ฉันทามติของพี่น้องพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหลายหมื่นคนเมื่อค่ำคืนวันที่ 25 พ.ค. 2552 เห็นชอบให้จัดตั้งพรรคการเมือง เพื่อเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือของพันธมิตรฯ เพื่อนำประเทศไทยไปสู่การเมืองใหม่ ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข..
จะผิดถูกชั่วดีอย่างไร ผมก็คงต้องกราบขออภัยบรรดาท่านแกนนำพันธมิตรฯ อยู่เรื่องหนึ่งก็คือ 4 เดือนที่ผ่านมา แทบทุกครั้งที่ได้ร่วมเดินสายไปกับ “คอนเสิร์ตการเมือง” ของพันธมิตรฯ ผมมักจะหยั่งกระแสเสียงพ่อแม่พี่น้องเอ๊ยว่า จะให้พันธมิตรฯ ก้าวเดินไปอย่างไร ถ้ามี 3 ทางเลือกพี่น้องจะเลือกอย่างไหน
1) คงความเป็นพันธมิตรฯ ในฐานะองค์กรภาคประชาชนเพียงอย่างเดียว อย่าได้วอกแวกเป็นอย่างอื่น
2) แปรรูปพันธมิตรฯ เป็นพรรคการเมืองเต็มรูปแบบ
3) คงความเป็นองค์กรของพันธมิตรฯ แต่ขณะเดียวกันให้จัดตั้งพรรคการเมืองอยู่ภายใต้ร่มธงของพันธมิตรฯ ด้วย
ทุกเวที..เสียงปรบมือที่หนักแน่นยาวนานกว่าคือ ข้อ 3
เล่าแถมให้ฟังนิดหนึ่งว่า มีอยู่ครั้งหนึ่งพอลงจากเวที ได้รับโทรศัพท์จากคุณน้องไทกร พลสุวรรณ ณ อีสานกู้ชาติ บอกดังๆ ผ่านสายว่า..พี่สำราญยอดมาก กล้าหาญมากที่กล้าเปิดประเด็นถามเรื่องพรรคการเมือง ไม่มีแกนนำคนไหนกล้า..
เมื่อวานได้อ่านข่าวที่คุณน้องไทกรบอกว่าพรรคพันธมิตรฯ ถ้าฝันถึงตัวเลข 4-50 ที่นั่งนั้นเป็นเรื่องเพ้อเจ้อ ก็เป็นความเห็นที่ต้องรับฟัง แต่ก็น่าเสียดายอยู่นิดหนึ่งตรงที่ว่าคนที่เคยร่วมต่อสู้กันมา เป็นขาประจำของเวทีพันธมิตรฯ ทำไมต้องอารมณ์ผันแปรกราดเกรี้ยวเลี้ยวปาดหน้ากันได้ถึงปานนี้....
ครับ..จะว่าไปผมไม่ได้แปลกใจ ตื่นเต้นกับมติของพ่อแม่พี่น้องพันธมิตรฯ สักเท่าใดนัก หากแต่ประทับใจซาบซึ้งใจในเสียงปรบมือ เสียงมือตบกลางสายฝน จากร่างกายที่เปียกปอนเหน็บหนาวแต่หัวใจยืนหยัดไม่ยอมลุกหนีไปไหน...
จากนี้ไป เป็นการบ้านอันเหนื่อยหนักของแกนนำและคณะทำงานของพันธมิตรฯ ตั้งแต่การจดทะเบียนพรรค ออกแบบวางโครงสร้าง วางคน กำหนดนโยบาย การระดมทุนช่วยพรรค
และรวมทั้งต้องตั้งรับวิชามารการปล่อยข่าวลือปล่อยข่าวเท็จเพื่อดิสเครดิต พรรคใหม่และใครต่อใคร ตลอดจนการจับผิดผ่านสภากาแฟ ผ่านสื่อมวลชน..
หรือแม้แต่กับสื่อมวลชนหลายคนเสนอผ่านผมว่าเมื่อมาทำพรรคการเมือง แม้จะยืนหยัดในเนื้อหา - แนวคิดแนวอุดมการณ์สู่การเมืองใหม่ แต่ก็คงต้องมีการปรับตัวปรับกระบวนท่าในการพูดจาสื่อสารกันด้วยเหมือนกัน...
