วานนี้ (20 พ.ค.) มีการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมี พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช เป็นประธาน ซึ่งมีการพิจารณารัฐธรรมนูญปี 50 มาตรา 190, 265, 266 และที่มาของ ส.ว.
สำหรับมาตรา 190 นั้น นายอรรคพล สรสุชาติ คณะอนุกรรมการฯ จากสัดส่วนพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า มาตรา 190 นั้น เมื่อการเขียนคำจำกัดความ คนเขียนไม่กล้า ยืนยันว่าเป็นปัญหาจากการเขียนกรอบที่กว้างเกินไป ทำให้การปฏิบัติงานทำได้ยาก และเจตนารมย์ที่ต้องการให้รัฐสภามีส่วนในการเจรจาที่สำคัญๆ นั้น เราคงต้องมีการปรับถ้อยคำ และเมื่อดูบันทึกการอภิปรายของส.ส.ร.ที่มีการเพิ่มเติมแก้ไขกันในชั้นของสภา ซึ่งเมื่อเติมคนละคำ สองคำ เลยยิ่งไปกันใหญ่ ดังนั้นเรายังต้องคงถ้อยคำไว้ แต่ปรับปรุงถ้อยคำเพื่อให้ข้าราชการสามารถปฏิบัติงานได้
**เสนอใช้วรรค2 ม.224 ของรธน.40
นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ คณะอนุกรรมการฯ จากสัดส่วนพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า มาตรา 190 นั้น ถ้าเขียนไว้อย่างนี้จะกระทบความมั่นคงของประเทศในกรณีที่รัฐบาลจำเป็นจะต้องซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ เพราะจะทำให้ฝ่ายตรงข้ามรู้ก่อน ว่าเราจะซื้ออาวุธอะไรบ้าง นอกจากนี้ยังกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติด้วย เพราะไม่มีใครอยากพูดด้วยในการเจรจาการค้าต่างๆ เนื่องจากเขารู้ว่าคุณไม่มีอำนาจอะไรเลย ต้องไปขออำนาจจากสภาก่อน ทำให้ประเทศต้องเสียผลประโยชน์ไป
ดังนั้นจึงมี 2 แนวทางคือ 1.แก้มาตรา 190 โดยให้ล้อกับมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญปี 40 โดยการนำวรรค 2 มาใช้เลย หรือ 2. นำมาตรา 190 มาแก้คำ ที่ดูแล้วเป็นไปไม่ได้เลย
นายอรรคพลได้กล่าวแย้งขึ้นว่า ตนมองว่าจำเป็นที่จะต้องแก้ในทุกวรรคของมาตรา190 แต่ไม่เห็นด้วยที่จะให้เอาวรรค 2 ของมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญปี 40 มาใช้
**ปชป.แก้ถ้อยคำทุกวรรคให้ชัดเจน
นายนิพนธ์ วิศิษฐยุทธศาสตร์ คณะอนุกรรมการฯ จากสัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ถ้ามองหลักกฎหมายนั้นไม่ควรมีการใช้ถ้อยคำที่ฟุ่มเฟือยมาก ดังนั้นถ้าจะแก้ก็อยากให้แก้ถ้อยคำในแต่ละวรรคให้ชัดเจน เพื่อที่ฝ่ายบริหารจะได้เห็นว่าทำอะไรได้หรือไม่ได้บ้าง อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีกฎหมายลูกที่ชัดเจนออกมา ก็อาจจะตัดปัญหาได้ แต่ปัญหาคือจนถึงขณะนี้ยังไม่มีการออกกฎหมายลูกเลย จึงเป็นปัญหาที่ทำให้รัฐธรรมนูญมีปัญหา
