แกนนำพันธมิตรฯพร้อมด้วยตัวแทนจาก10 อนุภูมิภาค และองค์กรเครือข่าย ร่วมประชุมสภาพันธมิตรฯล้นหลาม สรุป 3 ข้อ คัดค้านการ
แก้ไขรัฐธรรมนูญ ร่วมสืบสานเจตนารมณ์วีรชนสร้างการเมืองใหม่เพื่อพิทักษ์ ปกป้องระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมอบ 5 แกนนำไปพิจารณาออกแบบจัดโครงสร้างพรรค ขอเสียงประชามติตั้งพรรคและร่วมรำลึก 193 วันแห่งการต่อสู้วันนี้ ที่ ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เผยแนวโน้มตั้งพรรคการเมืองสูง แต่ยังไม่ฟันธงหัวหน้าใครนั่งหน.พรรค และมาจากคนนอกหรือไม่ ยืนยันบทบาทนอกสภาของพันธมิตรฯยังมีอยู่ เพราะการตั้งพรรคไม่ใช่เป้าหมายสำคัญ เป็นเพียงวิธีการต่อสู้แบบใหม่เท่านั้น
การประชุมสภาพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่อาคารนันทนาการ มหาวิทยาลัยรังสิตได้เริ่มขึ้นเมื่อเวลา 09.00 น.วานนี้ (24พ.ค.)โดยมีนายสมศักดิ์ โกศัยสุข 1ใน 5 แกนนำพันธมิตรฯรุ่นแรก ในฐานะประธานสภาพันธมิตรฯ เป็นประธานในการประชุม ขณะที่ตัวแทนพันธมิตรฯจากทั่วประเทศประมาณ 3,000 คน เข้าร่วมประชุมอย่างคับคั่ง เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นกับแกนนำพันธมิตรฯทั้ง 5 คน ประกอบด้วย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายสนธิ ลิ้มทองกุล นาย
สมศักดิ์ โกศัยสุข นายพิภพ ธงไชย และ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ก่อนที่จะมีการจัดงานรำลึกถึง193 วันในวันนี้ (25พ.ค.) โดยมีตัวแทนสถานเอกอัครราชทูตต่างๆ มาร่วมสังเกตการณ์ด้วย
ก่อนประชุมจะเริ่มขึ้นนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรฯได้ชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับวาระการประชุมรวมทั้งเอกสารประกอบการประชุม ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับแนวทางการเมืองใหม่ ซึ่งพันธมิตรฯได้จัดสัมมนาระดมความคิดเห็นหลายครั้ง ตั้งแต่ปี 2551 นอกจากนั้นยังมีแบบสอบถามเกี่ยวกับทิศทางการต่อสู้ของพันธมิตรฯ รวมทั้งแนวทางเกี่ยวกับการตั้งพรรคพันธมิตรฯ ให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาแสดงความคิดเห็นด้วย
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรฯ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ ถือเป็นการมารวมกันครั้งแรกของพี่น้องพันธมิตรฯ เพื่อมาร่วมกันกำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ ในอนาคตในเรื่องต่างๆอาทิ การตั้งพรรคการเมือง ท่าทีต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
สำหรับการตั้งพรรคการเมืองนั้น การประชุมในครั้งนี้ ถือเป็นการหารือในระดับตัวแทนพันธมิตรฯ แต่ละจังหวัด ทั้งโดยการแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม และการตอบแบบสอบถามที่จัดไว้ประมาณ 3,000 ชุด เมื่อได้ข้อสรุปในแต่ละประเด็น ก็จะนำไปถามพี่น้องพันธมิตรฯที่มาร่วมงานรำลึก193 วัน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ที่จะจัดขึ้นในวันนี้ (25พ.ค.)โดยตอบแบบสอบถามประมาณ 7 หมื่นชุด รวมทั้งนายสมศักดิ์ ในฐานะประธานสภาพันธมิตรฯ ก็จะถามความเห็นพี่น้องที่มาร่วมงานในแต่ละประเด็นโดยให้ยกมือ
อย่างไรก็ตาม ผลการหารือจะยังไม่ใช่ข้อสรุปทั้งหมด เพราะต้องนำความเห็นจากแบบสอบถาม มาประมวลอีกครั้ง ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ หรือ10วัน
ร่วมไว้อาลัยวีรชนพันธมิตรฯ
นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ในฐานะประธานสภาพันธมิตรฯ ได้เชิญชวนให้พี่น้องพันธมิตรฯ ที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ยืนไว้อาลัย 1 นาทีก่อนทำการประชุม เพื่อเป็นการเคารพจิตวิญาณญาณของผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 7 ต.ค.51 ในฐานะเป็นผู้ร่วมกันเขียนประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ สิ่งที่น่าภาคภูมิใจ คือ ผู้ที่เข้ามาในครั้งนี้ ไม่มีใครจ้างวานมา แต่มาด้วยจิตสำนึก ดังนั้นจึงขอความกรุณา ให้การอภิปรายในครั้งนี้ ต่างจากสภาเน่าเฟะ เพราะมีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก จึงขอให้แสดง
ความคิดเห็นอย่างเต็มที่ แต่ขอให้กระชับ เพื่อตอกเสาเข็มนำไปสู่การเมืองใหม่
4 แกนนำวิเคราะห์สถานการณ์
หลังนายนายสมศักดิ์ กล่าวเปิดการประชุม เป็นช่วงของการพูดวิเคราะห์สถานการณ์ โดยแกนนำพันธมิตรฯ เริ่มจากนายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นคนแรก โดยนายสนธิ กล่าวว่า พันธมิตรฯ เป็นของศักดิ์สิทธิ์ พรรคการเมืองนั้น ถ้าจะมีการตั้งก็จะเป็นเครื่องมือหนึ่งในการต่อสู้ของพันธมิตรฯ ซึ่งพันธมิตรฯ มีเครื่องมือหลายอย่างนอกจากพรรคการเมืองแล้ว อาจมีมูลนิธิที่ออกไปให้ความรู้กับประชาชน ทั้งนี้ 5 แกนนำพันธมิตรฯ จะเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองหรือไม่ ขึ้นอยู่กับพี่น้องพันธมิตรฯเป็นคนเลือก ไม่ใช่ตั้งกันเองอย่างเด็ดขาด
นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ แกนนำพันธมิตรฯ กล่าวว่า ผลของการต่อสู้ของพันธมิตรฯ 4-5 ปีที่ผ่านมา ได้ทำให้เกิดปรากฏการณ์ 3 อย่าง คือ 1.ชนชั้นที่มีความรู้ ขยายตัวอย่างกว้างขวาง และตั้งตัวเองเป็นพันธมิตรฯ 2 .มีการเปิดโปงอย่างเข้มแข็งของสื่อ เอเอสทีวี ทำให้เกิดการขยายตัวขององค์ความรู้ไปอย่างไม่มี
ขีดจำกัด 3. การจัดตั้งไปสู่องค์กรการเมืองใหม่ ทั้ง 3 ปรากฏการณ์นี้คือ ปัจจุบันที่จะพลิกโฉมประเทศไทย ขณะเดียวกันก็เป็นการขุดหลุมฝังการเมืองเก่า
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ กล่าวว่า ไม่ได้ตั้งใจ หรือมีเจตนาที่จะจัดพรรคการเมือง แม้ว่าจะมีเสียงสนับสนุนจำนวนมาก ซึ่งเราคิดว่าต้องถามมติของประชาชนก่อน จึงตกลงกันว่า เมื่อครบ 1 ปีการชุมนุม เราจะประชุมพบปะกับพันธมิตรฯ ทั่วประเทศ แต่กลับมีเรื่องเกิดขึ้น เนื่องจากนักการเมืองต่างรวมหัวกันแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 237, 190 และ 309 เพื่อประโยชน์ตัวเอง ทำให้เราทนการเมืองเก่าไม่ไหว ดังนั้น เราจะถามพี่น้องพันธมิตรฯว่า เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ ขอยืนยันว่าแกนนำฯ ไม่ได้มีการชี้นำในการตั้งพรรคการเมือง แต่เราจะถามเสียงส่วนใหญ่ พี่น้องพันธมิตรฯ ซึ่งจะได้รู้กันว่า จะมีการจัดตั้งพรรคการเมืองหรือไม่
นายพิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรฯ กล่าวว่าประวัติศาสตร์จะต้องบันทึกไว้ ในการต่อสู้มายาวยาวนานของพี่น้องพันธมิตรฯ ที่บาดเจ็บและเสียชีวิตจะไม่สูญเปล่า การต่อสู้ของเราเพื่อต้องการขจัดนักการเมืองเลว ไม่และให้คนมีอำนาจที่ไม่ดีเข้ามาปกครองบ้านเมือง ซึ่งประวัติศาสตร์การเมืองจะต้องบันทึกว่า
พรรคการเมืองของพันธมิตรฯมาจากมวลชนอย่างแท้จริงและจะเป็นของประชาชน
"ถ้ามีฉันทามติตั้งพรรคการเมืองพ่อแม่พี่น้อง ต้องสัญญาว่า จะต้องร่วมสู้อยู่ด้วยกัน ทั้งนี้ 5 แกนนำพันธมิตรฯ ได้ปรึกษาและสัญญากันแล้ว ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นจะไม่ทิ้งประชาชนอย่างเด็ดขาด จะสร้างความเป็นธรรม ในทุกภาคส่วน ร่วมกันสร้างการเมืองใหม่ เพราะประเทศทนความฉิบหายต่อไปไม่ได้แล้ว"นายพิภพกล่าว
