ASTVผู้จัดการรายวัน -จุฬาฯ คิดค้นชุดตรวจเชื้อไข้หวัดใหญ่พันธุ์ใหม่2009 นอกห้องปฏิบัติการประสบความสำเร็จเป็นแห่งแรกของโลก รู้ผลเร็วใน1ชั่วโมง แม่นยำเทียบเท่าผลตรวจจากห้องแล็บ แต่ราคาเพียง350 บาทถูกกว่า 7 เท่า พร้อมส่งต่อให้หน่วยงานที่คัดกรองผู้ป่วยนำไปใช้ได้ทันที่ที่ลงจากเครื่องบิน ส่วนสถานการณ์ในต่างประเทศ มาเลเซียพบผู้ติดเชื้อเป็นรายแรกแล้ว ขณะที่องค์การอนามัยโลกเพิ่มยอดผู้ติดเชื้อที่ยืนยันแล้วทั่วโลกอีกกว่า 1 พันราย ภายในวันเดียว เป็น 7,520 ราย ประเทศซึ่งมีผู้ป่วยเพิ่มมากที่สุดยังคงเป็นสหรัฐฯ โดยที่นครนิวยอร์กมีการสั่งปิดโรงเรียน 3 แห่ง หลังพบมีผู้ล้มป่วยสูงผิดปกติ
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการเตรียมพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขว่าจากการประเมินสถานการณ์แนวโน้มการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอ เอช1 เอ็น1 ไทยยังคงมีผู้ป่วยยืนยันเท่าเดิม 2 ราย โดยติดเชื้อจากต่างประเทศและรักษาหายขาดแล้ว ยังไม่พบรายใหม่เพิ่ม แต่มีผู้ป่วยที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวัง อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค และดำเนินการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งล้วนเดินทางกลับมาจากต่างประเทศจำนวน 15 ราย
สำหรับรายที่จ.พิษณุโลกตามที่เป็นข่าว ซึ่งเป็นเด็กที่เดินทางกลับจากเม็กซิโก และมีอาการป่วยหลังเดินทางกลับถึงบ้าน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ไม่ใช่เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มจำนวนผู้ป่วยในข่ายเฝ้าระวังจากนี้ไป จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่ใช่หมายถึงมีการติดเชื้อ หรือมีการแพร่กระจายเชื้อเพิ่มขึ้น แต่เป็นผลมาจากการที่ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและเดินเข้ามาขอรับการตรวจ รวมถึงระบบการค้นหาผู้ป่วยของเจ้าหน้าที่ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข ด้านนพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า วานนี้ (15 พ.ค.) กรมควบคุมโรคได้ให้ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรมควบคุมโรคเพิ่มการเฝ้าระวังโรคชิคุนกุนยา ซึ่งกำลังแพร่ระบาดใน 15 จังหวัด ส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคใต้ เพิ่มอีก1 โรค พร้อมทั้งกำชับให้ศูนย์ป้องกันควบคุมโรคในเขตภาคใต้ คือที่ สงขลาและนครศรีธรรมราช รายงานสถานการณ์และร่วมประชุมเพื่อวางแผนแก้ไขอย่างทันท่วงที โดยให้ส่งหน่วยสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ ร่วมกับ อสม.ในหมู่บ้าน โดยไม่ต้องให้มีผู้ป่วยก่อน
**จุฬาฯคิดค้นชุดตรวจสำเร็จ
วันเดียวกัน ที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์ อาจารย์ประจำห้องปฏิบัติการทรานสเจนิคเทคโนโลยีในพืชและไบโอเซ็นเซอร์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า คณะวิทยาศาสตร์ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประสบความสำเร็จในการคิดค้นชุดตรวจเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ภายใต้ชื่อ ซียู ดีเท็ค (CU-DETECT) ซึ่งเป็นชุดทดสอบที่สามารถดำเนินการได้นอกห้องปฏิบัติการได้เป็นที่แรกของโลก โดยใช้เวลาในการตรวจเชื้อเพียง 1 ชม. สามารถยืนยันผลได้ว่าผู้ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่2009 หรือไม่
ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์ กล่าวว่า ผลการตรวจเชื้อที่ได้จากการทดสอบด้วยชุดซียูดีเท็ค มีความแม่นยำเทียบเท่ากับผลที่ตรวจได้จากห้องปฏิบัติการ แต่วิธีการนี้สามารถดำเนินการได้เร็วกว่า โดยรู้ผลภายใน 1 ชม. ขณะที่ในห้องปฏิบัติการต้องใช้เวลาอย่างน้อย 24 ชม. อีกทั้ง ค่าใช้จ่ายในการทดสอบต่อครั้งเพียง 350 บาท ถูกกว่าการทดสอบในห้องปฏิบัติการที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 2,500 บาทต่อครั้ง ถึง 7 เท่า ที่สำคัญชุดทดสอบนี้ สามารถนำไปใช้ตรวจเชื้อผู้ต้องสงสัยได้ในทุกพื้นที่ ที่ต้องการ
"เมื่อปลายเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ได้ริเริ่มคิดค้นชุดทดสอบนี้ทันทีที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในประเทศเม็กซิโก เมื่อทราบลำดับข้อมูลลำดับหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของสารพันธุกรรม หรือนิวคลิโอไทด์ของยีนไวรัสชนิดนี้ โดยไม่ต้องใช้ตัวอย่างของเชื้อไวรัส ก็สามารถสังเคราะห์ ดีเอ็นเอ (DNA) ทางเคมี ทั้งนี้ ชุดซียูดีเท็ค จะมี 2 ขนาด ได้แก่ ขนาดบรรจุหลอดน้ำยาสำเร็จรูปที่เป็นสูตรที่คิดค้นขึ้น 10 หลอดใช้ทดสอบได้ 10 ครั้ง และ 20หลอด สามารถใช้ทดสอบได้ 20 ครั้ง"
สำหรับวิธีการทดสอบเชื้อ จะเริ่มจากการเก็บตัวอย่างเชื้อไวรัสจากน้ำลาย หรือน้ำมูกของผู้ต้องสงสัย จากนั้นนำไปเข้ากระบวนการสกัดอาร์เอ็นเอ (RNA) ซึ่งเป็นสารพันธุกรรมของไวรัส แล้วนำตัวอย่างที่ได้ประมาณ 2 ไมโครลิตร หยดใส่หลอดน้ำยาสำเร็จรูป พร้อมกับหยดเอนไซม์ 2 ชนิด ชนิดละ 1 ไมโครลิตรลงไป นำไปบ่มในเครื่องบ่มที่อุณหภูมิ 63 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 40 นาที–1 ชั่วโมง ก่อนนำมาอ่านผล โดยใช้หลักการของการเรืองแสง หากเชื้อที่นำมาตรวจเป็นเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เมื่อส่องด้วยแสงสีม่วง จะเรืองแสงเป็นสีเขียว หากไม่ใช่ไวรัสชนิดนี้จะไม่เรืองแสง
"การตรวจเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์นี้ที่ผ่านมา ดำเนินการภายในห้องปฏิบัติการทั้งสิ้น แต่ชุดทดสอบนี้ สามารถนำไปตรวจเชื้อผู้ป่วยได้นอกห้องปฏิบัติการ ทำได้ง่ายและรวดเร็ว เช่น การตรวจที่สนามบิน ทำให้มีความสะดวก เมื่อพบผู้ป่วยที่มีความร้อนสูงกว่าเครื่องเทอร์โมสแกน ก็สามารถนำผู้ป่วยมาตรวจเชื้อได้ทันที หากผู้ป่วยไม่ได้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ก็ไม่ต้องนำผู้ป่วยไปกักตัวไว้ที่โรงพยาบาล" ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์กล่าว
ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้จุฬาฯ ประสบความสำเร็จในการคิดค้นชุดทดสอบนี้ คาดหวังที่จะให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการตรวจคัดกรองผู้ป่วยนำไปใช้งาน ซึ่งขณะนี้คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯพร้อมที่จะให้การสนับสนุนหน่วยงานเหล่านี้ แต่ไม่จำหน่ายชุดทดสอบหรือรับตรวจเชื้อไวรัสชนิดนี้ให้กับประชาชนทั่วไป เพราะโดยปกติทั่วไปการตรวจโรคต้องดำเนินการโดยผู้ที่มีความรู้เท่านั้น
**มาเลเซีย-เปรู พบผู้ติดเชื้อรายแรก
มาเลเซียกลายเป็นประเทศอาเซียนชาติที่สองต่อจากไทย ซึ่งพบผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โดยรายนี้อยู่ในระหว่างการรักษาตัว อีกทั้งมีความเป็นไปได้ว่าเชื้ออาจจะแพร่ต่อไปยังอินโดนีเซีย
รักษาการรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข คงโชฮา ของมาเลเซีย แถลงวานนี้ว่า ผู้ป่วยรายนี้เป็นนักศึกษาชายวัย 21 ปี ซึ่งเดินทางมาถึงกรุงกัวลาลัมเปอร์โดยเที่ยวบินจากสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 13 พ.ค. ผู้ป่วยลงจากเครื่องบินโดยที่ในวันรุ่งขึ้นก็มีอาการเป็นไข้ เจ็บคอ และปวดเนื้อปวดตัว และได้ถูกรับเข้าไปยังสถานกักกันโรค สุไหง บูล็อก ในรัฐสลังงอร์ ในคืนวันเดียวกัน เวลานี้เขามีอาการคงที่แล้ว
คง บอกว่ากำลังติดตามผู้โดยสารที่อยู่ในเครื่องบินลำเดียวกับคนป่วยผู้นี้ โดยที่หวั่นเกรงกันว่าอาจมีผู้โดยสารบางคนเดินทางต่อไปยังอินโดนีเซียแล้ว เนื่องจากเที่ยวบินจากสหรัฐฯ ดังกล่าว เป็นเที่ยวบินร่วมของสายการบินการูดา ของอินโดนีเซียด้วย
นอกจากมาเลเซียแล้ว เปรู ก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่เพิ่งแถลงว่าพบผู้ติดเชื้อเป็นรายแรก
**ผู้ป่วยพุ่งกว่าพันในวันเดียว
องค์การอนามัยโลกแถลงวานนี้ว่า จำนวนผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เอ เอช1เอ็น1 ที่ยืนยันแล้วทั่วโลกได้เพิ่มขึ้นเป็น 7,520 รายแล้ว โดยเพิ่มขึ้นถึงกว่า 1,000 รายในเวลา 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา สำหรับผู้เสียชีวิตนั้นมี 65 ราย ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกบอกว่าพบผู้ติดเชื้อใน 34 ประเทศ ซึ่งหากรวม 2 ประเทศที่เพิ่งพบใหม่คือ มาเลเซีย และเปรู ก็จะกลายเป็น 36 ประเทศ
เมื่อวันพฤหัสบดี องค์การอนามัยโลกเพิ่งรายงานว่า มีผู้ติดเชื้อ 6,497 ราย ใน33 ประเทศ
**นิวยอร์กสั่งปิดโรงเรียน
ทางการนครนิวยอร์ก ออกคำสั่งเมื่อวานนี้ ปิดโรงเรียน 3 แห่ง ซึ่งต่างอยู่ในเขตควีนส์ และมีนักเรียนรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 4,500 คน โดยผู้ว่าการนครนิวยอร์ก ไมเคิล บลูมเบิร์ก กล่าวว่าที่ต้องสั่งปิดก็เนื่องจาก "มีการเจ็บป่วยด้วยอาการเหมือนไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนสูงอย่างผิดปกติ"
บลูมเบิร์กบอกด้วยว่า นักเรียนที่ล้มป่วยจำนวน 4 คนของโรงเรียนที่ถูกสั่งปิดคราวนี้แห่งหนึ่ง ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 รวมทั้งเจ้าหน้าที่รายหนึ่งของโรงเรียนแห่งหนึ่งที่กำลังนอนป่วยอาการหนักอยู่ในโรงพยาบาล ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ของนิวยอร์กหลายรายให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า เจ้าหน้าที่โรงเรียนที่กล่าวถึงมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่
สำหรับผู้ติดเชื้อในทั่วทั้งประเทศนั้น พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบด้านสาธารณสุขระดับชาติของสหรัฐฯได้แถลงในวันพฤหัสบดี(14) ว่า มีผู้ติดเชื้อซึ่งยืนยันแน่นอนแล้วเพิ่มขึ้นจาก 3,352 ราย เป็นมากกว่า 4,298 ราย
**เตือนไวรัสอาจผสมกับหวัดนก
มาร์กาเร็ต ชาน ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก กล่าวเตือนเมื่อวานนี้ว่า ไม่ควรรู้สึกว่าปลอดภัยแล้วจากการที่เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เอ เอช1เอ็น1 นี้ ทำท่าจะลดทอนเบาบางลง อีกทั้งดูเหมือนจะระบาดไม่ร้ายแรงอะไร ทั้งนี้เธอบอกว่าไวรัสนี้อาจจะยังไม่ทันออกฤทธิ์ร้ายแรงถึงที่สุด โดยที่ยังคงมี "ความไม่แน่นอนอย่างใหญ่หลวง" เกี่ยวกับอันตรายของไวรัสสายพันธุ์นี้ เฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชาน บอกว่าองค์การอนามัยโลกกำลังเฝ้าจับตามอย่างใกล้ชิดตามส่าวนต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเคยเป็นที่ระบาดใหญ่ของไวรัสไข้หวัดนก เอช5 เอ็น1
