ ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้มีเงินออม และจากข้อมูลจ่ายปันผลไตรมาส 1/52 พบว่า จาก 245 หลักทรัพย์ที่จ่ายปันผล มีหุ้นถึง 158 หุ้นให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลสูง 6.82% หรือมากกว่า 7 เท่าของเงินฝากประจำ 12 เดือน
“การลงทุนในหุ้นปันผลถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของนักลงทุนและผู้มีเงินออม ในการลงทุนที่เน้นการลงทุนในระยะยาวโดยได้รับเงินปันผลเป็นเงินตอบแทน”
ทั้งนี้ หลักทรัพย์คุณค่า น่าลงทุนแค่ไหนในปี 2552 หลักทรัพย์คุณค่า (Valued Stock) มีความน่าสนใจแค่ไหนนั้นสามารถพิจารณาจาก 2 ประเด็น คือ ประเด็นแรกราคาตลาดปัจจุบัน น่าเข้าลงทุนหรือไม่ หากลงทุนระยะยาวมีโอกาสทำกำไรจาราคามากน้อยแค่ไหน ประเด็นที่ 2 หลักทรัพย์นั้นจ่ายปันผลดีแค่ไหน
โดยประเด็นแรกนั้น ดัชนีตลาดหุ้นไทย ในปี 2551 ปรับตัวลดลง 48% จากปี 2550 ซึ่งคาดว่าใกล้จุดต่ำสุดแล้ว ประกอบกับข้อมูล P/Eของหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้นในช่วงสิ้นปี 2551 ถึง สิ้นเดือนมีนาคม 2552 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงขึ้นจาก 7.26 เป็น 11.1 เท่า สะท้อนให้เห็นทิศทางขาขึ้นของตลาดหลักทรัพย์ฯดังนั้นจึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะเข้ามาถือเพื่อลงทุนระยะยาว
สำหรับประเด็นที่ 2 ความสามารถในการจ่ายเงินปันผลนี้ พิจารณา จากความสามารถในการทำกำไร พบว่า จากข้อมูลของสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซด์เซ็ทเทรดดอทคอม ซึ่งสำนักวิจัยต่างๆ ได้ประมาณการผลกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียน ล่าสุดเดือนพฤษภาคม 2552 เปิดเผยว่า ประมาณกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียน ปี 2552 จำนวน 161 บริษัท ซึ่ง เป็นบริษัทในกลุ่ม SET 50 และบริษัทที่ไม่อยู่ในกลุ่ม SET 50 อีก 111 บริษัท มีมูลค่า 354,417 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 17% จากปี 2551 ซึ่งคาดว่าผลการขาดทุนอย่างมากในไตรมาส 4/51 ที่เกิดจากปรับลดลงของราคาสินค้าประเภทพลังงาน ไม่ควรเกิดขึ้นอีก
พร้อมกันนี้ ได้คาดการณ์ว่าผลตอบแทนจากเงินปันผลที่จ่ายน่าจะเพิ่มสูงขึ้นตามประมาณการผลประกอบการ ดังนั้นการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้นักลงทุนได้ โดยพิจารณาเลือกลงทุนในหลักทรัพย์คุณค่า มีประวัติการจ่ายเงินปันผลดี ฐานะการเงินมั่นคง และเน้นการลงทุนระยะยาว รับเงินปันผลเป็นรายปี และมีกำไรส่วนต่างราคาในระยะยาว ซึ่งก็เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่น่าสนใจของนักลงทุนและผู้มีเงินออม จากข้อมูลการประกาศจ่ายอัตราเงินปันผลในช่วง 1 มกราคา – 3 มีนาคม 2552 บริษัทจดทะเบียนที่มีอัตราการจ่ายเงินปันผลสูงสุด 50 อันดับ พบหลักทรัพย์ที่จ่ายปันผลสูงสุด 10 อันดับแรก ประกอบด้วย บริษัท ฮั้วฟง รับเบอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ HFT มีการเงินปันผลต่อหุ้น 9.50 บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล 57.87% ซึ่งสูงสุดเป็นอันดับ 1 อันดับ 2 คือ บมจ.ซีเอส ล็อกอินโฟ จ่ายปันผล 0.22 บาทต่อหุ้น คิดเป็น 29.03% อันดับ 3 บมจ.พรีเชียส ชิพปิ้ง 0.80 บาทต่อหุ้น คิดเป็น 26.17% อันดับ 4. บมจ.ค้าเหล็กไทย จ่ายปันผล 1 บาท คิดเป็น 25.91 %
อันดับ 5 บมจ. เอเชียน อินซูเลเตอร์ 0.50 บาทต่อหุ้น คิดเป็น 24.51% อันดับ 6 ธนาคารเกียรตินาคิน จ่ายปันผล 0.75 บาทต่อหุ้น คิดเป็น 22.94% อันดับ 7 บมจ.สหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จ่ายปันผล4 บาทต่อหุ้น คิดเป็น 22.47% อันดับ 8 บมจ.อาหารสยาม จ่ายปันผล 5 บาทต่อหุ้น คิดเป็น 19.61% อันดับ 9 บมจ.แอ๊ดวานซ์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จ่ายปันผล 1.50 บาทต่อหุ้น คิดเป็น 19.5% และอันดับ 10 บมจ. สตีล อินเตอร์เทค จ่ายปันผล 0.12 บาท คิดเป็น 19.29%
สำหรับหุ้นที่ให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงสุดนั้น พบว่าเป็นหุ้นนอกกลุ่ม SET 100 จึงกล่าวได้ว่าหุ้นขนาดกลาง หรือเล็กที่น่าสนใจในตลาดหุ้นไทยยังมีอยู่มาก โดยสาเหตุที่ทำให้หุ้นขนาดกลางและเล็กมีผลประกอบการดี และสามารถปรับตัวได้ในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน คือ เป็นธุรกิจที่มีรายรับเป็นเงินสด หรือให้เครดิตการค้าระยะสั้นเช่นธุรกิจด้านการแพทย์ที่มีรายรับเป็นเงินสด ธุรกิจที่มีลูกค้าหลักที่แน่นอนและเป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มลูกค้าหลัก เช่น ธุรกิจกลุ่มเทคโนโลยีสื่อสาร และเป็นธุรกิจที่มีการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนจากสร้างสมดุลของรายรับรายจ่ายที่เป็นเงินตราต่างประเทศ หรือทำสัญญาซื้อขายเงินตราล่วงหน้ากับธนาคารพาณิชย์