ค้านแก้รธน.50-หนุนตั้งพรรค
หลังจาก 5 แกนนำพันธมิตรฯได้ประเมินสถานการณ์ทางการเมืองแล้ว นายสมศักดิ์ ได้เปิดโอกาสให้ตัวแทนพันธมิตรฯจาก10 อนุภูมิภาค จากทั่วประเทศ รวมทั้งองค์กรแนวร่วมได้แสดงความเห็นต่อ 2 ประเด็นหลักทางการเมืองในปัจจุบันว่ามีความคิดเห็นอย่างไร คือ 1. การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2. การตั้งพรรคการเมืองของพันธมิตรฯ ซึ่งตัวแทนจาก10 อนุภูมิภาค มีความคิดเห็นไปในทางเดียวกัน คือ คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี2550 และสนับสนุนให้ตั้งพรรคการเมือง
เพื่อเข้าไปทำหน้าที่ขับเคลื่อนการเมืองใหม่ ในระบบรัฐสภา ควบคู่กับการต่อสู้ของภาคประชาชน
พรรคพธม.ความหวังคนรุ่นใหม่
ขณะที่ตัวแทนจากเครือข่ายเยาวชนกู้ชาติ (Young PAD) แสดงความเห็นว่า หลังจากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคการเมืองที่ซื้อเสียงแล้ว พรรคการเมืองเก่าแก่พรรคหนึ่งได้เข้ามาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แม้ว่าจะได้ผู้นำที่มีความสง่างาม แต่ก็อยู่ในระบบการเมืองที่หมองหม่น น้ำเน่า เป็นการเมืองเก่า จึงสมควรที่พันธมิตรฯ จะตั้งพรรคการเมือง แต่ควรจะทำด้วยความใจเย็น ต้องทำให้สังคมเห็นด้วยเสียก่อนว่า การเมืองใหม่ จะเป็นความหวังของสังคมไทยอย่างแท้จริง ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น Young PAD เห็นว่า ไม่ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะกฎต้องเป็นกฎ
ไม่ห่วงพันธมิตรฯซ้ำรอยการเมืองเก่า
ต่อมา ในช่วงบ่าย เวลาประมาณ 13.15 น. นายสมศักด์ ได้เปิดให้ตัวแทนเครือข่ายพันธมิตรฯส่วนต่างๆ แสดงความคิดเห็น โดยเริ่มจากเครือข่ายเกษตรกร โดยนางกิมอัง พงษ์นารายณ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรประชาชนแห่งประเทศไทย ให้ความเห็นว่า เรามีกระทรวงเกษตรฯ ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาให้เกษตรกร แต่นักการเมืองที่เข้าไปบริหารที่ผ่านมามีแต่คนเลว ไม่สนใจแก้ปัญหาให้เกษตรกร จึงเห็นว่าควรจะตั้งพรรคการเมืองของพันธมิตรฯ ขึ้นมาเลย และไม่ต้องกังวลว่าเมื่อพรรคการเมืองแล้ว ภาคประชาชนจะทำงานต่อไปไม่ได้ และไม่ต้องกังวลว่าพรรคของพันธมิตรฯ จะเข้าไปทำแบบการเมืองเก่าเสียเอง เพราะวิสัยทัศน์ของพันธมิตรฯ เราสามารถตรวจสอบได้ทุกพรรค แม้แต่พรรคของเราเอง ถ้าไม่ดีเราสามารถตรวจสอบได้
ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ตัวแทนเครือข่ายเกษตรกร กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นการแก้ไข เนื่องจากความเดือดร้อนของนักการเมืองเอง แต่เกษตรกรเดือดร้อนกลับไม่สนใจ เป็นความห่วยแตกของนักการเมืองเอง เพราะฉะนั้น เราไม่เอากับนักการเมืองพวกนี้แล้ว
ด้านนางสาวเปมิกา ฉัตรภิญญาคุปต์ ตัวแทนกลุ่ม ทีจีโอ(Thaksin Get Out) กล่าวว่า จากการสำรวจความเห็นของสมาชิกภายในกลุ่ม มีทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วยกับการตั้งพรรคการเมืองของพันธมิตรฯ แต่ส่วนใหญ่จะออกมาใน 2 ลักษณะ คือ 1. เห็นด้วยกับการตั้งพรรคแต่มีเงื่อนไข และ 2. เห็นด้วยแต่ยังไม่ถึงเวลา รวมทั้งเห็นด้วย แต่ไม่ควรที่จะมีแกนนำพันธมิตรฯ เข้าไปอยู่ในพรรค อย่างไรก็ตาม ข้อมูลขณะนี้ ยังไม่สามารถได้ว่าควรจะตั้งพรรคการการเมืองหรือไม่ แต่อาจต้องย้อนไปทบทวนอีกครั้งว่า ถึงเวลาที่จะตั้งพรรคหรือไม่
ผนึกกำลังเดินหน้าร่วมกัน
นายสุทิน พลาทิน ตัวแทนเครือข่ายประชาธิปไตยยาตรา กล่าวว่า เครือข่ายฯ คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 อย่างแน่นอน ส่วนการตั้งพรรคนั้น เห็นว่า พันธมิตรฯ ต้องพัฒนาการการต่อสู้จากที่เคยไล่ล่าระบอบทักษิณ มาสู่การร่วมคิดร่วมทำเพื่อสร้างการเมืองใหม่ ในภาวะที่ประเทศเรากำลังเดินเข้าสู่วิกฤติ ทำอย่างไรเราจะจัดตั้งมวลชนที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เราต้องจัดการแนวรบด้านสื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ดังนั้นถ้าเราจะมีพรรคการเมือง ต้องเป็น 1.พรรคของมวลชนอย่างแท้จริง 2. ต้องนำสู่การเปลี่ยนแปลงสู่การเมืองใหม่ มีอิสระ มีการกำกับดูแลโดยกระบวนการของประชาชนอย่างเข้มแข็ง 3. สมาชิกที่เข้าสู่การเมืองต้องมีจิตอาสา กล้าต่อสู้อย่างเด็ดเดี่ยว ทั้งนี้ การตัดสินใจต้องมีฉันทามติร่วมกัน และเคารพเสียงส่วนน้อย หลังจาก 2 วันนี้เราต้องผนึกเดินไปข้างหน้าร่วมกัน
5 แกนนำทำดีที่สุดแล้ว
ด้านตัวแทนจากกองทัพธรรม เห็นว่าไม่ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญเวลานี้ เพราะผู้มีส่วนได้เสียเข้าไปอยู่ในกระบวนการแก้ไข ส่วนการตั้งพรรคการเมืองนั้น ถ้าจะตั้งจริง เราต้องสร้างมาตรฐานทางจริยธรรมของพรรคพันธมิตรฯ ให้สูงกว่าพรรคการเมืองทั่วไป ทั้ง ส.ส. กรรมการบริหาร หัวหน้าพรรค ต้องมีมาตรฐานทางจริยธรรมที่สูงกว่าพรรคอื่น ถ้าทำตรงนี้ไมได้ ก็จะมีแต่เสียกับเสีย
ส่วนประเด็นที่ว่าแกนนำควรจะมาเกี่ยวข้องกับพรรคหรือไม่นั้น ตัวแทนกองทัพธรรมเห็นว่า 5 แกนนำได้ทำหน้าที่มาอย่างดีที่สุดแล้ว ในการให้ความจริง ให้สัจจะธรรมแก่สังคม ถ้าให้มาเกลือกกลั้วกับการเมืองที่มีลาภยศ อำนาจอยู่ในมือ ความบริสุทธิ์เหล่านั้นก็จะด่างพร้อย สังคมเราไม่มีแค่พันธมิตรฯ ยังมีกัลยาณชนจำนวนมาก ที่ยังไม่กล้าเปิดเผยตัวตนว่าอยู่กับเรา เพราะยังไม่มั่นใจว่า การต่อสู้ของพวกเราบริสุทธิ์ใจหรือไม่ การบอกว่าต้องปลดล็อกคำพูดของแกนนำ เพราะสถานการณ์เปลี่ยนนั้น เป็นคำพูดแบบนักการเมืองเก่า มีหรือว่าแกนนำจะไม่ทราบว่าการเมืองเป็นอนิจจัง และ 5 แกนนำเข้ามาทำงานโดยไม่หวังอำนาจ หรือเพื่อเข้ามาแสวงหาประโยชน์ใดๆ
ตัวแทนกองทัพธรรม ได้ฝากข้อคิดว่า สมัยโบราณ มีคนเชื่อว่าการเข้าป่าสามารถบรรลุธรรมได้ มีพราหมณ์ไปถามพระพุทธเจ้าเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า ถ้าได้ผู้ยังไม่มีสมาธิเข้าไปในป่า ป่านั้นก็จะเอาท่านไปเสีย ดังนั้น ถ้าเราไม่ได้คนที่มีจริยธรรมอย่างแท้จริงเข้าไปอยู่ในพรรคการเมือง สิ่งที่พันธมิตรฯ ทำมาทั้งหมดอาจจะล้มเหลวและสูญเสีย
ด้านตัวแทนอาสาพยาบาล กลุ่มพยาบาลมัฆวาน ได้แสดงความเห็น ต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ2550 เพราะนักการเมืองรู้อยู่แล้วว่ากติกาเป็นอย่างไร พอแพ้แล้วจะมาแก้กติกา จะนิรโทษกรรมให้ตัวเอง เราจึงไม่เห็นด้วย ส่วนการตั้งพรรคการเมือง อยากให้รอภาคประชาชนเข้มแข็งกว่านี้ก่อน พันธมิตรฯ มีจิตใจที่บริสุทธิ์จริง แต่ห่วงว่าจะมีคนมาฉวยโอกาส และเข้าไปสู่การเมืองน้ำเน่า โดยใช้พวกเราเป็นบันไดเหยียบขึ้นไป
นอกจากนี้การใช้สื่อ เอเอสทีวี ถ้าชี้นำมากไปอาจเป็นผลเสียต่อแนวร่วมในระยะยาว จึงอยากให้คำนึงถึงกลุ่มคนที่เข้าไม่ถึง และไม่เข้าใจการทำงานของเรา โดยไม่ให้ภาพออกมาว่าพันธมิตรฯ คือเอเอสทีวี แม้ว่าเราเป็นพวกเดียวกันก็ตาม อย่างไรก็ตามเสียงส่วนมากในกลุ่มของเราเห็นด้วยที่จะตั้งพรรคการเมืองไม่ได้รับเลือกตั้งไม่ใช่เรื่องน่าอาย
