ศูนย์ข่าวภูเก็ต- ไทยเตรียมดันให้ภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว และศูนย์กลางฝึกอบรมแรงงานด้านซอฟต์แวร์ในกรอบความร่วมมือ IMT-GT ในการประชุมสภาธุรกิจร่วมสามฝ่าย 27-28 พ.ค.ที่ภูเก็ต เพราะเห็นว่าภูเก็ตมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวสูงกว่าทุกจังหวัดในภาคใต้ คาดอินโดฯ-มาเลเซียไม่ขัดข้อง
วานนี้( 21 พ.ค.) ที่โรงแรมรอยัล ภูเก็ต ซิตี้ อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายธนารักษ์ พงษ์เภตรา ประธานสภาธุรกิจชายแดนภาคใต้ พร้อมด้วย นางอรอนงค์ สุวรรณาคาร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต นายสรธรรม จินดา รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ร่วมแถลงข่าว การจัดประชุมสภาธุรกิจร่วมสามฝ่าย ครั้งที่ 257 ว่า สภาธุรกิจชายแดนภาคใต้ ได้กำหนดการจัดประชุมสภาธุรกิจร่วม 3 ฝ่าย ครั้งที่ 27 ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซียในกรอบความร่วมมือ IMT-GT ( Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle Joint Business Council Meeting) ขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2552 ที่โรงแรมรอยัล ภูเก็ต ซิตี้ อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยมีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีจะเดินทางมาเป็นประธาน ซึ่งจะมีภาคเอกชนทั้ง 3 ประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมประมาณ 350 คน
การประชุมในครั้งนี้มีประเด็นหลักที่เป็นจุดเน้น 3 เรื่อง คือ การประชุมร่วมของผู้แทนภาคเอกชนและที่เกี่ยวข้องสามประเทศ การเจรจาคู่ค้าทางธุรกิจ หรือ Business Macthing ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2552 และการจัดการท่องเที่ยว หรือ Package Tour แก่ผู้เข้าร่วมประชุมต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 29-30 พฤษภาคม 2552 นี้
นายธนารักษ์กล่าวต่อว่า การที่ทางสภาธุรกิจชายแดนใต้เลือกจังหวัดภูเก็ตเป็นสถานที่ในการจัดการประชุมร่วม 3 ฝ่าย เพราะในการประชุมครั้งนี้ทางสภาฯต้องการที่จะผลักดันให้จังหวัดภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวใน IMT-GT และต้องการที่จะผลักดันให้ภูเก็ตเป็นศูนย์กลางในการฝึกอบรมด้านซอฟต์แวร์ในภูมิภาค IMT-GT
ทั้งนี้ เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตมีศักยภาพทางด้านการท่องเที่ยวสูงมาก ที่จะผลักดันให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของ IMT-GT และปัจจุบันภูเก็ตก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก ซึ่งมีศักยภาพสูงกว่าหาดใหญ่มาก จากเดิมที่มีการผลักดันให้หาดใหญ่เป็นศูนย์กลาง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร สภาฯจึงมองว่าภูเก็ตน่าที่จะมีศักยภาพมากกว่า ทั้งในเรื่องของแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ การเป็นศูนย์กลางในการดูแลสุขภาพ ฯลฯ
ส่วนการเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมแรงงานด้านไอที ในภาคใต้คิดว่าภูเก็ตมีความพร้อมมากที่สุด เพราะภูเก็ตมีสำนักงานชอฟต์แวร์แห่งชาติตั้งอยู่ด้วย และในอีก 2 ปีข้างหน้าการเคลื่อนไหวด้านแรงงานในกลุ่มประเทศอาเซียนก็จะมีอิสระแรงงานในกลุ่มสามารถเดินทางไปทำงานในประเทศกลุ่มเดียวกันได้อย่างเสรี
นายธนารักษ์ยังกล่าวถึงความคาดหวังที่ประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซียจะเห็นด้วยกับฝ่ายไทย ที่ต้องการผลักดันให้ภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวใน IMT-GT ว่า ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรเพราะอินโดนีเซียเองก็ต้องการที่จะให้ผู้นำด้านการท่องเที่ยวอยู่แล้ว และในส่วนของมาเลเซียเองก็ไม่น่าที่จะมีปัญหาอะไร เพราะขณะนี้สายการบินของมาเลเซียได้บินมาภูเก็ตทั้งจากกัวลาลัมเปอร์และปีนังอยู่แล้ว ซึ่งความเป็นไปได้ที่ทั้ง 2 ประเทศจะเห็นด้วยมีสูงมาก
นอกจากเรื่องการผลักดันให้ภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวใน IMT-GT แล้ว ยังจะมีหารือกันในเรื่องของสินค้าทางการเกษตรร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องยางพารา ไม้ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และอีกหลายเรื่องที่จะเกิดประโยชน์ร่วมกันทั้ง 3 ประเทศ และคาดว่าจะมีการนำเสนอคณะทำงานด้านพลังงานเพิ่มเติมด้วย เนื่องจากไทยต้องอาศัยพลังงานจากอินโดนีเซียอีกมาก ซึ่งผลที่ได้จากการประชุมจะมีการนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลักดันต่อไป โดยในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ จะมีการประชุมรัฐมนตรี IMT-GT ที่เมืองมะละกา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งจะได้มีการนำเสนอประเด็นต่างๆ ที่ภาคเอกชนเห็นร่วมกันผลักดันให้เกิดขึ้นต่อไป
