ASTVผู้จัดการรายวัน-ร.ฟ.ท.ปรับโครงสร้างบริษัทลูกเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ จ้างทีมผู้เชี่ยวชาญบริหารพร้อมตั้งตัวชี้วัด (KPI) ทุก 6 เดือน จากเดิมจ้าง CEO เพียงคนเดียว หลังถูกคลังติงไม่มั่นใจโครงการไปรอด “ถวัลย์รัฐ” เผยสรุปแผนฟื้นฟูร.ฟ.ท.เสนอครม.วันที่ 12 พ.ค. นี้แน่นอน ยังมั่นใจตั้งบริษัทและเตรียมความพร้อมรองรับเปิดเดินรถเต็มรูปแบบทัน ธ.ค.52
นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าแผนฟื้นฟู กิจการร.ฟ.ท.ว่า จะเสนอแผนฟื้นฟู กิจการร.ฟ.ท.เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในการประชุมวันที่ 12 พ.ค.2552 ซึ่งขณะนี้สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กำลังปรับแก้รายละเอียดของบริษัทลูกในส่วนของบริษัทเดินรถเพิ่มเติม ซึ่งบริษัทลูกเป็นส่วนหนึ่งของแผนฟื้นฟูฯ
ทั้งนี้เนื่องจากก่อนหน้านี้กระทรวงการคลังไม่เห็นด้วยกับโครงสร้างในส่วนของการบริหารที่จะมีการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญ CEO เพียงคนเดียวโดยเห็นว่า ควรจ้างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาบริหารเป็นทีมและมีสัญญาการทำงานที่ชัดเจน มีตัวชี้วัด (KPI) และประเมินการทำงานทุก 6 เดือน เพื่อความมั่นใจในการบริหารโครงการให้ประสบความสำเร็จมากกว่าการว่าจ้าง CEO เพียงคนเดียว จึงได้มีการปรับรายละเอียดการว่าจ้างทีมผู้เชี่ยวชาญเข้ามาบริหารประกอบด้วย CEO (Chairman and Chief Executive Officer),CFO (Chief Financial Officer) ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน และ COO (Chief Operation Officer) ผู้เชี่ยวชาญด้านการปฎิบัติการเดินรถ ซึ่งการว่าจ้างเพิ่มเติมดังกล่าวยังอยู่ในกรอบวงเงินค่าบริหารงาน 500 ล้านบาทต่อปี
“ตามแผนจะมีการว่าจ้าง CEO เพียงคนเดียวแต่เมื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแสดงความกังวลและพิจารณาแล้ว ก็เห็นด้วยกับการจ้างเป็นทีม เพราะทำให้เกิดความมั่นใจมากกว่าการจ้างเพียงคนเดียว ส่วนประเด็นที่ร.ฟ.ท.ถือหุ้นในบริษัทลูกเดินรถ 100% นั้นได้หารือทำความเข้าใจกับกระทรวงการคลังแล้ว ”นายถวัลย์รัฐกล่าว
นายถวัลย์รัฐกล่าวว่า หากครม.เห็นชอบแผนฟื้นฟู ร.ฟ.ท. จะเร่งจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อให้ทันการเปิดเดินรถ เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการในเดือนธ.ค. 2552 ซึ่งมีตารางการทำงานแต่ละขั้นตอนที่ชัดเจน ส่วนในวันที่ 12 ส.ค.2552 จะเป็นการวิ่งรถเพื่อทดสอบระบบการเดินรถ (Test Run) เฉพาะรถ City Line ระหว่างมักกะสัน- สุวรรณภูมิ วันละ 2 ขบวน โดยไม่มีการจอดตามสถานีรายทางและจะยังไม่มีระบบการจัดเก็บค่าโดยสาร ระบบเช็คอินกระเป๋าสัมภาระ ที่สถานีมักกะสัน (City Air Terminal : CAT) และร้านค้าเชิงพาณิชย์
สำหรับแผนฟื้นฟูกิจการร.ฟ.ท.ในส่วนการปรับปรุงโครงสร้างบริหารจัดการ จะจัดตั้งบริษัทเดินรถ เพื่อบริหารการเดินรถโดยสาร รถขนส่งสินค้า และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ รถไฟสายสีแดงและ บริษัทบริหารทรัพย์สิน เพื่อจัดการที่ดินของการรถไฟ ในส่วนของการบริหารสัญญาเช่าของเอกชนคู่สัญญากับ ร.ฟ.ท.