จากนั้นพล.อ.เลิศรัตน์ จึงกล่าวสรุปว่า ทุกคนเห็นตรงกันว่า ควรจะให้มีการแก้ไขมาตรา 190 แต่จะมีการแก้ไขอย่างไรนั้น จะมีการพิจารณาในรายละเอียดของแต่ละวรรคอีกครั้ง ในวันที่ 21 พ.ค.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การพิจารณา มาตรา 190 นั้น นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย และนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง คณะอนุกรรมการฯ จากสัดส่วน ส.ว. ไม่ได้เดินทางมาร่วมประชุมด้วย ทำให้ พล.อ.เลิศรัตน์ เสนอให้รอฟังความเห็นจาก นายเจิมศักดิ์ ซึ่งเป็นอดีต ส.ส.ร. ผู้แปรญัตติ มาตรา 190 เพื่อจะได้ความเห็นที่รอบด้านมากขึ้น ทำให้นายสมศักดิ์ กล่าวแย้งขึ้นว่า ทุกคนในที่ประชุมขณะนี้ก็เห็นตรงกันหมดว่าต้องแก้ มาตรา 190 ส่วนการรอฟังความเห็นจากผู้ที่เห็นต่างนั้น ไว้รอฟังความเห็นในวันหลังก็ได้ เพื่อให้การทำงานวันนี้ สามารถเดินหน้าต่อไปได้เรื่อยๆ ซึ่งนายประยุทธ์ ก็เห็นด้วยที่จะให้มีการพิจารณาต่อไป เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา จากนั้นจึงค่อยให้มีการรับฟังความเห็นของนายสุรชัย และนายเจิมศักดิ์ ในภายหลังก็ได้
พล.อ.เลิศรัตน์ จึงชี้แจงว่า ถ้าเราเสนอให้มีการแก้ไขมาตรา 190 นั้น แน่นอนว่ามีหลายประเด็นที่จะต้องแก้ไข ซึ่งทุกคนในที่นี้ก็เสนอให้มีการแก้ไข ดังนั้นจึงอยากเห็นว่า จะมีการเสนอความเห็นอย่างไรกันบ้าง
**แก้ให้ส.ส.เป็นขรก.การเมืองได้
ต่อมาเป็นการพิจารณาใน มาตรา 265 และ มาตรา 266 โดยนายอรรคพล กล่าวว่า หน้าที่ของ ส.ส.คือแก้ปัญหาของประชาชน ซึ่งปกติเราก็ทำหนังสือถึงหน่วยงานต่างๆ เพื่อติดตามแนวทางการแก้ไขปัญหา แต่เมื่อรัฐธรรมนูญมาเขียนไว้แบบนี้เราจึงไม่สามารถทำอะไรได้เลย ดังนั้นพรรคชาติไทยพัฒนา จึงเสนอให้แก้มาตรา 266 ในกรณีที่เป็นปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน รวมทั้งสามารถร้องเรียนความผิดพลาดของหน่วยงานของรัฐได้ด้วย ส่วนมาตรา 265 นั้น ขอเสนอให้มีการแก้ไขให้ ส.ส.สามารถดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการทางการเมืองได้
นายวิรัช รัตนเศรษฐ คณะอนุกรรมการฯ จากสัดส่วนพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา กล่าวว่า ส.ส.วันนี้เป็นแค่เสือกระดาษ ส.ส.อ้างได้ว่ารัฐธรรมนูญห้าม ชาวบ้านวันนี้ไม่มาหาผู้แทนฯ แล้ว แต่จะไปหาคนที่สามารถโยกย้ายได้แทน แล้วก็มีโทรศัพท์มาบอกทีหลังว่า อันนี้ของผมนะ มีตัวแทนไว้เป็นนอมินี ซึ่งถ้าหากปล่อย ส.ส.ให้เป็นเลขาฯรัฐมนตรีได้ งานที่ล้นมือของรัฐมนตรีก็จะได้เบาบางลง
พล.อ.เลิศรัตน์ จึงสรุปว่า ในส่วนของมาตรา 265 (1) นั้นที่ประชุมเสนอให้กลับไปใช้รัฐธรรมนูญปี 40 โดยไม่ห้ามในส่วนของข้าราชทางการเมือง แต่ยังคงไว้ไม่ให้เป็นตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ไปตีความว่า กรรมการต่างๆ ต้องอยู่ในส่วนของฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น ซึ่งอาจจำเป็นต้องพิจารณาปรับแก้รัฐธรรมนูญ ส่วนมาตรา 266 นั้น จริงๆ แล้วเอามาจาก มาตรา 111 ของรัฐธรรมนูญปี 40 แต่คนเขียนเขาเขียนให้เยอะๆเอาไว้ ซึ่งวิธีแก้คือ ให้ตัดวงเล็บ 1 ทิ้งแล้วปรับข้อความวงเล็บ 2 และ 3