มิใช่ว่าเราต้องพูดจาโกหกตอหลดตอแหล แต่ “ท่าที –ท่วงทำนอง” คือสิ่งสำคัญ เพราะในอนาคตเมื่อพรรคการเมืองพรรคนี้เป็นพรรคเต็มรูป เดินเข้าสู่สภาจะอาศัยแค่สื่อASTV เพียงอย่างเดียวก็คงไม่พอ ขณะที่ตัว ASTV เองแม้จะเป็นสื่อเลือกข้าง (ความถูกต้อง) แต่ก็คงต้องจัดวางระยะห่างกับพรรคการเมืองของพันธมิตรฯ ที่จะเกิด..
การเมืองในระบบรัฐสภา จะมีความหยุมหยิมยุ่งยากทางกฎหมายเข้ามากำกับควบคุมพรรค และนักการเมืองมาก ตั้งแต่กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นๆ อีกหลายฉบับ
เหล่านี้คือความเป็นห่วงเป็นใยของพ่อแม่พี่น้องที่สะท้อนผ่านผมมา ท่านเหล่านั้นกลัวว่าบรรดาแกนนำและว่าที่ผู้บริหารพรรคทั้งหลายจะพลาดเรื่องง่ายๆ ตายน้ำตื้นหรือถ้าเป็นมวยก็แพ้ฟาวล์แพ้แตก อะไรทำนองนั้น..
ไม่ว่าจะอย่างไรถึงนาทีนี้ ต้องบันทึกไว้ว่าพรรคการเมืองของพันธมิตรฯ ที่กำลังทำคลอดกันอยู่ มีแนวโน้มที่จะเป็นลักษณะเด่นในสายตาของผมอย่างน้อย 5 ประการ
1) มีที่มามี “ประวัติศาสตร์” ของตัวเอง อันหมายถึงมาจากการต่อสู้ร่วมกันของพ่อแม่พี่น้องประชาชน นับเนื่องมาตั้งแต่การจุดเทียนเล่มแรกของปรากฏการณ์สนธิ เมื่อปลายปี 2548 กระทั่งเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อ 9 ก.พ. 2549 จนมาถึงปัจจุบัน
2) ประชาชนมีส่วนร่วมในการตั้งพรรค หรือเกิดขึ้นจากเสียงสะท้อนเสียงเรียกร้องของประชาชน
3) มวลชนหรือประชาชนของพรรคการเมืองพรรคนี้มีทุกระดับชั้นตั้งแต่ชนชั้นรากแก้ว ชนชั้นกลาง ชนชั้นสูง อดีตฝ่ายซ้ายที่เคยเข้าป่าจับอาวุธเพราะถูกเผด็จการไล่ต้อน นักต่อสู้จากองค์กรพัฒนาเอกชนหรือเอ็นจีโอ ฯลฯ โดยที่ทุกชนชั้น ทุกภาคส่วนที่มารวมตัวล้วนแต่มั่นคงในจุดยืนเทิดทูนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
4) ไม่มีทุนขนาดใหญ่เข้ามาครอบงำ ชี้นำพรรค หากแต่ทุนหลักคือทุนบริจาครายเล็กรายน้อย ดังนั้นเชื่อมั่นได้ว่าในอนาคตจะไม่มีภาพของการเมืองเก่า ประเภทว่าบริจาค 30 ล้านได้ตำแหน่ง ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ บริจาค 100 ล้าน 200 ล้าน รับตำแหน่งรัฐมนตรี ฯลฯ ให้เราเห็น
5) แนวโน้มหลักของแกนนำพรรคหรือผู้บริหารพรรค ส่วนใหญ่จะมาจากคนที่มีความรู้ความสามารถ มีประวัติในการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมหรือเป็นคนดี และมีความกล้าหาญ ดังนั้นน่าจะเชื่อมั่นได้มากว่าเมื่อพรรคได้มีบทบาทในสภา ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติหรือเป็นฝ่ายบริหารก็ตาม คนเหล่านี้จะเป็นที่มุ่งที่หวังของประชาชนได้แน่
ขณะที่เป้าหมายของพรรคก็คือการมีบทบาทผลักดัน – นำประเทศสู่การเมืองใหม่เป็นสำคัญ ไม่ได้ตั้งเป้าหมายเรื่องจำนวนที่นั่ง ส.ส.
