ที่รัฐสภา วานนี้ (12 พ.ค.) มีการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองระหว่างวันที่ 8-15 เม.ย. ที่มีนายสมศักดิ์ บุญทอง เป็นประธาน โดยใช้เวลานานกว่า 2 โมง
ทั้งนี้ นายสมศักดิ์ แถลงภายหลังหารประชุมว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบที่จะดำเนินการสรุปและรายงานข้อเท็จจิงให้ประธานรัฐสภาให้รับทราบภายใน 45 วัน โดยหลังจากนี้จะได้ทำหนังสือเพื่อขอเอกสารต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเชิญบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์มาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงกับคณะกรรมการ โดยเฉพาะประเด็นที่สังคมสงสัย เรื่องการใช้ความรุนแรง บาดเจ็บ และมีผู้เสียชีวิติหรือไม่ รวมถึงผู้สูญหาย โดยคณะกรรมการฯจะมีการประชุม เพื่อพิจารณา ประมวลภาพรวมเหตุการณ์ทั้งหมดอีกครั้งในวันที่ 18-19-20 พ.ค. ทั้งช่วงเช้า และบ่าย ก่อนที่จะกำหนดประเด็นและเชิญตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า หลังจากเชิญผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลแล้ว หากคณะกรรมการ ต้องการทราบข้อมูลเชิงลึก ก็จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา เพื่อตรวจสอบเป็นรายประเด็นต่อไป ทั้งนี้ ในมี่ประชุมมีมติรวมกันว่า ในการประชุมครั้งต่อไปจะมีการถ่ายทอดสดทางวิทยุรัฐสภา คลื่นเอฟเอ็ม 87.5 เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลโยทั่วกัน เว้นแต่มีกรณีพาดพิง หรืออาจทำให้บุคคลภายนอกได้รับความเสียหายก็จะปิดประชุมลับ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ข้อความร่วมมือคณะกรรมการทุกคนถอดหมวกจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง หรือข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อการตรวจสอบเกิดความเป็นธรรมมากที่สุด และได้สรุปประธานต่อประธานรัฐสภาโดยเร็ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมนัดแรกที่ประชุมได้มีการหารือว่า ในการประชุมครั้งต่อไปจะเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนเข้าร่วมสังเกตการณ์ได้หรือไม่ ซึ่งที่ประชุมได้มีการถกเถียงอย่างกว้างขวาง โดยสมาชิกจากซีกพรรคประชาธิปัตย์ เห็นควร ให้เปิดให้สื่อมวลชลเข้ารับฟัง เพื่อความโปร่งใส และในที่สุดที่ประชุมได้ยกมือโหวต ด้วยเสียงข้างมากอนุญาตสื่อเข้ามาร่วมรับฟังการประชุมได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงแรกของการประชุม บรรยากาศเป็นไปอย่าง เคร่งเครียด เพราะคณะกรรมการจากตัวแทนพรรครัฐบาล และพรรคฝ่ายค้าน ต่างนั่งเผชิญหน้า โดยต่างฝ่ายต่างเสนอข้อมูล และข้อเท็จจริงที่แตกต่างกัน โดยในช่วงหนึ่ งนายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ได้กล่าวในที่ประชุมว่า หากรัฐบาลมีความจริงใจและต้องการให้เกิดความสมานฉันท์ต้องหยุดการใช้ กอ.รมน. ในการลงพื้นที่ทั่วประเทศ และหยุดแจกการแจกซีดีเหตุการณ์การ ชุมนุมของคนเสื้อแดงจนนำไปสู่การก่อจลาจลกลางกรุงเทพ จำนวน 1ล้านแผ่นทั่วประเทศ เพื่อไม่ให้ประชาชนเข้าใจกลุ่มคนเสื้อแดงผิด และเมื่อเป็นอย่างนี้การตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงก็ไม่มีความหมาย