สำหรับความร่วมมือในกรอบ IMT-GT มี 6 ด้านด้วยกัน คือ สาขาโครงสร้างพื้นฐาน สาขาการค้าและการลงทุน สาขาการท่องเที่ยว สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สาขาเกษตรและอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม และสาขาผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล
วานนี้( 21 พ.ค.) ที่โรงแรมรอยัล ภูเก็ต ซิตี้ อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายธนารักษ์ พงษ์เภตรา ประธานสภาธุรกิจชายแดนภาคใต้ พร้อมด้วย นางอรอนงค์ สุวรรณาคาร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต นายสรธรรม จินดา รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ร่วมแถลงข่าว การจัดประชุมสภาธุรกิจร่วมสามฝ่าย ครั้งที่ 257 ว่า สภาธุรกิจชายแดนภาคใต้ ได้กำหนดการจัดประชุมสภาธุรกิจร่วม 3 ฝ่าย ครั้งที่ 27 ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซียในกรอบความร่วมมือ IMT-GT ( Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle Joint Business Council Meeting) ขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2552 ที่โรงแรมรอยัล ภูเก็ต ซิตี้ อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยมีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีจะเดินทางมาเป็นประธาน ซึ่งจะมีภาคเอกชนทั้ง 3 ประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมประมาณ 350 คน
การประชุมในครั้งนี้มีประเด็นหลักที่เป็นจุดเน้น 3 เรื่อง คือ การประชุมร่วมของผู้แทนภาคเอกชนและที่เกี่ยวข้องสามประเทศ การเจรจาคู่ค้าทางธุรกิจ หรือ Business Macthing ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2552 และการจัดการท่องเที่ยว หรือ Package Tour แก่ผู้เข้าร่วมประชุมต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 29-30 พฤษภาคม 2552 นี้
นายธนารักษ์กล่าวต่อว่า การที่ทางสภาธุรกิจชายแดนใต้เลือกจังหวัดภูเก็ตเป็นสถานที่ในการจัดการประชุมร่วม 3 ฝ่าย เพราะในการประชุมครั้งนี้ทางสภาฯต้องการที่จะผลักดันให้จังหวัดภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวใน IMT-GT และต้องการที่จะผลักดันให้ภูเก็ตเป็นศูนย์กลางในการฝึกอบรมด้านซอฟต์แวร์ในภูมิภาค IMT-GT
ทั้งนี้ เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตมีศักยภาพทางด้านการท่องเที่ยวสูงมาก ที่จะผลักดันให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของ IMT-GT และปัจจุบันภูเก็ตก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก ซึ่งมีศักยภาพสูงกว่าหาดใหญ่มาก จากเดิมที่มีการผลักดันให้หาดใหญ่เป็นศูนย์กลาง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร สภาฯจึงมองว่าภูเก็ตน่าที่จะมีศักยภาพมากกว่า ทั้งในเรื่องของแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ การเป็นศูนย์กลางในการดูแลสุขภาพ ฯลฯ
ส่วนการเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมแรงงานด้านไอที ในภาคใต้คิดว่าภูเก็ตมีความพร้อมมากที่สุด เพราะภูเก็ตมีสำนักงานชอฟต์แวร์แห่งชาติตั้งอยู่ด้วย และในอีก 2 ปีข้างหน้าการเคลื่อนไหวด้านแรงงานในกลุ่มประเทศอาเซียนก็จะมีอิสระแรงงานในกลุ่มสามารถเดินทางไปทำงานในประเทศกลุ่มเดียวกันได้อย่างเสรี
นายธนารักษ์ยังกล่าวถึงความคาดหวังที่ประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซียจะเห็นด้วยกับฝ่ายไทย ที่ต้องการผลักดันให้ภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวใน IMT-GT ว่า ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรเพราะอินโดนีเซียเองก็ต้องการที่จะให้ผู้นำด้านการท่องเที่ยวอยู่แล้ว และในส่วนของมาเลเซียเองก็ไม่น่าที่จะมีปัญหาอะไร เพราะขณะนี้สายการบินของมาเลเซียได้บินมาภูเก็ตทั้งจากกัวลาลัมเปอร์และปีนังอยู่แล้ว ซึ่งความเป็นไปได้ที่ทั้ง 2 ประเทศจะเห็นด้วยมีสูงมาก
นอกจากเรื่องการผลักดันให้ภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวใน IMT-GT แล้ว ยังจะมีหารือกันในเรื่องของสินค้าทางการเกษตรร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องยางพารา ไม้ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และอีกหลายเรื่องที่จะเกิดประโยชน์ร่วมกันทั้ง 3 ประเทศ และคาดว่าจะมีการนำเสนอคณะทำงานด้านพลังงานเพิ่มเติมด้วย เนื่องจากไทยต้องอาศัยพลังงานจากอินโดนีเซียอีกมาก ซึ่งผลที่ได้จากการประชุมจะมีการนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลักดันต่อไป โดยในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ จะมีการประชุมรัฐมนตรี IMT-GT ที่เมืองมะละกา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งจะได้มีการนำเสนอประเด็นต่างๆ ที่ภาคเอกชนเห็นร่วมกันผลักดันให้เกิดขึ้นต่อไป
สำหรับความร่วมมือในกรอบ IMT-GT มี 6 ด้านด้วยกัน คือ สาขาโครงสร้างพื้นฐาน สาขาการค้าและการลงทุน สาขาการท่องเที่ยว สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สาขาเกษตรและอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม และสาขาผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล