กระทรวงการท่องเที่ยวฯ เตรียมดันวาระท่องเที่ยวผงาดเวทีอาเซียนซัมมิท และ GMS เล็งยึดเวทีแสดงความเป็นผู้นำ ปลุกให้ตื่นตัวเรื่องไครซีท คอมมูนิเคชั่น จับกระแสไข้หวัดใหญ่ 2009 แจงมาตรการความพร้อมเรื่องการป้องกันและเฝ้าระวังของประเทศไทย หวังเป็นเครื่องมือช่วยเรียกความเชื่อมั่น ขณะที่เวที GMSเดินหน้าผลักดันการท่องเที่ยวเชื่อมโยงในภูมิภาค ตามโครงการเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ พร้อมจับมือรัฐบาลพม่า พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำฝั่งทะเลอันดามัน ยอมรับวิกฤตเศรษฐกิจโลก กระทบเป้าหมายต้องยืดระยะเวลาเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวใน 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง เป็น 50 ล้านคน ออกไปเป็นปี 2558
นางสาว ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ในเวทีการประชุมผู้นำอาเซียน +3+6 ที่รัฐบาลไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมที่ จ.ภูเก็ต ในเดือนมิถุนายนนี้ ในส่วนของกระทรวงการท่องเที่ยว เตรียมเสนอเรื่องความร่วมมือกับกลุ่มประเทศอาเซียนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกัน แต่ประเด็นสำคัญที่จะนำเสนอในที่ประชุมคือเรื่องของการสื่อสารในภาวะวิกฤต เพราะสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยสิ่งที่จะก่อให้เกิดภาวะวิกฤตกับภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในขณะนี้ มี 3 ด้านหลัก ได้แก่ ภัยธรรมชาติ ความขัดแย้งทางการเมืองที่นำไปสู่การจลาจล และปัญหาโรคระบาด
ทั้ง 3 ด้านดังกล่าว ล้วนต้องใช้การทำงานด้านการสื่อสารให้ข้อมูล ด้วยวิธีการประชาสัมพันธ์ในด้านต่างๆ เพื่อเรียกความมั่นใจของนักท่องเที่ยวและนักลงทุนให้กลับคืนมาโดยเร็วที่สุด ซึ่งถือเป็นหน้าที่หลักของกระทรวงการท่องเที่ยว ส่วนเรื่องของวิธีการแก้ไขปัญหาต้องขึ้นอยู่กับว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงใด เช่นล่าสุดการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 ซึ่งเป็นภารกิจของกระทรวงสาธารณะสุข ที่จะดำเนินการในเรื่องของการเฝ้าระวัง และการควบคุมโรคติดต่อ ส่วนกระทรวงการท่องเที่ยวจะเป็นผู้สื่อสารสิ่งที่กระทรวงสาธารณะสุขได้ทำนั้น ออกไปนำเสนอแก่นักท่องเที่ยวให้ได้มากที่สุด เพื่อสร้างความเข้าใจและมั่นใจ
นอกจากนั้นยังเตรียมนำเสนอโครงการอื่นๆ ที่กระทรวงการท่องเที่ยวฯ เป็นผู้ริเริ่ม ได้แก่ โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มเยาวชน ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ด้วยงบประมาณ 153 ล้านบาท จัดเป็นกรุ๊ปนำเที่ยวฟรี เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถยนต์ และกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ ,โครงการจับมือกับประเทศใกล้เคียง
จัดโปรแกรมส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกัน(Connectivity) ได้แก่ งาน อาเซียน ยูท เกมส์ จัดที่ประเทศสิงคโปร์ในเดือนมิ.ย.นี้ ก็จะจัดทริปพานักท่องเที่ยวมาประเทศไทยด้วย