ต่อมาตัวแทนศิลปิน โดยนายสมศักดิ์ อิสมันยี จากวงคีตาญชลี ให้ความเห็นว่า ความคิดเรื่องการตั้งพรรคการเมือง กลุ่มศิลปินยังไม่เอกฉันท์ บางคนว่าควร บางคนว่าไม่ควรตั้ง แต่การต่อสู้ของภาคประชาชนนั้นจุดสุดท้ายแล้วต้องมีพรรคการเมืองของประชาชน ส่วนที่มีความเป็นห่วงว่ามันจะช้าหรือไวนั้นไม่เป็นปัญหา แต่คิดว่าตั้งแล้วจะเป็นอย่างไร ต่างหาก เมื่อมีพรรคของตัวเองแล้วจะเป็นอย่างไร บางคนห่วงว่าจะมีคนมาฉวยโอกาส ซึ่งประเด็นนี้ขึ้นกับว่าเราได้ตั้งวินัย
ให้เข้มแข็งหรือไม่ ถ้าเราตั้งวินัยว่าทำผิดต้องรับโทษจริงจัง คนก็ฉวยโอกาสไม่ได้ นี่เป็นรูปแบบการเมืองใหม่
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปเราเห็นควรตั้งพรรคการเมือง ส่วนเรื่องที่วิตกว่า ตั้งแล้วจะได้รับเลือกตั้งหรือไม่ ถ้าไม่ได้ เราจะอายไหม ไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าถามประชาชนที่ไปลงคะแนนแม้แต่คนที่รับเงินไป เขาอยากเห็นพรรคการเมืองที่ดีกว่าทั้งสิ้น ดังนั้นพรรคการเมืองที่เราตั้งขึ้นจะได้รับเลือกตั้งหรือไม่ ไม่สำคัญ แต่บรรทัดฐานที่เราเป็นตัวอย่างให้สังคมต่างหากที่สำคัญ เราอาจต้องรอ 10-20 ปีไม่เป็นไร ไม่ต้องกังวล แต่บรรทัดฐานใหม่ และกฎวินัยที่เราจะเอาจริงเอาจังกับคนของเราต่างหาก ที่เราต้องกังวล
นักวิชาการ90% เห็นด้วย
ด้านนักวิชาการอิสระ ม.รังสิต ได้แสดงความเห็นว่า รัฐธรรมนูญ2550 เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อจับผู้ร้าย จากบริบทที่นักการเมืองฉ้อฉล ซื้อเสียง เราจึงไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ส่วนการตั้งพรรคการเมืองของพันธมิตรฯ นั้นนักวิชาการส่วนใหญ่เห็นด้วน 80-90 % ให้มีพรรคการเมืองใหม่ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับพรรคกรีนในยุโรป ที่มาจากคนหนุ่มสาว ที่ไม่พอใจการเมืองแบบเดิมๆ และขอให้พี่น้องภาคใต้สบายใจได้ว่า เมื่อมีพรรคของพันธมิตรฯ แล้ว พรรคประชาธิปัตย์จะยังอยู่ เพียงแต่มีเสียงน้อยลงเท่านั้น ขออย่าได้กลัว ถ้าพรรคการเมืองดีจริง มันต้องยู่วันยังค่ำ ถ้าไม่อยู่ก็แสดงว่าประชาธิปัตย์ไม่ใช่ตัวแทนพวกเราอย่างแท้จริง ที่กลัวว่า เราจะตกเข้าไปอยู่ในวังวนการเมืองน้ำเน่านั้น ขอเรียนว่าถ้าพันธมิตร มีความเข้มแข็งในการตรวจสอบตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้จะไม่มีวันเกิด เหมือนรัฐมนตรีหญิงคนหนึ่งของพรรคกรีน ที่ไปพูดสนับสนุนอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ ต้องลาออกจากตำแหน่งทันที เพียงแค่พูดเท่านั้น เพราฉะนั้นพวกเราอย่ากลัว ขอให้เป็นไปตามธรรมชาติ
ผิดหวังที่รัฐบาลมุ่งแต่จะแก้รธน.
น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า พลังพันธมิตรฯ ซึ่งเป็นพลังบริสุทธิ์ ที่มาชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก เพราะเบื่อหน่ายนักการเมืองที่บริหารบ้านเมืองเพื่อประโยชน์ของตัวเอง โดยเฉพาะแกนนำจัดตั้งรัฐบาลในชุดปัจจุบัน ที่เชื่อว่าเป็นพรรคน้ำดี แต่หลังจากเข้ามาเสวยอำนาจ ได้บริหารบ้านเมืองแบบประวิงเวลาไปวันๆ เท่านั้น และเกิดผลเสียหายต่อประเทศชาติเป็นอย่างมาก ตลอด 4-5 เดือนที่ผานมา มุ่งหวังที่แต่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการแต่งตั้งกรรมการสมานฉันท์ฯ ที่ล้วนมาจากนักการเมืองที่มีปัญหา ก็เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ตัวเองพ้นผิด ดังนั้นการเมืองใหม่จะเกิดขึ้นไม่ได้หากนักการเมืองยังขาดจิตสำนึก และหากผู้นำในยุคปัจจุบันไม่กล้าตัดสินใจเพื่อคนส่วนใหญ่
"ถึงเวลาแล้ว “ประวัติศาสตร์การเมืองใหม่” กำลังจะเกิดขึ้นด้วยน้ำมือพี่น้องพันธมิตรฯ อย่าไปห่วงข้อครหาที่ว่าการเมืองกลางถนน ไม่สามารถแก้ปัญหาในระบอบรัฐสภาได้ แต่การเมืองใหม่ ต้องการคนที่มีความกล้าหาญ เป็นคนดี พันธมิตรฯ จึงถือเป็นการเมืองภาคประชาชน ที่จำเป็นต้องส่งตัวแทนเข้าไปต่อสู้ในระบอบรัฐสภา" น.ต.ประสงค์กล่าว
ต้องมีพธม.ภาคประชาชนต่อไป
นายศิริชัย ไม้งาม แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ รุ่น 2 กล่าวว่า แม้สมาชิกส่วนใหญ่จะสนับสนุนให้มีการตั้งพรรค และหากมีการตั้งพรรคจริง ก็ยังต้องมีกลุ่มพันธมิตรฯ ต่อไป เพราะพรรคการเมืองนั้นเป็นเพียงแค่การแสดงเจตจำนงในการเข้าสู่ระบบรัฐสภา เพื่อเป็นตัวแทนไปทำหน้าที่ปากเสียงของประชาชนในการตรวจสอบเท่านั้น แต่กลุ่มพันธมิตรฯ ที่เป็นพลังมวลชนในภาคประชาชน ยังต้องมีอยู่เพื่อตรวจสอบการทำหน้าที่อยู่ภายนอกสภาด้วย ซึ่งสามารถทำงานคู่ขนานกันไปได้
"ยืนยันว่า กลุ่มพันธมิตรฯ จะตรวจสอบทุกคนที่อยู่ในอำนาจรัฐ เพราะอยากเห็นการเมืองใหม่เกิดขึ้น แม้วันนี้อาจจะมีการตั้งเป็นพรรคการเมืองขึ้น แต่ก็เป็นเพียงการยกระดับการเมืองไทยเท่านั้น ดังนั้นนโยบายต่างๆ ที่จะออกมา ก็ต้องตอบรับกับการเมืองใหม่ด้วย และหากนักการเมืองของพรรคที่จะตั้งขึ้นนั้นมีความไม่โปร่งใส ก็จะต้องมีกฎเหล็กในการส่งสัญญาณให้กรรมการบริหารพรรค เพื่อดำเนินการทันที" แกนนำพันธมิตรฯรุ่น 2 กล่าว
ขอมติที่ประชุมใหญ่3เรื่องวันนี้
ต่อมาเวลา 16.00 น. นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานเครือข่ายพันธมิตรฯ กล่าวสรุปว่า ผลการหารือในที่ประชุมสภาพันธมิตรฯ ที่จะนำไปขอมติในที่ประชุมใหญ่ทั่วประเทศในวันนี้ ( 25 พ.ค.) คือ
1. จะร่วมคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 190 , 237 และ309 รวมทั้งมาตราใดๆ ที่กระทบต่อผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่
2.จะร่วมกันสืบสานเจตนารมณ์วีรชนเพื่อสร้างการเมืองใหม่ ด้วยการตั้งพรรคการเมืองใหม่ขึ้นมาต่อสู้ไปพร้อมๆ กับการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ ในฐานะการเมืองภาคประชาชน
3.จะมอบหมายให้ 5 แกนนำ รับเอาเจตนารมณ์ของที่ประชุมพันธมิตรฯไปพิจารณา ออกแบบและจัดโครงสร้างของพรรคแล้วนำมาขอความเห็นชอบจากพี่น้องพันธมิตรฯ ทั่วประเทศอีกครั้งหนึ่ง
ประกาศพันธสัญญา3ประการ
นายสุริยะใส กล่าวด้วยว่า สำหรับร่างคำประกาศพันธมิตรฯ เดินหน้าสู่การเมืองใหม่นั้น พวกเราพันธมิตรฯ ตระหนักมั่นดีว่า เส้นทางการต่อสู้เพื่อสร้างชาติ และสร้างการเมืองใหม่นั้น เต็มไปด้วยอุปสรรคขัดขวางและแรงต้านมหาศาลจากการเมืองระบบเก่า ความรุนแรงสารพัดรูปแบบที่กระทำต่อพี่น้องพันธมิตรฯ เป็นประจักษ์พยานว่า การต่อสู้เพื่อสังคมที่ดีกว่ายังไม่จบ หากแต่เพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น แม้สถานการณ์จะเปลี่ยนไป แต่เป้าหมายยังไม่บรรลุ ในขณะเดียวกันซึ่งพวกเราไม่มีวันลืมกับความสูญเสียที่เกิดขึ้น เราขอประกาศเป็นพันธสัญญาร่วมกันดังนี้
1. พวกเราจะร่วมกันสานต่อเจตนารมณ์ของวีรชน เพื่อพิทักษ์และปกป้องระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. พวกเราจะทำทุกวิถีทางเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนคนดีให้เข้าสู่อำนาจ และร่วมกันขัดขวางคนไม่ดี เพื่อไม่ให้เข้ามามีอำนาจ
3. พวกเราจะเป็นความหวังและความจริงของสังคมไทย เพื่อผลักดันการเมืองใหม่
ยันตั้งพรรคการเมืองก็ยังมีกลุ่มพธม.