**เสนอ ส.ว.มาจากเลือกตั้งทั้งหมด
สำหรับการพิจารณาเรื่องที่มาของ ส.ว.นั้น นายอรรคพล เสนอให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และแบ่ง ส.ว.แต่ละจังหวัดตามสัดส่วนจำนวนประชากร อย่างไรก็ตาม หากส.ว.จะมาจากการแต่งตั้งทั้งหมดก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่จะต้องมีการระบุไว้ให้ชัดเจนว่า จะเอาทิศทางใดแน่
ด้านนายนิพนธ์ กล่าวว่า กรรมการสรรหา ส.ว.ไม่ได้รู้จักทุกคน ดังนั้นถ้าจะมีการแก้ไข ก็ควรจะให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด หากจะยึดหลักของประชาธิปไตย แต่ ส.ว.ที่ทำหน้าที่อยู่ในขณะนี้ ก็ควรให้ทำหน้าที่ครบตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เช่นเดียวกับนายประยุทธ์ ที่เสนอว่า ควรกำหนดให้ ส.ว. 200 คน มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และส.ว.ปัจจุบันให้อยู่ครบตามวาระ เพราะเมื่อ ส.ว.ปัจจุบันมาตามรัฐธรรมนูญ 2550 ก็ควรมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญครบถ้วน
นายวิรัช กล่าวว่า วิธีการสรรหาส.ว. ควรที่จะต้องเปลี่ยน เพราะถ้าหากจะให้ส.ว.มาจากทุกสายอาชีพก็ควรจะเอาอย่างสภาสนามม้าในอดีตไปเลย นอกจากนี้หากมีการแก้รัฐธรรมนูญให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดแล้วไม่มีบทเฉพาะกาลไว้ เชื่อว่า ส.ว.จะไม่ยกมือผ่านรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน
นายประสิทธิ์ กล่าวว่า ทุกพรรคเห็นตรงกันให้ ส.ว.ทั้งหมดมาจากการเลือกตั้ง แต่ตนไม่แน่ใจว่าภาคประชาชนจะเห็นอย่างไร และเราจะฟังความเห็นภาคประชาชนด้วยหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเห็นด้วยที่จะให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง และมีอำนาจแบบเดิมตามรัฐธรรมนูญปี 40 รวมทั้งคงไว้บทเฉพาะกาลในส่วนของ ส.ว.จากการสรรหา
นอกจากนี้ในส่วนของมาตรา 113 นั้น องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหา 7 ท่าน 3 ท่าน เป็นตุลาการ ซึ่งเท่ากับว่าดึงศาลมายุ่งกับการเมือง ซึ่งถือว่าไม่เหมาะสม
**สรุปส.ว.มาจากเลือกตั้ง 200 คน
พล.อ.เลิศรัตน์ จึงสรุปว่า ที่ประชุมเห็นควรให้ที่มาของ ส.ว.นั้นเป็นการเลือกตั้งทั้งหมด200 คน ส่วนอำนาจหน้าที่ของส.ว.นั้นคงละเอียดไปที่เราจะไปแก้ไข อย่างไรก็ตาม ไม่เห็นด้วยกับกรณีที่คณะกรรมการสรรหาส่งรายชื่อมาให้ส.ว.เลือก และเมื่อ ส.ว. 150 คนส่งคืนกลับไปแล้วคน 5-6 คนบอกว่าโอเค จากนั้นก็นำขึ้นทูลเกล้าฯเลยนั้น ตรงนี้มันเป็นความไม่ใช่ ไม่รู้ว่าเขียนได้อย่างไร