ทำให้นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวแย้งว่า อยากให้ พรรคเพื่อไทยหยุดพฤติกรรมการกล่าวหา และการใช้ข้อมูลเท็จ เพราะหลังจากที่ นายสุรพงษ์ ได้นำภาพบุคคลต่างๆ มาโชว์กลางสภา ในระว่างการประชุมรัฐสภา ได้มีบุคคล ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรีว่าพรรคเพื่อไทย ใช้เอกสารเท็จ และบิดเบือนข้อเท็จจริง ดังนั้น หากตั้งการให้คณะกรรมการชุดนี้นำไปสู่การแก้ปัญหาจริง พรรคเพื่อไทยควรหยุดการพูดเท็จโดยเฉพาะการเคลื่อนไหวเปิดสถานีโทรทัศน์ ดีสเตชั่น และการออกมาเคลื่อนไหวของแกนนำกลุ่มคนเสื่อแดง ไม่ว่าจะเป็นนายจตุพร พรหมพันธ์ ส.ส.สัดส่วน นายวีระ มุกสิกพงศ์ เพราะจะเป็นการซ้ำเติมปัญหาของประเทศ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากนั้น 2 ฝ่ายได้โต้เถียงกัน และนำข้อมูลของตัวเอง มาชี้แจง จนทำให้บรรยากาศตึงเครียด เมื่อนาย ศิริโชค ยืนยันว่า มีบุคคลมาร้องเรียน นายกรัฐมนตรีกรณีนายสุรพงษ์ บิดเบือนและใช้ข้อมูลเท็จ จนทำให้นาย สุรพงษ์ ไม่พอใจ เดินออกจากห้องประชุมทันที และไม่กลับเข้ามาร่วมประชุมอีกเลย
จากนั้นจึงได้เริ่มมีการประชุมต่อ และบรรยากาศไม่ตึงเครียด ในการประชุม ในวันที่ 18-19-20 พ.ค. จะมีการเชิญนำข้อมูล และการประมวลภาพเหตุการณ์ การชุมนุมทั้งหมด เพื่อที่จะกำหนดประเด็นในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและผู้เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งกำหนดตัวบุคคลที่จะมาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการต่อไป
นายสงวน พงษ์มณี รองประธานคณะกรรมการฯ กล่าวว่าบุคคลที่จะเชิญเข้าชี้แจง เบื้องต้น ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี ผบ.เหล่าทัพ ผบ.ตร. เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทั้ง และบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เชื่อทุกคนโดยเฉพาะ ผบ.เหล่าทัพจะมาชี้แจงด้วยตัวเอง เพราะเรื่องนี้เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริง คงไม่สามารถมอบหมายให้ใครมาแทนได้ ที่สำคัญคือเรื่องความรับผิดชอบของ เหตุการณ์ เพราะเมื่อประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน วันที่ 12 เม.ย. รุ่งเช้าวันที่ 13 เม.ย. เกิดการสลายการชุมนุมที่ดินแดงแล้ว แต่เวลา 10.00 น. วันที่ 13 เม.ย. กลับเพิ่งมีการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนาจการเฉพาะกิจ (กอฉ.)
