ASTVผู้จัดการรายวัน - เปิดรายงานการตรวจสอบของ ป.ป.ท.พบ เลขาฯ กบข.ซื้อหุ้นส่วนตัวทั้งยานภัณฑ์ (YNP) ปตท. (PTT) และแลนด์แอนด์เฮาส์ (LH) ตัดหน้า กบข.ทั้งขาไปและขากลับ เฉพาะขายหุ้น YNP ก่อน กบข.เพียง 3 วัน ส่อเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ฝ่าฝืนระเบียบและจรรยาบรรณพนักงาน กบข. "กรณ์" ลั่นต้องให้ความเป็นธรรม เผยไม่ได้นิ่งนอนใจ สั่ง "วิสุทธิ์" ประชุมบอร์ด กบข.เร่งคณะกรรมการเฉพาะกิจสรุปผลรายงานกลับมาด่วน ให้ราคา ป.ป.ท.เป็นแค่ 1 ในกรรมการฯ ส่วน ก.ล.ต.แจงความผิดภายใน ไม่ถึงขั้นที่ ก.ล.ต.ลงมือตรวจสอบเอง
แหล่งข่าวกระทรวงยุติธรรมเปิดเผยรายงานผลการตรวจสอบการบริหารและการลงทุนกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) รวม 44 หน้า ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ส่งถึงนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ระบุถึงการซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีลักษณะเป็นการซื้อตัดหน้ากองทุน (Front running) การซื้อขายในทิศทางตรงกันข้ามกับการลงทุนของกองทุน กบข. (Against Portfolio) ที่อาจเข้าข่ายเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
รายงานดังกล่าวระบุว่า ฝ่ายธรรมาภิบาล กบข. สุ่มตรวจข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ของ กบข.พบว่า นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กบข. ได้ทำรายการซื้อขายหุ้นบริษัทยานภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือ YNP บริษัทแลนด์แอนด์เฮาส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ซึ่งเป็นการซื้อขายหุ้นโดยส่วนตัวที่นายวิสิฐไม่ได้ขออนุญาตก่อนและซื้อขายหลักทรัพย์ตามระเบียบ กบข.ที่กำหนดให้ต้องขออนุญาตก่อนซื้อขายทุกครั้ง นอกจากนี้ นายวิสิฐยังขาดส่งรายงานการซื้อขายหุ้นที่กำหนดให้ต้องรายงานเป็นรายไตรมาส รวม 8 ไตรมาส
คณะทำงาน ป.ป.ท. ได้นำข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ของผู้บริหารระดับสูงใน กบข.มาวิเคราะห์พบว่า นายวิสิฐมีพฤติการณ์ซื้อขายหุ้น YNP,LH และ PTT ในลักษณะก่อนหน้า หลัง หรือพร้อมกันกับวันที่ กบข.ได้ทำการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวหลายครั้งหลายหน เช่น การขายหุ้น YNP ในวันที่ 25 เม.ย. 51 เป็นการขายก่อนการขายของ กบข.เพียง 3 วัน ส่วนการขายหุ้น LH และ PTT หลายครั้งหลายหนที่พบว่าเป็นการซื้อก่อนหน้า กบข.เข้าซื้อไม่กี่วัน บางครั้งมีทั้งขายดักหน้าในวันเดียวกัน
"พฤติการณ์ของนายวิสิฐ เข้าข่ายเป็นการซื้อก่อนหน้าและดักหลัง ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนระเบียบกองทุน กบข. ว่าด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีของพนักงาน พ.ศ.2546 และยังเข้าข่ายความผิดเกี่ยวกับจรรยาบรรณของเลขาธิการ ที่นายวิสิฐได้ลงนามประกาศไว้ในวันที่ 31 มี.ค. 2546"
ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการบริหาร กบข.ได้ออกระเบียบและข้อบังคับ เป็นมาตรฐานเบื้องต้นของการปฏิบัติงาน เพื่อสร้างเกณฑ์การบริหารจัดการที่ดี ไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนแก่พนักงานของ กบข. โดยระเบียบกบข. ว่าด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีของพนักงาน พ.ศ. 2546 กำหนดหลักเกณฑ์ในการซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงานที่ต้องขออนุญาต ว่า พนักงาน กบข.จะต้องทำความเข้าใจและลงนามรับทราบหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ พนักงานที่ต้องขออนุญาตต้องได้รับอนุญาตจากฝ่ายกำกับกิจกรรมองค์กรก่อนจะทำการซื้อขายหลักทรัพย์ที่จดทะเบียน รวมถึงตราสารอนุพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกับหลักทรัพย์นั้น ซึ่งการปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวมีผลตามกฎหมาย การฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษทางวินัยไปจนถึงการเลิกจ้าง
นอกจากนี้ กบข.ยังกำหนดจรรยาบรรณและหลักปฏิบัติแก่พนักงาน กบข.โดยห้ามพนักงานซื้อขายหลักทรัพย์ของตนเองก่อนซื้อหลักทรัพย์นั้นเพื่อกองทุน ห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ใดในทิศทางตรงข้ามกับการลงทุนของกองทุนที่จะทำให้การซื้อขายหลักทรัพย์ของกองทุนได้รับความเสียหาย หรือทำให้พนักงานได้รับผลประโยชน์จากการซื้อขายหลักทรัพย์ของกองทุน และพนักงานสามารถซื้อขายหลักทรัพย์ได้แต่ต้องไม่เป็นการกระทบต่อเวลาการทำงาน ควรเป็นลักษณะการลงทุนระยะยาว คือถือหุ้นไม่น้อยกว่า 3 เดือนและต้องไม่เข้าข่าย Insider trading
ที่มาของการตรวจสอบโดยสำนักงาน ป.ป.ท.เกิดขึ้นหลังมีข้าราชการจำนวนมากร้องเรียนให้ตรวจสอบการประสบภาวะขาดทุนของ กบข.เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ขณะนี้ ป.ป.ท.ได้สรุปรายงานผลการตรวจสอบให้นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เรียบร้อยแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในรายงานดังกล่าวยังมีประเด็นการนำเงินของ กบข.ไปซื้อหุ้นแบล็กลิสต์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) คือ บริษัทยานภัณฑ์ (YNP) ที่พบว่าในปี 2550 กบข.ถือหุ้น 21,790,002 หุ้น มูลค่าหุ้น 83,237,807.64 บาท และปี 2551 กบข.ซื้อหุ้นเพิ่มสูงถึง 80,450,010 หุ้น แต่มูลค่าหุ้นลดลงเหลือเพียง 20,917,002 บาท ขณะที่ ก.ล.ต.สั่งปรับเงินเมื่อ 10 เมษายน 2550 จากกรณีการสร้างราคาหลักทรัพย์และข้อหาไม่รายงานการถือครองหลักทรัพย์ โดยสั่งปรับเป็นเงิน 37.76 ล้านบาท
***"กรณ์" ลั่นให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า ต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ยืนยันว่าในฐานะรัฐมนตรีคลังไม่ได้นิ่งนอนใจ ล่าสุดได้สั่งให้นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รักษาการปลัดกระทรวงการคลัง เรียกประชุมคณะกรรมการ กบข.ด่วน เพื่อมอบหมายให้คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของ กบข. ที่มีนายสมพล เกียรติไพบูลย์ เป็นประธานกรรมการ สรุปผลการตรวจสอบโดยด่วน โดยให้ยึดหลักข้อกฎหมาย ความโปร่งใส เป็นไปตามแนวทางการกำกับดูแลที่ดี หลังจากนั้นให้รีบรายงานกลับมาพร้อมข้อเสนอแนะและคำแนะนำอย่างเป็นทางการ
"ผมยึดคณะกรรมการเฉพาะกิจฯ เป็นหลัก ส่วน ป.ป.ท.เป็นเพียง 1 ในคณะกรรมการที่ประกอบด้วยตัวแทนกระทรวงการคลัง สำนักงานอัยการสูงสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติและผู้แทนสมาชิกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา" รมว.คลังกล่าว
