นายกฤช เอื้อวงศ์ ผอ.สำนักกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่ามีการยื่นขอจดแจ้งตั้งพรรคพันธมิตรฯ เมื่อวันที่ 23 เม.ย.โดยระบุชื่อ นางภาณุมาศ พรหมสูตร เป็นหัวหน้าพรรค นายยงยศ เล็กกลาง เป็นเลขาธิการพรรค โดยมีทีทำการพรรคอยู่ที่ อ.เมือง จ.นครราชสีมา ใช้อักษรย่อชื่อพรรคว่า พ.ป.ป. ไม่ใช่ พธม. อย่างที่กลุ่มพันธมิตรฯ ใช้ในการเคลื่อนไหว ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบของนายทะเบียนพรรคการเมือง ซึ่งจะใช้เวลาพิจารณาว่าจะตอบรับหรือไม่ภายใน 30 วันนับจากวันที่ยื่นขอจดแจ้ง
นายกฤช กล่าวว่า การตรวจสอบคงไม่ไม่ดูว่าผู้ที่มาขอยื่นจดจัดตั้งพรรคมีความเกี่ยวกับกับกลุ่มพันธมิตรฯ ที่มีนายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นแกนนำหรือไม่ หรือจะเกี่ยวพันกับใคร แต่จะดูว่ามีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ และดูว่ามีการจัดประชุมใหญ่ เพื่อยื่นก่อตั้งพรรคถูกต้องหรือไม่ ข้อบังคับพรรค และนโยบายของพรรคที่ยื่นนั้นมีส่วนใดขัดต่อข้อกฎหมายหรือไม่ จะไม่มีการตรวจสอบอะไรที่นอกเหนือจากข้อกฎหมายกำหนด
การขอจดตั้งพรรคถ้าชื่อไม่ซ้ำ พ้องชื่อพรรคการเมืองที่มีอยู่เดิม หรือพรรคที่ถูกยุบไป รวมทั้งไม่ได้ตั้งชื่อที่เข้าข่ายลักษณะต้องห้าม เช่น ชื่อพรรคสังคมนิยม ที่ขัดแย้งกับระบอบการปกครองของไทยก็สามารถยื่นขอจัดตั้งได้ แต่ชื่อของ พรรคพันธมิตรฯ นั้น จะเข้าข่ายขัดแย้งการปกครองก่อให้เกิดการแตกแยกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของนายทะเบียนพรรคการเมืองจะพิจารณา
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายสนธิ สามารถดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาพรรคได้หรือไม่ นายกฤช กล่าวว่า ยังไม่มีข้อเท็จจริงเรื่องนี้เนื่องจากตำแหน่งที่ปรึกษาพรรค ไม่ได้เป็น ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการยื่นขอจัดตั้งที่กฎหมายให้ต้องตรวจสอบเหมือนกับ ตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่าการที่กลุ่มพันธมิตรฯตั้งพรรคการเมืองต้องถือว่าพรรคภูมิใจไทย มีคู่แข่งเพิ่มขึ้น ส่วนจะเป็นพันธมิตรกันในอนาคตหรือไม่ เป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยาก เพราะเป็นเรื่องของอนาคต และยึดหลักที่ว่า การเมืองไม่มีมิตรแท้และศรัตรูที่ถาวร ดังนั้น จึงไม่ประมาท เพราะน่ากังวลเช่นกันว่าอาจจะมาแย่งฐานเสียงของ พรรคภูมิใจไทยได้
นาย ชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ ข่าวที่ว่ากลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยื่นขอจดตั้งพรรคการเมืองกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ว่า ยังไม่ทราบเรื่อง แต่เชื่อว่าในอนาคตจะมีพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นมาใหม่หลายพรรคซึ่งถือเป็นปกติที่มีพรรคการเมืองตั้งและล้มไปเรื่อยๆ แต่พรรคประชาธิปัตย์ก็ยังอยู่ที่เดิม