นายสุริยะใส ให้สัมภาษณ์ ภายหลังอ่านร่างพันธสัญญาว่า ดูแนวโน้มแล้ว มีโอกาสที่จะจัดตั้งพรรคสูง แกนนำทุกคนเห็นตรงกันที่จะให้มีการจัดตั้งพรรค ทั้งนี้ ไม่อยากจะชี้นำ คงต้องฟังความเห็นประชาชนอีกครั้งหนึ่ง เพราะพันธมิตรฯ ถือเป็นองค์กรที่เคลื่อนไหวในภาคประชาชน แต่สิ่งที่ท้าทายต่อไปคือ การตั้งพรรคการเมือง เพราะการแสวงหาอำนาจของพันธมิตรฯนั้น ต้องเป็นไปเพื่อประชาชน อีกทั้งการตั้งพรรคนั้นคงต้องใช้เวลา ซึ่งอย่างน้อยน่าจะไม่น้อยกว่า 3 เดือน จึงจะได้ข้อสรุป จากนั้นจะมีการเดินสายไปตามจังหวัดต่างๆ เพื่อขอความเห็นกับประชานทุกภาคส่วน
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า บทบาทนอกสภาของพันธมิตรฯนั้นจะยังมีอยู่ เพราะการตั้งพรรคไม่ใช่เป้าหมายสำคัญ เป็นเพียงวิธีการต่อสู้แบบใหม่เท่านั้น ไม่ใช่ตั้งพรรคแล้วจบ หรือชนะ
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีคนนอกมาเป็นหัวหน้าพรรคหรือไม่ นายสุริยะใส กล่าวว่า ยังไม่อยากตั้งธงว่าหัวหน้าพรรคจะเป็นใคร เพราะเรื่องคนไม่สำคัญเท่าที่มา เรื่องทั้งหมดต้องเป็นไปตามกระบวนการ ประชาชนรู้สึกเป็นเจ้าของพรรคอย่างแท้จริง ดังนั้นต้องค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ ส่วนหัวหน้าพรรคนั้น ต้องเป็นคนที่เสียสละ สะอาด
ส่วนหากตั้งพรรคแล้วจะมีเรื่องทุนเข้ามาเกี่ยวข้องด้งยนั้น เราไม่ปฏิเสธที่จะต้องมีเรื่องทุนเข้ามา แต่ต้องเป็นทุนที่สะอาด ไม่มีเงื่อนไขมาแลกเปลี่ยน ไม่มาครอบงำพรรค เพราะไม่อย่างนั้นการเมืองใหม่ก็คงไม่เกิด
ปัด"อาทิตย์"เป็นนายทุนให้
เมื่อถามว่า แสดงว่า ยังไม่ได้ปิดประตูตายที่แกนนำจะเป็นหัวหน้าพรรค นายสุริยะใส กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแกนนำ แต่ก็ยังไม่ปิดโอกาส แต่เท่าที่ดูแบบสอบถามนั้นส่วนใหญ่อยากให้นายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นหัวหน้าพรรค
สำหรับนายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ถือเป็นแคนดิเดตหัวหน้าพรรค และเป็นนายทุนพรรคด้วยหรือไม่นั้น นายสุริยะใส กล่าวว่า เรื่องทั้งหมดเป็นข่าวปล่อย เพราะนายอาทิตย์ ไม่ใช่นายทุนพรรค เพียงแต่ให้ยืมสถานที่เท่านั้น เชื่อว่านายอาทิตย์ มีอุดมการณ์เพื่อประชาชน จึงไม่มีความคิดที่จะมาเป็นนายทุนให้พรรคการเมือง
ส่วนกรณีที่นายสนธิ เคยระบุว่าจะไม่เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองนั้น นายสุริยะใส กล่าวว่า ต้องถามนายสนธิเอง ตนตอบแทนไม่ได้ แต่นายสนธิไม่เคยอยากเป็นหัวหน้าพรรค เรื่องนี้ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของประชาชนดีกว่า
สำหรับการประเมินเก้าอี้ส.ส. ที่คาดว่าจะได้รับหากตั้งพรรคการเมืองนั้น นายสุริยะใส กล่าวว่า ส.ส.ระบบสัดส่วนน่าจะได้ประมาณ 10 ที่นั่ง ส่วนในระบบเขตเลือกตั้งนั้น น่าจะได้ ส.ส.ในกทม. ภาคกลาง และภาคอีสานตอนเหนือ
ตั้งความหวัง"สนธิ"หน.พรรค
ด้านแหล่งข่าวจากแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ เปิดเผยว่า สำหรับตำแหน่งหัวหน้าพรรคนั้น แกนนำส่วนใหญ่เห็นว่า นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจและมีคุณสมบัติที่เหมาะสม นอกจากนี้หลังการจัดตั้งพรรคจะมีการวางโครงสร้างพรรคของกลุ่มพันธมิตรฯ ด้วย อย่างไรก็ตาม พรรคการเมืองที่ถูกตั้งขึ้นนั้นเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่ง ที่ใช้ในการเคลื่อนไหวตามเจตนารมณ์ของกลุ่มพันธมิตรฯ เพื่อสานต่อแนวความคิดการเมืองใหม่เท่านั้น ส่วนแนวทางของพรรค จะยึดหลักพิทักษ์สถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ คุณธรรม และจริยธรรมทางการเมือง
ร่ายบทกวีส่งท้ายก่อนปิดประชุม
เวลา 17.05น. นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ในฐานะประธานสภาพันธมิตรฯ กล่าวสรุปผลการประชุม 3 ข้อ ที่นายสุริยะใส ได้แถลงไปแล้ว และได้อ่านบทกวี "พันธมิตรฯ" ที่เขียนโดย เนวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เป็นการส่งท้ายก่อนปิดการประชุม
พลังแห่งมวลมหาประชาชน
พลังของผู้คนทุกหนแห่ง
พลังความเป็นธรรมอันสำแดง
พลังแรงที่รวมใจเป็นใจเดียว
ใจที่จับมือกันประสานชัย
ใจต่อใจสัมพันธ์อันแน่นเหนียว
ใจประชาธิปไตยใจกลมเกลียว
ใจเด็ดเดี่ยวมุ่งมั่นใจพันธมิตรฯ
เราจะถือธงธรรมเป็นอำนาจ
ร่วมกู้ชาติ กู้ประชาคือภารกิจ
สร้างประชาธิปไตยให้ถูกทิศ
ขจัดพิษแสบเผ็ดเผด็จการ
ร่วมสร้างการเมืองใหม่ให้เป็นผล
การเมืองภาคประชาชนบันดลผสาน
อหิงสา-สันติ พิชิตพาล
นี้คือปณิธานของพันธมิตรฯ
แก้ไขรัฐธรรมนูญ ร่วมสืบสานเจตนารมณ์วีรชนสร้างการเมืองใหม่เพื่อพิทักษ์ ปกป้องระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมอบ 5 แกนนำไปพิจารณาออกแบบจัดโครงสร้างพรรค ขอเสียงประชามติตั้งพรรคและร่วมรำลึก 193 วันแห่งการต่อสู้วันนี้ ที่ ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เผยแนวโน้มตั้งพรรคการเมืองสูง แต่ยังไม่ฟันธงหัวหน้าใครนั่งหน.พรรค และมาจากคนนอกหรือไม่ ยืนยันบทบาทนอกสภาของพันธมิตรฯยังมีอยู่ เพราะการตั้งพรรคไม่ใช่เป้าหมายสำคัญ เป็นเพียงวิธีการต่อสู้แบบใหม่เท่านั้น
การประชุมสภาพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่อาคารนันทนาการ มหาวิทยาลัยรังสิตได้เริ่มขึ้นเมื่อเวลา 09.00 น.วานนี้ (24พ.ค.)โดยมีนายสมศักดิ์ โกศัยสุข 1ใน 5 แกนนำพันธมิตรฯรุ่นแรก ในฐานะประธานสภาพันธมิตรฯ เป็นประธานในการประชุม ขณะที่ตัวแทนพันธมิตรฯจากทั่วประเทศประมาณ 3,000 คน เข้าร่วมประชุมอย่างคับคั่ง เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นกับแกนนำพันธมิตรฯทั้ง 5 คน ประกอบด้วย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายสนธิ ลิ้มทองกุล นาย
สมศักดิ์ โกศัยสุข นายพิภพ ธงไชย และ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ก่อนที่จะมีการจัดงานรำลึกถึง193 วันในวันนี้ (25พ.ค.) โดยมีตัวแทนสถานเอกอัครราชทูตต่างๆ มาร่วมสังเกตการณ์ด้วย
ก่อนประชุมจะเริ่มขึ้นนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรฯได้ชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับวาระการประชุมรวมทั้งเอกสารประกอบการประชุม ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับแนวทางการเมืองใหม่ ซึ่งพันธมิตรฯได้จัดสัมมนาระดมความคิดเห็นหลายครั้ง ตั้งแต่ปี 2551 นอกจากนั้นยังมีแบบสอบถามเกี่ยวกับทิศทางการต่อสู้ของพันธมิตรฯ รวมทั้งแนวทางเกี่ยวกับการตั้งพรรคพันธมิตรฯ ให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาแสดงความคิดเห็นด้วย
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรฯ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ ถือเป็นการมารวมกันครั้งแรกของพี่น้องพันธมิตรฯ เพื่อมาร่วมกันกำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ ในอนาคตในเรื่องต่างๆอาทิ การตั้งพรรคการเมือง ท่าทีต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
สำหรับการตั้งพรรคการเมืองนั้น การประชุมในครั้งนี้ ถือเป็นการหารือในระดับตัวแทนพันธมิตรฯ แต่ละจังหวัด ทั้งโดยการแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม และการตอบแบบสอบถามที่จัดไว้ประมาณ 3,000 ชุด เมื่อได้ข้อสรุปในแต่ละประเด็น ก็จะนำไปถามพี่น้องพันธมิตรฯที่มาร่วมงานรำลึก193 วัน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ที่จะจัดขึ้นในวันนี้ (25พ.ค.)โดยตอบแบบสอบถามประมาณ 7 หมื่นชุด รวมทั้งนายสมศักดิ์ ในฐานะประธานสภาพันธมิตรฯ ก็จะถามความเห็นพี่น้องที่มาร่วมงานในแต่ละประเด็นโดยให้ยกมือ
อย่างไรก็ตาม ผลการหารือจะยังไม่ใช่ข้อสรุปทั้งหมด เพราะต้องนำความเห็นจากแบบสอบถาม มาประมวลอีกครั้ง ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ หรือ10วัน
ร่วมไว้อาลัยวีรชนพันธมิตรฯ
นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ในฐานะประธานสภาพันธมิตรฯ ได้เชิญชวนให้พี่น้องพันธมิตรฯ ที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ยืนไว้อาลัย 1 นาทีก่อนทำการประชุม เพื่อเป็นการเคารพจิตวิญาณญาณของผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 7 ต.ค.51 ในฐานะเป็นผู้ร่วมกันเขียนประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ สิ่งที่น่าภาคภูมิใจ คือ ผู้ที่เข้ามาในครั้งนี้ ไม่มีใครจ้างวานมา แต่มาด้วยจิตสำนึก ดังนั้นจึงขอความกรุณา ให้การอภิปรายในครั้งนี้ ต่างจากสภาเน่าเฟะ เพราะมีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก จึงขอให้แสดง
ความคิดเห็นอย่างเต็มที่ แต่ขอให้กระชับ เพื่อตอกเสาเข็มนำไปสู่การเมืองใหม่
4 แกนนำวิเคราะห์สถานการณ์
หลังนายนายสมศักดิ์ กล่าวเปิดการประชุม เป็นช่วงของการพูดวิเคราะห์สถานการณ์ โดยแกนนำพันธมิตรฯ เริ่มจากนายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นคนแรก โดยนายสนธิ กล่าวว่า พันธมิตรฯ เป็นของศักดิ์สิทธิ์ พรรคการเมืองนั้น ถ้าจะมีการตั้งก็จะเป็นเครื่องมือหนึ่งในการต่อสู้ของพันธมิตรฯ ซึ่งพันธมิตรฯ มีเครื่องมือหลายอย่างนอกจากพรรคการเมืองแล้ว อาจมีมูลนิธิที่ออกไปให้ความรู้กับประชาชน ทั้งนี้ 5 แกนนำพันธมิตรฯ จะเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองหรือไม่ ขึ้นอยู่กับพี่น้องพันธมิตรฯเป็นคนเลือก ไม่ใช่ตั้งกันเองอย่างเด็ดขาด
นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ แกนนำพันธมิตรฯ กล่าวว่า ผลของการต่อสู้ของพันธมิตรฯ 4-5 ปีที่ผ่านมา ได้ทำให้เกิดปรากฏการณ์ 3 อย่าง คือ 1.ชนชั้นที่มีความรู้ ขยายตัวอย่างกว้างขวาง และตั้งตัวเองเป็นพันธมิตรฯ 2 .มีการเปิดโปงอย่างเข้มแข็งของสื่อ เอเอสทีวี ทำให้เกิดการขยายตัวขององค์ความรู้ไปอย่างไม่มี
ขีดจำกัด 3. การจัดตั้งไปสู่องค์กรการเมืองใหม่ ทั้ง 3 ปรากฏการณ์นี้คือ ปัจจุบันที่จะพลิกโฉมประเทศไทย ขณะเดียวกันก็เป็นการขุดหลุมฝังการเมืองเก่า
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ กล่าวว่า ไม่ได้ตั้งใจ หรือมีเจตนาที่จะจัดพรรคการเมือง แม้ว่าจะมีเสียงสนับสนุนจำนวนมาก ซึ่งเราคิดว่าต้องถามมติของประชาชนก่อน จึงตกลงกันว่า เมื่อครบ 1 ปีการชุมนุม เราจะประชุมพบปะกับพันธมิตรฯ ทั่วประเทศ แต่กลับมีเรื่องเกิดขึ้น เนื่องจากนักการเมืองต่างรวมหัวกันแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 237, 190 และ 309 เพื่อประโยชน์ตัวเอง ทำให้เราทนการเมืองเก่าไม่ไหว ดังนั้น เราจะถามพี่น้องพันธมิตรฯว่า เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ ขอยืนยันว่าแกนนำฯ ไม่ได้มีการชี้นำในการตั้งพรรคการเมือง แต่เราจะถามเสียงส่วนใหญ่ พี่น้องพันธมิตรฯ ซึ่งจะได้รู้กันว่า จะมีการจัดตั้งพรรคการเมืองหรือไม่
นายพิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรฯ กล่าวว่าประวัติศาสตร์จะต้องบันทึกไว้ ในการต่อสู้มายาวยาวนานของพี่น้องพันธมิตรฯ ที่บาดเจ็บและเสียชีวิตจะไม่สูญเปล่า การต่อสู้ของเราเพื่อต้องการขจัดนักการเมืองเลว ไม่และให้คนมีอำนาจที่ไม่ดีเข้ามาปกครองบ้านเมือง ซึ่งประวัติศาสตร์การเมืองจะต้องบันทึกว่า
พรรคการเมืองของพันธมิตรฯมาจากมวลชนอย่างแท้จริงและจะเป็นของประชาชน
"ถ้ามีฉันทามติตั้งพรรคการเมืองพ่อแม่พี่น้อง ต้องสัญญาว่า จะต้องร่วมสู้อยู่ด้วยกัน ทั้งนี้ 5 แกนนำพันธมิตรฯ ได้ปรึกษาและสัญญากันแล้ว ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นจะไม่ทิ้งประชาชนอย่างเด็ดขาด จะสร้างความเป็นธรรม ในทุกภาคส่วน ร่วมกันสร้างการเมืองใหม่ เพราะประเทศทนความฉิบหายต่อไปไม่ได้แล้ว"นายพิภพกล่าว
ค้านแก้รธน.50-หนุนตั้งพรรค
หลังจาก 5 แกนนำพันธมิตรฯได้ประเมินสถานการณ์ทางการเมืองแล้ว นายสมศักดิ์ ได้เปิดโอกาสให้ตัวแทนพันธมิตรฯจาก10 อนุภูมิภาค จากทั่วประเทศ รวมทั้งองค์กรแนวร่วมได้แสดงความเห็นต่อ 2 ประเด็นหลักทางการเมืองในปัจจุบันว่ามีความคิดเห็นอย่างไร คือ 1. การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2. การตั้งพรรคการเมืองของพันธมิตรฯ ซึ่งตัวแทนจาก10 อนุภูมิภาค มีความคิดเห็นไปในทางเดียวกัน คือ คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี2550 และสนับสนุนให้ตั้งพรรคการเมือง
เพื่อเข้าไปทำหน้าที่ขับเคลื่อนการเมืองใหม่ ในระบบรัฐสภา ควบคู่กับการต่อสู้ของภาคประชาชน
พรรคพธม.ความหวังคนรุ่นใหม่
ขณะที่ตัวแทนจากเครือข่ายเยาวชนกู้ชาติ (Young PAD) แสดงความเห็นว่า หลังจากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคการเมืองที่ซื้อเสียงแล้ว พรรคการเมืองเก่าแก่พรรคหนึ่งได้เข้ามาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แม้ว่าจะได้ผู้นำที่มีความสง่างาม แต่ก็อยู่ในระบบการเมืองที่หมองหม่น น้ำเน่า เป็นการเมืองเก่า จึงสมควรที่พันธมิตรฯ จะตั้งพรรคการเมือง แต่ควรจะทำด้วยความใจเย็น ต้องทำให้สังคมเห็นด้วยเสียก่อนว่า การเมืองใหม่ จะเป็นความหวังของสังคมไทยอย่างแท้จริง ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น Young PAD เห็นว่า ไม่ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะกฎต้องเป็นกฎ