**กองทุนรวมตื่นห้ามผู้บริหารถือครองหุ้น**
แหล่งข่าวจากผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) รายหนึ่งเปิดเผยว่า ในวงการกองทุนรวมนั้น ในระดับตั้งแต่ผู้บริหารไปจนถึงผู้จัดการกองทุน จะไม่สามารถถือครองหลักทรัพย์ใดๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นไปตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เกี่ยวกับการถือครองหลักทรัพย์ของผู้บริหารกองทุนรวม ซึ่งนอกจากผู้บริหารและผู้จัดการกองทุนแล้ว กฎหมายดังกล่าวยังมีผลบังคับรวมไปถึงระดับนักวิเคราะห์ นักวิจัย ตัวแทนจำหน่าย (ดีลเลอร์) และบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับการซื้อขายกองทุนรวมทั้งหมดด้วย แต่กฎหมายเปิดทางให้ลงทุนผ่านกองทุนรวมได้ แต่ต้องรายงานให้สำนักงาน ก.ล.ต. ทราบด้วย
สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นดังกล่าว แหล่งข่าวกล่าวว่า ปกติแล้วระบบการควบคุมภายในของ กบข.เอง น่าจะมีการป้องกันปัญหาเหล่านี้อยู่แล้ว แต่ไม่รู้ว่าระบบภายในของ กบข. จริงๆ แล้วเป็นอย่างไร
**ก.ล.ต.ระบุ กบข.แหกคอกบ้านตัวเอง**
นางจารุพรรณ อินทรรุ่ง ผู้อำนวยการฝ่ายงานเลขาธิการ สำนักงาน ก.ล.ต. เปิดเผยว่า ประเด็นการตรวจสอบการบริหารงานของ กบข.ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ยังไม่มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ ก.ล.ต. ซึ่ง กบข.มีสถานะเป็นนักลงทุนคนหนึ่งในตลาด หากนักลงทุน มีการกระทำความผิดกฎหมายหลักทรัพย์ เช่น การไปปั่นหุ้นสร้างราคา หรือมาทำให้ระบบการซื้อขายโดยรวมเสียหาย ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพตลาด ก.ล.ต.ก็จะเข้าไปดำเนินการ หรือหาก บริษัทหลักทรัพย์หรือโบรกเกอร์ ที่เป็นนายหน้าซื้อขายหุ้น มีการกระทำที่เอาเปรียบลูกค้า เช่น ไปซื้อหรือขายหุ้นตัดหน้าลูกค้า ตรงนี้ก็จะเป็นความผิด เพราะมีข้อห้ามไม่ให้โบรกเกอร์ ซื้อหรือขายหุ้นตัดหน้าลูกค้า ซึ่งเป็นการเขียนไว้เพื่อปกป้องนักลงทุนและปรามโบรกเกอร์ไม่ให้กระทำการที่เอาเปรียบลูกค้า ซึ่งจะมีบทลงโทษ
ส่วนกรณีของ กบข.นั้น เท่าที่ติดตามข้อมูลที่เผยแพร่ออกมา หากจะมีการกระทำความผิดจริง ก็น่าจะเป็นการทำผิดกฎเกณฑ์หรือระเบียบหรือข้อห้ามภายในองค์กรของ กบข.เอง ที่มีการกำหนดเกณฑ์ในการซื้อขายหุ้นของพนักงานในองค์กร ไม่ใช่ เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมที่เป็นการเอาเปรียบนักลงทุนในตลาด หรือไม่ได้มีการใช้ข้อมูลอินไซเดอร์หรือข้อมูลภายในของตัวหุ้นมาซื้อขายเอาเปรียบนักลงทุนรายอื่นในตลาด
"ก.ล.ต.ไม่ได้กำกับดูแล กบข. แต่อยู่ภายใต้ ก.ล.ต.ในฐานะที่เป็นนักลงทุนรายหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้ามาทำให้ระบบโดยรวมเสียหายกระทบตลาด หรือเข้ามาปั่นหุ้นหรือสร้างราคา ก.ล.ต.จึงจะเข้าไปยุ่ง แต่กรณีนี้ หากมีการกระทำผิดจริงก็เป็นความผิดเรื่องหลักเกณฑ์การลงทุนภายในบ้านของเขาเอง ก.ล.ต.ไม่ได้เข้าไปยุ่ง และจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีใครมาร้องเรียนเรื่องของ กบข.ที่กระทบกับกฎหมายหลักทรัพย์ที่ ก.ล.ต.ดูแลอยู่" นางจารุพรรณกล่าว.