.....................
กล่าวโดยสรุป ถ้าใช้ความรู้สึกในฐานะเป็นพลเมืองคนไทยคนหนึ่ง เราๆ ท่านๆ ก็ควรส่งเสียงปรบมือต้อนรับการก่อเกิดของพรรคการเมืองพรรคใหม่พรรคนี้ อย่างน้อยก็ทำให้มีทางเลือกมีตัวเลือกเพิ่มขึ้น และเป็นตัวเลือกที่เชื่อว่าจะไม่ขี้เหร่แน่นอน ตรงข้ามกลับมีลักษณะเด่นที่ท้าทายอย่างน้อยก็ 5 ประการดังกล่าวมาแล้ว
และเรียนตามตรงส่งท้ายว่า..ผมสบายใจที่ คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในพรรคการเมืองพรรคใหม่ ประกาศต่อหน้าพ่อแม่พี่น้องเมื่อค่ำคืน 25.5.52 ว่า การสร้างพรรคการเมืองหนนี้คือการลงทุนทางปัญญาระยะยาว พวกเรา “ต้องรีบแต่ไม่ร้อน” และอย่าท้อใจหากได้ ส.ส.เข้าสภาไปน้อย จะเท่าไหร่ก็ขอให้ ส.ส.ของพรรคนี้ได้เป็นตัวแทนแสดงออกถึงจิตวิญญาณของพวกเรา (พี่น้องพันธมิตรฯ)
ซึ่งผมมองว่านี่คือการตกผลึกใหม่ของคุณสนธิ..ที่หลุดจากกรอบการเมืองเก่า...
หลุดกรอบ...แต่ก็ไม่ได้หลุดโลกแบบเพ้อเจ้อหรือเพ้อฝันแต่ประการใด ใช่มั้ยครับ..พี่น้องเอ๊ยยยยยยย....
samr_rod@hotmail.com
จะผิดถูกชั่วดีอย่างไร ผมก็คงต้องกราบขออภัยบรรดาท่านแกนนำพันธมิตรฯ อยู่เรื่องหนึ่งก็คือ 4 เดือนที่ผ่านมา แทบทุกครั้งที่ได้ร่วมเดินสายไปกับ “คอนเสิร์ตการเมือง” ของพันธมิตรฯ ผมมักจะหยั่งกระแสเสียงพ่อแม่พี่น้องเอ๊ยว่า จะให้พันธมิตรฯ ก้าวเดินไปอย่างไร ถ้ามี 3 ทางเลือกพี่น้องจะเลือกอย่างไหน
1) คงความเป็นพันธมิตรฯ ในฐานะองค์กรภาคประชาชนเพียงอย่างเดียว อย่าได้วอกแวกเป็นอย่างอื่น
2) แปรรูปพันธมิตรฯ เป็นพรรคการเมืองเต็มรูปแบบ
3) คงความเป็นองค์กรของพันธมิตรฯ แต่ขณะเดียวกันให้จัดตั้งพรรคการเมืองอยู่ภายใต้ร่มธงของพันธมิตรฯ ด้วย
ทุกเวที..เสียงปรบมือที่หนักแน่นยาวนานกว่าคือ ข้อ 3
เล่าแถมให้ฟังนิดหนึ่งว่า มีอยู่ครั้งหนึ่งพอลงจากเวที ได้รับโทรศัพท์จากคุณน้องไทกร พลสุวรรณ ณ อีสานกู้ชาติ บอกดังๆ ผ่านสายว่า..พี่สำราญยอดมาก กล้าหาญมากที่กล้าเปิดประเด็นถามเรื่องพรรคการเมือง ไม่มีแกนนำคนไหนกล้า..
