นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวระหว่างดำเนินรายการ"เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์" เมื่อวานนี้ (10พ.ค.) ถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ถูกมองว่าเป็นการซื้อเวลาว่า คงไม่ใช่ คำถามก็คือว่าถ้าบอกว่าจะเป็นการซื้อเวลา แปลว่า จะต้องทำอย่างไร เราทราบอยู่แล้วว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มีความเห็นที่แตกต่างหลากหลาย และขัดแย้งกันค่อนข้างรุนแรง ซึ่งปีที่แล้วที่มีการชุมนุม ก็เริ่มต้นมาจากปัญหานี้ เพราะฉะนั้นเราไม่ต้องการที่จะไปซ้ำรอย ทำอะไรที่ไปจุดชนวนความขัดแย้ง
ทั้งนี้ วิธีที่จะไม่ให้เป็นชนวนของความขัดแย้ง แต่เรายอมรับว่า เป็นประเด็นที่จำเป็นจะต้องได้รับการสะสาง ซึ่งตนพูดตั้งแต่วันแรกที่รัฐธรรมนูญผ่านประชามติว่าต้องแก้ เพียงแต่ประเด็นที่มองว่าจะแก้ อาจจะไม่ตรงกับประเด็นที่คนอื่นอยากจะแก้ก็ได้ เพราะฉะนั้นวิธีเดียวที่จะทำให้ไม่เป็นปมความขัดแย้ง คือต้องมีกระบวนการที่เปิดกว้าง ที่มีการแลกเปลี่ยนที่เปิดเผย ที่สามารถนำมาพูดคุยได้ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาบ้าง แต่ไม่ใช่เรื่องซื้อเวลา
"ผมจะซื้อเวลาทำอะไร ผมจะไม่ทำเลยก็ได้เรื่องนี้ ถูกไหม หรือจะทำทันที หรือจะประกาศว่า อีก 2 ปีค่อยทำก็สามารถพูดได้ทั้งนั้น แต่ผมแสดงให้เห็นว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อยู่ในใจของคนจำนวนมากที่มาชุมนุม เราต้องฟังเขา แต่การฟังเขาไม่ได้หมายความว่า ไม่ฟังคนที่ไม่มาชุมนุม เราก็ต้องเอาอันนั้นมาวางบนโต๊ะ มันก็ต้องใช้เวลาสักนิดหนึ่ง คิดว่าทุกคนเข้าใจได้" นายอภิสิทธิ์กล่าว
ส่วนที่ นายชวน หลีกภัย และนายบัญญัติ บรรทัดฐาน มีท่าทีไม่ค่อยเห็นด้วยกับการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญในตอนนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าคุยกับทั้ง 2 ท่าน เป็นประจำอยู่แล้วและจุดยืนความคิดเหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้าง คิดว่าประเด็นเรื่องแก้ไข ไม่แก้ไข ซึ่ง ท่านอดีตหัวหน้าบัญญัติ จะมีความคิดกังวลอย่างหนึ่ง ว่า บางทีการส่งสัญญาณว่าจะแก้รัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดความสับสน เพราะไปครอบคลุมบางประเด็นซึ่งเราคิดว่าไม่สมควรจะแก้ไข ท่านก็มีความเป็นห่วงตรงนี้เท่านั้นเอง