*** 5 เดือนล่าสุดกำไร 9.8 พันล้าน
วานนี้ (26 พ.ค.) นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของ กบข.ว่า ที่ผ่านมา กบข. มีการปรับกลยุทธ์ การลงทุนใหม่อย่างต่อเนื่อง ให้เหมาะสมสอดคล้องกับความผันผวนและภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน เพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์จากการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจากการปรับพอร์ตการลงทุนดังกล่าว ส่งผลให้ผลตอบแทนการลงทุนของ กบข. เริ่มปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม ตามภาวะตลาดหุ้นโลกและตลาดหุ้นไทยที่ได้ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
ทั้งนี้ การที่ตลาดหุ้นปรับตัวดีขึ้นดังกล่าว ทำให้การลงทุนของ กบข. ล่าสุด ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2552 (1 ม.ค. - 21 พ.ค. 2552) มีสินทรัพย์สุทธิส่วนของเงินสมาชิก กองกลางและเงินสมาชิกที่พ้นสมาชิกภาพจำนวนทั้งสิ้น 323,766.78 ล้านบาท และอัตราผลประโยชน์สะสมตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 3.12 หรือเป็นเงินจำนวน 9,827.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นสุดไตรมาสที่ 1 ประจำปี 2552 ( มี.ค.2552) ที่อัตราผลตอบแทนติดลบร้อยละ 0.96
สำหรับสัดส่วนการลงทุน ณ ปัจจุบัน ( พ.ค. 2552 ) ได้แก่ การลงทุนในตราสารหนี้ไทยร้อยละ 74.6 ตราสารหนี้โลกร้อยละ 4.7 ตราสารทุนไทยร้อยละ 7.3 ตราสารทุนโลกร้อยละ 5.8 นิติบุคคลเอกชนในประเทศร้อยละ 3.5 และอสังหาริมทรัพย์ไทยร้อยละ 4.1
ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนการลงทุนตั้งแต่ตั้งกองทุนจนถึง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2552 ผลตอบแทน กบข. ย้อนหลัง 12 ปี ( 2540 -2552 ) เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 6.80 เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 12 ปี เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ1.63 ส่วนผลตอบแทน กบข. ย้อนหลัง 5 ปี ( 2547 2552 ) เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.07 เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 5 ปี เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.27
แหล่งข่าวกระทรวงยุติธรรมเปิดเผยรายงานผลการตรวจสอบการบริหารและการลงทุนกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) รวม 44 หน้า ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ส่งถึงนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ระบุถึงการซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีลักษณะเป็นการซื้อตัดหน้ากองทุน (Front running) การซื้อขายในทิศทางตรงกันข้ามกับการลงทุนของกองทุน กบข. (Against Portfolio) ที่อาจเข้าข่ายเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
รายงานดังกล่าวระบุว่า ฝ่ายธรรมาภิบาล กบข. สุ่มตรวจข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ของ กบข.พบว่า นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กบข. ได้ทำรายการซื้อขายหุ้นบริษัทยานภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือ YNP บริษัทแลนด์แอนด์เฮาส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ซึ่งเป็นการซื้อขายหุ้นโดยส่วนตัวที่นายวิสิฐไม่ได้ขออนุญาตก่อนและซื้อขายหลักทรัพย์ตามระเบียบ กบข.ที่กำหนดให้ต้องขออนุญาตก่อนซื้อขายทุกครั้ง นอกจากนี้ นายวิสิฐยังขาดส่งรายงานการซื้อขายหุ้นที่กำหนดให้ต้องรายงานเป็นรายไตรมาส รวม 8 ไตรมาส