ดังนั้นจึงต้องสอบว่าช่วงก่อนหน้านั้นใครเป็นคนรับผิดชอบ โดยที่ประชุมเห็นว่า จะต้องพิจารณาเป็นเหตุการณ์ๆไป ตั้งแต่เหตุเกิดหน้าบ้านสี่เสา อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ดินแดง กระทรวงมหาดไทย ถนนเพชรบุรี ซอย 5 ซอย 7 เหตุที่พัทยา เพื่อดูว่าแต่ละเหตุการณ์เป็นอย่างไร
พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย กรรมการฯ กล่าวว่า ที่ประชุมได้กำหนดกรอบการเชิญบุคคลเข้าชี้แจงคร่าวๆประกอบด้วย คนเสื้อแดง คนเสื้อน้ำเงิน ตำรวจ พลเรือน ทหาร รัฐบาล และคนที่เกี่ยวพันกับเหตุการณ์ อาทิ แพทย์ พยาบาลหรือผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลรอบด้านมากที่สุด
ทั้งนี้ นายสมศักดิ์ แถลงภายหลังหารประชุมว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบที่จะดำเนินการสรุปและรายงานข้อเท็จจิงให้ประธานรัฐสภาให้รับทราบภายใน 45 วัน โดยหลังจากนี้จะได้ทำหนังสือเพื่อขอเอกสารต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเชิญบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์มาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงกับคณะกรรมการ โดยเฉพาะประเด็นที่สังคมสงสัย เรื่องการใช้ความรุนแรง บาดเจ็บ และมีผู้เสียชีวิติหรือไม่ รวมถึงผู้สูญหาย โดยคณะกรรมการฯจะมีการประชุม เพื่อพิจารณา ประมวลภาพรวมเหตุการณ์ทั้งหมดอีกครั้งในวันที่ 18-19-20 พ.ค. ทั้งช่วงเช้า และบ่าย ก่อนที่จะกำหนดประเด็นและเชิญตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า หลังจากเชิญผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลแล้ว หากคณะกรรมการ ต้องการทราบข้อมูลเชิงลึก ก็จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา เพื่อตรวจสอบเป็นรายประเด็นต่อไป ทั้งนี้ ในมี่ประชุมมีมติรวมกันว่า ในการประชุมครั้งต่อไปจะมีการถ่ายทอดสดทางวิทยุรัฐสภา คลื่นเอฟเอ็ม 87.5 เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลโยทั่วกัน เว้นแต่มีกรณีพาดพิง หรืออาจทำให้บุคคลภายนอกได้รับความเสียหายก็จะปิดประชุมลับ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ข้อความร่วมมือคณะกรรมการทุกคนถอดหมวกจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง หรือข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อการตรวจสอบเกิดความเป็นธรรมมากที่สุด และได้สรุปประธานต่อประธานรัฐสภาโดยเร็ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมนัดแรกที่ประชุมได้มีการหารือว่า ในการประชุมครั้งต่อไปจะเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนเข้าร่วมสังเกตการณ์ได้หรือไม่ ซึ่งที่ประชุมได้มีการถกเถียงอย่างกว้างขวาง โดยสมาชิกจากซีกพรรคประชาธิปัตย์ เห็นควร ให้เปิดให้สื่อมวลชลเข้ารับฟัง เพื่อความโปร่งใส และในที่สุดที่ประชุมได้ยกมือโหวต ด้วยเสียงข้างมากอนุญาตสื่อเข้ามาร่วมรับฟังการประชุมได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงแรกของการประชุม บรรยากาศเป็นไปอย่าง เคร่งเครียด เพราะคณะกรรมการจากตัวแทนพรรครัฐบาล และพรรคฝ่ายค้าน ต่างนั่งเผชิญหน้า โดยต่างฝ่ายต่างเสนอข้อมูล และข้อเท็จจริงที่แตกต่างกัน โดยในช่วงหนึ่ งนายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ได้กล่าวในที่ประชุมว่า หากรัฐบาลมีความจริงใจและต้องการให้เกิดความสมานฉันท์ต้องหยุดการใช้ กอ.รมน. ในการลงพื้นที่ทั่วประเทศ และหยุดแจกการแจกซีดีเหตุการณ์การ ชุมนุมของคนเสื้อแดงจนนำไปสู่การก่อจลาจลกลางกรุงเทพ จำนวน 1ล้านแผ่นทั่วประเทศ เพื่อไม่ให้ประชาชนเข้าใจกลุ่มคนเสื้อแดงผิด และเมื่อเป็นอย่างนี้การตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงก็ไม่มีความหมาย