เมื่อวานได้อ่านข่าวที่คุณน้องไทกรบอกว่าพรรคพันธมิตรฯ ถ้าฝันถึงตัวเลข 4-50 ที่นั่งนั้นเป็นเรื่องเพ้อเจ้อ ก็เป็นความเห็นที่ต้องรับฟัง แต่ก็น่าเสียดายอยู่นิดหนึ่งตรงที่ว่าคนที่เคยร่วมต่อสู้กันมา เป็นขาประจำของเวทีพันธมิตรฯ ทำไมต้องอารมณ์ผันแปรกราดเกรี้ยวเลี้ยวปาดหน้ากันได้ถึงปานนี้....
ครับ..จะว่าไปผมไม่ได้แปลกใจ ตื่นเต้นกับมติของพ่อแม่พี่น้องพันธมิตรฯ สักเท่าใดนัก หากแต่ประทับใจซาบซึ้งใจในเสียงปรบมือ เสียงมือตบกลางสายฝน จากร่างกายที่เปียกปอนเหน็บหนาวแต่หัวใจยืนหยัดไม่ยอมลุกหนีไปไหน...
จากนี้ไป เป็นการบ้านอันเหนื่อยหนักของแกนนำและคณะทำงานของพันธมิตรฯ ตั้งแต่การจดทะเบียนพรรค ออกแบบวางโครงสร้าง วางคน กำหนดนโยบาย การระดมทุนช่วยพรรค
และรวมทั้งต้องตั้งรับวิชามารการปล่อยข่าวลือปล่อยข่าวเท็จเพื่อดิสเครดิต พรรคใหม่และใครต่อใคร ตลอดจนการจับผิดผ่านสภากาแฟ ผ่านสื่อมวลชน..
หรือแม้แต่กับสื่อมวลชนหลายคนเสนอผ่านผมว่าเมื่อมาทำพรรคการเมือง แม้จะยืนหยัดในเนื้อหา - แนวคิดแนวอุดมการณ์สู่การเมืองใหม่ แต่ก็คงต้องมีการปรับตัวปรับกระบวนท่าในการพูดจาสื่อสารกันด้วยเหมือนกัน...
มิใช่ว่าเราต้องพูดจาโกหกตอหลดตอแหล แต่ “ท่าที –ท่วงทำนอง” คือสิ่งสำคัญ เพราะในอนาคตเมื่อพรรคการเมืองพรรคนี้เป็นพรรคเต็มรูป เดินเข้าสู่สภาจะอาศัยแค่สื่อASTV เพียงอย่างเดียวก็คงไม่พอ ขณะที่ตัว ASTV เองแม้จะเป็นสื่อเลือกข้าง (ความถูกต้อง) แต่ก็คงต้องจัดวางระยะห่างกับพรรคการเมืองของพันธมิตรฯ ที่จะเกิด..
การเมืองในระบบรัฐสภา จะมีความหยุมหยิมยุ่งยากทางกฎหมายเข้ามากำกับควบคุมพรรค และนักการเมืองมาก ตั้งแต่กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นๆ อีกหลายฉบับ
เหล่านี้คือความเป็นห่วงเป็นใยของพ่อแม่พี่น้องที่สะท้อนผ่านผมมา ท่านเหล่านั้นกลัวว่าบรรดาแกนนำและว่าที่ผู้บริหารพรรคทั้งหลายจะพลาดเรื่องง่ายๆ ตายน้ำตื้นหรือถ้าเป็นมวยก็แพ้ฟาวล์แพ้แตก อะไรทำนองนั้น..
