คณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ประชุมตรวจทานร่างรายงานผลการทำงานที่สรุปสาระสำคัญของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 รวม 7 ประเด็น ประกอบด้วย การยุบพรรค และเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง ตามมาตรา 237 และมาตรา 68 ที่มาของ ส.ส.ตามมาตรา 93 และ 98 ที่มาของ ส.ว.ตามมาตรา 111-121 การทำหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ตามมาตรา 190 การดำรงตำแหน่งทางการเมืองของ ส.ส.ตามมาตรา 265 และการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนของ ส.ส.ตามมาตรา 266 และการเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกรณีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ และบทบัญญัติว่าด้วยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรณีเป็นกระบวนการที่ตัดสินโดยศาลเดียว และด้วยวาระการประชุมครั้งสุดท้ายก่อนส่งรายงานต่อคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานอนุกรรมการฯ ยืนยันถึงการทำงานอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งแม้ส่วนใหญ่จะปฏิเสธกล่าวหาว่ารัฐธรรมนูญไม่เป็นประชาธิปไตย และไม่เป็นธรรม แต่ก็ต้องยอมรับว่ารัฐธรรมนูญเป็นอุปสรรคและปัญหาให้รัฐบาลและฝ่ายนิติบัญญัติ
ทั้งนี้ พล.อ.เลิศรัตน์ กำหนดวันที่จะส่งรายงานสรุปของคณะอนุกรรมการฯ ต่อคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ในวันที่ 4 และ 9 มิถุนายนนี้
ขณะที่กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน นำโดยนายจักรชัย โฉมทองดี เข้ายื่นหนังสือต่อรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อติดตามร่างพระราชบัญญัติการจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ฉบับประชาชน พร้อมรายชื่อผู้สนับสนุน 10,000 ชื่อ เนื่องจากเห็นว่าคณะกรรมการในส่วนที่รัฐสภาตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปรับปรุงรัฐธรรมนูญ มีข้อเสนอแก้ไขมาตรา 190 จึงทำให้เกิดความกังวลว่าการแก้ไขจะถูกนำไปเป็นประเด็นการเอาชนะทางการเมืองมากกว่าการใช้ประโยชน์ของประชาชน
ขณะเดียวกัน นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ยืนยันที่จะให้การสนับสนุนแนวทางการสร้างความสมานฉันท์ในสังคม ตามข้อสรุปของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ รวมถึงการเสนอแก้รัฐธรรมนูญ 2 ระยะ และเชื่อมั่นว่าจะเป็นที่ยอมรับของสังคมเช่นกัน และแม้ว่าส่วนตัวจะให้การสนับสนุนว่าควรแก้ไขมาตรา 190 และมาตรา 237
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานอนุกรรมการฯ ยืนยันถึงการทำงานอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งแม้ส่วนใหญ่จะปฏิเสธกล่าวหาว่ารัฐธรรมนูญไม่เป็นประชาธิปไตย และไม่เป็นธรรม แต่ก็ต้องยอมรับว่ารัฐธรรมนูญเป็นอุปสรรคและปัญหาให้รัฐบาลและฝ่ายนิติบัญญัติ
ทั้งนี้ พล.อ.เลิศรัตน์ กำหนดวันที่จะส่งรายงานสรุปของคณะอนุกรรมการฯ ต่อคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ในวันที่ 4 และ 9 มิถุนายนนี้
ขณะที่กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน นำโดยนายจักรชัย โฉมทองดี เข้ายื่นหนังสือต่อรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อติดตามร่างพระราชบัญญัติการจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ฉบับประชาชน พร้อมรายชื่อผู้สนับสนุน 10,000 ชื่อ เนื่องจากเห็นว่าคณะกรรมการในส่วนที่รัฐสภาตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปรับปรุงรัฐธรรมนูญ มีข้อเสนอแก้ไขมาตรา 190 จึงทำให้เกิดความกังวลว่าการแก้ไขจะถูกนำไปเป็นประเด็นการเอาชนะทางการเมืองมากกว่าการใช้ประโยชน์ของประชาชน
ขณะเดียวกัน นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ยืนยันที่จะให้การสนับสนุนแนวทางการสร้างความสมานฉันท์ในสังคม ตามข้อสรุปของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ รวมถึงการเสนอแก้รัฐธรรมนูญ 2 ระยะ และเชื่อมั่นว่าจะเป็นที่ยอมรับของสังคมเช่นกัน และแม้ว่าส่วนตัวจะให้การสนับสนุนว่าควรแก้ไขมาตรา 190 และมาตรา 237