ส.การตลาดฯ ชี้ วิกฤตเศรษฐกิจกระทบคนไทยเริ่มรัดเข็มขัด เปลี่ยนพฤติกรรมอยู่บ้านแทนใช้ชีวิตนอกบ้าน แนะนักการตลาดปรับตัวขุดขุมทองโลกดิจิตอล อาศัยช่องทางใหม่บุกผู้บริโภคยันที่บ้าน ระบุพิษการเมืองพ่นตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคเดี้ยงโตแค่ 1-2% จับตาพฤติกรรมคนไทยแห่ซื้อสินค้าลดลง โปรโมชันอย่างเดียว สะท้อนกำลังการซื้อสุดแย่ ชงภาครัฐเร่งฟื้นส่งออก-การท่องเที่ยว หวังอุ้มเศรษฐกิจไทย
นางสาวลักขณา ลีละยุทธโยธิน อดีตนายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย และประธานกรรมการบริหาร ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท เซเรบอส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในการบรรยายในเรื่อง “Marketing & Customer Strategies during the economic slowdown” ว่า ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ซึ่งพบว่าการส่งออกติดลบ 20% ส่วนกำลังการซื้อของผู้บริโภคไม่ค่อยดีมากนักอีกทั้งยังพบว่าความเชื่อมั่นลดลงต่ำสุดในรอบ 3 ปี ทำให้พฤติกรรมของคนไทยเริ่มรัดเข็มขัดมากขึ้น และเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์มาอยู่ที่บ้านแทนการใช้ชีวิตนอกบ้าน
จากการสำรวจพบว่า คนไทย 58% ต้องการออมเงินมากขึ้น หลังจากซื้อสินค้าที่ตนเองสนใจ และ 40% กังวลในเรื่องของภาวะเศรษฐกิจ และ 80% มองว่า ต้องประหยัดรายจ่ายอาหาร เครื่องสำอาง และเสื้อผ้า ส่วน 40% ซื้อสินค้าเพราะมีโปรโมชัน และ 26% ซื้อสินค้าที่มีตำหนิ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้บริโภคจะระมัดระวังการจับจ่ายใช้ แต่การสร้างแบรนด์ หรือตอกย้ำแบรนด์ยังเป็นกลยุทธ์การตลาดที่ต้องดำเนินอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากพบว่า คนกรุงเทพฯ อายุระหว่าง 30-39 ปี มีความวิตกเกี่ยวกับเศรษฐกิจ แต่ยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าที่มีแบรนด์ เป็นต้น
***นักการตลาดขุดทองโลกออนไลน์***
นางสาวลักขณา กล่าวว่า นักการตลาดต้องปรับกลยุทธ์การตลาด เพื่อรองรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง โดยอาศัยช่องทางการตลาดใหม่ๆ อาทิ ช่องทางผ่านทาง อี-คอมเมิร์ซ ซึ่งจากการสำรวจผู้บริโภคในปี 2551 มีถึง 2.6 หมื่นคน ขณะที่มูลค่าธุรกิจพุ่งกว่า 4 แสนล้านบาท และคาดว่าปีนี้จะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอีก หรือกระทั่งปรับตัวเข้าหาพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีไลฟ์สไตล์อยู่ที่บ้านให้มากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม บันเทิง และสินค้าซ่อมแซมบ้าน เป็นตลาดที่มีศักยภาพเป็นอย่างมาก
สำหรับสินค้าที่ยังคงเป็นดาวรุ่งและไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ มีด้วยกัน 5 กลุ่ม ได้แก่ สินค้าเด็ก เครื่องสำอาง สินค้าผู้หญิง อีคอมเมิร์ซ และสินค้าซ่อมแซมบ้าน ส่วนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ คือ สินค้าฟุ่มเฟือย อาทิ รถยนต์
อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้นักการตลาด คงต้องหันมาเน้นรักษาฐานลูกค้าเก่าเป็นหลัก เพราะไม่ต้องใช้งบการตลาดมากนัก เมื่อเทียบกับการขยายฐานลูกค้าใหม่ต้องใช้งบการตลาดถึง 5 เท่า อีกทั้งจากการสำรวจพบว่า 58% ใช้สินค้าใหม่แต่เป็นแบรนด์เดิม และมีเพียง 3% เท่านั้นที่ต้องการทดลองใช้สินค้าแบรนด์ใหม่ ขณะเดียวกันต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กรให้มีความแข็งแกร่งและการพัฒนาความสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์กับพันธมิตร
***ตลาดคอนซูเมอร์เดี้ยง 1-2%
นายสมบุญ ประสิทธิ์จูตระกูล นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตค่อนข้างชะลอตัว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง แม้ว่าในช่วงเดือน ม.ค.จะเริ่มมีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น
แต่หลังจากเดือน ก.พ.-มี.ค.กำลังซื้อของผู้บริโภคก็เริ่มชะลอตัว จึงส่งผลให้ภาพรวมไตรมาสแรกของตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคเติบโตไม่ดีนักเช่นเดียวกับเดือน เม.ย.นี้ที่มีการชุมนุมประท้วงจนถึงขั้นรุนแรง ซึ่งจากปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว ทำให้คาดการณ์ว่าสิ้นปีนี้ภาพรวมสินค้าอุปโภคบริโภคน่าจะมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 1-2% ลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะเติบโตได้ที่ 4-5%
สำหรับกำลังการซื้อลดลงเฉพาะผู้บริโภคเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เนื่องจากกลุ่มคนดังกล่าวมีความอ่อนไหวกับปัญหาทางการเมืองค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดต่างจังหวัด เพราะจากผลการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดต่างจังหวัด พบว่ายังมีกำลังซื้อที่ค่อนข้างดี เนื่องจากพืชผลทางการเกษตรยังคงอยู่ในระดับที่น่าพอใจ แม้ว่าจะมีการปรับตัวลดลงมาบ้าง