ไม่ว่าจะอย่างไรถึงนาทีนี้ ต้องบันทึกไว้ว่าพรรคการเมืองของพันธมิตรฯ ที่กำลังทำคลอดกันอยู่ มีแนวโน้มที่จะเป็นลักษณะเด่นในสายตาของผมอย่างน้อย 5 ประการ
1) มีที่มามี “ประวัติศาสตร์” ของตัวเอง อันหมายถึงมาจากการต่อสู้ร่วมกันของพ่อแม่พี่น้องประชาชน นับเนื่องมาตั้งแต่การจุดเทียนเล่มแรกของปรากฏการณ์สนธิ เมื่อปลายปี 2548 กระทั่งเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อ 9 ก.พ. 2549 จนมาถึงปัจจุบัน
2) ประชาชนมีส่วนร่วมในการตั้งพรรค หรือเกิดขึ้นจากเสียงสะท้อนเสียงเรียกร้องของประชาชน
3) มวลชนหรือประชาชนของพรรคการเมืองพรรคนี้มีทุกระดับชั้นตั้งแต่ชนชั้นรากแก้ว ชนชั้นกลาง ชนชั้นสูง อดีตฝ่ายซ้ายที่เคยเข้าป่าจับอาวุธเพราะถูกเผด็จการไล่ต้อน นักต่อสู้จากองค์กรพัฒนาเอกชนหรือเอ็นจีโอ ฯลฯ โดยที่ทุกชนชั้น ทุกภาคส่วนที่มารวมตัวล้วนแต่มั่นคงในจุดยืนเทิดทูนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
4) ไม่มีทุนขนาดใหญ่เข้ามาครอบงำ ชี้นำพรรค หากแต่ทุนหลักคือทุนบริจาครายเล็กรายน้อย ดังนั้นเชื่อมั่นได้ว่าในอนาคตจะไม่มีภาพของการเมืองเก่า ประเภทว่าบริจาค 30 ล้านได้ตำแหน่ง ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ บริจาค 100 ล้าน 200 ล้าน รับตำแหน่งรัฐมนตรี ฯลฯ ให้เราเห็น
5) แนวโน้มหลักของแกนนำพรรคหรือผู้บริหารพรรค ส่วนใหญ่จะมาจากคนที่มีความรู้ความสามารถ มีประวัติในการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมหรือเป็นคนดี และมีความกล้าหาญ ดังนั้นน่าจะเชื่อมั่นได้มากว่าเมื่อพรรคได้มีบทบาทในสภา ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติหรือเป็นฝ่ายบริหารก็ตาม คนเหล่านี้จะเป็นที่มุ่งที่หวังของประชาชนได้แน่
ขณะที่เป้าหมายของพรรคก็คือการมีบทบาทผลักดัน – นำประเทศสู่การเมืองใหม่เป็นสำคัญ ไม่ได้ตั้งเป้าหมายเรื่องจำนวนที่นั่ง ส.ส.
.....................
กล่าวโดยสรุป ถ้าใช้ความรู้สึกในฐานะเป็นพลเมืองคนไทยคนหนึ่ง เราๆ ท่านๆ ก็ควรส่งเสียงปรบมือต้อนรับการก่อเกิดของพรรคการเมืองพรรคใหม่พรรคนี้ อย่างน้อยก็ทำให้มีทางเลือกมีตัวเลือกเพิ่มขึ้น และเป็นตัวเลือกที่เชื่อว่าจะไม่ขี้เหร่แน่นอน ตรงข้ามกลับมีลักษณะเด่นที่ท้าทายอย่างน้อยก็ 5 ประการดังกล่าวมาแล้ว
และเรียนตามตรงส่งท้ายว่า..ผมสบายใจที่ คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในพรรคการเมืองพรรคใหม่ ประกาศต่อหน้าพ่อแม่พี่น้องเมื่อค่ำคืน 25.5.52 ว่า การสร้างพรรคการเมืองหนนี้คือการลงทุนทางปัญญาระยะยาว พวกเรา “ต้องรีบแต่ไม่ร้อน” และอย่าท้อใจหากได้ ส.ส.เข้าสภาไปน้อย จะเท่าไหร่ก็ขอให้ ส.ส.ของพรรคนี้ได้เป็นตัวแทนแสดงออกถึงจิตวิญญาณของพวกเรา (พี่น้องพันธมิตรฯ)
ซึ่งผมมองว่านี่คือการตกผลึกใหม่ของคุณสนธิ..ที่หลุดจากกรอบการเมืองเก่า...
หลุดกรอบ...แต่ก็ไม่ได้หลุดโลกแบบเพ้อเจ้อหรือเพ้อฝันแต่ประการใด ใช่มั้ยครับ..พี่น้องเอ๊ยยยยยยย....
samr_rod@hotmail.com