ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”เล่นบทซ่อนหา ปิดผลประมูลข้าว ไม่ยอมเปิดเผยต่อสาธารณะชน แต่ดอดเรียกเซ็นสัญญาครบทุกรายแล้ว “ประพล”อ้างต้องส่งให้ “มาร์ค” ดูรายละเอียดก่อน ปูดอีกต้องรีบเซ็นสัญญาก่อนถูกครม.สั่งเบรกซ้ำรอยข้าวโพด จนทำชวดอดกินเงินใต้โต๊ะ 2 พันล้านบาท แถมล่าสุดอคส. สั่งเบรกขนข้าวออกจากโกดัง หลังมีข่าวมีผู้ส่งออกบางรายยังไม่ยอมจ่าย ด้านบอร์ดกคพ.สอบคดีเพรสซิเด้นส์อะกริปลอมสัญญาค้าข้าวขอกู้เงิน ทำสถาบันการเงินเสียหายกว่า 2 หมื่นล้าน
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้องค์การคลังสินค้า (อคส.) ได้เรียกผู้ส่งออกข้าวที่ชนะการประมูลข้าวในสต๊อกรัฐบาลที่เปิดประมูลจำนวน 2.6 ล้านตันในวันที่ 6 พ.ค.2552 มาเซ็นสัญญาครบทุกราย หลังจากที่ผ่านการพิจารณาต่อรองราคาจากคณะทำงาน และได้รับการอนุมัติจากนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์แล้ว โดยมีผู้ชนะการประมูลจำนวน 10 รายปริมาณข้าวที่อนุมัติขายจำนวนรวม 2 ล้านกว่าตัน
ทั้งนี้ ผู้ส่งออกที่ชนะการประมูล 10 ราย เช่น บริษัท สยามอินดิก้า จำกัด บริษัท เอเชีย โกลเด้น ไรซ์ จำกัด บริษัท แคปปิตัลซีเรียลส์ จำกัด บริษัท ไชยพรไรซแอนด์ฟู้ดโปรดักส์ จำกัด บริษัท พงษ์ลาภ จำกัด บริษัท สิงห์โตทองไรซ์คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จำกัด เป็นต้น
โดยราคาเฉลี่ยที่ขายได้ในครั้งนี้อยู่ที่ 1.42-1.55 หมื่นบาทต่อตัน ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบันที่อยู่ที่ประมาณ 1.65-1.7 หมื่นบาทต่อตัน ขณะที่ต้นทุนรับจำนำอยู่ที่ตันละ 2.2-2.4 หมื่นบาทต่อตัน ซึ่งเบื้องต้นประเมินว่ารัฐบาลจะขาดทุนจากการขายข้าวในครั้งนี้สูงถึง 2 หมื่นล้านบาท
นายประพล มิลินทจินดา เลขานุการรมว.พาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ไม่ได้มีเจตนาในการปิดปังข้อมูลรายละเอียดของผู้ส่งออกที่ชนะการประมูลข้าวสารในสต๊อกรัฐบาล แต่ที่ยังไม่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณชนได้นั้น เนื่องจากต้องการนำรายละเอียดทั้งหมดเสนอให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พิจารณาก่อน เพราะเป็นโครงการเปิดประมูลใหญ่
และรัฐบาลประสบปัญหาการขาดทุน
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าอคส. ได้ดำเนินการตามขั้นตอนเสร็จสิ้นแล้ว และมีการเซ็นสัญญากับผู้ที่ชนะการประมูลทุกรายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
แหล่งข่าวจากวงการผู้ส่งออกข้าว กล่าวว่า ในวงการค้าข้าวมีการพูดคุยกันว่า ที่กระทรวงพาณิชย์เร่งรีบเซ็นสัญญาขายข้าวให้กับผู้ที่ชนะการประมูล เพราะไม่ต้องการถูกคณะรัฐมนตรี (ครม.) สั่งเบรกผลการประมูลเหมือนกับกรณีของข้าวโพด หลังจากที่ครม. ได้มีมติเมื่อวันที่ 13 พ.ค.ว่า การเปิดประมูลขายสินค้าเกษตรที่เข้าโครงการรับจำนำของรัฐบาล
และหากประสบปัญหาการขาดทุน ต้องเสนอให้ครม.พิจารณา เพื่อรับผิดชอบร่วมกัน