ไม่ห่วงพันธมิตรฯซ้ำรอยการเมืองเก่า
ต่อมา ในช่วงบ่าย เวลาประมาณ 13.15 น. นายสมศักด์ ได้เปิดให้ตัวแทนเครือข่ายพันธมิตรฯส่วนต่างๆ แสดงความคิดเห็น โดยเริ่มจากเครือข่ายเกษตรกร โดยนางกิมอัง พงษ์นารายณ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรประชาชนแห่งประเทศไทย ให้ความเห็นว่า เรามีกระทรวงเกษตรฯ ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาให้เกษตรกร แต่นักการเมืองที่เข้าไปบริหารที่ผ่านมามีแต่คนเลว ไม่สนใจแก้ปัญหาให้เกษตรกร จึงเห็นว่าควรจะตั้งพรรคการเมืองของพันธมิตรฯ ขึ้นมาเลย และไม่ต้องกังวลว่าเมื่อพรรคการเมืองแล้ว ภาคประชาชนจะทำงานต่อไปไม่ได้ และไม่ต้องกังวลว่าพรรคของพันธมิตรฯ จะเข้าไปทำแบบการเมืองเก่าเสียเอง เพราะวิสัยทัศน์ของพันธมิตรฯ เราสามารถตรวจสอบได้ทุกพรรค แม้แต่พรรคของเราเอง ถ้าไม่ดีเราสามารถตรวจสอบได้
ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ตัวแทนเครือข่ายเกษตรกร กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นการแก้ไข เนื่องจากความเดือดร้อนของนักการเมืองเอง แต่เกษตรกรเดือดร้อนกลับไม่สนใจ เป็นความห่วยแตกของนักการเมืองเอง เพราะฉะนั้น เราไม่เอากับนักการเมืองพวกนี้แล้ว
ด้านนางสาวเปมิกา ฉัตรภิญญาคุปต์ ตัวแทนกลุ่ม ทีจีโอ(Thaksin Get Out) กล่าวว่า จากการสำรวจความเห็นของสมาชิกภายในกลุ่ม มีทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วยกับการตั้งพรรคการเมืองของพันธมิตรฯ แต่ส่วนใหญ่จะออกมาใน 2 ลักษณะ คือ 1. เห็นด้วยกับการตั้งพรรคแต่มีเงื่อนไข และ 2. เห็นด้วยแต่ยังไม่ถึงเวลา รวมทั้งเห็นด้วย แต่ไม่ควรที่จะมีแกนนำพันธมิตรฯ เข้าไปอยู่ในพรรค อย่างไรก็ตาม ข้อมูลขณะนี้ ยังไม่สามารถได้ว่าควรจะตั้งพรรคการการเมืองหรือไม่ แต่อาจต้องย้อนไปทบทวนอีกครั้งว่า ถึงเวลาที่จะตั้งพรรคหรือไม่
ผนึกกำลังเดินหน้าร่วมกัน
นายสุทิน พลาทิน ตัวแทนเครือข่ายประชาธิปไตยยาตรา กล่าวว่า เครือข่ายฯ คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 อย่างแน่นอน ส่วนการตั้งพรรคนั้น เห็นว่า พันธมิตรฯ ต้องพัฒนาการการต่อสู้จากที่เคยไล่ล่าระบอบทักษิณ มาสู่การร่วมคิดร่วมทำเพื่อสร้างการเมืองใหม่ ในภาวะที่ประเทศเรากำลังเดินเข้าสู่วิกฤติ ทำอย่างไรเราจะจัดตั้งมวลชนที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เราต้องจัดการแนวรบด้านสื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ดังนั้นถ้าเราจะมีพรรคการเมือง ต้องเป็น 1.พรรคของมวลชนอย่างแท้จริง 2. ต้องนำสู่การเปลี่ยนแปลงสู่การเมืองใหม่ มีอิสระ มีการกำกับดูแลโดยกระบวนการของประชาชนอย่างเข้มแข็ง 3. สมาชิกที่เข้าสู่การเมืองต้องมีจิตอาสา กล้าต่อสู้อย่างเด็ดเดี่ยว ทั้งนี้ การตัดสินใจต้องมีฉันทามติร่วมกัน และเคารพเสียงส่วนน้อย หลังจาก 2 วันนี้เราต้องผนึกเดินไปข้างหน้าร่วมกัน
5 แกนนำทำดีที่สุดแล้ว
ด้านตัวแทนจากกองทัพธรรม เห็นว่าไม่ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญเวลานี้ เพราะผู้มีส่วนได้เสียเข้าไปอยู่ในกระบวนการแก้ไข ส่วนการตั้งพรรคการเมืองนั้น ถ้าจะตั้งจริง เราต้องสร้างมาตรฐานทางจริยธรรมของพรรคพันธมิตรฯ ให้สูงกว่าพรรคการเมืองทั่วไป ทั้ง ส.ส. กรรมการบริหาร หัวหน้าพรรค ต้องมีมาตรฐานทางจริยธรรมที่สูงกว่าพรรคอื่น ถ้าทำตรงนี้ไมได้ ก็จะมีแต่เสียกับเสีย
ส่วนประเด็นที่ว่าแกนนำควรจะมาเกี่ยวข้องกับพรรคหรือไม่นั้น ตัวแทนกองทัพธรรมเห็นว่า 5 แกนนำได้ทำหน้าที่มาอย่างดีที่สุดแล้ว ในการให้ความจริง ให้สัจจะธรรมแก่สังคม ถ้าให้มาเกลือกกลั้วกับการเมืองที่มีลาภยศ อำนาจอยู่ในมือ ความบริสุทธิ์เหล่านั้นก็จะด่างพร้อย สังคมเราไม่มีแค่พันธมิตรฯ ยังมีกัลยาณชนจำนวนมาก ที่ยังไม่กล้าเปิดเผยตัวตนว่าอยู่กับเรา เพราะยังไม่มั่นใจว่า การต่อสู้ของพวกเราบริสุทธิ์ใจหรือไม่ การบอกว่าต้องปลดล็อกคำพูดของแกนนำ เพราะสถานการณ์เปลี่ยนนั้น เป็นคำพูดแบบนักการเมืองเก่า มีหรือว่าแกนนำจะไม่ทราบว่าการเมืองเป็นอนิจจัง และ 5 แกนนำเข้ามาทำงานโดยไม่หวังอำนาจ หรือเพื่อเข้ามาแสวงหาประโยชน์ใดๆ
ตัวแทนกองทัพธรรม ได้ฝากข้อคิดว่า สมัยโบราณ มีคนเชื่อว่าการเข้าป่าสามารถบรรลุธรรมได้ มีพราหมณ์ไปถามพระพุทธเจ้าเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า ถ้าได้ผู้ยังไม่มีสมาธิเข้าไปในป่า ป่านั้นก็จะเอาท่านไปเสีย ดังนั้น ถ้าเราไม่ได้คนที่มีจริยธรรมอย่างแท้จริงเข้าไปอยู่ในพรรคการเมือง สิ่งที่พันธมิตรฯ ทำมาทั้งหมดอาจจะล้มเหลวและสูญเสีย
ด้านตัวแทนอาสาพยาบาล กลุ่มพยาบาลมัฆวาน ได้แสดงความเห็น ต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ2550 เพราะนักการเมืองรู้อยู่แล้วว่ากติกาเป็นอย่างไร พอแพ้แล้วจะมาแก้กติกา จะนิรโทษกรรมให้ตัวเอง เราจึงไม่เห็นด้วย ส่วนการตั้งพรรคการเมือง อยากให้รอภาคประชาชนเข้มแข็งกว่านี้ก่อน พันธมิตรฯ มีจิตใจที่บริสุทธิ์จริง แต่ห่วงว่าจะมีคนมาฉวยโอกาส และเข้าไปสู่การเมืองน้ำเน่า โดยใช้พวกเราเป็นบันไดเหยียบขึ้นไป
นอกจากนี้การใช้สื่อ เอเอสทีวี ถ้าชี้นำมากไปอาจเป็นผลเสียต่อแนวร่วมในระยะยาว จึงอยากให้คำนึงถึงกลุ่มคนที่เข้าไม่ถึง และไม่เข้าใจการทำงานของเรา โดยไม่ให้ภาพออกมาว่าพันธมิตรฯ คือเอเอสทีวี แม้ว่าเราเป็นพวกเดียวกันก็ตาม อย่างไรก็ตามเสียงส่วนมากในกลุ่มของเราเห็นด้วยที่จะตั้งพรรคการเมืองไม่ได้รับเลือกตั้งไม่ใช่เรื่องน่าอาย
ต่อมาตัวแทนศิลปิน โดยนายสมศักดิ์ อิสมันยี จากวงคีตาญชลี ให้ความเห็นว่า ความคิดเรื่องการตั้งพรรคการเมือง กลุ่มศิลปินยังไม่เอกฉันท์ บางคนว่าควร บางคนว่าไม่ควรตั้ง แต่การต่อสู้ของภาคประชาชนนั้นจุดสุดท้ายแล้วต้องมีพรรคการเมืองของประชาชน ส่วนที่มีความเป็นห่วงว่ามันจะช้าหรือไวนั้นไม่เป็นปัญหา แต่คิดว่าตั้งแล้วจะเป็นอย่างไร ต่างหาก เมื่อมีพรรคของตัวเองแล้วจะเป็นอย่างไร บางคนห่วงว่าจะมีคนมาฉวยโอกาส ซึ่งประเด็นนี้ขึ้นกับว่าเราได้ตั้งวินัย
ให้เข้มแข็งหรือไม่ ถ้าเราตั้งวินัยว่าทำผิดต้องรับโทษจริงจัง คนก็ฉวยโอกาสไม่ได้ นี่เป็นรูปแบบการเมืองใหม่