คณะทำงาน ป.ป.ท. ได้นำข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ของผู้บริหารระดับสูงใน กบข.มาวิเคราะห์พบว่า นายวิสิฐมีพฤติการณ์ซื้อขายหุ้น YNP,LH และ PTT ในลักษณะก่อนหน้า หลัง หรือพร้อมกันกับวันที่ กบข.ได้ทำการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวหลายครั้งหลายหน เช่น การขายหุ้น YNP ในวันที่ 25 เม.ย. 51 เป็นการขายก่อนการขายของ กบข.เพียง 3 วัน ส่วนการขายหุ้น LH และ PTT หลายครั้งหลายหนที่พบว่าเป็นการซื้อก่อนหน้า กบข.เข้าซื้อไม่กี่วัน บางครั้งมีทั้งขายดักหน้าในวันเดียวกัน
"พฤติการณ์ของนายวิสิฐ เข้าข่ายเป็นการซื้อก่อนหน้าและดักหลัง ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนระเบียบกองทุน กบข. ว่าด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีของพนักงาน พ.ศ.2546 และยังเข้าข่ายความผิดเกี่ยวกับจรรยาบรรณของเลขาธิการ ที่นายวิสิฐได้ลงนามประกาศไว้ในวันที่ 31 มี.ค. 2546"
ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการบริหาร กบข.ได้ออกระเบียบและข้อบังคับ เป็นมาตรฐานเบื้องต้นของการปฏิบัติงาน เพื่อสร้างเกณฑ์การบริหารจัดการที่ดี ไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนแก่พนักงานของ กบข. โดยระเบียบกบข. ว่าด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีของพนักงาน พ.ศ. 2546 กำหนดหลักเกณฑ์ในการซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงานที่ต้องขออนุญาต ว่า พนักงาน กบข.จะต้องทำความเข้าใจและลงนามรับทราบหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ พนักงานที่ต้องขออนุญาตต้องได้รับอนุญาตจากฝ่ายกำกับกิจกรรมองค์กรก่อนจะทำการซื้อขายหลักทรัพย์ที่จดทะเบียน รวมถึงตราสารอนุพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกับหลักทรัพย์นั้น ซึ่งการปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวมีผลตามกฎหมาย การฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษทางวินัยไปจนถึงการเลิกจ้าง
นอกจากนี้ กบข.ยังกำหนดจรรยาบรรณและหลักปฏิบัติแก่พนักงาน กบข.โดยห้ามพนักงานซื้อขายหลักทรัพย์ของตนเองก่อนซื้อหลักทรัพย์นั้นเพื่อกองทุน ห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ใดในทิศทางตรงข้ามกับการลงทุนของกองทุนที่จะทำให้การซื้อขายหลักทรัพย์ของกองทุนได้รับความเสียหาย หรือทำให้พนักงานได้รับผลประโยชน์จากการซื้อขายหลักทรัพย์ของกองทุน และพนักงานสามารถซื้อขายหลักทรัพย์ได้แต่ต้องไม่เป็นการกระทบต่อเวลาการทำงาน ควรเป็นลักษณะการลงทุนระยะยาว คือถือหุ้นไม่น้อยกว่า 3 เดือนและต้องไม่เข้าข่าย Insider trading
ที่มาของการตรวจสอบโดยสำนักงาน ป.ป.ท.เกิดขึ้นหลังมีข้าราชการจำนวนมากร้องเรียนให้ตรวจสอบการประสบภาวะขาดทุนของ กบข.เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ขณะนี้ ป.ป.ท.ได้สรุปรายงานผลการตรวจสอบให้นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เรียบร้อยแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในรายงานดังกล่าวยังมีประเด็นการนำเงินของ กบข.ไปซื้อหุ้นแบล็กลิสต์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) คือ บริษัทยานภัณฑ์ (YNP) ที่พบว่าในปี 2550 กบข.ถือหุ้น 21,790,002 หุ้น มูลค่าหุ้น 83,237,807.64 บาท และปี 2551 กบข.ซื้อหุ้นเพิ่มสูงถึง 80,450,010 หุ้น แต่มูลค่าหุ้นลดลงเหลือเพียง 20,917,002 บาท ขณะที่ ก.ล.ต.สั่งปรับเงินเมื่อ 10 เมษายน 2550 จากกรณีการสร้างราคาหลักทรัพย์และข้อหาไม่รายงานการถือครองหลักทรัพย์ โดยสั่งปรับเป็นเงิน 37.76 ล้านบาท