หากเชื้อเอช1เอ็น1 เกิดมีการผสมกับ เอช5เอ็น1 ก็อาจจะเกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงได้ เธอกล่าว แต่ขณะเดียวกันก็ย้ำว่า "ดิฉันไม่ได้กำลังพูดว่ามันจะเกิดขึ้นนะ"
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการเตรียมพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขว่าจากการประเมินสถานการณ์แนวโน้มการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอ เอช1 เอ็น1 ไทยยังคงมีผู้ป่วยยืนยันเท่าเดิม 2 ราย โดยติดเชื้อจากต่างประเทศและรักษาหายขาดแล้ว ยังไม่พบรายใหม่เพิ่ม แต่มีผู้ป่วยที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวัง อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค และดำเนินการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งล้วนเดินทางกลับมาจากต่างประเทศจำนวน 15 ราย
สำหรับรายที่จ.พิษณุโลกตามที่เป็นข่าว ซึ่งเป็นเด็กที่เดินทางกลับจากเม็กซิโก และมีอาการป่วยหลังเดินทางกลับถึงบ้าน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ไม่ใช่เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มจำนวนผู้ป่วยในข่ายเฝ้าระวังจากนี้ไป จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่ใช่หมายถึงมีการติดเชื้อ หรือมีการแพร่กระจายเชื้อเพิ่มขึ้น แต่เป็นผลมาจากการที่ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและเดินเข้ามาขอรับการตรวจ รวมถึงระบบการค้นหาผู้ป่วยของเจ้าหน้าที่ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข ด้านนพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า วานนี้ (15 พ.ค.) กรมควบคุมโรคได้ให้ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรมควบคุมโรคเพิ่มการเฝ้าระวังโรคชิคุนกุนยา ซึ่งกำลังแพร่ระบาดใน 15 จังหวัด ส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคใต้ เพิ่มอีก1 โรค พร้อมทั้งกำชับให้ศูนย์ป้องกันควบคุมโรคในเขตภาคใต้ คือที่ สงขลาและนครศรีธรรมราช รายงานสถานการณ์และร่วมประชุมเพื่อวางแผนแก้ไขอย่างทันท่วงที โดยให้ส่งหน่วยสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ ร่วมกับ อสม.ในหมู่บ้าน โดยไม่ต้องให้มีผู้ป่วยก่อน
**จุฬาฯคิดค้นชุดตรวจสำเร็จ
วันเดียวกัน ที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์ อาจารย์ประจำห้องปฏิบัติการทรานสเจนิคเทคโนโลยีในพืชและไบโอเซ็นเซอร์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า คณะวิทยาศาสตร์ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประสบความสำเร็จในการคิดค้นชุดตรวจเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ภายใต้ชื่อ ซียู ดีเท็ค (CU-DETECT) ซึ่งเป็นชุดทดสอบที่สามารถดำเนินการได้นอกห้องปฏิบัติการได้เป็นที่แรกของโลก โดยใช้เวลาในการตรวจเชื้อเพียง 1 ชม. สามารถยืนยันผลได้ว่าผู้ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่2009 หรือไม่
ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์ กล่าวว่า ผลการตรวจเชื้อที่ได้จากการทดสอบด้วยชุดซียูดีเท็ค มีความแม่นยำเทียบเท่ากับผลที่ตรวจได้จากห้องปฏิบัติการ แต่วิธีการนี้สามารถดำเนินการได้เร็วกว่า โดยรู้ผลภายใน 1 ชม. ขณะที่ในห้องปฏิบัติการต้องใช้เวลาอย่างน้อย 24 ชม. อีกทั้ง ค่าใช้จ่ายในการทดสอบต่อครั้งเพียง 350 บาท ถูกกว่าการทดสอบในห้องปฏิบัติการที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 2,500 บาทต่อครั้ง ถึง 7 เท่า ที่สำคัญชุดทดสอบนี้ สามารถนำไปใช้ตรวจเชื้อผู้ต้องสงสัยได้ในทุกพื้นที่ ที่ต้องการ
