ASTVผู้จัดการรายวัน – บอร์ดตลาดหลักทรัพย์ฯ นัดประชุมวาระพิเศษ 11 พ.ค.นี้ เพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานหลังปรับโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อรองรับแปลงสภาพมาครบ1 ไตรมาสแล้ว โดยให้ผู้บริหารระดับสูง ช่วยเสนอแนะแนวทางการทำงาน ระดมแก้ไขอุปสรรคที่เกิดขึ้น ด้านประธานตลาดหลักทรัพย์ฯ คาดไม่ปรับลดเป้าวอลุ่มซื้อขายหลังตลาดหุ้นผ่านจุดต่ำสุด บวก กับนักลงทุนต่างชาติเริ่มหวนคืน หนุนให้ภาวะตลาดหุ้นกระเตื้องขึ้น แต่อาจจะต้องหั่นเป้าบริษัทจดทะเบียนใหม่ในปีนี้ลงจากเดิม
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯจะมีการนัดประชุมวาระพิเศษ ในวันที่ 11 พฤษภาคมนี้ ซึ่งจะมีการประเมินผลการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ฯหลังจากมีการดำเนินงานภายใต้โครงสร้างใหม่ โดยมีการแยกสายงานเกี่ยวกับกลุ่มงานธุรกิจตลาดหลักทรัพย์ฯ และสถาบันกองทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุน มาดป็นเวลา 1 ไตรมาส แล้ว ว่าแต่ละสายงานมีการทำงานเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ หรือมีความคืบหน้าอย่างไร
ทั้งนี้ส่วนตัวและบอร์ดจะเข้าไปช่วยดูแลให้การดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ฯในเรื่องขบวนการปรับโครงสร้างของตลาดหลักทรัพย์ฯให้มีความคืบหน้า ว่าจะต้องมีการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานอย่างไรบ้าง อะไรที่เป็นอุปสรรคจะได้มีการแก้ปัญหา รวมถึงจะเสนอข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานด้วย ซึ่งบอร์ดตลาดหลักทรัพย์ฯจะมีการประเมินการทำงานของตลาดหลักทรัพย์ฯทุกๆไตรมาส
ขณะเดียวกัน การที่จะมีการจัดประชุมบอร์ดวาระพิเศษขึ้น เนื่องจาก การประชุมบอร์ดของตลาดหลักทรัพย์ฯในทุกเดือนนั้นจะมีวาระต่างๆเข้ามาจำนวนมาก ทำให้ไม่มีเวลาพอ และเรื่องการปรับโครงสร้างของตลาดหลักทรัพย์ฯถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจะต้องมีเวลามากพอที่จะพิจารณาจึงจำเป็นที่จะต้องมีการจัดประชุมบอร์ดวาระพิเศษขึ้น โดยการประชุมครั้งนี้จะมีการเชิญที่ปรึกษาของตลาดหลักทรัพย์ 3 ท่านเข้าร่วมในการให้ความคิดเห็นเพราะ ทุกๆไตรมาสจะมีปัจจัยใหม่ๆเกิดขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องนำปัจจัยนั้นเข้ามาประเมินสถานการณ์เช่นกัน
“หลังจากที่ตลาดหลักทรัพย์ฯมีการปรับโครงสร้างการดำเนินงานโดยแบ่ง เป็นส่วนธุรกิจของตลาดหลักทรัพย์ กลุ่มงานพัฒนาตลาดทุน มาเป็นเวลา 1 ไตรมาส แล้ว ก็จะมีการพิจารณาว่าสามารถดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ และจะมีการดูว่าที่ผ่านมามีอุปสรรคอะไร เพื่อที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาเพื่อเดินไปถึงเป้าหมาย โดยการประชุมครั้งนี้ก็จะมีการเชิญที่ปรึกษาตลท.3 คนเข้ามาร่วมให้ข้อคิดเห็นเสนอแนะการทำงานด้วย” นายปกรณ์ กล่าว
นายปกรณ์ กล่าวว่า การประชุมบอร์ดในครั้งนี้นั้นอาจะมีการหารือและมีการปรับเป้าหมายการดำเนินงานในบางส่วนลดลง ซึ่งส่วนที่จะต้องมีการปรับเป้าหมายลดลงนั้นขณะนี้ที่ชัดเจนคือ ในเรื่องจำนวนบริษัทใหม่ที่จะเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯและตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ ในปีนี้ลง จากเป้าหมายเดิมที่ตั้งเป้าไว้ ที่ 46 บริษัท แต่ในส่วนของเป้าหมายของมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ น่าจะยังคงเป้าหมายไว้ เหมือนเดิมที่คาดว่าจะกรณีที่เลวร้ายสุดวอลุ่มจะอยู่ที่13,000 ล้านบาทต่อวัน และกรณีที่ดีที่สุดวอลุ่มเฉลี่ยต่อวันจะอยู่ที่ 18,000 ล้านบาท
โดยสาเหตุที่ยังคงเป้าหมายวอลุ่มเนื่องจากวอลุ่มการซื้อขายขณะนี้มีสัญญาณที่ดีขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีวอลุ่มเฉลี่ยขึ้นมาอยู่ที่ 10,000 ล้านบาทต่อวัน จากช่วง 2 เดือนแรกของปีที่ที่มีการวอลุ่มซื้อขายเฉลี่ยเพียง 8,000 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งแสดงได้ว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และภาวะตลาดหุ้นน่าจะกลับมาปรับตัวดีขึ้นนได้ในครึ่งปีหลัง โดยปัจุบันดัชนีตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 8-9 % และมูลค่าการซื้อขาย ที่เริ่มเห็นเม็ดเงินลงทุนของต่างชาติกลับเข้ามาซื้อสุทธิอีกครั้ง จนทำให้ยอดขายสุทธิน้อยลง