จากนั้นที่ประชุม ได้มีการหารือถึงประเด็นการพิจารณาใน วันที่ 21 พ.ค. โดยนายประยุทธ์ กล่าวว่า กรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้ใบแดงใบเหลืองนั้น จะเห็นได้ว่า หลายครั้งมีไม่ถึงร้อยละ 50 ของศาล ที่จะเห็นด้วยกับกกต. สะท้อนให้เห็นว่า การที่กกต.เป็นผู้กำกับดูแล สืบสวน สอบสวน และตัดสินเองนั้น ความรอบคอบจะไม่เกิดขึ้น จึงอยากให้อำนาจการให้ใบเหลือง ใบแดง ไปอยู่ที่ศาลเลือกตั้ง นอกจากนี้ มาตรา 278 นั้น การตัดสินคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นั้น เป็นการตัดสินโดยศาลเดียว ซึ่งไม่เป็นสากล ซึ่งนายนิพนธ์ กล่าวแย้งขึ้นว่า ต้องมีการพิจารณาก่อนว่า ในส่วนของการตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น ขัดหลักสากลหรือไม่ แต่เชื่อว่ามีที่มาทีไปพอสมควรในเรื่องนี้ ขณะที่นายวิรัช เสนอให้มีการพิจารณาการบรรจุ พุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่ง พล.อ.เลิศรัตน์ ระบุว่า กรณีนี้อาจทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้จนไม่เกิดความสมานฉันท์ขึ้น
จนกระทั่งเวลา 13.00 น.พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวสรุปปิดการประชุมว่า การประชุมในวันที่ 21 พ.ค. คณะอนุกรรมการฯจะหยิบยกข้อเสนอของที่ประชุมใน 3 ประเด็นดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาต่อไป
สำหรับมาตรา 190 นั้น นายอรรคพล สรสุชาติ คณะอนุกรรมการฯ จากสัดส่วนพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า มาตรา 190 นั้น เมื่อการเขียนคำจำกัดความ คนเขียนไม่กล้า ยืนยันว่าเป็นปัญหาจากการเขียนกรอบที่กว้างเกินไป ทำให้การปฏิบัติงานทำได้ยาก และเจตนารมย์ที่ต้องการให้รัฐสภามีส่วนในการเจรจาที่สำคัญๆ นั้น เราคงต้องมีการปรับถ้อยคำ และเมื่อดูบันทึกการอภิปรายของส.ส.ร.ที่มีการเพิ่มเติมแก้ไขกันในชั้นของสภา ซึ่งเมื่อเติมคนละคำ สองคำ เลยยิ่งไปกันใหญ่ ดังนั้นเรายังต้องคงถ้อยคำไว้ แต่ปรับปรุงถ้อยคำเพื่อให้ข้าราชการสามารถปฏิบัติงานได้
**เสนอใช้วรรค2 ม.224 ของรธน.40
นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ คณะอนุกรรมการฯ จากสัดส่วนพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า มาตรา 190 นั้น ถ้าเขียนไว้อย่างนี้จะกระทบความมั่นคงของประเทศในกรณีที่รัฐบาลจำเป็นจะต้องซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ เพราะจะทำให้ฝ่ายตรงข้ามรู้ก่อน ว่าเราจะซื้ออาวุธอะไรบ้าง นอกจากนี้ยังกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติด้วย เพราะไม่มีใครอยากพูดด้วยในการเจรจาการค้าต่างๆ เนื่องจากเขารู้ว่าคุณไม่มีอำนาจอะไรเลย ต้องไปขออำนาจจากสภาก่อน ทำให้ประเทศต้องเสียผลประโยชน์ไป