นอกจากนี้ การเร่งรัดเซ็นสัญญา เพราะการเมืองต้องการที่จะได้ผลประโยชน์จากเงินใต้โต๊ะ ที่เกิดขึ้นจากส่วนต่างระหว่างข้าวที่เคาะขายกับราคาตลาด โดยการขายในครั้งนี้ มีส่วนต่างเกิดขึ้นประมาณตันละ 2 พันบาท ซึ่งส่วนต่างนี้หากผู้ส่งออกได้ไปทั้งหมด ก็จะมีกำไรจากการซื้อข้าวในสต๊อกรัฐบาลแล้วนำไปขายต่อสูงถึง 4 พันล้านบาทแต่ผู้ส่งออกจะไม่ได้ส่วนต่างทั้งหมด เพราะต้องแบ่งให้กับนักการเมืองที่เข้ามาดูแลการประมูลข้าวในครั้งนี้ ซึ่งมีข่าวว่าเป็นเงินสูงถึง 2 พันล้านบาท
ล่าสุดมีรายงานข่าวว่า ผู้ส่งออกข้าวที่ชนะการประมูล ไม่สามารถขนข้าวออกจากโกดังได้ เนื่องจากอคส. ไม่อนุมัติให้มีการขนย้ายข้าวออก ทำให้ผู้ส่งออกที่มีคำสั่งซื้อข้าวเข้ามาได้รับผลกระทบจากการที่ไม่มีข้าวไปส่งมอบให้กับลูกค้า แต่มีการพูดถึงสาเหตุลึกๆ เป็นเพราะผู้ส่งออกที่ชนะการประมูล ยังไม่ยอมจ่ายเงินใต้โต๊ะให้กับนักการเมืองเลยถูกสั่งเบรกการขนย้ายข้าวดังกล่าว
*****กคพ.สอบคดีเพรสซิเด้นส์อะกริ
วานนี้ (20 พ.ค.) รายงานข่าวจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ เปิดเผยว่า ผลการประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ ซึ่งมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม บอร์ด กคพ. ได้พิจารณารับคดีเป็นคดีพิเศษ 8 เรื่อง ประกอบด้วย 1 คดีความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ซึ่งเป็นกรณีการเผยแพร่ข้อความหมิ่นสถาบันเบื้องสูงผ่านเว็บไซต์ 2. คดีความผิดเกี่ยวกับการปลอมและใช้เอกสารสัญญาการค้าข้าวระหว่างประเทศปลอม เพื่อฉ้อโกงสถาบันการเงินในการขอวงเงินสินเชื่อเพื่อการส่งออก ซึ่งคดีนี้มีธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อดีเอสไอให้สอบสวนดำเนินคดีกับผู้บริหารบริษัทเพรสซิเดนส์อะกริ จำกัด ซึ่งนำเอกสารค้าข้าวมาขอกู้เงินจากธนาคาร ทำให้ธนาคารได้รับความเสียหายกว่า 20,000 ล้านบาท
สำหรับคดีที่ 3 เป็นกรณีนายการิม (ปกปิดนามสกุล) กับพวก เป็นนายหน้าหรือตัวกลางร่วมกันจัดทำบัตรประชาชนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายให้กับชนเผ่าโรงฮิงยาและคนต่าวด้าวอื่นๆ ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ซึ่งเหตุเกิดในเขตพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนคดีที่ 4 เป็นคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐของสำนักงานชลประทาน จังหวัดสุพรรณบุรี มูลค่าความเสียหาย 40 ล้านบาท
สำหรับคดีที่ 5 เป็นคดีทุจริตฮั้วประมูลนมโรงเรียนตามโครงการจัดซื้ออาหารเสริม(นม)โรงเรียน ขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กว่า 3,000 แห่ง และ 6. การทุจริตในการดำเนินโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังปี พ.ศ. 25551-2552 โดยพนักงานสอบสวนดีเอสไอได้ลงพื้นที่หลายจังหวัด ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมและพบหลักฐานส่อถึงการฮั้วประมูลค่อนข้างชัดเจน มูลค่าความเสียหายกว่า 20,000 ล้านบาท จึงเสนอให้บอร์ดกคพ.