xs
xsm
sm
md
lg

ตรอ.ร้องคมนาคมขยายเวลา เครื่องติดตั้งทดสอบเบรกฯ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน- ตรอ.ร้อง”คมนาคม” ขอขยายเวลาติดตั้งเครื่องทดสอบเบรกฯ หลังกรมขนส่งฯ ขีดเส้น 17 เม.ย. 52 หากไม่มีตรวจสภาพรถไม่ได้ ชี้สั่งซื้อไม่ทัน เผยกรมฯสองมาตรฐาน จนส่งจังหวัดไม่มีเครื่องกลับตรวจได้ ด้านคมนาคม ยันขยายเวลาไม่ได้ หวั่นถูกตรอ.รายอื่นที่ลงทุนติดตั้งแล้วฟ้อง ยันไม่มีเครื่องต้องหยุดให้บริการ

เมื่อวันที่ 21 พ.ค. สมาคมตรวจสภาพรถเอกชนไทยนำโดย ว่าที่ ร.ท.ราเชนทร์ คุ้มแถว นายกสมาคมฯ ได้ยื่นหนังสือถึงนายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ รมช.คมนาคม ขอขยายเวลาการบังคับใช้คำสั่งกรมการขนส่งทางบกที่ให้สถานตรวจสภาพรถเอกชน ต้องติดตั้งเครื่องทดสอบเบรคฯ ออกไปอีกอย่างน้อย 1 ปี จากที่คำสั่งกรมขนส่งฯ กำหนดให้ ตรอ. ต้องติดตั้งเครื่องทดสอบเบรคฯ ตั้งแต่วันที่ 17 เม.ย. 52 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ สมาคมฯ ระบุว่า คำสั่งดังกล่าว กรมขนส่งฯ มีการปฎิบัติสองมาตรฐาน เนื่องจากให้ ตรอ.ติดตั้ง เครื่องทดสอบเบรคฯ หากไม่มี จะถูกสั่งพักการตรวจสภาพรถยนต์ จนกว่าจะดำเนินการให้ถูกต้อง ขณะที่ขนส่งจังหวัด ของกรมขนส่งฯบางแห่งยังไม่มีเครื่องทดสอบเบรคฯ แต่สามารถดำเนินการตรวจสภาพรถได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ โดยกรมฯอ้างว่าไม่มีงบประมาณซึ่งไม่เป็นธรรมต่อเอกชน
นอกจากนี้ ประชาชนต้องได้รับความเดือดร้อนจากการนำรถเข้าตรวจสภาพในตรอ.ที่มีเครื่องทดสอบเบรคซึ่งกระจุกตัวในเมืองเป็นการเปิดช่องว่างให้พวกมิจฉาชีพในขนส่งเรียกรับผลประโยชน์ ในการรับดำเนินการต่อภาษีรถให้ โดยไม่ต้องนำรถมาตรวจสภาพจริง
นายสมศักดิ์ แต้เจริญวิริยะกุล ผู้ช่วยเลขา รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นตัวแทนนายประจักษ์ แกล้วกลล้าหาญ รับหนังสือ และประชุมร่วมกับตัวแทนสมาคมฯ ว่า ประกาศของกรมขนส่งฯ เป็นเรื่องที่ชอบด้วยกฎหมาย และคงไม่สามารถขยายเวลาออกไปได้ โดยฝ่ายกฎหมายได้ให้ความเห็นว่า จะเกิดปัญหากับ ตรอ.ที่ได้ติดตั้งเครื่องทดสอบเบรคตามประกาศไปแล้วประมาณ 826 แห่ง จาก ตรอ.ทั่วประเทศ 1,726 แห่ง และกรมฯอาจจะถูกฟ้องร้องได้ หากขยายเวลา เพราะจะเข้าข่ายเอื้อให้อีกกลุ่มหนึ่ง
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า จากข้อมูล พบว่าเครื่องทดสอบเบรคฯ มีผลิตใน 8 ประเทศซึ่งมีผู้แทนจำหน่าย 15 ราย ราคาเครื่องละประมาณ 7 แสนบาท ส่วนในประเทศมีผู้ผลิต 2 ราย ราคาประมาณ 4-5 แสนบาท ซึ่งยากที่จะมีการล็อกสเปก หรือหาประโยชน์จากค่าคอมมิชชั่น การออกกฎหมายดังกล่าวตามที่เอกชนมีกล่าวอ้าง และยืนยันว่า
ไม่มีการปฏิบัติสองมาตรฐาน เพราะกรมขนส่งฯไม่มีนโยบายตรวจสภาพรถเพื่อต่อภาษีเองมาตั้งแต่ต้นและตั้งตรอ.ขึ้นมาดำเนินการในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงรับฟังเหตุผล และจะนำหารือรมช.คมนาคมและผู้เกี่ยวข้องต่อไป
ทั้งนี้กรมการขนส่งทางบกได้เคยออกประกาศกรมการขนส่งทางบก ลงวันที่ 17 ก.พ.47 ให้ผู้ประกอบการสถานตรวจสภาพรถเอชนต้องติดตั้งเครื่งทดสอบห้ามล้อและเคื่องทดสอบศูนย์ล้อให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 19 ก.พ. 49 เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการตรวจสภาพรถยนต์ให้มากยิ่งขึ้น และปราฏว่าสมาคมตรวจสภาพรเอกชนไทยได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง ขอให้เพิกถอนการบังคับตามประกาศกรมการขส่งทางบกดังกล่าว และศาลปกครองกลางได้มีคำสั่ง เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 49 ให้ทุเลาการบังคับจนกว่าคดีถึงที่สุด หรือจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นแล้วนั้น
โดยศาลปกคองกลางได้มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 52 ให้ยกฟ้อง และให้คำสั่งทุเลาการบังคับตามประกาศกรมการขนส่งทางบกฉบับดังกล่าว นับแต่วันที่ศาลีคำพิพากษา ดังนั้น จึงมีผลตั้งแต่วันที่ 17 เม.ย. 52 เป็นต้นไป ให้ตรอ.ทุกแห่งที่จะออกใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ต้องติดตั้งเครื่องทดสอบห้ามล้อรถ และเครื่องทดสอบศูนย์ล้อรถ หากฝ่าฝืนจะถูกเพิกถอนใบอนุญาตทันที
ทั้งนี้ปัจจุบัมี ตรอ. อยู่ทั่วประเทศ จำนวน 2,098 ราย เป็น ตรอ. ที่ให้บริการตรวสภาพรถยนต์และรถจักยานยนต์ จำนวน 1,726 ราย ติดตั้งเครื่องทดสอบระบบห้ามล้อและศูนย์ล้อแล้ว จำนวน 826 ราย โดยที่ยังไม่ได้ติดตั้ง จะตรวจสภาพได้เฉพาะรถจักรยานยนต์ท่านั้น ส่วน ตรอ. ที่ให้บริการตรวสภาพรถจักรยานยนต์อย่างเดียว มีจำนวน 372 ราย สามารถให้บริการได้ตามปกติ
ทั้งนี้ อัตราค่าบริกรตรวจสภาพรถยนต์รวมการทดสอบระบบห้ามล้อละศูนย์ล้อ สำหรับรถนต์ที่มีน้ำหนักไม่กิน 2,000 ก.ก. อัตราค่าบริการ คันละ 200 บาท และรถยนต์ที่มีนำหนักเกินกว่า 2,000 กิโลกรัม อัตราคาบริการ คันละ 300 บาท รถจักรยานยนต์คันละ 60 บาท
กำลังโหลดความคิดเห็น