ASTV ผู้จัดการรายวัน – เม็ดเงินต่างชาติทะลักเข้าไม่หยุด ตามความเชื่อมั่นวิกฤตเศรษฐกิจที่เริ่มคลี่คลาย ดันดัชนีหุ้นแตะ 552.71จุด มูลค่าการซื้อขายทะลักขึ้น3หมื่นล้าน เป็นครั้งที่ 3 ในรอบเดือนนี้ ต่างชาติซื้อสุทธิไปแล้ว 3,064.26 ล้านบาท โบรกฯภายในคาด1-2สัปดาห์จะเริ่มปรับฐาน อาจฉุดดัชนีวูบ 30 -40 จุด หลังร้อนแรงเกินเหตุ
ความเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ วานนี้(12พ.ค.) ยังคงปรับบตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ของสัปดาห์นี้ โดยปิดตลาดที่ระดับ 552.71 จุด เพิ่มขึ้น 8.17 จุด หรือ +1.50% ระหว่างวันปรับตัวสูงสุดที่554.36 จุด และต่ำสุดที่ 542.87 จุด มูลค่าการซื้อขาย 33,856.90 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 3 ในรอบเดือนพฤษภาคมนี้ ที่มูลค่าซื้อขายแตะระดับ 3หมื่นล้านบาท นับตั้งแต่เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2551 ซึ่งมีมูลค่าซื้อขาย 31,600.96 ล้านบาท
โดยเมื่อตรวจสอบข้อมูลพบว่า เมื่อวันที่ 6 พ.ค.ที่ผ่านมา มูลค่าการซื้อขายของตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 30,862.91 ล้านบาท ต่อมาเมื่อวันที่ 11 พ.ค.มีมูลค่าซื้อขาย 30,333.67 ล้านบาท ก่อนปรับตัวลดลงไปและกลับมายืนในระดับ 3หมื่นล้านบาทอีกครั้งเมื่อวานนี้
ทั้งนี้ เมื่อแยกเป็นประเภทนักลงทุนพบว่า สถาบัน และนักลงทุนทั่วไปขายสุทธิ -964.21 ล้านบาท และ -661.66 ล้านบาทตามลำดับ โดยมีเพียงนักลงทุนต่างประเทศที่ยังซื้อสุทธิต่อเนื่องอีก 1,625.86 ล้านบาท ทำให้ตั้งแต่ต้นปี 2552 (วันที่1ม.ค.52) มีการซื้อสุทธิแล้ว 3,064.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 2,019.11 ล้านบาทเมื่อวันที่11พ.ค.ที่ผ่านมา โดยใช้เวลาเพียง 2 วัน
ส่วนหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงวันนี้ เพิ่มขึ้น 216 หลักทรัพย์ ลดลง 148 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 97 หลักทรัพย์
สำหรับการปรับตัวของดัชนีหุ้นไทย และมูลค่าการซื้อขายในครั้งนี้ หลายฝ่ายเชื่อว่าเป็นการแกว่งตัวขึ้นแรง เช่นเดียวกับตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาค รวมถึงได้รับแรงสนับสนุนจากหุ้นในกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มปตท. ทำให้ตอนนี้หุ้นไทยมีความเสี่ยงที่สูง ซึ่งอาจเกิดแรงเทขายในเร็วๆนี้ได้
เม็ดเงินต่างแดนทะลักเข้าเอเชีย
นายศราวุธ เตโชชวลิต ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ซิกโก้ จำกัด หรือ SICSEC เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับตัวเพิ่มขึ้น เหตุจากช่วงนี้ภาวะตลาดหุ้นผันผวนในกรอบ โดยมีปัจจัยมาจากเม็ดเงินลงทุนที่ขับเคลื่อนเข้ามาของชาวต่างชาติ ซึ่งมีการไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งนักลงทุนไทยที่เริ่มมีความเชื่อมั่น ทำให้ช่วงเช้าวานนี้ต่างมีแรงซื้อเข้ามาพอสมควร
ขณะที่ในช่วงบ่ายดัชนีมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อ จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่กลับเข้ามาลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงาน ส่งผลให้หุ้นกลุ่มพลังงานมีการปรับตัวสูงขึ้น และสามารถสังเกตการณ์สะท้อนได้จากราคาน้ำมันที่มีการปรับ ตัวเพิ่มขึ้น จนกระทั่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ดัชนีทั้งตลาดปรับตัวตาม