**บ้านเมืองแตกแยกไม่เกี่ยวรธน.
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ส่วนตัวเป็นเพียงผู้ใช้รัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ผู้แก้ไข แต่ขอเอาไว้ให้ถึงเวลาก่อน ตอนนี้ขอให้เป็นเรื่องของพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะพิจารณาซึ่งเมื่อพรรคมีการประชุมเพื่อขอความเห็น ตนก็จะได้ให้ความเห็นในที่ประชุมพรรค
" อย่าไปเข้าใจผิดว่าวิกฤตตอนนี้ที่มีปัญหาความขัดแย้ง แตกความสามัคคีนั้น มาจากตัวรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นคนละเรื่องกัน และไม่ได้เกี่ยวข้องกัน" นายชวนกล่าวและว่า ปัญหาความแตกแยกขณะนี้ ไม่ได้เกี่ยวกับมาตราใดมาตราหนึ่งของรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ทำได้ ถ้าเห็นว่าเป็นการแก้ไขให้ดีขึ้น ส่วนจะแก้ไขมาตราใดนั้นขอให้คณะกรรมการที่ถูกตั้งขึ้นมาเป็นผู้พิจารณา ทั้งนี้ ไม่ต้องห่วงพรรคประชาธิปัตย์ เพราะเราเคารพเสียงข้างมาก
เมื่อถามว่า เป็นห่วงประเด็นการนิรโทษกรรมหรือไม่ นายชวน กล่าวว่า ยังไม่มีการพูดกันถึงเรื่องนี้
"การเสนอแก้ไขก็มีบางมาตรา ที่ในหมู่ ส.ส.มีความเห็นร่วมกัน เช่น บทบาทของ ส.ส.ในบางเรื่อง อาทิ ไม่สามารถเป็นเลขานุการรัฐมนตรี เป็นต้น ซึ่งตรงนี้ก็มีเหตุผล ส่วน มาตรา 190 ก็เป็นที่รู้กันว่าจะหาทางทำให้มันเหมาะสมกว่านี้ได้อย่างไร แต่อย่าไปเข้าใจผิดว่า ถ้าไม่แก้รัฐธรรมนูญแล้วบ้านเมืองจะแตกแยก เพราะวันนี้มันไม่ใช่ประเด็นนั้น" นายชวนกล่าว
นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่มีส.ส.พรรคเพื่อไทยบางคนขู่ว่า การชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง จะยืดเยื้อหากไม่แก้รัฐธรรมนูญในทันทีว่า พรรคประชาธิปัตย์มั่นใจว่า ไม่มีใครอยากเห็นภาพเช่นนั้นอีกในสังคมไทย ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะใส่เสื้อสีอะไรก็ตาม
นพ.บุรณัชย์ กล่าวว่า พรรคได้จัดเตรียมทำแบบสอบถาม และทำคู่ขนานกับการทำงานของคณะกรรมการศึกษา แก้ไขรัฐธรรมนูญ เชื่อว่าไม่ได้ทำให้กระบวนการทำงานของคณะกรรมการช้าลงอย่างแน่นอน จึงไม่เข้าใจว่า ทำไมผู้ใหญ่ในพรรคเพื่อไทย อย่างนายไพจิต ศรีวรขาน และนายพีระพันธ์ พาลุสุข กลับกล่าวหาว่า เป็นความขัดแย้งระหว่างพรรคกับหัวหน้าพรรค ซึ่งไม่เป็นความจริง โดยสมาชิก และส.ส.สนับสนุนแนวทางของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะหัวหน้าพรรค และผู้นำฝ่ายบริหาร ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มกระบวนการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเข้าสู่การพิจารณาร่วมกันของรัฐสภา
อย่างไรก็ตาม พรรคไม่ต้องการให้ความประสงค์ที่จะรีบเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญของคนหนึ่งคนใดใช้เป็นข้ออ้างในการโจมตีกล่าวหากันในเรื่องที่ไม่จริง และไม่เป็นธรรม หรือขู่ว่าจะนำไปสู่ความไม่สงบในแผ่นดิน
"ทั้งสองท่านก็เป็นผู้ใหญ่ อยากให้ท่านเหล่านั้น และพรรคเพื่อไทยให้โอกาสประเทศชาติเช่นเดียวกับที่สังคมให้โอกาสนักการเมืองในการแก้ไขปัญหาวิกฤตที่มีสาเหตุมาจากการเมือง อยากให้แสดงถึงความใจกว้าง และขอย้ำว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคไม่มีธง หรือคำตอบก่อนกระบวนการรับฟังความคิดเห็นว่าจะต้องแก้ หรือไม่แก้ในมาตราไหน แต่การกระทำการใดๆ ที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนพรรคมั่นใจว่า คณะกรรมการ จะคำนึงถึงความคาดหวัง และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งเป็นเงื่อนไขในการสร้างความปรองดอง อย่างแท้จริง กระบวนการนี้ไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าดำเนินการแล้วถูกมองว่าเป็นการสมานฉันท์เฉพาะนักการเมือง แต่สังคมไม่ยอมรับ และไม่สามารถตอบได้ว่า สังคมได้ประโยชน์อะไร หากทุกฝ่ายให้โอกาส พรรคก็มั่นใจว่าการทำงานของคณะกรรมการจะสามารถเดินหน้าต่อไปได้" โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