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปเราเห็นควรตั้งพรรคการเมือง ส่วนเรื่องที่วิตกว่า ตั้งแล้วจะได้รับเลือกตั้งหรือไม่ ถ้าไม่ได้ เราจะอายไหม ไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าถามประชาชนที่ไปลงคะแนนแม้แต่คนที่รับเงินไป เขาอยากเห็นพรรคการเมืองที่ดีกว่าทั้งสิ้น ดังนั้นพรรคการเมืองที่เราตั้งขึ้นจะได้รับเลือกตั้งหรือไม่ ไม่สำคัญ แต่บรรทัดฐานที่เราเป็นตัวอย่างให้สังคมต่างหากที่สำคัญ เราอาจต้องรอ 10-20 ปีไม่เป็นไร ไม่ต้องกังวล แต่บรรทัดฐานใหม่ และกฎวินัยที่เราจะเอาจริงเอาจังกับคนของเราต่างหาก ที่เราต้องกังวล
นักวิชาการ90% เห็นด้วย
ด้านนักวิชาการอิสระ ม.รังสิต ได้แสดงความเห็นว่า รัฐธรรมนูญ2550 เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อจับผู้ร้าย จากบริบทที่นักการเมืองฉ้อฉล ซื้อเสียง เราจึงไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ส่วนการตั้งพรรคการเมืองของพันธมิตรฯ นั้นนักวิชาการส่วนใหญ่เห็นด้วน 80-90 % ให้มีพรรคการเมืองใหม่ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับพรรคกรีนในยุโรป ที่มาจากคนหนุ่มสาว ที่ไม่พอใจการเมืองแบบเดิมๆ และขอให้พี่น้องภาคใต้สบายใจได้ว่า เมื่อมีพรรคของพันธมิตรฯ แล้ว พรรคประชาธิปัตย์จะยังอยู่ เพียงแต่มีเสียงน้อยลงเท่านั้น ขออย่าได้กลัว ถ้าพรรคการเมืองดีจริง มันต้องยู่วันยังค่ำ ถ้าไม่อยู่ก็แสดงว่าประชาธิปัตย์ไม่ใช่ตัวแทนพวกเราอย่างแท้จริง ที่กลัวว่า เราจะตกเข้าไปอยู่ในวังวนการเมืองน้ำเน่านั้น ขอเรียนว่าถ้าพันธมิตร มีความเข้มแข็งในการตรวจสอบตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้จะไม่มีวันเกิด เหมือนรัฐมนตรีหญิงคนหนึ่งของพรรคกรีน ที่ไปพูดสนับสนุนอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ ต้องลาออกจากตำแหน่งทันที เพียงแค่พูดเท่านั้น เพราฉะนั้นพวกเราอย่ากลัว ขอให้เป็นไปตามธรรมชาติ
ผิดหวังที่รัฐบาลมุ่งแต่จะแก้รธน.
น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า พลังพันธมิตรฯ ซึ่งเป็นพลังบริสุทธิ์ ที่มาชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก เพราะเบื่อหน่ายนักการเมืองที่บริหารบ้านเมืองเพื่อประโยชน์ของตัวเอง โดยเฉพาะแกนนำจัดตั้งรัฐบาลในชุดปัจจุบัน ที่เชื่อว่าเป็นพรรคน้ำดี แต่หลังจากเข้ามาเสวยอำนาจ ได้บริหารบ้านเมืองแบบประวิงเวลาไปวันๆ เท่านั้น และเกิดผลเสียหายต่อประเทศชาติเป็นอย่างมาก ตลอด 4-5 เดือนที่ผานมา มุ่งหวังที่แต่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการแต่งตั้งกรรมการสมานฉันท์ฯ ที่ล้วนมาจากนักการเมืองที่มีปัญหา ก็เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ตัวเองพ้นผิด ดังนั้นการเมืองใหม่จะเกิดขึ้นไม่ได้หากนักการเมืองยังขาดจิตสำนึก และหากผู้นำในยุคปัจจุบันไม่กล้าตัดสินใจเพื่อคนส่วนใหญ่
"ถึงเวลาแล้ว “ประวัติศาสตร์การเมืองใหม่” กำลังจะเกิดขึ้นด้วยน้ำมือพี่น้องพันธมิตรฯ อย่าไปห่วงข้อครหาที่ว่าการเมืองกลางถนน ไม่สามารถแก้ปัญหาในระบอบรัฐสภาได้ แต่การเมืองใหม่ ต้องการคนที่มีความกล้าหาญ เป็นคนดี พันธมิตรฯ จึงถือเป็นการเมืองภาคประชาชน ที่จำเป็นต้องส่งตัวแทนเข้าไปต่อสู้ในระบอบรัฐสภา" น.ต.ประสงค์กล่าว
ต้องมีพธม.ภาคประชาชนต่อไป
นายศิริชัย ไม้งาม แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ รุ่น 2 กล่าวว่า แม้สมาชิกส่วนใหญ่จะสนับสนุนให้มีการตั้งพรรค และหากมีการตั้งพรรคจริง ก็ยังต้องมีกลุ่มพันธมิตรฯ ต่อไป เพราะพรรคการเมืองนั้นเป็นเพียงแค่การแสดงเจตจำนงในการเข้าสู่ระบบรัฐสภา เพื่อเป็นตัวแทนไปทำหน้าที่ปากเสียงของประชาชนในการตรวจสอบเท่านั้น แต่กลุ่มพันธมิตรฯ ที่เป็นพลังมวลชนในภาคประชาชน ยังต้องมีอยู่เพื่อตรวจสอบการทำหน้าที่อยู่ภายนอกสภาด้วย ซึ่งสามารถทำงานคู่ขนานกันไปได้
"ยืนยันว่า กลุ่มพันธมิตรฯ จะตรวจสอบทุกคนที่อยู่ในอำนาจรัฐ เพราะอยากเห็นการเมืองใหม่เกิดขึ้น แม้วันนี้อาจจะมีการตั้งเป็นพรรคการเมืองขึ้น แต่ก็เป็นเพียงการยกระดับการเมืองไทยเท่านั้น ดังนั้นนโยบายต่างๆ ที่จะออกมา ก็ต้องตอบรับกับการเมืองใหม่ด้วย และหากนักการเมืองของพรรคที่จะตั้งขึ้นนั้นมีความไม่โปร่งใส ก็จะต้องมีกฎเหล็กในการส่งสัญญาณให้กรรมการบริหารพรรค เพื่อดำเนินการทันที" แกนนำพันธมิตรฯรุ่น 2 กล่าว
ขอมติที่ประชุมใหญ่3เรื่องวันนี้
ต่อมาเวลา 16.00 น. นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานเครือข่ายพันธมิตรฯ กล่าวสรุปว่า ผลการหารือในที่ประชุมสภาพันธมิตรฯ ที่จะนำไปขอมติในที่ประชุมใหญ่ทั่วประเทศในวันนี้ ( 25 พ.ค.) คือ
1. จะร่วมคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 190 , 237 และ309 รวมทั้งมาตราใดๆ ที่กระทบต่อผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่
2.จะร่วมกันสืบสานเจตนารมณ์วีรชนเพื่อสร้างการเมืองใหม่ ด้วยการตั้งพรรคการเมืองใหม่ขึ้นมาต่อสู้ไปพร้อมๆ กับการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ ในฐานะการเมืองภาคประชาชน
3.จะมอบหมายให้ 5 แกนนำ รับเอาเจตนารมณ์ของที่ประชุมพันธมิตรฯไปพิจารณา ออกแบบและจัดโครงสร้างของพรรคแล้วนำมาขอความเห็นชอบจากพี่น้องพันธมิตรฯ ทั่วประเทศอีกครั้งหนึ่ง
ประกาศพันธสัญญา3ประการ
นายสุริยะใส กล่าวด้วยว่า สำหรับร่างคำประกาศพันธมิตรฯ เดินหน้าสู่การเมืองใหม่นั้น พวกเราพันธมิตรฯ ตระหนักมั่นดีว่า เส้นทางการต่อสู้เพื่อสร้างชาติ และสร้างการเมืองใหม่นั้น เต็มไปด้วยอุปสรรคขัดขวางและแรงต้านมหาศาลจากการเมืองระบบเก่า ความรุนแรงสารพัดรูปแบบที่กระทำต่อพี่น้องพันธมิตรฯ เป็นประจักษ์พยานว่า การต่อสู้เพื่อสังคมที่ดีกว่ายังไม่จบ หากแต่เพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น แม้สถานการณ์จะเปลี่ยนไป แต่เป้าหมายยังไม่บรรลุ ในขณะเดียวกันซึ่งพวกเราไม่มีวันลืมกับความสูญเสียที่เกิดขึ้น เราขอประกาศเป็นพันธสัญญาร่วมกันดังนี้
1. พวกเราจะร่วมกันสานต่อเจตนารมณ์ของวีรชน เพื่อพิทักษ์และปกป้องระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. พวกเราจะทำทุกวิถีทางเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนคนดีให้เข้าสู่อำนาจ และร่วมกันขัดขวางคนไม่ดี เพื่อไม่ให้เข้ามามีอำนาจ
3. พวกเราจะเป็นความหวังและความจริงของสังคมไทย เพื่อผลักดันการเมืองใหม่
ยันตั้งพรรคการเมืองก็ยังมีกลุ่มพธม.