ขณะที่งาน“เอเชี่ยนมาร์เชียลอาร์ทเกมส์" ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ก็จะจัดทริปพานักท่องเที่ยวไปสิงคโปร์เช่นกัน ,โครงการจัดทำแผนที่ท่องเที่ยวทางรถยนต์ ในภูมิภาคอาเซียนหรือโรดแมป จัดทำป้ายบอกทางและสัญลักษณ์ที่เป็นสากล และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ แก่นักท่องเที่ยวระหว่างการเดินทาง เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีเรื่องของโครงการเพิ่มพูนนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ ซึ่งในที่นี้ไม่ได้หมายความแค่นักท่องเที่ยวระดับไฮเอนด์ แต่จะครอบคลุมถึงนักท่องเที่ยวกลุ่มรักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การมุ่งมั่นในการดูแลช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวในทุกรูปแบบ ขจัดและป้องกันนักท่องเที่ยวแอบแฝง เช่น กลุ่มที่เดินทางเข้ามาเพื่อค้าประเวณี หรือ ค้ายาเสพติด เป็นต้น
****ขีดเส้นทางท่องเที่ยวก่อนโปรโมท*****
นางสาว ศศิธารา ยังกล่าวถึงการประชุม ระดับรัฐมนตรี 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง(GMS) ครั้งที่ 15 โดยประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมผู้นำอาวุโส วันที่ 17-19 มิ.ย.นี้ ที่หัวหิน ว่า สิ่งที่ประเทศไทยจะนำเสนอในการประชุมคือ การจัดเตรียมเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก อาทิ พม่า ไทย ลาว เวียดนาม และเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้อาทิ ไทย มาเลเซีย บรูไน ภายใต้โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 14 คลัสเตอร์ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างเส้นทางแผนที่การเดินทาง พร้อมรายละเอียดสถานที่สำคัญที่เส้นทางนั้นๆจะพาดผ่าน เช่น แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร รวมถึงการค้าขาย พืชเศรษฐกิจ และทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ โดยจะต้องใช้แนวทางการค้าการลงทุนเป็นตัวนำ ตามด้วยแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
พร้อมตั้งชื่อเส้นทางตามจุดเด่นแต่ละพื้นที่ เพื่อใช้เป็นจุดขายทางการท่องเที่ยว เช่น เส้นทาง แม่สอด เชื่อประเทศไทยและพม่า จะเป็นเส้นทางอัญมณี เป็นต้น ซึ่งในอดีตก็มีการตั้งชื่อตามจุดเด่นสำคัญ เช่น เส้นทางแพรไหม(ซิล รูท) เส้นทางเครื่องเทศ(สไปซี่รูท) เป็นต้น ซึ่งการตั้งชื่อตามเส้นทางจะช่วยให้หน่วยงานของรัฐได้โฟกัสที่จะทำการพัฒนาสิ่งต่างในแต่ละเส้นทางได้ถูกต้อง เช่น เส้นทางบุญ ก็จะมีการพัฒนาวัด และ ศาสนสถาน เป็นต้น
"เราต้องส่งเสริมให้เกิดการเดินทางตามแนวด่านชายแดนให้มากขึ้น เรามีด่านเข้าเมืองจำนวนมากถึง 27 ด่าน ทั่วประเทศ ซึ่งหากมีการส่งเสริมที่ดี จะช่วยเกื้อหนุนในเรื่องของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทย เห็นได้ชัดเจนจากเมื่อปี 2551 ซึ่งหากใช้ตัวเลขนักท่องเที่ยวแค่สนามบินสุวรรณภูมิ อาจติดลบได้ แต่เมื่อรวมทั้ง 27 ด่าน ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งปียังคงเติบโตที่ 0.5% ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวคิดขององค์การท่องเที่ยวโลก ที่ยืนยันว่า พฤติกรรมนักท่องเที่ยวหันมาเดินทางภายในภูมิภาคมากขึ้น ชูประเทศในกลุ่มยุโรป เป็นตัวอย่าง "
*** เศรษฐกิจโลกกระทบต้องยืดระยะเวลาเป้าหมาย ***
ปัจจุบันสัดส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางโดยรถยนต์ผ่านด่านชายแดนมีประมาณ 20% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด ซึ่งการร่วมมือของ 6 ประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง จะเน้นเรื่องการส่งเสริมการเดินทางผ่านด่านชายแดนให้มากขึ้นเพราะต่อปีจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงเป็นจำนวนรวม 25 ล้านคน จึงมีการนำเสนอเรื่องของการทำพาสปอร์ตร่วม 6 ประเทศ คือถือหนังสือเดินทางเล่มเดียวเที่ยวได้ทั้งลุ่มแม่น้ำโขง ตั้งเป้าหมายว่าจะช่วยให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มเป็น 50 ล้านคนได้ในปี 2555 แต่จากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนเป้าหมายของโครงการนี้เป็นปี 2558