***"กรณ์" ลั่นให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า ต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ยืนยันว่าในฐานะรัฐมนตรีคลังไม่ได้นิ่งนอนใจ ล่าสุดได้สั่งให้นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รักษาการปลัดกระทรวงการคลัง เรียกประชุมคณะกรรมการ กบข.ด่วน เพื่อมอบหมายให้คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของ กบข. ที่มีนายสมพล เกียรติไพบูลย์ เป็นประธานกรรมการ สรุปผลการตรวจสอบโดยด่วน โดยให้ยึดหลักข้อกฎหมาย ความโปร่งใส เป็นไปตามแนวทางการกำกับดูแลที่ดี หลังจากนั้นให้รีบรายงานกลับมาพร้อมข้อเสนอแนะและคำแนะนำอย่างเป็นทางการ
"ผมยึดคณะกรรมการเฉพาะกิจฯ เป็นหลัก ส่วน ป.ป.ท.เป็นเพียง 1 ในคณะกรรมการที่ประกอบด้วยตัวแทนกระทรวงการคลัง สำนักงานอัยการสูงสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติและผู้แทนสมาชิกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา" รมว.คลังกล่าว
**กองทุนรวมตื่นห้ามผู้บริหารถือครองหุ้น**
แหล่งข่าวจากผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) รายหนึ่งเปิดเผยว่า ในวงการกองทุนรวมนั้น ในระดับตั้งแต่ผู้บริหารไปจนถึงผู้จัดการกองทุน จะไม่สามารถถือครองหลักทรัพย์ใดๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นไปตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เกี่ยวกับการถือครองหลักทรัพย์ของผู้บริหารกองทุนรวม ซึ่งนอกจากผู้บริหารและผู้จัดการกองทุนแล้ว กฎหมายดังกล่าวยังมีผลบังคับรวมไปถึงระดับนักวิเคราะห์ นักวิจัย ตัวแทนจำหน่าย (ดีลเลอร์) และบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับการซื้อขายกองทุนรวมทั้งหมดด้วย แต่กฎหมายเปิดทางให้ลงทุนผ่านกองทุนรวมได้ แต่ต้องรายงานให้สำนักงาน ก.ล.ต. ทราบด้วย
สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นดังกล่าว แหล่งข่าวกล่าวว่า ปกติแล้วระบบการควบคุมภายในของ กบข.เอง น่าจะมีการป้องกันปัญหาเหล่านี้อยู่แล้ว แต่ไม่รู้ว่าระบบภายในของ กบข. จริงๆ แล้วเป็นอย่างไร
**ก.ล.ต.ระบุ กบข.แหกคอกบ้านตัวเอง**
นางจารุพรรณ อินทรรุ่ง ผู้อำนวยการฝ่ายงานเลขาธิการ สำนักงาน ก.ล.ต. เปิดเผยว่า ประเด็นการตรวจสอบการบริหารงานของ กบข.ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ยังไม่มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ ก.ล.ต. ซึ่ง กบข.มีสถานะเป็นนักลงทุนคนหนึ่งในตลาด หากนักลงทุน มีการกระทำความผิดกฎหมายหลักทรัพย์ เช่น การไปปั่นหุ้นสร้างราคา หรือมาทำให้ระบบการซื้อขายโดยรวมเสียหาย ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพตลาด ก.ล.ต.ก็จะเข้าไปดำเนินการ หรือหาก บริษัทหลักทรัพย์หรือโบรกเกอร์ ที่เป็นนายหน้าซื้อขายหุ้น มีการกระทำที่เอาเปรียบลูกค้า เช่น ไปซื้อหรือขายหุ้นตัดหน้าลูกค้า ตรงนี้ก็จะเป็นความผิด เพราะมีข้อห้ามไม่ให้โบรกเกอร์ ซื้อหรือขายหุ้นตัดหน้าลูกค้า ซึ่งเป็นการเขียนไว้เพื่อปกป้องนักลงทุนและปรามโบรกเกอร์ไม่ให้กระทำการที่เอาเปรียบลูกค้า ซึ่งจะมีบทลงโทษ