ส่วนการตั้งพรรคพันธมิตรฯจะกระทบกับพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่นั้น นายชวน กล่าวว่า คิดว่าฐานเสียงก็มีบางส่วนคล้ายกัน แต่เรื่องนี้ไม่สามารถประเมินล่วงหน้าได้ เพราะยังไม่ทราบว่าจะมีการตั้งพรรคใๆ เพิ่มเติมขึ้นอีกหรือไม่ ซึ่งเชื่อว่าคงไม่มีเพียง 2-3 พรรค
ผู้สื่อข่าวถามว่าการที่พันธมิตรฯ ตั้งพรรคจะเป็นเรื่องดีหรือไม่ที่จะนำการเมือง นอกสภาเข้ามาในสภา นายชวน กล่าวว่า แล้วแต่วัตถุประสงค์ในการตั้งพรรคนั้นๆ เมื่อถามว่าทำให้ประชาธิปัตย์หนาวๆ ร้อนๆ หรือไม่ นายชวน กล่าวติดตลกว่า ฤดูร้อนก็ร้อนหน่อย ฤดูฝนก็เปียกหน่อย ฤดูหนาวก็เย็นหน่อย แต่ถ้าเราสังเกตจะเห็นว่าไม่ว่าสถานการณ์การเมืองจะเป็นอย่างไร พรรคการเมืองจะตั้งขึ้นมาเท่าไหร่ พรรคประชาธิปัตย์ก็ยืนอยู่ตรงนั้น โดยยืนอยู่มายาวนาน 60 กว่าปี บางทีก็แพ้ บางทีก็ชนะ แต่ในที่สุดพรรคที่มาแข่ง ถ้าลองหันกลับไปดูจะเห็นว่าเหลือกี่พรรคที่ไม่มีอันเป็นไป แต่พรรคประชาธิปัตย์ก็ยังอยู่ ดังนั้นคิดว่าจุดสำคัญคือพรรคประชาธิปัตย์ต้องเป็นหลักของบ้านเมือง
ผู้สื่อข่าวถามว่าในระบอบประชาธิปไตยจำเป็นหรือไม่ว่าต้องเคลื่อนไหว ในสภาอย่างเดียว นายชวน กล่าวว่า ไม่จำเป็น เพราะเป็นที่เข้าใจอยู่แล้วว่าในระบอบประชาธิปไตยประชาชนมีสิทธิ์ตั้งเป็นกลุ่มชุมนุมหรือทำอะไรก็ต้องในกรอบ ของกฎหมายที่สามารถทำได้อยู่แล้ว
ต่อข้อถามว่า การตั้งพรรคการเมืองถือเป็นการจำกัดความเตลื่อไหวให้อยู่ใน สภาหรือไม่ นายชวนกล่าวว่า ไม่เกี่ยวกับ เพราะบทบาทในสภาเป็นเรื่องของนักการเมือง แต่ข้างนอกสภาประชาชนก็มีสิทธิ์ที่จะแสดงความคิดเห็น สิ่งสำคัญต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย ไม่ใช่ทำผิดกฎหมาย ไม่เช่นนั้นจะทำให้เป็นปัญหามากกว่าที่จะส่งเสริมให้เป็นประชาธิปไตย และการตั้งพรรคที่มาจากประชาชน ก็เกิดขึ้นทั่วโลกในประเทศประชาธิปไตยที่ตั้งขึ้นตามเป้าหมายแต่ละกลุ่ม เช่น บางกลุ่มตั้งขึ้นเพื่อสิ่งแวดล้อม บางกลุ่มก็มีวัตถุประสงค์อื่น ดังนั้นจึงยังไม่สามารถ วิจารณ์ได้ เพราะยังไม่เกิดเมื่อถึงวันนั้นอาจจะไม่มีก็ได้หรืออาจจะมีมากกว่าที่เราคิดก็ได้ วันนั้นจึงจะรู้ว่าคืออะไร
นายประพันธ์ คูณมี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวในรายการสภาท่าพระอาทิตย์ ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี กรณีที่สื่อมวลชนบางฉบับลงข่าวโดยอ้างคำให้สัมภาษณ์ของตนว่ามีการตั้งพรรคพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ จะเป็นหัวหน้าพรรคนั้น ความจริงตนไม่ได้พูดชัดเจนขนาดนั้น เพียงแต่บอกว่า หากมีการตั้งพรรค คนที่มีความเหมาะสมในการเป็นหัวหน้าพรรคก็คือ นายสนธิเท่านั้น และคำพูดดังกล่าวตนก็เคยพูดบนเวทีคอนเสิร์การเมือง ครั้งที่ 8 ที่ จ.สงขลา เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยขอยืนยันว่าคำพูดดังกล่าวไม่ได้พูดในฐานะแกนนำพันธมิตรฯ ทั้งรุ่น 1 และรุ่น 2 แต่พูดในฐานะกัลยาณมิตรที่ร่วมเป็นร่วมตายมากับพี่น้องพันธมิตรฯ และอยากเห็นบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี
นายประพันธ์ กล่าวว่า พันธมิตรฯ ได้ยกระดับการต่อสู้ขึ้นมาแล้ว จากเดิมที่สู้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งตอนนี้ พ.ต.ท.ทักษิณอ่อนกำลังลงไปมากแล้ว มวลชนที่มาต่อสู้แทนก็ไม่ได้รับการยอมรับ ความคาดหวังของพี่น้องพันธมิตรฯ หลังจากนี้ คือการสร้างการเมืองใหม่ ซึ่งต้องเกิดจากกระบวนการประชาภิวัฒน์เท่านั้น ซึ่งนายสนธิเป็นผู้จุดประกายไว้เพื่อต่อสู้กับการเมืองระบบเก่า
ดังนั้น หากพิจารณาในเรื่องคุณสมบัติของคนที่จะมาเป็นหัวหน้าพรรค คือ 1.ต้องมีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ เข้าใจสถานการณ์โลก 2.เป็นผู้จุดประกายการเมืองใหม่ คือใช้ประชาภิวัฒน์ และ 3.เคยร่วมเป็นร่วมตายกับประชาชน ยืนเคียงข้างกับกลุ่มพันธมิตรฯ เสียสละได้แม้แต่ชีวิต ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ถือว่า นายสนธิมีคุณสมบัติพร้อม และถ้าเป็นหัวหน้าพรรคก็ไม่แพ้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และอาจเก่งกว่าด้วยซ้ำ ที่สำคัญไม่โกงบ้านโกงเมือง
นายประพันธ์ กล่าวว่า ที่กล้าเสนอชื่อนายสนธินั่งหัวหน้าพรรคพันธมิตรฯ เพราะเมื่อครั้งไปเยี่ยมนายสนธิเป็นการส่วนตัว ที่พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬา หลังจากถูกลอบยิง นายสนธิได้กล่าวว่า ผลจากการเสียเลือดเสียเนื้อในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองได้อย่างไรบ้าง จึงทำให้คิดไปไกลว่านายสนธิน่าจะทำประโยชน์ให้แก่ชาติบ้านเมืองได้มากกว่าการเป็นแกนนำพันธมิตรฯ ที่รอจังหวะแค่ระดมมวลชนออกมาต่อต้านการเมืองระบบเก่าอย่างไม่รู้จักจบสิ้น ซึ่งถ้ายังมีการเมืองเก่าอยู่แบบนี้ พันธมิตรฯ ก็คงต้องใช้วิธีประท้วงไปอีกเป็นร้อยปี เพราะนักการเมืองเก่าจะผัดเปลี่ยนกันเข้ามาโกงกินอยู่อย่างนี้
ส่วนที่นายสนธิเคยประกาศว่าจะไม่รับตำแหน่งทางการเมือง หากหันมารับตำแหน่งจริงจะถือเป็นการตระบัดสัตย์เหมือนกับ พล.อ.สุจินดา คราประยูร อดีตผู้นำ รสช.ที่ทำการปฏิวัติแล้วบอกว่าจะไม่เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ภายหลังกลับรับตำแหน่งนั้น นายประพันธ์กล่าวชี้แจงว่า มีความแตกต่างกัน เพราะครั้งนั้น พล.อ.สุจินดาได้นั่งนายกรัฐมนตรีเพราะผลพวงจากการยึดอำนาจแล้วบอกว่าจะไม่รับตำแหน่ง แต่หาก นายสนธิจะหันมาเล่นการเมืองเพราะมาจากการต่อสู้จนต้องเสียเลือดเสียเนื้อ และถูกการเมืองเล่นจนเกือบตาย จึงต่างจากอดีต รสช.อย่างแน่นอน และจากการดูความ พร้อมในเรื่องคุณสมบัติและศึกษาข้อกฎหมายแล้วไม่ติดขัดใดๆ ส่วนเรื่องคดีความ ต่างๆ อยู่ในระหว่างการพิจารณายังไม่สิ้นสุดหรือต้องคำพิพากษให้ลงโทษจำคุก ซึ่งไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