ดังนั้นจึงมี 2 แนวทางคือ 1.แก้มาตรา 190 โดยให้ล้อกับมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญปี 40 โดยการนำวรรค 2 มาใช้เลย หรือ 2. นำมาตรา 190 มาแก้คำ ที่ดูแล้วเป็นไปไม่ได้เลย
นายอรรคพลได้กล่าวแย้งขึ้นว่า ตนมองว่าจำเป็นที่จะต้องแก้ในทุกวรรคของมาตรา190 แต่ไม่เห็นด้วยที่จะให้เอาวรรค 2 ของมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญปี 40 มาใช้
**ปชป.แก้ถ้อยคำทุกวรรคให้ชัดเจน
นายนิพนธ์ วิศิษฐยุทธศาสตร์ คณะอนุกรรมการฯ จากสัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ถ้ามองหลักกฎหมายนั้นไม่ควรมีการใช้ถ้อยคำที่ฟุ่มเฟือยมาก ดังนั้นถ้าจะแก้ก็อยากให้แก้ถ้อยคำในแต่ละวรรคให้ชัดเจน เพื่อที่ฝ่ายบริหารจะได้เห็นว่าทำอะไรได้หรือไม่ได้บ้าง อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีกฎหมายลูกที่ชัดเจนออกมา ก็อาจจะตัดปัญหาได้ แต่ปัญหาคือจนถึงขณะนี้ยังไม่มีการออกกฎหมายลูกเลย จึงเป็นปัญหาที่ทำให้รัฐธรรมนูญมีปัญหา
จากนั้นพล.อ.เลิศรัตน์ จึงกล่าวสรุปว่า ทุกคนเห็นตรงกันว่า ควรจะให้มีการแก้ไขมาตรา 190 แต่จะมีการแก้ไขอย่างไรนั้น จะมีการพิจารณาในรายละเอียดของแต่ละวรรคอีกครั้ง ในวันที่ 21 พ.ค.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การพิจารณา มาตรา 190 นั้น นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย และนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง คณะอนุกรรมการฯ จากสัดส่วน ส.ว. ไม่ได้เดินทางมาร่วมประชุมด้วย ทำให้ พล.อ.เลิศรัตน์ เสนอให้รอฟังความเห็นจาก นายเจิมศักดิ์ ซึ่งเป็นอดีต ส.ส.ร. ผู้แปรญัตติ มาตรา 190 เพื่อจะได้ความเห็นที่รอบด้านมากขึ้น ทำให้นายสมศักดิ์ กล่าวแย้งขึ้นว่า ทุกคนในที่ประชุมขณะนี้ก็เห็นตรงกันหมดว่าต้องแก้ มาตรา 190 ส่วนการรอฟังความเห็นจากผู้ที่เห็นต่างนั้น ไว้รอฟังความเห็นในวันหลังก็ได้ เพื่อให้การทำงานวันนี้ สามารถเดินหน้าต่อไปได้เรื่อยๆ ซึ่งนายประยุทธ์ ก็เห็นด้วยที่จะให้มีการพิจารณาต่อไป เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา จากนั้นจึงค่อยให้มีการรับฟังความเห็นของนายสุรชัย และนายเจิมศักดิ์ ในภายหลังก็ได้
พล.อ.เลิศรัตน์ จึงชี้แจงว่า ถ้าเราเสนอให้มีการแก้ไขมาตรา 190 นั้น แน่นอนว่ามีหลายประเด็นที่จะต้องแก้ไข ซึ่งทุกคนในที่นี้ก็เสนอให้มีการแก้ไข ดังนั้นจึงอยากเห็นว่า จะมีการเสนอความเห็นอย่างไรกันบ้าง