นอกจากนั้นยังมีแผนการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางเรือร่วมกัน เช่น ครุซทัวร์ริสซึม มีประเทศสิงคโปรเป็นเจ้าภาพ พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวทางเรือสำราญขนาดใหญ่ในอ่าวไทย ผ่านประเทศไทย ที่ จ.ประจวบฯ และเพชรบุรี โดยมีท่าเรือขนาดใหญ่รองรับ จากนั้นไปแวะที่ท่าเรืออู่ตะเภา ก่อนเดินทางต่อไปยังประเทศกัมพูชา ที่สีพนุวิว
***จับมือพม่าพัฒนาแหล่งดำน้ำ***
นอกจากนั้นมีโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยได้จะจับมือกับประเทศพม่า พัฒนาแหล่งดำนำเชื่อมโยงจากเกาะมะริด ลงมาถึงชายฝั่งทะเลของไทย ที่ ระนอง กระบี่ ภูเก็ต และ พังงา ซึ่งโครงการนี้จะช่วยเหลือประเทศพม่าได้ดี เพราะเกาะมะริด ประเทศพม่า มีธรรมชาติที่สวยงาม แต่ยังขาดเรื่องโรงแรมที่พัก และระบบคมนาคม ซึ่งไทยก็จะได้ประโยชน์ในส่วนนี้ด้วย ดังนั้นภาพรวมของการส่งเสริมการท่องเที่ยวใน 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง จะเน้นการให้มีการเดินทางทุกรูปแบบ ทั้งทางน้ำ รถยนต์ และทางอากาศ ผ่านสายการบินโลว์คอสต์ขึ้นอยู่กับงบประมาณของนักท่องเที่ยว
อย่างไรก็ตามความคืบหน้าการจัดตั้งสำนักงานอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งประเดิมที่ประเทศไทยเป็นออฟฟิศ แห่งแรกนั้น ล่าสุดได้มีการคัดเลือกผู้อำนวยการคนใหม่สัญชาติอเมริกันเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเงื่อนไขคือทุกประเทศจะลงขันจ่ายเงินประเทศละ 1.5 หมื่นดอลลาร์สหรัฐ เพื่อใช้จัดกิจกรรมส่งเสริมต่าง แต่ภารกิจของผู้อำนวยการ
ก็จะต้องหาเม็ดเงินเข้ามาเพื่อเติมเพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น
นางสาว ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ในเวทีการประชุมผู้นำอาเซียน +3+6 ที่รัฐบาลไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมที่ จ.ภูเก็ต ในเดือนมิถุนายนนี้ ในส่วนของกระทรวงการท่องเที่ยว เตรียมเสนอเรื่องความร่วมมือกับกลุ่มประเทศอาเซียนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกัน แต่ประเด็นสำคัญที่จะนำเสนอในที่ประชุมคือเรื่องของการสื่อสารในภาวะวิกฤต เพราะสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยสิ่งที่จะก่อให้เกิดภาวะวิกฤตกับภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในขณะนี้ มี 3 ด้านหลัก ได้แก่ ภัยธรรมชาติ ความขัดแย้งทางการเมืองที่นำไปสู่การจลาจล และปัญหาโรคระบาด
ทั้ง 3 ด้านดังกล่าว ล้วนต้องใช้การทำงานด้านการสื่อสารให้ข้อมูล ด้วยวิธีการประชาสัมพันธ์ในด้านต่างๆ เพื่อเรียกความมั่นใจของนักท่องเที่ยวและนักลงทุนให้กลับคืนมาโดยเร็วที่สุด ซึ่งถือเป็นหน้าที่หลักของกระทรวงการท่องเที่ยว ส่วนเรื่องของวิธีการแก้ไขปัญหาต้องขึ้นอยู่กับว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงใด เช่นล่าสุดการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 ซึ่งเป็นภารกิจของกระทรวงสาธารณะสุข ที่จะดำเนินการในเรื่องของการเฝ้าระวัง และการควบคุมโรคติดต่อ ส่วนกระทรวงการท่องเที่ยวจะเป็นผู้สื่อสารสิ่งที่กระทรวงสาธารณะสุขได้ทำนั้น ออกไปนำเสนอแก่นักท่องเที่ยวให้ได้มากที่สุด เพื่อสร้างความเข้าใจและมั่นใจ