"เมื่อปลายเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ได้ริเริ่มคิดค้นชุดทดสอบนี้ทันทีที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในประเทศเม็กซิโก เมื่อทราบลำดับข้อมูลลำดับหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของสารพันธุกรรม หรือนิวคลิโอไทด์ของยีนไวรัสชนิดนี้ โดยไม่ต้องใช้ตัวอย่างของเชื้อไวรัส ก็สามารถสังเคราะห์ ดีเอ็นเอ (DNA) ทางเคมี ทั้งนี้ ชุดซียูดีเท็ค จะมี 2 ขนาด ได้แก่ ขนาดบรรจุหลอดน้ำยาสำเร็จรูปที่เป็นสูตรที่คิดค้นขึ้น 10 หลอดใช้ทดสอบได้ 10 ครั้ง และ 20หลอด สามารถใช้ทดสอบได้ 20 ครั้ง"
สำหรับวิธีการทดสอบเชื้อ จะเริ่มจากการเก็บตัวอย่างเชื้อไวรัสจากน้ำลาย หรือน้ำมูกของผู้ต้องสงสัย จากนั้นนำไปเข้ากระบวนการสกัดอาร์เอ็นเอ (RNA) ซึ่งเป็นสารพันธุกรรมของไวรัส แล้วนำตัวอย่างที่ได้ประมาณ 2 ไมโครลิตร หยดใส่หลอดน้ำยาสำเร็จรูป พร้อมกับหยดเอนไซม์ 2 ชนิด ชนิดละ 1 ไมโครลิตรลงไป นำไปบ่มในเครื่องบ่มที่อุณหภูมิ 63 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 40 นาที–1 ชั่วโมง ก่อนนำมาอ่านผล โดยใช้หลักการของการเรืองแสง หากเชื้อที่นำมาตรวจเป็นเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เมื่อส่องด้วยแสงสีม่วง จะเรืองแสงเป็นสีเขียว หากไม่ใช่ไวรัสชนิดนี้จะไม่เรืองแสง
"การตรวจเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์นี้ที่ผ่านมา ดำเนินการภายในห้องปฏิบัติการทั้งสิ้น แต่ชุดทดสอบนี้ สามารถนำไปตรวจเชื้อผู้ป่วยได้นอกห้องปฏิบัติการ ทำได้ง่ายและรวดเร็ว เช่น การตรวจที่สนามบิน ทำให้มีความสะดวก เมื่อพบผู้ป่วยที่มีความร้อนสูงกว่าเครื่องเทอร์โมสแกน ก็สามารถนำผู้ป่วยมาตรวจเชื้อได้ทันที หากผู้ป่วยไม่ได้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ก็ไม่ต้องนำผู้ป่วยไปกักตัวไว้ที่โรงพยาบาล" ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์กล่าว
ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้จุฬาฯ ประสบความสำเร็จในการคิดค้นชุดทดสอบนี้ คาดหวังที่จะให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการตรวจคัดกรองผู้ป่วยนำไปใช้งาน ซึ่งขณะนี้คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯพร้อมที่จะให้การสนับสนุนหน่วยงานเหล่านี้ แต่ไม่จำหน่ายชุดทดสอบหรือรับตรวจเชื้อไวรัสชนิดนี้ให้กับประชาชนทั่วไป เพราะโดยปกติทั่วไปการตรวจโรคต้องดำเนินการโดยผู้ที่มีความรู้เท่านั้น
**มาเลเซีย-เปรู พบผู้ติดเชื้อรายแรก
มาเลเซียกลายเป็นประเทศอาเซียนชาติที่สองต่อจากไทย ซึ่งพบผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โดยรายนี้อยู่ในระหว่างการรักษาตัว อีกทั้งมีความเป็นไปได้ว่าเชื้ออาจจะแพร่ต่อไปยังอินโดนีเซีย
รักษาการรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข คงโชฮา ของมาเลเซีย แถลงวานนี้ว่า ผู้ป่วยรายนี้เป็นนักศึกษาชายวัย 21 ปี ซึ่งเดินทางมาถึงกรุงกัวลาลัมเปอร์โดยเที่ยวบินจากสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 13 พ.ค. ผู้ป่วยลงจากเครื่องบินโดยที่ในวันรุ่งขึ้นก็มีอาการเป็นไข้ เจ็บคอ และปวดเนื้อปวดตัว และได้ถูกรับเข้าไปยังสถานกักกันโรค สุไหง บูล็อก ในรัฐสลังงอร์ ในคืนวันเดียวกัน เวลานี้เขามีอาการคงที่แล้ว
