วานนี้ (28 พ.ค.) คณะอนุกรรมการศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น ๆ ซึ่งมีพล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว.สรรหา เป็นประธาน มีการพิจาณา ขอเสนอแนะเกี่ยวกับการบังคับใช้รัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อศึกษาการบังคับใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 วุฒิสภา
โดยนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา ในฐานะอนุกรรมการฯ กล่าวถึง ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯในประเด็นการยุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งว่า คณะกรรมาธิการฯมี 4 ความเห็น คือ 1. ประเด็นดังกล่าว ไม่ได้เกิดจากรัฐธรรมนูญปี 2550 และในความเป็นจริงการยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคในทางปฏิบัติแล้วไม่สามารถทำให้กรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง ยุติบทบาททางการเมืองได้อย่างแท้จริง นักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิอาจเชิดบุคคลอื่น เข้ามามีบทบาททางการเมืองแทน โดยตนเองเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ขณะที่มีคำสั่งยุบพรรคการเมืองเดิม ก็สามารถตั้งพรรคการเมืองใหม่ได้ การยุบพรรคการเมือง หรือแก้ไขมาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญจึงอาจไม่ใช่วิธีการแก้ไขปัญหานักการเมืองทุจริต
2.เห็นว่าจำนวนกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือการแต่งตั้งกรรมการบริหารของพรรคการเมืองควรแต่งตั้งเท่าที่จำเป็นในการบริหารเท่านั้น
3.การทุจริตการเลือกตั้งเปรียบเสมือนเป็นการประกอบอาชญากรรมทางการเมือง จึงควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยเพิ่มบทลงโทษทางอาญา กล่าวคือ เมื่อพิสูจน์ได้ว่านักการเมืองผู้ใดนักการเมืองผู้ใดกระทำการทุจริตการเลือกตั้ง นักการเมืองผู้นั้นควรจะต้องรับโทษตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดพร้อมทั้งได้รับโทษอาญาด้วย
4.การยุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจะทำให้มีการสูญเสีย บุคลากรที่มีความสามารถหลายด้านอันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ ดังนั้นควรจะต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบและเป็นธรรมสำหรับทุกฝ่ายรวมถึงจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ประเทศชาติเป็นสำคัญ
พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวในที่ประชุมว่า ขอให้อนุกรรมการฯ นำความเห็นเหล่านี้ ไปพิจารณาด้วย ส่วนที่หาว่าตนจะแก้รัฐธรรมนูญนั้น ตนเป็นส.ว.สรรหา ที่มาจากการเสนอของพล.อ.วินัย ภัททิยกุล อดีตเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) แล้วจะหาว่าตนจะมาแก้รัฐธรรมนูญได้อย่างไร
จากนั้นมีการพิจาณาร่างรายงานของคณะอนุกรรมการฯที่จะเสนอต่อคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ในวันที่ 4 มิ.ย.และ 6 มิ.ย.นี้ โดยร่างรายงานดังกล่าว ได้สรุปประเด็นที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ทั้งหมด 7 ประเด็น (1.) การยุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรค มาตรา 64 และมาตรา 237 โดยอนุกรรมการฯเสียงส่วนใหญ่ เห็นควรให้ยกเลิกเกี่ยวกับการยุบพรรคและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคทุกคน ส่วนอนุกรรมการฯส่วนหนึ่งเห็นว่ายังคงไว้ซึ่งการยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิ
(2.)ที่มาของส.ส.มาตรา 93 ถึงมาตรา 94 ซึ่งอนุกรรมการฯส่วนใหญ่ เห็นชอบให้ส.ส.มาจากการเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว 400 คนและให้มาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ 100 คน และมีอนุกรรมการส่วนหนึ่ง เห็นว่าให้ที่มาของ ส.ส.ยังเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี 50
(3.) ที่มาของส.ว.มาตรา 111 ถึง 121 อนุกรรมการฯส่วนใหญ่เห็นควร ให้แก้ไขที่มาของ ส.ว.โดยให้มาจากการเลือกตั้ง 200 คน แต่อนุกรรมการฯ ส่วนหนึ่งเห็นว่าให้คงไว้ซึ่งที่มาของ ส.ว.แบบมาจากากรเลือกตั้งและการสรรหาซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญปี 50