นายกฤช กล่าวว่า การตรวจสอบคงไม่ไม่ดูว่าผู้ที่มาขอยื่นจดจัดตั้งพรรคมีความเกี่ยวกับกับกลุ่มพันธมิตรฯ ที่มีนายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นแกนนำหรือไม่ หรือจะเกี่ยวพันกับใคร แต่จะดูว่ามีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ และดูว่ามีการจัดประชุมใหญ่ เพื่อยื่นก่อตั้งพรรคถูกต้องหรือไม่ ข้อบังคับพรรค และนโยบายของพรรคที่ยื่นนั้นมีส่วนใดขัดต่อข้อกฎหมายหรือไม่ จะไม่มีการตรวจสอบอะไรที่นอกเหนือจากข้อกฎหมายกำหนด
การขอจดตั้งพรรคถ้าชื่อไม่ซ้ำ พ้องชื่อพรรคการเมืองที่มีอยู่เดิม หรือพรรคที่ถูกยุบไป รวมทั้งไม่ได้ตั้งชื่อที่เข้าข่ายลักษณะต้องห้าม เช่น ชื่อพรรคสังคมนิยม ที่ขัดแย้งกับระบอบการปกครองของไทยก็สามารถยื่นขอจัดตั้งได้ แต่ชื่อของ พรรคพันธมิตรฯ นั้น จะเข้าข่ายขัดแย้งการปกครองก่อให้เกิดการแตกแยกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของนายทะเบียนพรรคการเมืองจะพิจารณา
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายสนธิ สามารถดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาพรรคได้หรือไม่ นายกฤช กล่าวว่า ยังไม่มีข้อเท็จจริงเรื่องนี้เนื่องจากตำแหน่งที่ปรึกษาพรรค ไม่ได้เป็น ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการยื่นขอจัดตั้งที่กฎหมายให้ต้องตรวจสอบเหมือนกับ ตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่าการที่กลุ่มพันธมิตรฯตั้งพรรคการเมืองต้องถือว่าพรรคภูมิใจไทย มีคู่แข่งเพิ่มขึ้น ส่วนจะเป็นพันธมิตรกันในอนาคตหรือไม่ เป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยาก เพราะเป็นเรื่องของอนาคต และยึดหลักที่ว่า การเมืองไม่มีมิตรแท้และศรัตรูที่ถาวร ดังนั้น จึงไม่ประมาท เพราะน่ากังวลเช่นกันว่าอาจจะมาแย่งฐานเสียงของ พรรคภูมิใจไทยได้
นาย ชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ ข่าวที่ว่ากลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยื่นขอจดตั้งพรรคการเมืองกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ว่า ยังไม่ทราบเรื่อง แต่เชื่อว่าในอนาคตจะมีพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นมาใหม่หลายพรรคซึ่งถือเป็นปกติที่มีพรรคการเมืองตั้งและล้มไปเรื่อยๆ แต่พรรคประชาธิปัตย์ก็ยังอยู่ที่เดิม