อย่างไรก็ตาม การประชุมเมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมานั้น เป็นการรายงานความคืบหน้าในการปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ หรือ TSFC ซึ่งมีการปรับโครงสร้างหนี้ด้วยการเพิ่มทุนของผู้ถือหุ้นรายใหม่และรายเก่า
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯจะมีการนัดประชุมวาระพิเศษ ในวันที่ 11 พฤษภาคมนี้ ซึ่งจะมีการประเมินผลการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ฯหลังจากมีการดำเนินงานภายใต้โครงสร้างใหม่ โดยมีการแยกสายงานเกี่ยวกับกลุ่มงานธุรกิจตลาดหลักทรัพย์ฯ และสถาบันกองทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุน มาดป็นเวลา 1 ไตรมาส แล้ว ว่าแต่ละสายงานมีการทำงานเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ หรือมีความคืบหน้าอย่างไร
ทั้งนี้ส่วนตัวและบอร์ดจะเข้าไปช่วยดูแลให้การดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ฯในเรื่องขบวนการปรับโครงสร้างของตลาดหลักทรัพย์ฯให้มีความคืบหน้า ว่าจะต้องมีการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานอย่างไรบ้าง อะไรที่เป็นอุปสรรคจะได้มีการแก้ปัญหา รวมถึงจะเสนอข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานด้วย ซึ่งบอร์ดตลาดหลักทรัพย์ฯจะมีการประเมินการทำงานของตลาดหลักทรัพย์ฯทุกๆไตรมาส
ขณะเดียวกัน การที่จะมีการจัดประชุมบอร์ดวาระพิเศษขึ้น เนื่องจาก การประชุมบอร์ดของตลาดหลักทรัพย์ฯในทุกเดือนนั้นจะมีวาระต่างๆเข้ามาจำนวนมาก ทำให้ไม่มีเวลาพอ และเรื่องการปรับโครงสร้างของตลาดหลักทรัพย์ฯถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจะต้องมีเวลามากพอที่จะพิจารณาจึงจำเป็นที่จะต้องมีการจัดประชุมบอร์ดวาระพิเศษขึ้น โดยการประชุมครั้งนี้จะมีการเชิญที่ปรึกษาของตลาดหลักทรัพย์ 3 ท่านเข้าร่วมในการให้ความคิดเห็นเพราะ ทุกๆไตรมาสจะมีปัจจัยใหม่ๆเกิดขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องนำปัจจัยนั้นเข้ามาประเมินสถานการณ์เช่นกัน
“หลังจากที่ตลาดหลักทรัพย์ฯมีการปรับโครงสร้างการดำเนินงานโดยแบ่ง เป็นส่วนธุรกิจของตลาดหลักทรัพย์ กลุ่มงานพัฒนาตลาดทุน มาเป็นเวลา 1 ไตรมาส แล้ว ก็จะมีการพิจารณาว่าสามารถดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ และจะมีการดูว่าที่ผ่านมามีอุปสรรคอะไร เพื่อที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาเพื่อเดินไปถึงเป้าหมาย โดยการประชุมครั้งนี้ก็จะมีการเชิญที่ปรึกษาตลท.3 คนเข้ามาร่วมให้ข้อคิดเห็นเสนอแนะการทำงานด้วย” นายปกรณ์ กล่าว
นายปกรณ์ กล่าวว่า การประชุมบอร์ดในครั้งนี้นั้นอาจะมีการหารือและมีการปรับเป้าหมายการดำเนินงานในบางส่วนลดลง ซึ่งส่วนที่จะต้องมีการปรับเป้าหมายลดลงนั้นขณะนี้ที่ชัดเจนคือ ในเรื่องจำนวนบริษัทใหม่ที่จะเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯและตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ ในปีนี้ลง จากเป้าหมายเดิมที่ตั้งเป้าไว้ ที่ 46 บริษัท แต่ในส่วนของเป้าหมายของมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ น่าจะยังคงเป้าหมายไว้ เหมือนเดิมที่คาดว่าจะกรณีที่เลวร้ายสุดวอลุ่มจะอยู่ที่13,000 ล้านบาทต่อวัน และกรณีที่ดีที่สุดวอลุ่มเฉลี่ยต่อวันจะอยู่ที่ 18,000 ล้านบาท
โดยสาเหตุที่ยังคงเป้าหมายวอลุ่มเนื่องจากวอลุ่มการซื้อขายขณะนี้มีสัญญาณที่ดีขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีวอลุ่มเฉลี่ยขึ้นมาอยู่ที่ 10,000 ล้านบาทต่อวัน จากช่วง 2 เดือนแรกของปีที่ที่มีการวอลุ่มซื้อขายเฉลี่ยเพียง 8,000 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งแสดงได้ว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และภาวะตลาดหุ้นน่าจะกลับมาปรับตัวดีขึ้นนได้ในครึ่งปีหลัง โดยปัจุบันดัชนีตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 8-9 % และมูลค่าการซื้อขาย ที่เริ่มเห็นเม็ดเงินลงทุนของต่างชาติกลับเข้ามาซื้อสุทธิอีกครั้ง จนทำให้ยอดขายสุทธิน้อยลง
อย่างไรก็ตาม การประชุมเมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมานั้น เป็นการรายงานความคืบหน้าในการปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ หรือ TSFC ซึ่งมีการปรับโครงสร้างหนี้ด้วยการเพิ่มทุนของผู้ถือหุ้นรายใหม่และรายเก่า