(4.)การทำหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา มาตรา 190 อนุกรรมการฯมีความเห็นร่วมกันให้คงหลักการเดิมในมาตรา 190 ไว้ แต่เพิ่มเติมข้อความเกี่ยวกับประเภทหนังสือสัญญาใดที่ต้องได้รับความเห็นชอบต่อรัฐสภาไว้ในกฎหมายและเร่งรัดให้ออกกฎหมายว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือสัญญาตามความวรรคห้า
(5.)การดำรงตำแหน่งทางการเมืองของ ส.ส.มาตรา 265 อนุกรรมการฯ เห็นร่วมกันในหลักการที่ให้แก้ไขเฉพาะกรณีส..ส.ให้สามารถดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองได้ อาทิ ตำแหน่งเลขานุการและที่ปรึกษารัฐมนตรี เพื่อให้ส.ส. ได้มีโอกาสเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์การทำงานด้านการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมที่จะทำงานในตำแหน่งสำคัญต่อไป
(6.)การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนของส.ส.มาตรา 266 อนุกรรกมารฯส่วนใหญ่เห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมหลักการในบทบัญญัติมาตรา 266 เพื่อให้ส.ส.และส.ว..เข้าช่วยทำประโยชน์หรือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่เกิดขึ้นผ่านส่วนราชการต่างๆได้ โดยเห็นว่าควรตัดข้อความในมาตรา 266 (1) ออกแล้วให้กำหนดไว้เช่นเดียวกับมาตรา 111 ของรัฐธรรมนูญปี 40
และ(7.)ประเด็นที่มีการเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม เช่น การบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ กรณีบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นกระบวนการตัดสินโดยศาลเดียว ซึ่งประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญ แต่ที่ประชุมเห็นว่ายังไม่ควรนำมาพิจารณาในขณะนี้
อย่างไรก็ตามนายชำนิ ศักดิ์เศรษฐ ส.ส. สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะอนุกรรมการ ได้ติงว่า ในการเสนอแก้ไขมาตรา 237 เกี่ยวกับการซื้อสิทธิขายเสียง เป็นเรื่องเฉพาะตัว โดยหลักการจริงๆ การรับโทษไม่น่าจพเท่ากัน คนที่เป็น กรรมการบริหารพรรคหรือหัวหน้าพรรคควรรับโทษมากกว่าอย่างเช่น เพิกถอนสิทธิทางการเมือง 10 ปี ขณะที่นายวิรัช รัตนเศรษฐ อนุกรรมการฯ ในส่วนพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา กล่าวว่า ควรจะเขียนลงไปให้ชัดเจนว่าเราแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่ออะไร เพราะจะต้องมีคนสอบถามอยู่แล้วว่ารัฐธรรมนูญที่ อนุกรรมการเสนอแก้จะลดความขัดแย้งตรงไหน
พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า หากเราจะเขียนว่าให้รัฐธรรมนูญนี้เป็นประชาธิปไตย มากขึ้นแต่มันจะไปกระแทกความรู้สึกของคนบางคน ดังนั้นต้องเลือกใช้คำ เพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ ไม่ให้คนอื่นรู้สึกว่าเราไปหักหาญน้ำใจเขา ดังนั้นตนจึงเลือกที่จะเขียนว่าได้ศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญในเฉพาะประเด็นหลักๆ ที่เห็นว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 ระยะว่า ถือเป็นทางออกที่ดีต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะการจะแก้ครั้งเดียวอาจจะทำได้ยาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพิจารณาสิ่งที่เป็นเรื่อง เร่งด่วนก่อน มาตราไหนที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารบ้านเมือง ถ้าแก้ได้ก็แก้ไปก่อน ถือว่าเรื่องนี้เข้าใจได้และเป็นข้อสรุปที่ดี เพราะสิ่งที่อนุกรรมการพิจารณาศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้นำเสนอ 3-4 ประเด็นก็คิดว่าน่าจะทำได้ โดยเฉพาะมาตรา 190 ก็น่าแก้ได้ ถ้าแก้เพื่อให้ไม่เป็นอุปสรรคการทำงานของรัฐบาล
นาย ประสพสุข ยังกล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 237 นั้นตนเห็นว่า แล้วแต่มุมมอง แต่ต้องดูรายละเอียดและเนื้อหาของมาตรามากกว่า อย่าไปบอกว่า แก้ได้แก้ไม่ได้ ส่วนการแก้รัฐธรรมนูญจะเป็นความขัดแย้งหรือไม่นั้นต้องดูข้อมูลข้อเท็จจริงก่อนว่าจะแก้อย่างไร แล้วค่อยจะคิดต่อว่าจะทำอย่างไรต่อ ทั้งนี้เห็นว่าถ้าแก้โดยการปรับถ้อยคำโดยให้กรรมการบริหารพรรครับผิดชอบ โดยไม่ถึงยุบพรรค ส่วนตัวก็เห็นด้วยและคิดว่าน่าจะทางออกที่ดี
โดยนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา ในฐานะอนุกรรมการฯ กล่าวถึง ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯในประเด็นการยุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งว่า คณะกรรมาธิการฯมี 4 ความเห็น คือ 1. ประเด็นดังกล่าว ไม่ได้เกิดจากรัฐธรรมนูญปี 2550 และในความเป็นจริงการยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคในทางปฏิบัติแล้วไม่สามารถทำให้กรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง ยุติบทบาททางการเมืองได้อย่างแท้จริง นักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิอาจเชิดบุคคลอื่น เข้ามามีบทบาททางการเมืองแทน โดยตนเองเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ขณะที่มีคำสั่งยุบพรรคการเมืองเดิม ก็สามารถตั้งพรรคการเมืองใหม่ได้ การยุบพรรคการเมือง หรือแก้ไขมาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญจึงอาจไม่ใช่วิธีการแก้ไขปัญหานักการเมืองทุจริต
2.เห็นว่าจำนวนกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือการแต่งตั้งกรรมการบริหารของพรรคการเมืองควรแต่งตั้งเท่าที่จำเป็นในการบริหารเท่านั้น
3.การทุจริตการเลือกตั้งเปรียบเสมือนเป็นการประกอบอาชญากรรมทางการเมือง จึงควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยเพิ่มบทลงโทษทางอาญา กล่าวคือ เมื่อพิสูจน์ได้ว่านักการเมืองผู้ใดนักการเมืองผู้ใดกระทำการทุจริตการเลือกตั้ง นักการเมืองผู้นั้นควรจะต้องรับโทษตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดพร้อมทั้งได้รับโทษอาญาด้วย
4.การยุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจะทำให้มีการสูญเสีย บุคลากรที่มีความสามารถหลายด้านอันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ ดังนั้นควรจะต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบและเป็นธรรมสำหรับทุกฝ่ายรวมถึงจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ประเทศชาติเป็นสำคัญ
พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวในที่ประชุมว่า ขอให้อนุกรรมการฯ นำความเห็นเหล่านี้ ไปพิจารณาด้วย ส่วนที่หาว่าตนจะแก้รัฐธรรมนูญนั้น ตนเป็นส.ว.สรรหา ที่มาจากการเสนอของพล.อ.วินัย ภัททิยกุล อดีตเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) แล้วจะหาว่าตนจะมาแก้รัฐธรรมนูญได้อย่างไร
จากนั้นมีการพิจาณาร่างรายงานของคณะอนุกรรมการฯที่จะเสนอต่อคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ในวันที่ 4 มิ.ย.และ 6 มิ.ย.นี้ โดยร่างรายงานดังกล่าว ได้สรุปประเด็นที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ทั้งหมด 7 ประเด็น (1.) การยุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรค มาตรา 64 และมาตรา 237 โดยอนุกรรมการฯเสียงส่วนใหญ่ เห็นควรให้ยกเลิกเกี่ยวกับการยุบพรรคและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคทุกคน ส่วนอนุกรรมการฯส่วนหนึ่งเห็นว่ายังคงไว้ซึ่งการยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิ
(2.)ที่มาของส.ส.มาตรา 93 ถึงมาตรา 94 ซึ่งอนุกรรมการฯส่วนใหญ่ เห็นชอบให้ส.ส.มาจากการเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว 400 คนและให้มาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ 100 คน และมีอนุกรรมการส่วนหนึ่ง เห็นว่าให้ที่มาของ ส.ส.ยังเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี 50
(3.) ที่มาของส.ว.มาตรา 111 ถึง 121 อนุกรรมการฯส่วนใหญ่เห็นควร ให้แก้ไขที่มาของ ส.ว.โดยให้มาจากการเลือกตั้ง 200 คน แต่อนุกรรมการฯ ส่วนหนึ่งเห็นว่าให้คงไว้ซึ่งที่มาของ ส.ว.แบบมาจากากรเลือกตั้งและการสรรหาซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญปี 50