ส่วนแผนปรับโครงสร้างทางการเงิน จะมีการแก้ปัญหาหนี้และขาดทุนสะสม วงเงิน 72,850 ล้านบาท ซึ่งเป็นภาระหนี้จากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ระบบอาณัติสัญญาณในอดีต 66,241 ล้านบาท และหนี้ที่เกิดจากการลงทุนในระบบล้อเลื่อน (Rolling Stock) ประมาณ 19,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามแผนฟื้นฟูฯ จะแก้ปัญหาภาระเงินบำนาญของพนักงานร.ฟ.ท. จำนวน 25,749 คน โดยมีวงเงินที่ ร.ฟ.ท.จะต้องรับภาระ ทั้งในส่วนของพนักงานในอดีต และที่ยังไม่เกษียณ วงเงิน 156,000 ล้านบาท ซึ่งร.ฟ.ท. มีแผนที่จะมีการจัดตั้งกองทุน วงเงิน 58,000 ล้านบาท เพื่อนำไปบริหาร นำมาชดเชยภาระเงินบำนาญ ซึ่งกองทุนที่จัดตั้งขึ้นจะมาจากการนำเงินรายได้จากการเช่าที่ดินของเอกชนมาเข้ากองทุนปีละ 2,000 ล้านบาท
นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าแผนฟื้นฟู กิจการร.ฟ.ท.ว่า จะเสนอแผนฟื้นฟู กิจการร.ฟ.ท.เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในการประชุมวันที่ 12 พ.ค.2552 ซึ่งขณะนี้สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กำลังปรับแก้รายละเอียดของบริษัทลูกในส่วนของบริษัทเดินรถเพิ่มเติม ซึ่งบริษัทลูกเป็นส่วนหนึ่งของแผนฟื้นฟูฯ
ทั้งนี้เนื่องจากก่อนหน้านี้กระทรวงการคลังไม่เห็นด้วยกับโครงสร้างในส่วนของการบริหารที่จะมีการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญ CEO เพียงคนเดียวโดยเห็นว่า ควรจ้างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาบริหารเป็นทีมและมีสัญญาการทำงานที่ชัดเจน มีตัวชี้วัด (KPI) และประเมินการทำงานทุก 6 เดือน เพื่อความมั่นใจในการบริหารโครงการให้ประสบความสำเร็จมากกว่าการว่าจ้าง CEO เพียงคนเดียว จึงได้มีการปรับรายละเอียดการว่าจ้างทีมผู้เชี่ยวชาญเข้ามาบริหารประกอบด้วย CEO (Chairman and Chief Executive Officer),CFO (Chief Financial Officer) ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน และ COO (Chief Operation Officer) ผู้เชี่ยวชาญด้านการปฎิบัติการเดินรถ ซึ่งการว่าจ้างเพิ่มเติมดังกล่าวยังอยู่ในกรอบวงเงินค่าบริหารงาน 500 ล้านบาทต่อปี
“ตามแผนจะมีการว่าจ้าง CEO เพียงคนเดียวแต่เมื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแสดงความกังวลและพิจารณาแล้ว ก็เห็นด้วยกับการจ้างเป็นทีม เพราะทำให้เกิดความมั่นใจมากกว่าการจ้างเพียงคนเดียว ส่วนประเด็นที่ร.ฟ.ท.ถือหุ้นในบริษัทลูกเดินรถ 100% นั้นได้หารือทำความเข้าใจกับกระทรวงการคลังแล้ว ”นายถวัลย์รัฐกล่าว
นายถวัลย์รัฐกล่าวว่า หากครม.เห็นชอบแผนฟื้นฟู ร.ฟ.ท. จะเร่งจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อให้ทันการเปิดเดินรถ เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการในเดือนธ.ค. 2552 ซึ่งมีตารางการทำงานแต่ละขั้นตอนที่ชัดเจน ส่วนในวันที่ 12 ส.ค.2552 จะเป็นการวิ่งรถเพื่อทดสอบระบบการเดินรถ (Test Run) เฉพาะรถ City Line ระหว่างมักกะสัน- สุวรรณภูมิ วันละ 2 ขบวน โดยไม่มีการจอดตามสถานีรายทางและจะยังไม่มีระบบการจัดเก็บค่าโดยสาร ระบบเช็คอินกระเป๋าสัมภาระ ที่สถานีมักกะสัน (City Air Terminal : CAT) และร้านค้าเชิงพาณิชย์
สำหรับแผนฟื้นฟูกิจการร.ฟ.ท.ในส่วนการปรับปรุงโครงสร้างบริหารจัดการ จะจัดตั้งบริษัทเดินรถ เพื่อบริหารการเดินรถโดยสาร รถขนส่งสินค้า และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ รถไฟสายสีแดงและ บริษัทบริหารทรัพย์สิน เพื่อจัดการที่ดินของการรถไฟ ในส่วนของการบริหารสัญญาเช่าของเอกชนคู่สัญญากับ ร.ฟ.ท.
ส่วนแผนปรับโครงสร้างทางการเงิน จะมีการแก้ปัญหาหนี้และขาดทุนสะสม วงเงิน 72,850 ล้านบาท ซึ่งเป็นภาระหนี้จากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ระบบอาณัติสัญญาณในอดีต 66,241 ล้านบาท และหนี้ที่เกิดจากการลงทุนในระบบล้อเลื่อน (Rolling Stock) ประมาณ 19,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามแผนฟื้นฟูฯ จะแก้ปัญหาภาระเงินบำนาญของพนักงานร.ฟ.ท. จำนวน 25,749 คน โดยมีวงเงินที่ ร.ฟ.ท.จะต้องรับภาระ ทั้งในส่วนของพนักงานในอดีต และที่ยังไม่เกษียณ วงเงิน 156,000 ล้านบาท ซึ่งร.ฟ.ท. มีแผนที่จะมีการจัดตั้งกองทุน วงเงิน 58,000 ล้านบาท เพื่อนำไปบริหาร นำมาชดเชยภาระเงินบำนาญ ซึ่งกองทุนที่จัดตั้งขึ้นจะมาจากการนำเงินรายได้จากการเช่าที่ดินของเอกชนมาเข้ากองทุนปีละ 2,000 ล้านบาท