**แก้ให้ส.ส.เป็นขรก.การเมืองได้
ต่อมาเป็นการพิจารณาใน มาตรา 265 และ มาตรา 266 โดยนายอรรคพล กล่าวว่า หน้าที่ของ ส.ส.คือแก้ปัญหาของประชาชน ซึ่งปกติเราก็ทำหนังสือถึงหน่วยงานต่างๆ เพื่อติดตามแนวทางการแก้ไขปัญหา แต่เมื่อรัฐธรรมนูญมาเขียนไว้แบบนี้เราจึงไม่สามารถทำอะไรได้เลย ดังนั้นพรรคชาติไทยพัฒนา จึงเสนอให้แก้มาตรา 266 ในกรณีที่เป็นปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน รวมทั้งสามารถร้องเรียนความผิดพลาดของหน่วยงานของรัฐได้ด้วย ส่วนมาตรา 265 นั้น ขอเสนอให้มีการแก้ไขให้ ส.ส.สามารถดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการทางการเมืองได้
นายวิรัช รัตนเศรษฐ คณะอนุกรรมการฯ จากสัดส่วนพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา กล่าวว่า ส.ส.วันนี้เป็นแค่เสือกระดาษ ส.ส.อ้างได้ว่ารัฐธรรมนูญห้าม ชาวบ้านวันนี้ไม่มาหาผู้แทนฯ แล้ว แต่จะไปหาคนที่สามารถโยกย้ายได้แทน แล้วก็มีโทรศัพท์มาบอกทีหลังว่า อันนี้ของผมนะ มีตัวแทนไว้เป็นนอมินี ซึ่งถ้าหากปล่อย ส.ส.ให้เป็นเลขาฯรัฐมนตรีได้ งานที่ล้นมือของรัฐมนตรีก็จะได้เบาบางลง
พล.อ.เลิศรัตน์ จึงสรุปว่า ในส่วนของมาตรา 265 (1) นั้นที่ประชุมเสนอให้กลับไปใช้รัฐธรรมนูญปี 40 โดยไม่ห้ามในส่วนของข้าราชทางการเมือง แต่ยังคงไว้ไม่ให้เป็นตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ไปตีความว่า กรรมการต่างๆ ต้องอยู่ในส่วนของฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น ซึ่งอาจจำเป็นต้องพิจารณาปรับแก้รัฐธรรมนูญ ส่วนมาตรา 266 นั้น จริงๆ แล้วเอามาจาก มาตรา 111 ของรัฐธรรมนูญปี 40 แต่คนเขียนเขาเขียนให้เยอะๆเอาไว้ ซึ่งวิธีแก้คือ ให้ตัดวงเล็บ 1 ทิ้งแล้วปรับข้อความวงเล็บ 2 และ 3
**เสนอ ส.ว.มาจากเลือกตั้งทั้งหมด
สำหรับการพิจารณาเรื่องที่มาของ ส.ว.นั้น นายอรรคพล เสนอให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และแบ่ง ส.ว.แต่ละจังหวัดตามสัดส่วนจำนวนประชากร อย่างไรก็ตาม หากส.ว.จะมาจากการแต่งตั้งทั้งหมดก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่จะต้องมีการระบุไว้ให้ชัดเจนว่า จะเอาทิศทางใดแน่
ด้านนายนิพนธ์ กล่าวว่า กรรมการสรรหา ส.ว.ไม่ได้รู้จักทุกคน ดังนั้นถ้าจะมีการแก้ไข ก็ควรจะให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด หากจะยึดหลักของประชาธิปไตย แต่ ส.ว.ที่ทำหน้าที่อยู่ในขณะนี้ ก็ควรให้ทำหน้าที่ครบตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เช่นเดียวกับนายประยุทธ์ ที่เสนอว่า ควรกำหนดให้ ส.ว. 200 คน มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และส.ว.ปัจจุบันให้อยู่ครบตามวาระ เพราะเมื่อ ส.ว.ปัจจุบันมาตามรัฐธรรมนูญ 2550 ก็ควรมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญครบถ้วน