ส่วนกรณีของ กบข.นั้น เท่าที่ติดตามข้อมูลที่เผยแพร่ออกมา หากจะมีการกระทำความผิดจริง ก็น่าจะเป็นการทำผิดกฎเกณฑ์หรือระเบียบหรือข้อห้ามภายในองค์กรของ กบข.เอง ที่มีการกำหนดเกณฑ์ในการซื้อขายหุ้นของพนักงานในองค์กร ไม่ใช่ เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมที่เป็นการเอาเปรียบนักลงทุนในตลาด หรือไม่ได้มีการใช้ข้อมูลอินไซเดอร์หรือข้อมูลภายในของตัวหุ้นมาซื้อขายเอาเปรียบนักลงทุนรายอื่นในตลาด
"ก.ล.ต.ไม่ได้กำกับดูแล กบข. แต่อยู่ภายใต้ ก.ล.ต.ในฐานะที่เป็นนักลงทุนรายหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้ามาทำให้ระบบโดยรวมเสียหายกระทบตลาด หรือเข้ามาปั่นหุ้นหรือสร้างราคา ก.ล.ต.จึงจะเข้าไปยุ่ง แต่กรณีนี้ หากมีการกระทำผิดจริงก็เป็นความผิดเรื่องหลักเกณฑ์การลงทุนภายในบ้านของเขาเอง ก.ล.ต.ไม่ได้เข้าไปยุ่ง และจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีใครมาร้องเรียนเรื่องของ กบข.ที่กระทบกับกฎหมายหลักทรัพย์ที่ ก.ล.ต.ดูแลอยู่" นางจารุพรรณกล่าว.
*** 5 เดือนล่าสุดกำไร 9.8 พันล้าน
วานนี้ (26 พ.ค.) นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของ กบข.ว่า ที่ผ่านมา กบข. มีการปรับกลยุทธ์ การลงทุนใหม่อย่างต่อเนื่อง ให้เหมาะสมสอดคล้องกับความผันผวนและภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน เพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์จากการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจากการปรับพอร์ตการลงทุนดังกล่าว ส่งผลให้ผลตอบแทนการลงทุนของ กบข. เริ่มปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม ตามภาวะตลาดหุ้นโลกและตลาดหุ้นไทยที่ได้ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
ทั้งนี้ การที่ตลาดหุ้นปรับตัวดีขึ้นดังกล่าว ทำให้การลงทุนของ กบข. ล่าสุด ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2552 (1 ม.ค. - 21 พ.ค. 2552) มีสินทรัพย์สุทธิส่วนของเงินสมาชิก กองกลางและเงินสมาชิกที่พ้นสมาชิกภาพจำนวนทั้งสิ้น 323,766.78 ล้านบาท และอัตราผลประโยชน์สะสมตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 3.12 หรือเป็นเงินจำนวน 9,827.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นสุดไตรมาสที่ 1 ประจำปี 2552 ( มี.ค.2552) ที่อัตราผลตอบแทนติดลบร้อยละ 0.96
สำหรับสัดส่วนการลงทุน ณ ปัจจุบัน ( พ.ค. 2552 ) ได้แก่ การลงทุนในตราสารหนี้ไทยร้อยละ 74.6 ตราสารหนี้โลกร้อยละ 4.7 ตราสารทุนไทยร้อยละ 7.3 ตราสารทุนโลกร้อยละ 5.8 นิติบุคคลเอกชนในประเทศร้อยละ 3.5 และอสังหาริมทรัพย์ไทยร้อยละ 4.1
ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนการลงทุนตั้งแต่ตั้งกองทุนจนถึง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2552 ผลตอบแทน กบข. ย้อนหลัง 12 ปี ( 2540 -2552 ) เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 6.80 เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 12 ปี เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ1.63 ส่วนผลตอบแทน กบข. ย้อนหลัง 5 ปี ( 2547 2552 ) เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.07 เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 5 ปี เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.27