**แก้ซื้อสิทธิ์ ขายเสียง วาระแห่งชาติ
นายสาธิต ปิตุเตชะ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง และศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กำหนดกรอบเวลาการทำงาน 45 วัน ซึ่งไปตามความต้องการของทุกฝ่าย จึงอยากให้มีการกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนมากกว่านี้ พร้อมกับนำข้อเสนอของทุกฝ่ายมากองรวมกัน เพื่อหามติเกี่ยวกับประเด็นที่จะพิจารณาด้วย ทั้งเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ควรจะแก้ไขหรือไม่ หากแก้ไข ควรกำหนดวิธีการแก้รัฐธรรมนูญว่าจะมีการตั้ง ส.ส.ร. หรือ ใช้วิธีตามมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญ โดยทั้งหมดต้องให้ทุกฝ่ายเห็นตรงกัน
อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเห็นว่า รัฐบาลควรประกาศเรื่องการแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิ ขายเสียง เป็นวาระแห่งชาติ นอกจากนี้ ส่วนตัวคิดว่า ควรคงมาตรา 237 ไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ต้องมาคิดว่า โทษการยุบพรรค ซึ่งเป็นการให้พรรคเป็นผู้รับผิดชอบในการทำผิดของสมาชิกพรรคที่เป็นกรรมการบริหารพรรค จะสมควรหรือไม่ เพราะพรรคมีสมาชิกพรรคทั่วประเทศ พรรคจึงไม่ควรรับผิดชอบในการกระทำความผิดดังกล่าวที่สมาชิกพรรคไม่ได้รับรู้ แต่ผู้รับผิดชอบควรเป็นคณะกรรมการบริหารพรรค
นอกจากนี้ อยากให้ตัดวรรค 2 ของมาตรา 239 ที่โยนคดีการซื้อสิทธิ ขายเสียง ไปสู่ศาลออก เนื่องจากทิศทางในการพิจารณาคดีของศาล จะชั่งน้ำหนักที่พยานหลักฐาน ซึ่งถือเป็นเรื่องยากในการหาพยานหลักฐานในคดีดังกล่าว ดังนั้น จึงควรให้ กกต.ซึ่งพิจารณาตามความเชื่อ เป็นผู้พิจารณาคดีเป็นหลักจนถึงที่สุด พร้อมกันนี้ อยากเสนอให้แก้ไขมาตรา 266 ที่ห้าม ส.ส.เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินด้วย เพราะเมื่อกำหนดให้ ส.ส.เป็นรัฐมนตรีได้ ก็ควรให้เป็นเลขาฯ หรือที่ปรึกษารัฐมนตรีได้เช่นกัน
ทั้งนี้ วิธีที่จะไม่ให้เป็นชนวนของความขัดแย้ง แต่เรายอมรับว่า เป็นประเด็นที่จำเป็นจะต้องได้รับการสะสาง ซึ่งตนพูดตั้งแต่วันแรกที่รัฐธรรมนูญผ่านประชามติว่าต้องแก้ เพียงแต่ประเด็นที่มองว่าจะแก้ อาจจะไม่ตรงกับประเด็นที่คนอื่นอยากจะแก้ก็ได้ เพราะฉะนั้นวิธีเดียวที่จะทำให้ไม่เป็นปมความขัดแย้ง คือต้องมีกระบวนการที่เปิดกว้าง ที่มีการแลกเปลี่ยนที่เปิดเผย ที่สามารถนำมาพูดคุยได้ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาบ้าง แต่ไม่ใช่เรื่องซื้อเวลา
"ผมจะซื้อเวลาทำอะไร ผมจะไม่ทำเลยก็ได้เรื่องนี้ ถูกไหม หรือจะทำทันที หรือจะประกาศว่า อีก 2 ปีค่อยทำก็สามารถพูดได้ทั้งนั้น แต่ผมแสดงให้เห็นว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อยู่ในใจของคนจำนวนมากที่มาชุมนุม เราต้องฟังเขา แต่การฟังเขาไม่ได้หมายความว่า ไม่ฟังคนที่ไม่มาชุมนุม เราก็ต้องเอาอันนั้นมาวางบนโต๊ะ มันก็ต้องใช้เวลาสักนิดหนึ่ง คิดว่าทุกคนเข้าใจได้" นายอภิสิทธิ์กล่าว
ส่วนที่ นายชวน หลีกภัย และนายบัญญัติ บรรทัดฐาน มีท่าทีไม่ค่อยเห็นด้วยกับการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญในตอนนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าคุยกับทั้ง 2 ท่าน เป็นประจำอยู่แล้วและจุดยืนความคิดเหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้าง คิดว่าประเด็นเรื่องแก้ไข ไม่แก้ไข ซึ่ง ท่านอดีตหัวหน้าบัญญัติ จะมีความคิดกังวลอย่างหนึ่ง ว่า บางทีการส่งสัญญาณว่าจะแก้รัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดความสับสน เพราะไปครอบคลุมบางประเด็นซึ่งเราคิดว่าไม่สมควรจะแก้ไข ท่านก็มีความเป็นห่วงตรงนี้เท่านั้นเอง