มีมติรับเป็นคดีพิเศษ 7. กรณีกรมสรรพากรร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีอาญากับบริษัทโรยัล คาร์โก เอ็กซ์เพรส จำกัด กรณีมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรเพื่อการจัดเก็บเป็นรายได้ของรัฐ อันเป็นความผิดตามมาตรา 37 และมาตรา 90/4 (6) แห่งประมวลรัษฎากร และ 8. คดีแชร์ลูกโซ่ การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ที่อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้องค์การคลังสินค้า (อคส.) ได้เรียกผู้ส่งออกข้าวที่ชนะการประมูลข้าวในสต๊อกรัฐบาลที่เปิดประมูลจำนวน 2.6 ล้านตันในวันที่ 6 พ.ค.2552 มาเซ็นสัญญาครบทุกราย หลังจากที่ผ่านการพิจารณาต่อรองราคาจากคณะทำงาน และได้รับการอนุมัติจากนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์แล้ว โดยมีผู้ชนะการประมูลจำนวน 10 รายปริมาณข้าวที่อนุมัติขายจำนวนรวม 2 ล้านกว่าตัน
ทั้งนี้ ผู้ส่งออกที่ชนะการประมูล 10 ราย เช่น บริษัท สยามอินดิก้า จำกัด บริษัท เอเชีย โกลเด้น ไรซ์ จำกัด บริษัท แคปปิตัลซีเรียลส์ จำกัด บริษัท ไชยพรไรซแอนด์ฟู้ดโปรดักส์ จำกัด บริษัท พงษ์ลาภ จำกัด บริษัท สิงห์โตทองไรซ์คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จำกัด เป็นต้น
โดยราคาเฉลี่ยที่ขายได้ในครั้งนี้อยู่ที่ 1.42-1.55 หมื่นบาทต่อตัน ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบันที่อยู่ที่ประมาณ 1.65-1.7 หมื่นบาทต่อตัน ขณะที่ต้นทุนรับจำนำอยู่ที่ตันละ 2.2-2.4 หมื่นบาทต่อตัน ซึ่งเบื้องต้นประเมินว่ารัฐบาลจะขาดทุนจากการขายข้าวในครั้งนี้สูงถึง 2 หมื่นล้านบาท
นายประพล มิลินทจินดา เลขานุการรมว.พาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ไม่ได้มีเจตนาในการปิดปังข้อมูลรายละเอียดของผู้ส่งออกที่ชนะการประมูลข้าวสารในสต๊อกรัฐบาล แต่ที่ยังไม่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณชนได้นั้น เนื่องจากต้องการนำรายละเอียดทั้งหมดเสนอให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พิจารณาก่อน เพราะเป็นโครงการเปิดประมูลใหญ่
และรัฐบาลประสบปัญหาการขาดทุน
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าอคส. ได้ดำเนินการตามขั้นตอนเสร็จสิ้นแล้ว และมีการเซ็นสัญญากับผู้ที่ชนะการประมูลทุกรายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
แหล่งข่าวจากวงการผู้ส่งออกข้าว กล่าวว่า ในวงการค้าข้าวมีการพูดคุยกันว่า ที่กระทรวงพาณิชย์เร่งรีบเซ็นสัญญาขายข้าวให้กับผู้ที่ชนะการประมูล เพราะไม่ต้องการถูกคณะรัฐมนตรี (ครม.) สั่งเบรกผลการประมูลเหมือนกับกรณีของข้าวโพด หลังจากที่ครม. ได้มีมติเมื่อวันที่ 13 พ.ค.ว่า การเปิดประมูลขายสินค้าเกษตรที่เข้าโครงการรับจำนำของรัฐบาล
และหากประสบปัญหาการขาดทุน ต้องเสนอให้ครม.พิจารณา เพื่อรับผิดชอบร่วมกัน
นอกจากนี้ การเร่งรัดเซ็นสัญญา เพราะการเมืองต้องการที่จะได้ผลประโยชน์จากเงินใต้โต๊ะ ที่เกิดขึ้นจากส่วนต่างระหว่างข้าวที่เคาะขายกับราคาตลาด โดยการขายในครั้งนี้ มีส่วนต่างเกิดขึ้นประมาณตันละ 2 พันบาท ซึ่งส่วนต่างนี้หากผู้ส่งออกได้ไปทั้งหมด ก็จะมีกำไรจากการซื้อข้าวในสต๊อกรัฐบาลแล้วนำไปขายต่อสูงถึง 4 พันล้านบาทแต่ผู้ส่งออกจะไม่ได้ส่วนต่างทั้งหมด เพราะต้องแบ่งให้กับนักการเมืองที่เข้ามาดูแลการประมูลข้าวในครั้งนี้ ซึ่งมีข่าวว่าเป็นเงินสูงถึง 2 พันล้านบาท