ด้านปัจจัยภายนอกประเทศมองว่า มาจากดัชนีดาวโจนส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจากที่ราคาน้ำมันดิบ ในตลาดโลกเริ่มฟื้นตัว โดยปิดตลาดที่ราคา 58.85 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 35 เซนต์ ซึ่งทิศทางของราคาน้ำมันที่ดีขึ้น สะท้อนถึงการส่งสัญญาณฟื้นตัวของภาวะภาคเศรษฐกิจโดยรวม อีกทั้งปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนเริ่มมีความเชื่อมั่นกลับเข้ามาอีกครั้ง และเริ่มมีแรงซื้อกลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงาน สนับสนุนทิศทางของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้ยังไม่มีปัจจัยลบเข้ามากดดันบรรยากาศการลงทุน เนื่องจากสถานการณ์ต่างๆเริ่มมีความสงบ เมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา จึงประเมินดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯอาจมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยมีกรอบแนวรับที่ 548 จุด แนวต้าน 560 จุด กลยุทธ์แนะนำนักลงทุนซื้อเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง
จับตาหุ้นไทยอาจปรับฐานดิ่ง30จุด
ด้านนายอภิสิทธิ์ ลิมป์ธำรงกุล ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เกียรตินาคิน จำกัด กล่าวในงานเสวนาสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ “หุ้นขึ้นเหนือ 500 จุด ขาขึ้นจริงหรือ”ว่า ส่วนตัวคาดการณ์ว่าในอีก 1-2 สัปดาห์น่าจะเห็นตลาดหุ้นไทยเข้าสู่ช่วงปรับฐาน โดยดัชนีจะปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระหว่าง 500-510 จุด หรือลดลง 30-40 จุด จากปัจจุบันที่ดัชนีเคลื่อนไหวอยู่ที่ประมาณ 552 จุด เพราะระดับค่า P/E รวมของตลาดฯ ที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 14 เท่า จากเดิมที่ค่า P/E อยู่ที่ระดับ 6 เท่า ส่งผลให้ราคาหลักทรัพย์บางตัวขยับขึ้นถึง 2 เท่าตัว อาทิ บมจ.ปตท.อะโรเมติกและการกลั่น (PTTAR) ที่ราคาหุ้นดีดขึ้นมาเกือบ 2 เท่าตัว จากราคา 10 บาท เป็นประมาณ 20 บาท ประกอบกับตลาดหุ้นในต่างประเทศเริ่มมีการปรับฐานบ้างแล้วในบางแห่ง ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าวน่าจะเป็นแรงผลักดันให้กองทุน รวมทั้งสถาบันการเงินอาจมีการเทขายหุ้นไทยออกมา
โดยประเมินว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปี 2552 จะมีจุดต่ำสุดที่ระดับ 400 จุด และจุดสูงสุดที่ระดับ 550 จุด แต่เชื่อว่าภาพรวมตลาดฯได้ผ่านจุดต่ำสุดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตามในช่วงปัจจัยในประเทศที่นักลงทุน คงต้องติดตามผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนไทย ตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจ (GDP) และอัตราเงินเฟ้อในประเทศ ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศที่ต้องรอดูคงหนีไม่พ้นเรื่องการเพิ่มทุนของสถาบันการเงินในสหรัฐฯ การปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (GM) และแรงเทขายของนักลงทุนสถาบันที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางปรับฐานของดัชนี
ทั้งนี้ กลยุทธ์การลงทุนแนะนำให้นักลงทุนทยอยขายหุ้นออกไปก่อน เพื่อรอดูสถานการณ์ และกลับมาพิจารณาซื้อหุ้นกลับเข้าพอร์ตที่ดัชนีระดับ 500 จุด
ด้านนางสาวอาภาภรณ์ แสวงพรรค ผู้อำนวนการอาวุโส ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.ดีบีเอส วิคเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากการประเมินทิศทางดัชนีตลาดหุ้นไทยคงจะปรับตัวสูงสุดไม่เกิน 550-570 จุด เนื่องจากมองว่าการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนี้ในครั้งนี้มาจากเม็ดเงินลงทุนที่ไหลเข้ามา และอาจเป็นเพียงรอบระยะเวลาสั้นเท่านั้นอันมีผลให้หุ้นหลายตัวมีสัญญาณทางเทคนิคในการซื้อมากเกินไป (Overbought) จนราคาหุ้นสูงมาก ประกอบกับผลการทดสอบความแข็งแกร่งของสถาบันการเงินในสหรัฐที่ออกมาว่า สถาบันการเงินต้องมีการเพิ่มทุน จึงเชื่อว่าน่าจะมีเม็ดเงินไหลย้อนกลับเข้าไปในส่วนดังกล่าว
“ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้อาจทำให้มีแรงเทขายของนักลงทุนเพื่อทำกำไรระยะสั้นในอีกไม่นาน ดังนั้นหากเป็นไปได้แนะนำให้ควรทยอยขายหุ้นเพื่อรอดูความชัดเจนอีกครั้งก่อนตัดสินใจลงทุน” นางสาวอาภาภรณ์ กล่าว
ความเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ วานนี้(12พ.ค.) ยังคงปรับบตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ของสัปดาห์นี้ โดยปิดตลาดที่ระดับ 552.71 จุด เพิ่มขึ้น 8.17 จุด หรือ +1.50% ระหว่างวันปรับตัวสูงสุดที่554.36 จุด และต่ำสุดที่ 542.87 จุด มูลค่าการซื้อขาย 33,856.90 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 3 ในรอบเดือนพฤษภาคมนี้ ที่มูลค่าซื้อขายแตะระดับ 3หมื่นล้านบาท นับตั้งแต่เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2551 ซึ่งมีมูลค่าซื้อขาย 31,600.96 ล้านบาท
โดยเมื่อตรวจสอบข้อมูลพบว่า เมื่อวันที่ 6 พ.ค.ที่ผ่านมา มูลค่าการซื้อขายของตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 30,862.91 ล้านบาท ต่อมาเมื่อวันที่ 11 พ.ค.มีมูลค่าซื้อขาย 30,333.67 ล้านบาท ก่อนปรับตัวลดลงไปและกลับมายืนในระดับ 3หมื่นล้านบาทอีกครั้งเมื่อวานนี้
ทั้งนี้ เมื่อแยกเป็นประเภทนักลงทุนพบว่า สถาบัน และนักลงทุนทั่วไปขายสุทธิ -964.21 ล้านบาท และ -661.66 ล้านบาทตามลำดับ โดยมีเพียงนักลงทุนต่างประเทศที่ยังซื้อสุทธิต่อเนื่องอีก 1,625.86 ล้านบาท ทำให้ตั้งแต่ต้นปี 2552 (วันที่1ม.ค.52) มีการซื้อสุทธิแล้ว 3,064.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 2,019.11 ล้านบาทเมื่อวันที่11พ.ค.ที่ผ่านมา โดยใช้เวลาเพียง 2 วัน
ส่วนหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงวันนี้ เพิ่มขึ้น 216 หลักทรัพย์ ลดลง 148 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 97 หลักทรัพย์
สำหรับการปรับตัวของดัชนีหุ้นไทย และมูลค่าการซื้อขายในครั้งนี้ หลายฝ่ายเชื่อว่าเป็นการแกว่งตัวขึ้นแรง เช่นเดียวกับตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาค รวมถึงได้รับแรงสนับสนุนจากหุ้นในกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มปตท. ทำให้ตอนนี้หุ้นไทยมีความเสี่ยงที่สูง ซึ่งอาจเกิดแรงเทขายในเร็วๆนี้ได้
เม็ดเงินต่างแดนทะลักเข้าเอเชีย
นายศราวุธ เตโชชวลิต ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ซิกโก้ จำกัด หรือ SICSEC เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับตัวเพิ่มขึ้น เหตุจากช่วงนี้ภาวะตลาดหุ้นผันผวนในกรอบ โดยมีปัจจัยมาจากเม็ดเงินลงทุนที่ขับเคลื่อนเข้ามาของชาวต่างชาติ ซึ่งมีการไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งนักลงทุนไทยที่เริ่มมีความเชื่อมั่น ทำให้ช่วงเช้าวานนี้ต่างมีแรงซื้อเข้ามาพอสมควร
ขณะที่ในช่วงบ่ายดัชนีมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อ จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่กลับเข้ามาลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงาน ส่งผลให้หุ้นกลุ่มพลังงานมีการปรับตัวสูงขึ้น และสามารถสังเกตการณ์สะท้อนได้จากราคาน้ำมันที่มีการปรับ ตัวเพิ่มขึ้น จนกระทั่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ดัชนีทั้งตลาดปรับตัวตาม