(4.)การทำหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา มาตรา 190 อนุกรรมการฯมีความเห็นร่วมกันให้คงหลักการเดิมในมาตรา 190 ไว้ แต่เพิ่มเติมข้อความเกี่ยวกับประเภทหนังสือสัญญาใดที่ต้องได้รับความเห็นชอบต่อรัฐสภาไว้ในกฎหมายและเร่งรัดให้ออกกฎหมายว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือสัญญาตามความวรรคห้า
(5.)การดำรงตำแหน่งทางการเมืองของ ส.ส.มาตรา 265 อนุกรรมการฯ เห็นร่วมกันในหลักการที่ให้แก้ไขเฉพาะกรณีส..ส.ให้สามารถดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองได้ อาทิ ตำแหน่งเลขานุการและที่ปรึกษารัฐมนตรี เพื่อให้ส.ส. ได้มีโอกาสเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์การทำงานด้านการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมที่จะทำงานในตำแหน่งสำคัญต่อไป
(6.)การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนของส.ส.มาตรา 266 อนุกรรกมารฯส่วนใหญ่เห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมหลักการในบทบัญญัติมาตรา 266 เพื่อให้ส.ส.และส.ว..เข้าช่วยทำประโยชน์หรือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่เกิดขึ้นผ่านส่วนราชการต่างๆได้ โดยเห็นว่าควรตัดข้อความในมาตรา 266 (1) ออกแล้วให้กำหนดไว้เช่นเดียวกับมาตรา 111 ของรัฐธรรมนูญปี 40
และ(7.)ประเด็นที่มีการเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม เช่น การบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ กรณีบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นกระบวนการตัดสินโดยศาลเดียว ซึ่งประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญ แต่ที่ประชุมเห็นว่ายังไม่ควรนำมาพิจารณาในขณะนี้
อย่างไรก็ตามนายชำนิ ศักดิ์เศรษฐ ส.ส. สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะอนุกรรมการ ได้ติงว่า ในการเสนอแก้ไขมาตรา 237 เกี่ยวกับการซื้อสิทธิขายเสียง เป็นเรื่องเฉพาะตัว โดยหลักการจริงๆ การรับโทษไม่น่าจพเท่ากัน คนที่เป็น กรรมการบริหารพรรคหรือหัวหน้าพรรคควรรับโทษมากกว่าอย่างเช่น เพิกถอนสิทธิทางการเมือง 10 ปี ขณะที่นายวิรัช รัตนเศรษฐ อนุกรรมการฯ ในส่วนพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา กล่าวว่า ควรจะเขียนลงไปให้ชัดเจนว่าเราแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่ออะไร เพราะจะต้องมีคนสอบถามอยู่แล้วว่ารัฐธรรมนูญที่ อนุกรรมการเสนอแก้จะลดความขัดแย้งตรงไหน
พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า หากเราจะเขียนว่าให้รัฐธรรมนูญนี้เป็นประชาธิปไตย มากขึ้นแต่มันจะไปกระแทกความรู้สึกของคนบางคน ดังนั้นต้องเลือกใช้คำ เพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ ไม่ให้คนอื่นรู้สึกว่าเราไปหักหาญน้ำใจเขา ดังนั้นตนจึงเลือกที่จะเขียนว่าได้ศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญในเฉพาะประเด็นหลักๆ ที่เห็นว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 ระยะว่า ถือเป็นทางออกที่ดีต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะการจะแก้ครั้งเดียวอาจจะทำได้ยาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพิจารณาสิ่งที่เป็นเรื่อง เร่งด่วนก่อน มาตราไหนที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารบ้านเมือง ถ้าแก้ได้ก็แก้ไปก่อน ถือว่าเรื่องนี้เข้าใจได้และเป็นข้อสรุปที่ดี เพราะสิ่งที่อนุกรรมการพิจารณาศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้นำเสนอ 3-4 ประเด็นก็คิดว่าน่าจะทำได้ โดยเฉพาะมาตรา 190 ก็น่าแก้ได้ ถ้าแก้เพื่อให้ไม่เป็นอุปสรรคการทำงานของรัฐบาล
นาย ประสพสุข ยังกล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 237 นั้นตนเห็นว่า แล้วแต่มุมมอง แต่ต้องดูรายละเอียดและเนื้อหาของมาตรามากกว่า อย่าไปบอกว่า แก้ได้แก้ไม่ได้ ส่วนการแก้รัฐธรรมนูญจะเป็นความขัดแย้งหรือไม่นั้นต้องดูข้อมูลข้อเท็จจริงก่อนว่าจะแก้อย่างไร แล้วค่อยจะคิดต่อว่าจะทำอย่างไรต่อ ทั้งนี้เห็นว่าถ้าแก้โดยการปรับถ้อยคำโดยให้กรรมการบริหารพรรครับผิดชอบ โดยไม่ถึงยุบพรรค ส่วนตัวก็เห็นด้วยและคิดว่าน่าจะทางออกที่ดี