ทำให้นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวแย้งว่า อยากให้ พรรคเพื่อไทยหยุดพฤติกรรมการกล่าวหา และการใช้ข้อมูลเท็จ เพราะหลังจากที่ นายสุรพงษ์ ได้นำภาพบุคคลต่างๆ มาโชว์กลางสภา ในระว่างการประชุมรัฐสภา ได้มีบุคคล ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรีว่าพรรคเพื่อไทย ใช้เอกสารเท็จ และบิดเบือนข้อเท็จจริง ดังนั้น หากตั้งการให้คณะกรรมการชุดนี้นำไปสู่การแก้ปัญหาจริง พรรคเพื่อไทยควรหยุดการพูดเท็จโดยเฉพาะการเคลื่อนไหวเปิดสถานีโทรทัศน์ ดีสเตชั่น และการออกมาเคลื่อนไหวของแกนนำกลุ่มคนเสื่อแดง ไม่ว่าจะเป็นนายจตุพร พรหมพันธ์ ส.ส.สัดส่วน นายวีระ มุกสิกพงศ์ เพราะจะเป็นการซ้ำเติมปัญหาของประเทศ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากนั้น 2 ฝ่ายได้โต้เถียงกัน และนำข้อมูลของตัวเอง มาชี้แจง จนทำให้บรรยากาศตึงเครียด เมื่อนาย ศิริโชค ยืนยันว่า มีบุคคลมาร้องเรียน นายกรัฐมนตรีกรณีนายสุรพงษ์ บิดเบือนและใช้ข้อมูลเท็จ จนทำให้นาย สุรพงษ์ ไม่พอใจ เดินออกจากห้องประชุมทันที และไม่กลับเข้ามาร่วมประชุมอีกเลย
จากนั้นจึงได้เริ่มมีการประชุมต่อ และบรรยากาศไม่ตึงเครียด ในการประชุม ในวันที่ 18-19-20 พ.ค. จะมีการเชิญนำข้อมูล และการประมวลภาพเหตุการณ์ การชุมนุมทั้งหมด เพื่อที่จะกำหนดประเด็นในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและผู้เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งกำหนดตัวบุคคลที่จะมาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการต่อไป
นายสงวน พงษ์มณี รองประธานคณะกรรมการฯ กล่าวว่าบุคคลที่จะเชิญเข้าชี้แจง เบื้องต้น ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี ผบ.เหล่าทัพ ผบ.ตร. เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทั้ง และบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เชื่อทุกคนโดยเฉพาะ ผบ.เหล่าทัพจะมาชี้แจงด้วยตัวเอง เพราะเรื่องนี้เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริง คงไม่สามารถมอบหมายให้ใครมาแทนได้ ที่สำคัญคือเรื่องความรับผิดชอบของ เหตุการณ์ เพราะเมื่อประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน วันที่ 12 เม.ย. รุ่งเช้าวันที่ 13 เม.ย. เกิดการสลายการชุมนุมที่ดินแดงแล้ว แต่เวลา 10.00 น. วันที่ 13 เม.ย. กลับเพิ่งมีการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนาจการเฉพาะกิจ (กอฉ.)
ดังนั้นจึงต้องสอบว่าช่วงก่อนหน้านั้นใครเป็นคนรับผิดชอบ โดยที่ประชุมเห็นว่า จะต้องพิจารณาเป็นเหตุการณ์ๆไป ตั้งแต่เหตุเกิดหน้าบ้านสี่เสา อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ดินแดง กระทรวงมหาดไทย ถนนเพชรบุรี ซอย 5 ซอย 7 เหตุที่พัทยา เพื่อดูว่าแต่ละเหตุการณ์เป็นอย่างไร
พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย กรรมการฯ กล่าวว่า ที่ประชุมได้กำหนดกรอบการเชิญบุคคลเข้าชี้แจงคร่าวๆประกอบด้วย คนเสื้อแดง คนเสื้อน้ำเงิน ตำรวจ พลเรือน ทหาร รัฐบาล และคนที่เกี่ยวพันกับเหตุการณ์ อาทิ แพทย์ พยาบาลหรือผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลรอบด้านมากที่สุด