ส่วนการตั้งพรรคพันธมิตรฯจะกระทบกับพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่นั้น นายชวน กล่าวว่า คิดว่าฐานเสียงก็มีบางส่วนคล้ายกัน แต่เรื่องนี้ไม่สามารถประเมินล่วงหน้าได้ เพราะยังไม่ทราบว่าจะมีการตั้งพรรคใๆ เพิ่มเติมขึ้นอีกหรือไม่ ซึ่งเชื่อว่าคงไม่มีเพียง 2-3 พรรค
ผู้สื่อข่าวถามว่าการที่พันธมิตรฯ ตั้งพรรคจะเป็นเรื่องดีหรือไม่ที่จะนำการเมือง นอกสภาเข้ามาในสภา นายชวน กล่าวว่า แล้วแต่วัตถุประสงค์ในการตั้งพรรคนั้นๆ เมื่อถามว่าทำให้ประชาธิปัตย์หนาวๆ ร้อนๆ หรือไม่ นายชวน กล่าวติดตลกว่า ฤดูร้อนก็ร้อนหน่อย ฤดูฝนก็เปียกหน่อย ฤดูหนาวก็เย็นหน่อย แต่ถ้าเราสังเกตจะเห็นว่าไม่ว่าสถานการณ์การเมืองจะเป็นอย่างไร พรรคการเมืองจะตั้งขึ้นมาเท่าไหร่ พรรคประชาธิปัตย์ก็ยืนอยู่ตรงนั้น โดยยืนอยู่มายาวนาน 60 กว่าปี บางทีก็แพ้ บางทีก็ชนะ แต่ในที่สุดพรรคที่มาแข่ง ถ้าลองหันกลับไปดูจะเห็นว่าเหลือกี่พรรคที่ไม่มีอันเป็นไป แต่พรรคประชาธิปัตย์ก็ยังอยู่ ดังนั้นคิดว่าจุดสำคัญคือพรรคประชาธิปัตย์ต้องเป็นหลักของบ้านเมือง
ผู้สื่อข่าวถามว่าในระบอบประชาธิปไตยจำเป็นหรือไม่ว่าต้องเคลื่อนไหว ในสภาอย่างเดียว นายชวน กล่าวว่า ไม่จำเป็น เพราะเป็นที่เข้าใจอยู่แล้วว่าในระบอบประชาธิปไตยประชาชนมีสิทธิ์ตั้งเป็นกลุ่มชุมนุมหรือทำอะไรก็ต้องในกรอบ ของกฎหมายที่สามารถทำได้อยู่แล้ว
ต่อข้อถามว่า การตั้งพรรคการเมืองถือเป็นการจำกัดความเตลื่อไหวให้อยู่ใน สภาหรือไม่ นายชวนกล่าวว่า ไม่เกี่ยวกับ เพราะบทบาทในสภาเป็นเรื่องของนักการเมือง แต่ข้างนอกสภาประชาชนก็มีสิทธิ์ที่จะแสดงความคิดเห็น สิ่งสำคัญต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย ไม่ใช่ทำผิดกฎหมาย ไม่เช่นนั้นจะทำให้เป็นปัญหามากกว่าที่จะส่งเสริมให้เป็นประชาธิปไตย และการตั้งพรรคที่มาจากประชาชน ก็เกิดขึ้นทั่วโลกในประเทศประชาธิปไตยที่ตั้งขึ้นตามเป้าหมายแต่ละกลุ่ม เช่น บางกลุ่มตั้งขึ้นเพื่อสิ่งแวดล้อม บางกลุ่มก็มีวัตถุประสงค์อื่น ดังนั้นจึงยังไม่สามารถ วิจารณ์ได้ เพราะยังไม่เกิดเมื่อถึงวันนั้นอาจจะไม่มีก็ได้หรืออาจจะมีมากกว่าที่เราคิดก็ได้ วันนั้นจึงจะรู้ว่าคืออะไร
นายประพันธ์ คูณมี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวในรายการสภาท่าพระอาทิตย์ ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี กรณีที่สื่อมวลชนบางฉบับลงข่าวโดยอ้างคำให้สัมภาษณ์ของตนว่ามีการตั้งพรรคพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ จะเป็นหัวหน้าพรรคนั้น ความจริงตนไม่ได้พูดชัดเจนขนาดนั้น เพียงแต่บอกว่า หากมีการตั้งพรรค คนที่มีความเหมาะสมในการเป็นหัวหน้าพรรคก็คือ นายสนธิเท่านั้น และคำพูดดังกล่าวตนก็เคยพูดบนเวทีคอนเสิร์การเมือง ครั้งที่ 8 ที่ จ.สงขลา เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยขอยืนยันว่าคำพูดดังกล่าวไม่ได้พูดในฐานะแกนนำพันธมิตรฯ ทั้งรุ่น 1 และรุ่น 2 แต่พูดในฐานะกัลยาณมิตรที่ร่วมเป็นร่วมตายมากับพี่น้องพันธมิตรฯ และอยากเห็นบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี
นายประพันธ์ กล่าวว่า พันธมิตรฯ ได้ยกระดับการต่อสู้ขึ้นมาแล้ว จากเดิมที่สู้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งตอนนี้ พ.ต.ท.ทักษิณอ่อนกำลังลงไปมากแล้ว มวลชนที่มาต่อสู้แทนก็ไม่ได้รับการยอมรับ ความคาดหวังของพี่น้องพันธมิตรฯ หลังจากนี้ คือการสร้างการเมืองใหม่ ซึ่งต้องเกิดจากกระบวนการประชาภิวัฒน์เท่านั้น ซึ่งนายสนธิเป็นผู้จุดประกายไว้เพื่อต่อสู้กับการเมืองระบบเก่า
ดังนั้น หากพิจารณาในเรื่องคุณสมบัติของคนที่จะมาเป็นหัวหน้าพรรค คือ 1.ต้องมีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ เข้าใจสถานการณ์โลก 2.เป็นผู้จุดประกายการเมืองใหม่ คือใช้ประชาภิวัฒน์ และ 3.เคยร่วมเป็นร่วมตายกับประชาชน ยืนเคียงข้างกับกลุ่มพันธมิตรฯ เสียสละได้แม้แต่ชีวิต ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ถือว่า นายสนธิมีคุณสมบัติพร้อม และถ้าเป็นหัวหน้าพรรคก็ไม่แพ้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และอาจเก่งกว่าด้วยซ้ำ ที่สำคัญไม่โกงบ้านโกงเมือง
นายประพันธ์ กล่าวว่า ที่กล้าเสนอชื่อนายสนธินั่งหัวหน้าพรรคพันธมิตรฯ เพราะเมื่อครั้งไปเยี่ยมนายสนธิเป็นการส่วนตัว ที่พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬา หลังจากถูกลอบยิง นายสนธิได้กล่าวว่า ผลจากการเสียเลือดเสียเนื้อในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองได้อย่างไรบ้าง จึงทำให้คิดไปไกลว่านายสนธิน่าจะทำประโยชน์ให้แก่ชาติบ้านเมืองได้มากกว่าการเป็นแกนนำพันธมิตรฯ ที่รอจังหวะแค่ระดมมวลชนออกมาต่อต้านการเมืองระบบเก่าอย่างไม่รู้จักจบสิ้น ซึ่งถ้ายังมีการเมืองเก่าอยู่แบบนี้ พันธมิตรฯ ก็คงต้องใช้วิธีประท้วงไปอีกเป็นร้อยปี เพราะนักการเมืองเก่าจะผัดเปลี่ยนกันเข้ามาโกงกินอยู่อย่างนี้
ส่วนที่นายสนธิเคยประกาศว่าจะไม่รับตำแหน่งทางการเมือง หากหันมารับตำแหน่งจริงจะถือเป็นการตระบัดสัตย์เหมือนกับ พล.อ.สุจินดา คราประยูร อดีตผู้นำ รสช.ที่ทำการปฏิวัติแล้วบอกว่าจะไม่เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ภายหลังกลับรับตำแหน่งนั้น นายประพันธ์กล่าวชี้แจงว่า มีความแตกต่างกัน เพราะครั้งนั้น พล.อ.สุจินดาได้นั่งนายกรัฐมนตรีเพราะผลพวงจากการยึดอำนาจแล้วบอกว่าจะไม่รับตำแหน่ง แต่หาก นายสนธิจะหันมาเล่นการเมืองเพราะมาจากการต่อสู้จนต้องเสียเลือดเสียเนื้อ และถูกการเมืองเล่นจนเกือบตาย จึงต่างจากอดีต รสช.อย่างแน่นอน และจากการดูความ พร้อมในเรื่องคุณสมบัติและศึกษาข้อกฎหมายแล้วไม่ติดขัดใดๆ ส่วนเรื่องคดีความ ต่างๆ อยู่ในระหว่างการพิจารณายังไม่สิ้นสุดหรือต้องคำพิพากษให้ลงโทษจำคุก ซึ่งไม่มีปัญหาแต่อย่างใด