นอกจากนั้นยังเตรียมนำเสนอโครงการอื่นๆ ที่กระทรวงการท่องเที่ยวฯ เป็นผู้ริเริ่ม ได้แก่ โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มเยาวชน ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ด้วยงบประมาณ 153 ล้านบาท จัดเป็นกรุ๊ปนำเที่ยวฟรี เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถยนต์ และกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ ,โครงการจับมือกับประเทศใกล้เคียง
จัดโปรแกรมส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกัน(Connectivity) ได้แก่ งาน อาเซียน ยูท เกมส์ จัดที่ประเทศสิงคโปร์ในเดือนมิ.ย.นี้ ก็จะจัดทริปพานักท่องเที่ยวมาประเทศไทยด้วย
ขณะที่งาน“เอเชี่ยนมาร์เชียลอาร์ทเกมส์" ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ก็จะจัดทริปพานักท่องเที่ยวไปสิงคโปร์เช่นกัน ,โครงการจัดทำแผนที่ท่องเที่ยวทางรถยนต์ ในภูมิภาคอาเซียนหรือโรดแมป จัดทำป้ายบอกทางและสัญลักษณ์ที่เป็นสากล และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ แก่นักท่องเที่ยวระหว่างการเดินทาง เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีเรื่องของโครงการเพิ่มพูนนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ ซึ่งในที่นี้ไม่ได้หมายความแค่นักท่องเที่ยวระดับไฮเอนด์ แต่จะครอบคลุมถึงนักท่องเที่ยวกลุ่มรักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การมุ่งมั่นในการดูแลช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวในทุกรูปแบบ ขจัดและป้องกันนักท่องเที่ยวแอบแฝง เช่น กลุ่มที่เดินทางเข้ามาเพื่อค้าประเวณี หรือ ค้ายาเสพติด เป็นต้น
****ขีดเส้นทางท่องเที่ยวก่อนโปรโมท*****
นางสาว ศศิธารา ยังกล่าวถึงการประชุม ระดับรัฐมนตรี 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง(GMS) ครั้งที่ 15 โดยประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมผู้นำอาวุโส วันที่ 17-19 มิ.ย.นี้ ที่หัวหิน ว่า สิ่งที่ประเทศไทยจะนำเสนอในการประชุมคือ การจัดเตรียมเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก อาทิ พม่า ไทย ลาว เวียดนาม และเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้อาทิ ไทย มาเลเซีย บรูไน ภายใต้โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 14 คลัสเตอร์ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างเส้นทางแผนที่การเดินทาง พร้อมรายละเอียดสถานที่สำคัญที่เส้นทางนั้นๆจะพาดผ่าน เช่น แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร รวมถึงการค้าขาย พืชเศรษฐกิจ และทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ โดยจะต้องใช้แนวทางการค้าการลงทุนเป็นตัวนำ ตามด้วยแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
พร้อมตั้งชื่อเส้นทางตามจุดเด่นแต่ละพื้นที่ เพื่อใช้เป็นจุดขายทางการท่องเที่ยว เช่น เส้นทาง แม่สอด เชื่อประเทศไทยและพม่า จะเป็นเส้นทางอัญมณี เป็นต้น ซึ่งในอดีตก็มีการตั้งชื่อตามจุดเด่นสำคัญ เช่น เส้นทางแพรไหม(ซิล รูท) เส้นทางเครื่องเทศ(สไปซี่รูท) เป็นต้น ซึ่งการตั้งชื่อตามเส้นทางจะช่วยให้หน่วยงานของรัฐได้โฟกัสที่จะทำการพัฒนาสิ่งต่างในแต่ละเส้นทางได้ถูกต้อง เช่น เส้นทางบุญ ก็จะมีการพัฒนาวัด และ ศาสนสถาน เป็นต้น