ด้านปัจจัยภายนอกประเทศมองว่า มาจากดัชนีดาวโจนส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจากที่ราคาน้ำมันดิบ ในตลาดโลกเริ่มฟื้นตัว โดยปิดตลาดที่ราคา 58.85 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 35 เซนต์ ซึ่งทิศทางของราคาน้ำมันที่ดีขึ้น สะท้อนถึงการส่งสัญญาณฟื้นตัวของภาวะภาคเศรษฐกิจโดยรวม อีกทั้งปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนเริ่มมีความเชื่อมั่นกลับเข้ามาอีกครั้ง และเริ่มมีแรงซื้อกลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงาน สนับสนุนทิศทางของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้ยังไม่มีปัจจัยลบเข้ามากดดันบรรยากาศการลงทุน เนื่องจากสถานการณ์ต่างๆเริ่มมีความสงบ เมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา จึงประเมินดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯอาจมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยมีกรอบแนวรับที่ 548 จุด แนวต้าน 560 จุด กลยุทธ์แนะนำนักลงทุนซื้อเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง
จับตาหุ้นไทยอาจปรับฐานดิ่ง30จุด
ด้านนายอภิสิทธิ์ ลิมป์ธำรงกุล ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เกียรตินาคิน จำกัด กล่าวในงานเสวนาสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ “หุ้นขึ้นเหนือ 500 จุด ขาขึ้นจริงหรือ”ว่า ส่วนตัวคาดการณ์ว่าในอีก 1-2 สัปดาห์น่าจะเห็นตลาดหุ้นไทยเข้าสู่ช่วงปรับฐาน โดยดัชนีจะปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระหว่าง 500-510 จุด หรือลดลง 30-40 จุด จากปัจจุบันที่ดัชนีเคลื่อนไหวอยู่ที่ประมาณ 552 จุด เพราะระดับค่า P/E รวมของตลาดฯ ที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 14 เท่า จากเดิมที่ค่า P/E อยู่ที่ระดับ 6 เท่า ส่งผลให้ราคาหลักทรัพย์บางตัวขยับขึ้นถึง 2 เท่าตัว อาทิ บมจ.ปตท.อะโรเมติกและการกลั่น (PTTAR) ที่ราคาหุ้นดีดขึ้นมาเกือบ 2 เท่าตัว จากราคา 10 บาท เป็นประมาณ 20 บาท ประกอบกับตลาดหุ้นในต่างประเทศเริ่มมีการปรับฐานบ้างแล้วในบางแห่ง ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าวน่าจะเป็นแรงผลักดันให้กองทุน รวมทั้งสถาบันการเงินอาจมีการเทขายหุ้นไทยออกมา
โดยประเมินว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปี 2552 จะมีจุดต่ำสุดที่ระดับ 400 จุด และจุดสูงสุดที่ระดับ 550 จุด แต่เชื่อว่าภาพรวมตลาดฯได้ผ่านจุดต่ำสุดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตามในช่วงปัจจัยในประเทศที่นักลงทุน คงต้องติดตามผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนไทย ตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจ (GDP) และอัตราเงินเฟ้อในประเทศ ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศที่ต้องรอดูคงหนีไม่พ้นเรื่องการเพิ่มทุนของสถาบันการเงินในสหรัฐฯ การปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (GM) และแรงเทขายของนักลงทุนสถาบันที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางปรับฐานของดัชนี
ทั้งนี้ กลยุทธ์การลงทุนแนะนำให้นักลงทุนทยอยขายหุ้นออกไปก่อน เพื่อรอดูสถานการณ์ และกลับมาพิจารณาซื้อหุ้นกลับเข้าพอร์ตที่ดัชนีระดับ 500 จุด
ด้านนางสาวอาภาภรณ์ แสวงพรรค ผู้อำนวนการอาวุโส ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.ดีบีเอส วิคเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากการประเมินทิศทางดัชนีตลาดหุ้นไทยคงจะปรับตัวสูงสุดไม่เกิน 550-570 จุด เนื่องจากมองว่าการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนี้ในครั้งนี้มาจากเม็ดเงินลงทุนที่ไหลเข้ามา และอาจเป็นเพียงรอบระยะเวลาสั้นเท่านั้นอันมีผลให้หุ้นหลายตัวมีสัญญาณทางเทคนิคในการซื้อมากเกินไป (Overbought) จนราคาหุ้นสูงมาก ประกอบกับผลการทดสอบความแข็งแกร่งของสถาบันการเงินในสหรัฐที่ออกมาว่า สถาบันการเงินต้องมีการเพิ่มทุน จึงเชื่อว่าน่าจะมีเม็ดเงินไหลย้อนกลับเข้าไปในส่วนดังกล่าว
“ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้อาจทำให้มีแรงเทขายของนักลงทุนเพื่อทำกำไรระยะสั้นในอีกไม่นาน ดังนั้นหากเป็นไปได้แนะนำให้ควรทยอยขายหุ้นเพื่อรอดูความชัดเจนอีกครั้งก่อนตัดสินใจลงทุน” นางสาวอาภาภรณ์ กล่าว