คง บอกว่ากำลังติดตามผู้โดยสารที่อยู่ในเครื่องบินลำเดียวกับคนป่วยผู้นี้ โดยที่หวั่นเกรงกันว่าอาจมีผู้โดยสารบางคนเดินทางต่อไปยังอินโดนีเซียแล้ว เนื่องจากเที่ยวบินจากสหรัฐฯ ดังกล่าว เป็นเที่ยวบินร่วมของสายการบินการูดา ของอินโดนีเซียด้วย
นอกจากมาเลเซียแล้ว เปรู ก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่เพิ่งแถลงว่าพบผู้ติดเชื้อเป็นรายแรก
**ผู้ป่วยพุ่งกว่าพันในวันเดียว
องค์การอนามัยโลกแถลงวานนี้ว่า จำนวนผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เอ เอช1เอ็น1 ที่ยืนยันแล้วทั่วโลกได้เพิ่มขึ้นเป็น 7,520 รายแล้ว โดยเพิ่มขึ้นถึงกว่า 1,000 รายในเวลา 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา สำหรับผู้เสียชีวิตนั้นมี 65 ราย ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกบอกว่าพบผู้ติดเชื้อใน 34 ประเทศ ซึ่งหากรวม 2 ประเทศที่เพิ่งพบใหม่คือ มาเลเซีย และเปรู ก็จะกลายเป็น 36 ประเทศ
เมื่อวันพฤหัสบดี องค์การอนามัยโลกเพิ่งรายงานว่า มีผู้ติดเชื้อ 6,497 ราย ใน33 ประเทศ
**นิวยอร์กสั่งปิดโรงเรียน
ทางการนครนิวยอร์ก ออกคำสั่งเมื่อวานนี้ ปิดโรงเรียน 3 แห่ง ซึ่งต่างอยู่ในเขตควีนส์ และมีนักเรียนรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 4,500 คน โดยผู้ว่าการนครนิวยอร์ก ไมเคิล บลูมเบิร์ก กล่าวว่าที่ต้องสั่งปิดก็เนื่องจาก "มีการเจ็บป่วยด้วยอาการเหมือนไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนสูงอย่างผิดปกติ"
บลูมเบิร์กบอกด้วยว่า นักเรียนที่ล้มป่วยจำนวน 4 คนของโรงเรียนที่ถูกสั่งปิดคราวนี้แห่งหนึ่ง ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 รวมทั้งเจ้าหน้าที่รายหนึ่งของโรงเรียนแห่งหนึ่งที่กำลังนอนป่วยอาการหนักอยู่ในโรงพยาบาล ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ของนิวยอร์กหลายรายให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า เจ้าหน้าที่โรงเรียนที่กล่าวถึงมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่
สำหรับผู้ติดเชื้อในทั่วทั้งประเทศนั้น พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบด้านสาธารณสุขระดับชาติของสหรัฐฯได้แถลงในวันพฤหัสบดี(14) ว่า มีผู้ติดเชื้อซึ่งยืนยันแน่นอนแล้วเพิ่มขึ้นจาก 3,352 ราย เป็นมากกว่า 4,298 ราย
**เตือนไวรัสอาจผสมกับหวัดนก
มาร์กาเร็ต ชาน ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก กล่าวเตือนเมื่อวานนี้ว่า ไม่ควรรู้สึกว่าปลอดภัยแล้วจากการที่เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เอ เอช1เอ็น1 นี้ ทำท่าจะลดทอนเบาบางลง อีกทั้งดูเหมือนจะระบาดไม่ร้ายแรงอะไร ทั้งนี้เธอบอกว่าไวรัสนี้อาจจะยังไม่ทันออกฤทธิ์ร้ายแรงถึงที่สุด โดยที่ยังคงมี "ความไม่แน่นอนอย่างใหญ่หลวง" เกี่ยวกับอันตรายของไวรัสสายพันธุ์นี้ เฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชาน บอกว่าองค์การอนามัยโลกกำลังเฝ้าจับตามอย่างใกล้ชิดตามส่าวนต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเคยเป็นที่ระบาดใหญ่ของไวรัสไข้หวัดนก เอช5 เอ็น1
หากเชื้อเอช1เอ็น1 เกิดมีการผสมกับ เอช5เอ็น1 ก็อาจจะเกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงได้ เธอกล่าว แต่ขณะเดียวกันก็ย้ำว่า "ดิฉันไม่ได้กำลังพูดว่ามันจะเกิดขึ้นนะ"