"เราต้องส่งเสริมให้เกิดการเดินทางตามแนวด่านชายแดนให้มากขึ้น เรามีด่านเข้าเมืองจำนวนมากถึง 27 ด่าน ทั่วประเทศ ซึ่งหากมีการส่งเสริมที่ดี จะช่วยเกื้อหนุนในเรื่องของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทย เห็นได้ชัดเจนจากเมื่อปี 2551 ซึ่งหากใช้ตัวเลขนักท่องเที่ยวแค่สนามบินสุวรรณภูมิ อาจติดลบได้ แต่เมื่อรวมทั้ง 27 ด่าน ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งปียังคงเติบโตที่ 0.5% ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวคิดขององค์การท่องเที่ยวโลก ที่ยืนยันว่า พฤติกรรมนักท่องเที่ยวหันมาเดินทางภายในภูมิภาคมากขึ้น ชูประเทศในกลุ่มยุโรป เป็นตัวอย่าง "
*** เศรษฐกิจโลกกระทบต้องยืดระยะเวลาเป้าหมาย ***
ปัจจุบันสัดส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางโดยรถยนต์ผ่านด่านชายแดนมีประมาณ 20% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด ซึ่งการร่วมมือของ 6 ประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง จะเน้นเรื่องการส่งเสริมการเดินทางผ่านด่านชายแดนให้มากขึ้นเพราะต่อปีจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงเป็นจำนวนรวม 25 ล้านคน จึงมีการนำเสนอเรื่องของการทำพาสปอร์ตร่วม 6 ประเทศ คือถือหนังสือเดินทางเล่มเดียวเที่ยวได้ทั้งลุ่มแม่น้ำโขง ตั้งเป้าหมายว่าจะช่วยให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มเป็น 50 ล้านคนได้ในปี 2555 แต่จากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนเป้าหมายของโครงการนี้เป็นปี 2558
นอกจากนั้นยังมีแผนการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางเรือร่วมกัน เช่น ครุซทัวร์ริสซึม มีประเทศสิงคโปรเป็นเจ้าภาพ พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวทางเรือสำราญขนาดใหญ่ในอ่าวไทย ผ่านประเทศไทย ที่ จ.ประจวบฯ และเพชรบุรี โดยมีท่าเรือขนาดใหญ่รองรับ จากนั้นไปแวะที่ท่าเรืออู่ตะเภา ก่อนเดินทางต่อไปยังประเทศกัมพูชา ที่สีพนุวิว
***จับมือพม่าพัฒนาแหล่งดำน้ำ***
นอกจากนั้นมีโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยได้จะจับมือกับประเทศพม่า พัฒนาแหล่งดำนำเชื่อมโยงจากเกาะมะริด ลงมาถึงชายฝั่งทะเลของไทย ที่ ระนอง กระบี่ ภูเก็ต และ พังงา ซึ่งโครงการนี้จะช่วยเหลือประเทศพม่าได้ดี เพราะเกาะมะริด ประเทศพม่า มีธรรมชาติที่สวยงาม แต่ยังขาดเรื่องโรงแรมที่พัก และระบบคมนาคม ซึ่งไทยก็จะได้ประโยชน์ในส่วนนี้ด้วย ดังนั้นภาพรวมของการส่งเสริมการท่องเที่ยวใน 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง จะเน้นการให้มีการเดินทางทุกรูปแบบ ทั้งทางน้ำ รถยนต์ และทางอากาศ ผ่านสายการบินโลว์คอสต์ขึ้นอยู่กับงบประมาณของนักท่องเที่ยว
อย่างไรก็ตามความคืบหน้าการจัดตั้งสำนักงานอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งประเดิมที่ประเทศไทยเป็นออฟฟิศ แห่งแรกนั้น ล่าสุดได้มีการคัดเลือกผู้อำนวยการคนใหม่สัญชาติอเมริกันเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเงื่อนไขคือทุกประเทศจะลงขันจ่ายเงินประเทศละ 1.5 หมื่นดอลลาร์สหรัฐ เพื่อใช้จัดกิจกรรมส่งเสริมต่าง แต่ภารกิจของผู้อำนวยการ
ก็จะต้องหาเม็ดเงินเข้ามาเพื่อเติมเพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น