นายสุริยะใส ให้สัมภาษณ์ ภายหลังอ่านร่างพันธสัญญาว่า ดูแนวโน้มแล้ว มีโอกาสที่จะจัดตั้งพรรคสูง แกนนำทุกคนเห็นตรงกันที่จะให้มีการจัดตั้งพรรค ทั้งนี้ ไม่อยากจะชี้นำ คงต้องฟังความเห็นประชาชนอีกครั้งหนึ่ง เพราะพันธมิตรฯ ถือเป็นองค์กรที่เคลื่อนไหวในภาคประชาชน แต่สิ่งที่ท้าทายต่อไปคือ การตั้งพรรคการเมือง เพราะการแสวงหาอำนาจของพันธมิตรฯนั้น ต้องเป็นไปเพื่อประชาชน อีกทั้งการตั้งพรรคนั้นคงต้องใช้เวลา ซึ่งอย่างน้อยน่าจะไม่น้อยกว่า 3 เดือน จึงจะได้ข้อสรุป จากนั้นจะมีการเดินสายไปตามจังหวัดต่างๆ เพื่อขอความเห็นกับประชานทุกภาคส่วน
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า บทบาทนอกสภาของพันธมิตรฯนั้นจะยังมีอยู่ เพราะการตั้งพรรคไม่ใช่เป้าหมายสำคัญ เป็นเพียงวิธีการต่อสู้แบบใหม่เท่านั้น ไม่ใช่ตั้งพรรคแล้วจบ หรือชนะ
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีคนนอกมาเป็นหัวหน้าพรรคหรือไม่ นายสุริยะใส กล่าวว่า ยังไม่อยากตั้งธงว่าหัวหน้าพรรคจะเป็นใคร เพราะเรื่องคนไม่สำคัญเท่าที่มา เรื่องทั้งหมดต้องเป็นไปตามกระบวนการ ประชาชนรู้สึกเป็นเจ้าของพรรคอย่างแท้จริง ดังนั้นต้องค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ ส่วนหัวหน้าพรรคนั้น ต้องเป็นคนที่เสียสละ สะอาด
ส่วนหากตั้งพรรคแล้วจะมีเรื่องทุนเข้ามาเกี่ยวข้องด้งยนั้น เราไม่ปฏิเสธที่จะต้องมีเรื่องทุนเข้ามา แต่ต้องเป็นทุนที่สะอาด ไม่มีเงื่อนไขมาแลกเปลี่ยน ไม่มาครอบงำพรรค เพราะไม่อย่างนั้นการเมืองใหม่ก็คงไม่เกิด
ปัด"อาทิตย์"เป็นนายทุนให้
เมื่อถามว่า แสดงว่า ยังไม่ได้ปิดประตูตายที่แกนนำจะเป็นหัวหน้าพรรค นายสุริยะใส กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแกนนำ แต่ก็ยังไม่ปิดโอกาส แต่เท่าที่ดูแบบสอบถามนั้นส่วนใหญ่อยากให้นายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นหัวหน้าพรรค
สำหรับนายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ถือเป็นแคนดิเดตหัวหน้าพรรค และเป็นนายทุนพรรคด้วยหรือไม่นั้น นายสุริยะใส กล่าวว่า เรื่องทั้งหมดเป็นข่าวปล่อย เพราะนายอาทิตย์ ไม่ใช่นายทุนพรรค เพียงแต่ให้ยืมสถานที่เท่านั้น เชื่อว่านายอาทิตย์ มีอุดมการณ์เพื่อประชาชน จึงไม่มีความคิดที่จะมาเป็นนายทุนให้พรรคการเมือง
ส่วนกรณีที่นายสนธิ เคยระบุว่าจะไม่เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองนั้น นายสุริยะใส กล่าวว่า ต้องถามนายสนธิเอง ตนตอบแทนไม่ได้ แต่นายสนธิไม่เคยอยากเป็นหัวหน้าพรรค เรื่องนี้ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของประชาชนดีกว่า
สำหรับการประเมินเก้าอี้ส.ส. ที่คาดว่าจะได้รับหากตั้งพรรคการเมืองนั้น นายสุริยะใส กล่าวว่า ส.ส.ระบบสัดส่วนน่าจะได้ประมาณ 10 ที่นั่ง ส่วนในระบบเขตเลือกตั้งนั้น น่าจะได้ ส.ส.ในกทม. ภาคกลาง และภาคอีสานตอนเหนือ
ตั้งความหวัง"สนธิ"หน.พรรค
ด้านแหล่งข่าวจากแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ เปิดเผยว่า สำหรับตำแหน่งหัวหน้าพรรคนั้น แกนนำส่วนใหญ่เห็นว่า นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจและมีคุณสมบัติที่เหมาะสม นอกจากนี้หลังการจัดตั้งพรรคจะมีการวางโครงสร้างพรรคของกลุ่มพันธมิตรฯ ด้วย อย่างไรก็ตาม พรรคการเมืองที่ถูกตั้งขึ้นนั้นเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่ง ที่ใช้ในการเคลื่อนไหวตามเจตนารมณ์ของกลุ่มพันธมิตรฯ เพื่อสานต่อแนวความคิดการเมืองใหม่เท่านั้น ส่วนแนวทางของพรรค จะยึดหลักพิทักษ์สถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ คุณธรรม และจริยธรรมทางการเมือง
ร่ายบทกวีส่งท้ายก่อนปิดประชุม
เวลา 17.05น. นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ในฐานะประธานสภาพันธมิตรฯ กล่าวสรุปผลการประชุม 3 ข้อ ที่นายสุริยะใส ได้แถลงไปแล้ว และได้อ่านบทกวี "พันธมิตรฯ" ที่เขียนโดย เนวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เป็นการส่งท้ายก่อนปิดการประชุม
พลังแห่งมวลมหาประชาชน
พลังของผู้คนทุกหนแห่ง
พลังความเป็นธรรมอันสำแดง
พลังแรงที่รวมใจเป็นใจเดียว
ใจที่จับมือกันประสานชัย
ใจต่อใจสัมพันธ์อันแน่นเหนียว
ใจประชาธิปไตยใจกลมเกลียว
ใจเด็ดเดี่ยวมุ่งมั่นใจพันธมิตรฯ
เราจะถือธงธรรมเป็นอำนาจ
ร่วมกู้ชาติ กู้ประชาคือภารกิจ
สร้างประชาธิปไตยให้ถูกทิศ
ขจัดพิษแสบเผ็ดเผด็จการ
ร่วมสร้างการเมืองใหม่ให้เป็นผล
การเมืองภาคประชาชนบันดลผสาน
อหิงสา-สันติ พิชิตพาล
นี้คือปณิธานของพันธมิตรฯ