**บ้านเมืองแตกแยกไม่เกี่ยวรธน.
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ส่วนตัวเป็นเพียงผู้ใช้รัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ผู้แก้ไข แต่ขอเอาไว้ให้ถึงเวลาก่อน ตอนนี้ขอให้เป็นเรื่องของพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะพิจารณาซึ่งเมื่อพรรคมีการประชุมเพื่อขอความเห็น ตนก็จะได้ให้ความเห็นในที่ประชุมพรรค
" อย่าไปเข้าใจผิดว่าวิกฤตตอนนี้ที่มีปัญหาความขัดแย้ง แตกความสามัคคีนั้น มาจากตัวรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นคนละเรื่องกัน และไม่ได้เกี่ยวข้องกัน" นายชวนกล่าวและว่า ปัญหาความแตกแยกขณะนี้ ไม่ได้เกี่ยวกับมาตราใดมาตราหนึ่งของรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ทำได้ ถ้าเห็นว่าเป็นการแก้ไขให้ดีขึ้น ส่วนจะแก้ไขมาตราใดนั้นขอให้คณะกรรมการที่ถูกตั้งขึ้นมาเป็นผู้พิจารณา ทั้งนี้ ไม่ต้องห่วงพรรคประชาธิปัตย์ เพราะเราเคารพเสียงข้างมาก
เมื่อถามว่า เป็นห่วงประเด็นการนิรโทษกรรมหรือไม่ นายชวน กล่าวว่า ยังไม่มีการพูดกันถึงเรื่องนี้
"การเสนอแก้ไขก็มีบางมาตรา ที่ในหมู่ ส.ส.มีความเห็นร่วมกัน เช่น บทบาทของ ส.ส.ในบางเรื่อง อาทิ ไม่สามารถเป็นเลขานุการรัฐมนตรี เป็นต้น ซึ่งตรงนี้ก็มีเหตุผล ส่วน มาตรา 190 ก็เป็นที่รู้กันว่าจะหาทางทำให้มันเหมาะสมกว่านี้ได้อย่างไร แต่อย่าไปเข้าใจผิดว่า ถ้าไม่แก้รัฐธรรมนูญแล้วบ้านเมืองจะแตกแยก เพราะวันนี้มันไม่ใช่ประเด็นนั้น" นายชวนกล่าว
นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่มีส.ส.พรรคเพื่อไทยบางคนขู่ว่า การชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง จะยืดเยื้อหากไม่แก้รัฐธรรมนูญในทันทีว่า พรรคประชาธิปัตย์มั่นใจว่า ไม่มีใครอยากเห็นภาพเช่นนั้นอีกในสังคมไทย ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะใส่เสื้อสีอะไรก็ตาม
นพ.บุรณัชย์ กล่าวว่า พรรคได้จัดเตรียมทำแบบสอบถาม และทำคู่ขนานกับการทำงานของคณะกรรมการศึกษา แก้ไขรัฐธรรมนูญ เชื่อว่าไม่ได้ทำให้กระบวนการทำงานของคณะกรรมการช้าลงอย่างแน่นอน จึงไม่เข้าใจว่า ทำไมผู้ใหญ่ในพรรคเพื่อไทย อย่างนายไพจิต ศรีวรขาน และนายพีระพันธ์ พาลุสุข กลับกล่าวหาว่า เป็นความขัดแย้งระหว่างพรรคกับหัวหน้าพรรค ซึ่งไม่เป็นความจริง โดยสมาชิก และส.ส.สนับสนุนแนวทางของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะหัวหน้าพรรค และผู้นำฝ่ายบริหาร ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มกระบวนการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเข้าสู่การพิจารณาร่วมกันของรัฐสภา
อย่างไรก็ตาม พรรคไม่ต้องการให้ความประสงค์ที่จะรีบเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญของคนหนึ่งคนใดใช้เป็นข้ออ้างในการโจมตีกล่าวหากันในเรื่องที่ไม่จริง และไม่เป็นธรรม หรือขู่ว่าจะนำไปสู่ความไม่สงบในแผ่นดิน