ล่าสุดมีรายงานข่าวว่า ผู้ส่งออกข้าวที่ชนะการประมูล ไม่สามารถขนข้าวออกจากโกดังได้ เนื่องจากอคส. ไม่อนุมัติให้มีการขนย้ายข้าวออก ทำให้ผู้ส่งออกที่มีคำสั่งซื้อข้าวเข้ามาได้รับผลกระทบจากการที่ไม่มีข้าวไปส่งมอบให้กับลูกค้า แต่มีการพูดถึงสาเหตุลึกๆ เป็นเพราะผู้ส่งออกที่ชนะการประมูล ยังไม่ยอมจ่ายเงินใต้โต๊ะให้กับนักการเมืองเลยถูกสั่งเบรกการขนย้ายข้าวดังกล่าว
*****กคพ.สอบคดีเพรสซิเด้นส์อะกริ
วานนี้ (20 พ.ค.) รายงานข่าวจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ เปิดเผยว่า ผลการประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ ซึ่งมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม บอร์ด กคพ. ได้พิจารณารับคดีเป็นคดีพิเศษ 8 เรื่อง ประกอบด้วย 1 คดีความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ซึ่งเป็นกรณีการเผยแพร่ข้อความหมิ่นสถาบันเบื้องสูงผ่านเว็บไซต์ 2. คดีความผิดเกี่ยวกับการปลอมและใช้เอกสารสัญญาการค้าข้าวระหว่างประเทศปลอม เพื่อฉ้อโกงสถาบันการเงินในการขอวงเงินสินเชื่อเพื่อการส่งออก ซึ่งคดีนี้มีธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อดีเอสไอให้สอบสวนดำเนินคดีกับผู้บริหารบริษัทเพรสซิเดนส์อะกริ จำกัด ซึ่งนำเอกสารค้าข้าวมาขอกู้เงินจากธนาคาร ทำให้ธนาคารได้รับความเสียหายกว่า 20,000 ล้านบาท
สำหรับคดีที่ 3 เป็นกรณีนายการิม (ปกปิดนามสกุล) กับพวก เป็นนายหน้าหรือตัวกลางร่วมกันจัดทำบัตรประชาชนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายให้กับชนเผ่าโรงฮิงยาและคนต่าวด้าวอื่นๆ ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ซึ่งเหตุเกิดในเขตพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนคดีที่ 4 เป็นคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐของสำนักงานชลประทาน จังหวัดสุพรรณบุรี มูลค่าความเสียหาย 40 ล้านบาท
สำหรับคดีที่ 5 เป็นคดีทุจริตฮั้วประมูลนมโรงเรียนตามโครงการจัดซื้ออาหารเสริม(นม)โรงเรียน ขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กว่า 3,000 แห่ง และ 6. การทุจริตในการดำเนินโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังปี พ.ศ. 25551-2552 โดยพนักงานสอบสวนดีเอสไอได้ลงพื้นที่หลายจังหวัด ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมและพบหลักฐานส่อถึงการฮั้วประมูลค่อนข้างชัดเจน มูลค่าความเสียหายกว่า 20,000 ล้านบาท จึงเสนอให้บอร์ดกคพ.มีมติรับเป็นคดีพิเศษ 7. กรณีกรมสรรพากรร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีอาญากับบริษัทโรยัล คาร์โก เอ็กซ์เพรส จำกัด กรณีมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรเพื่อการจัดเก็บเป็นรายได้ของรัฐ อันเป็นความผิดตามมาตรา 37 และมาตรา 90/4 (6) แห่งประมวลรัษฎากร และ 8. คดีแชร์ลูกโซ่ การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ที่อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