xs
xsm
sm
md
lg

ปชป.ดันแก้ม.190พร้อม266รื้อม.237ต้องเพิ่มโทษคนโกง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ออกมากล่าวหา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ขัดขวางการนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า สิ่งที่นายกรัฐมนตรียืนยันมาตลอดเป็นเรื่องของหลักการ ซึ่งจุดยืนคือจะไม่ให้มีการนิรโทษกรรมนักการเมือง ที่การกระทำความผิดเกี่ยวกับคดีอาญา ไม่ได้จำเพระเจาะจงถึงพ.ต.ท.ทักษิณ เท่านั้นหากเป็นนักการเมืองคนใดก็ตามก็ไม่ให้นิรโทษกรรมทั้งนั้น
นายเทพไท กล่าวว่าข้อเท็จจริงจึงเป็นข้อชี้แจง ข้อเสนอที่เป็นข้อถกเถียง อย่างมากคือ มาตรา 237 และมาตรา94 ซึ่งทั้ง 2 มาตราเป็นผลประโยชน์ที่เกี่ยวกับนักการเมืองทั้งสิ้น หากจะแก้มาตรานี้จะต้องมีมาตราที่เข้ามาจัดการกับการทุจริต ทางการเมือง ซึ่งต้องรุนแรงกว่าโทษของมาตา 237 ส่วนมาตรา 94 เป็นเรื่องของ เขตเลือกตั้ง ที่บางส่วนหรือบางคนต้องการให้การเลือกตั้งกลับไปสู่การเลือกตั้ง แบบเดิม คือเขตเล็กเรียงเบอร์ และวันแมนวันโหวต 2อย่างมีจุดดีและด้อยแตกต่างกัน
ผมคิดว่าการเลือกตั้งแบบเขตเล็กนั้นเป็นการปิดโอกาสของคนที่มีชื่อเสียง และคนที่ไม่มีเงิน และจะยิ่งทำให้เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรง เป็นการต่อสู่แบบ เผชิญหน้า ทำให้เกิดความขัดแย้งในหมู่นักการเมืองและหมู่หัวคะแนน อะไรก็ตาม หากว่าเป็นเรื่องของผลประโยชน์ของนักการเมือง ที่นักการเมืองมีส่วนได้เสีย ผมคิดว่าเราต้องรับฟังเสียงของประชาชนที่จะตัดสินใจ
นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์สนับสนุนการปฏิรูปการเมือง โดยเฉพาะแนวทางของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ได้มีการติดต่อไปยังกลุ่ม ความขัดแย้งทางการเมือง คือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.)และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่ทำหนังสือให้เข้า ร่วมสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็น อยากให้ขยายการรับฟังไปสู่การพูดคุยที่ชัดเจน เนื่องจากเป็นการนำความขัดแย้งนอกสภาสู่กระบวนการทางรัฐสภา โดยผ่านคณะกรรมการทั้งสองชุด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการสร้างความสมานฉันท์ และต้องการให้ขยายไปสู่การทำงานของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงด้วย ทั้งนี้ต้องการให้กลุ่มนปช.ให้ความร่วมมือต่อกระบวนการของรัฐสภา
นพ.บุรณัชย์ กล่าวว่า ในสวนของคณะทำงานที่อยู่ในอนุกรรมการสมานฉันท์ ของพรรคประชาธิปัตย์ มีการส่งเฉพาะประเด็นสาระของมาตรา 190 คือการเพิ่ม ขยายรายระเอียดของการทำสัญญา และในส่วนของมาตรา 266 เป็นการพูดถึง ความชัดเจนเรื่องบทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่จะทำงานกับฝ่ายบริหารในการแก้ไขปัญหาของประชาชน
ทั้งนี้ขอยืนยันว่าพรรคยังอยู่ในขั้นตอนของการฟังความคิดเห็น ที่ภายในและภายนอกยังมีความแตกต่างกัน พรรคมีจุดยืนว่า มาตรา 237 คือการป้องกันการทุจริตขายเสียงทางการเมืองคงต้องอยู่ต่อไป ส่วนวิธีการนั้นจะใช้วิธีการรับผิดในส่วนของกรรมการบริหาร ที่ต้องเพิ่มโทษผู้กระทำผิดโดยเฉพาะเจาะจงหรือจะคาบเกี่ยวกับการยุบพรรคหรือไม่นั้น แนวทางจะเป็นการรับฟังเพื่อผ่านเข้าสู่การทำงาน ของคณะอนุกรรมการแก้ไขรัฐธรรมนูญของคณะกรรมการสมานฉันท์ ต่อไป
นายโคทม อารียา ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่า การตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกระบวนการทางรัฐสภา จะช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมและการเมืองได้
กำลังโหลดความคิดเห็น