"ทั้งสองท่านก็เป็นผู้ใหญ่ อยากให้ท่านเหล่านั้น และพรรคเพื่อไทยให้โอกาสประเทศชาติเช่นเดียวกับที่สังคมให้โอกาสนักการเมืองในการแก้ไขปัญหาวิกฤตที่มีสาเหตุมาจากการเมือง อยากให้แสดงถึงความใจกว้าง และขอย้ำว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคไม่มีธง หรือคำตอบก่อนกระบวนการรับฟังความคิดเห็นว่าจะต้องแก้ หรือไม่แก้ในมาตราไหน แต่การกระทำการใดๆ ที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนพรรคมั่นใจว่า คณะกรรมการ จะคำนึงถึงความคาดหวัง และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งเป็นเงื่อนไขในการสร้างความปรองดอง อย่างแท้จริง กระบวนการนี้ไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าดำเนินการแล้วถูกมองว่าเป็นการสมานฉันท์เฉพาะนักการเมือง แต่สังคมไม่ยอมรับ และไม่สามารถตอบได้ว่า สังคมได้ประโยชน์อะไร หากทุกฝ่ายให้โอกาส พรรคก็มั่นใจว่าการทำงานของคณะกรรมการจะสามารถเดินหน้าต่อไปได้" โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
**แก้ซื้อสิทธิ์ ขายเสียง วาระแห่งชาติ
นายสาธิต ปิตุเตชะ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง และศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กำหนดกรอบเวลาการทำงาน 45 วัน ซึ่งไปตามความต้องการของทุกฝ่าย จึงอยากให้มีการกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนมากกว่านี้ พร้อมกับนำข้อเสนอของทุกฝ่ายมากองรวมกัน เพื่อหามติเกี่ยวกับประเด็นที่จะพิจารณาด้วย ทั้งเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ควรจะแก้ไขหรือไม่ หากแก้ไข ควรกำหนดวิธีการแก้รัฐธรรมนูญว่าจะมีการตั้ง ส.ส.ร. หรือ ใช้วิธีตามมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญ โดยทั้งหมดต้องให้ทุกฝ่ายเห็นตรงกัน
อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเห็นว่า รัฐบาลควรประกาศเรื่องการแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิ ขายเสียง เป็นวาระแห่งชาติ นอกจากนี้ ส่วนตัวคิดว่า ควรคงมาตรา 237 ไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ต้องมาคิดว่า โทษการยุบพรรค ซึ่งเป็นการให้พรรคเป็นผู้รับผิดชอบในการทำผิดของสมาชิกพรรคที่เป็นกรรมการบริหารพรรค จะสมควรหรือไม่ เพราะพรรคมีสมาชิกพรรคทั่วประเทศ พรรคจึงไม่ควรรับผิดชอบในการกระทำความผิดดังกล่าวที่สมาชิกพรรคไม่ได้รับรู้ แต่ผู้รับผิดชอบควรเป็นคณะกรรมการบริหารพรรค
นอกจากนี้ อยากให้ตัดวรรค 2 ของมาตรา 239 ที่โยนคดีการซื้อสิทธิ ขายเสียง ไปสู่ศาลออก เนื่องจากทิศทางในการพิจารณาคดีของศาล จะชั่งน้ำหนักที่พยานหลักฐาน ซึ่งถือเป็นเรื่องยากในการหาพยานหลักฐานในคดีดังกล่าว ดังนั้น จึงควรให้ กกต.ซึ่งพิจารณาตามความเชื่อ เป็นผู้พิจารณาคดีเป็นหลักจนถึงที่สุด พร้อมกันนี้ อยากเสนอให้แก้ไขมาตรา 266 ที่ห้าม ส.ส.เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินด้วย เพราะเมื่อกำหนดให้ ส.ส.เป็นรัฐมนตรีได้ ก็ควรให้เป็นเลขาฯ หรือที่ปรึกษารัฐมนตรีได้เช่นกัน