นายวิรัช กล่าวว่า วิธีการสรรหาส.ว. ควรที่จะต้องเปลี่ยน เพราะถ้าหากจะให้ส.ว.มาจากทุกสายอาชีพก็ควรจะเอาอย่างสภาสนามม้าในอดีตไปเลย นอกจากนี้หากมีการแก้รัฐธรรมนูญให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดแล้วไม่มีบทเฉพาะกาลไว้ เชื่อว่า ส.ว.จะไม่ยกมือผ่านรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน
นายประสิทธิ์ กล่าวว่า ทุกพรรคเห็นตรงกันให้ ส.ว.ทั้งหมดมาจากการเลือกตั้ง แต่ตนไม่แน่ใจว่าภาคประชาชนจะเห็นอย่างไร และเราจะฟังความเห็นภาคประชาชนด้วยหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเห็นด้วยที่จะให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง และมีอำนาจแบบเดิมตามรัฐธรรมนูญปี 40 รวมทั้งคงไว้บทเฉพาะกาลในส่วนของ ส.ว.จากการสรรหา
นอกจากนี้ในส่วนของมาตรา 113 นั้น องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหา 7 ท่าน 3 ท่าน เป็นตุลาการ ซึ่งเท่ากับว่าดึงศาลมายุ่งกับการเมือง ซึ่งถือว่าไม่เหมาะสม
**สรุปส.ว.มาจากเลือกตั้ง 200 คน
พล.อ.เลิศรัตน์ จึงสรุปว่า ที่ประชุมเห็นควรให้ที่มาของ ส.ว.นั้นเป็นการเลือกตั้งทั้งหมด200 คน ส่วนอำนาจหน้าที่ของส.ว.นั้นคงละเอียดไปที่เราจะไปแก้ไข อย่างไรก็ตาม ไม่เห็นด้วยกับกรณีที่คณะกรรมการสรรหาส่งรายชื่อมาให้ส.ว.เลือก และเมื่อ ส.ว. 150 คนส่งคืนกลับไปแล้วคน 5-6 คนบอกว่าโอเค จากนั้นก็นำขึ้นทูลเกล้าฯเลยนั้น ตรงนี้มันเป็นความไม่ใช่ ไม่รู้ว่าเขียนได้อย่างไร
จากนั้นที่ประชุม ได้มีการหารือถึงประเด็นการพิจารณาใน วันที่ 21 พ.ค. โดยนายประยุทธ์ กล่าวว่า กรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้ใบแดงใบเหลืองนั้น จะเห็นได้ว่า หลายครั้งมีไม่ถึงร้อยละ 50 ของศาล ที่จะเห็นด้วยกับกกต. สะท้อนให้เห็นว่า การที่กกต.เป็นผู้กำกับดูแล สืบสวน สอบสวน และตัดสินเองนั้น ความรอบคอบจะไม่เกิดขึ้น จึงอยากให้อำนาจการให้ใบเหลือง ใบแดง ไปอยู่ที่ศาลเลือกตั้ง นอกจากนี้ มาตรา 278 นั้น การตัดสินคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นั้น เป็นการตัดสินโดยศาลเดียว ซึ่งไม่เป็นสากล ซึ่งนายนิพนธ์ กล่าวแย้งขึ้นว่า ต้องมีการพิจารณาก่อนว่า ในส่วนของการตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น ขัดหลักสากลหรือไม่ แต่เชื่อว่ามีที่มาทีไปพอสมควรในเรื่องนี้ ขณะที่นายวิรัช เสนอให้มีการพิจารณาการบรรจุ พุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่ง พล.อ.เลิศรัตน์ ระบุว่า กรณีนี้อาจทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้จนไม่เกิดความสมานฉันท์ขึ้น
จนกระทั่งเวลา 13.00 น.พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวสรุปปิดการประชุมว่า การประชุมในวันที่ 21 พ.ค. คณะอนุกรรมการฯจะหยิบยกข้อเสนอของที่ประชุมใน 3 ประเด็นดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาต่อไป