นายสมบุญ กล่าวว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีการซื้อสินค้าลดลง และซื้อสินค้าเท่าที่จำเป็น ในขณะที่บางคนซื้อสินค้าเฉพาะที่มีการจัดโปรโมชัน ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องมีการปรับตัว เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคและกระตุ้นตลาดให้มีการเติบโต เนื่องจากปัจจุบันตลาดคอนซูเมอร์เล็กลงไปมาก เพราะผู้บริโภคชะลอกำลังซื้อและซื้อน้อยลง
สำหรับประเภทของสินค้าและแบรนด์สินค้าอุปโภคบริโภคที่จะอยู่ในตลาดได้ท่ามกลางปัจจัยลบที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้คือ ต้องการออกมาทำการตลาดที่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างสินค้าให้มีความต่างจากคู่แข่งในตลาด เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ เพราะจากปัจจุบันการเปิดตัวสินค้าใหม่เพื่อขยายฐานลูกค้าใหม่ทำได้ค่อนข้างยากพร้อมกันนี้ผู้ประกอบการควรมีการติดตามพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างใกล้ชิด เพื่อนำพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปมาปรับเป็นกลยุทธทางการตลาด
“สิ่งที่ภาครัฐต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือ การโปรโมตส่งออกและการท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้ามาประเทศไทยเหมือนเดิม เพราะธุรกิจดังกล่าวสามารถกระตุ้นให้อีกหลายธุรกิจมีการขับเคลื่อน ซึ่งถ้าหากภาครัฐสามารถจัดให้มีการประชุมผู้นำอาเซียน +6 +3 รอบ 2 ให้เกิดขึ้นได้เชื่อว่าจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวและนักลงทุนกลับคืนมา”
นางสาวลักขณา ลีละยุทธโยธิน อดีตนายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย และประธานกรรมการบริหาร ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท เซเรบอส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในการบรรยายในเรื่อง “Marketing & Customer Strategies during the economic slowdown” ว่า ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ซึ่งพบว่าการส่งออกติดลบ 20% ส่วนกำลังการซื้อของผู้บริโภคไม่ค่อยดีมากนักอีกทั้งยังพบว่าความเชื่อมั่นลดลงต่ำสุดในรอบ 3 ปี ทำให้พฤติกรรมของคนไทยเริ่มรัดเข็มขัดมากขึ้น และเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์มาอยู่ที่บ้านแทนการใช้ชีวิตนอกบ้าน
จากการสำรวจพบว่า คนไทย 58% ต้องการออมเงินมากขึ้น หลังจากซื้อสินค้าที่ตนเองสนใจ และ 40% กังวลในเรื่องของภาวะเศรษฐกิจ และ 80% มองว่า ต้องประหยัดรายจ่ายอาหาร เครื่องสำอาง และเสื้อผ้า ส่วน 40% ซื้อสินค้าเพราะมีโปรโมชัน และ 26% ซื้อสินค้าที่มีตำหนิ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้บริโภคจะระมัดระวังการจับจ่ายใช้ แต่การสร้างแบรนด์ หรือตอกย้ำแบรนด์ยังเป็นกลยุทธ์การตลาดที่ต้องดำเนินอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากพบว่า คนกรุงเทพฯ อายุระหว่าง 30-39 ปี มีความวิตกเกี่ยวกับเศรษฐกิจ แต่ยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าที่มีแบรนด์ เป็นต้น
***นักการตลาดขุดทองโลกออนไลน์***
นางสาวลักขณา กล่าวว่า นักการตลาดต้องปรับกลยุทธ์การตลาด เพื่อรองรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง โดยอาศัยช่องทางการตลาดใหม่ๆ อาทิ ช่องทางผ่านทาง อี-คอมเมิร์ซ ซึ่งจากการสำรวจผู้บริโภคในปี 2551 มีถึง 2.6 หมื่นคน ขณะที่มูลค่าธุรกิจพุ่งกว่า 4 แสนล้านบาท และคาดว่าปีนี้จะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอีก หรือกระทั่งปรับตัวเข้าหาพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีไลฟ์สไตล์อยู่ที่บ้านให้มากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม บันเทิง และสินค้าซ่อมแซมบ้าน เป็นตลาดที่มีศักยภาพเป็นอย่างมาก
สำหรับสินค้าที่ยังคงเป็นดาวรุ่งและไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ มีด้วยกัน 5 กลุ่ม ได้แก่ สินค้าเด็ก เครื่องสำอาง สินค้าผู้หญิง อีคอมเมิร์ซ และสินค้าซ่อมแซมบ้าน ส่วนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ คือ สินค้าฟุ่มเฟือย อาทิ รถยนต์
อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้นักการตลาด คงต้องหันมาเน้นรักษาฐานลูกค้าเก่าเป็นหลัก เพราะไม่ต้องใช้งบการตลาดมากนัก เมื่อเทียบกับการขยายฐานลูกค้าใหม่ต้องใช้งบการตลาดถึง 5 เท่า อีกทั้งจากการสำรวจพบว่า 58% ใช้สินค้าใหม่แต่เป็นแบรนด์เดิม และมีเพียง 3% เท่านั้นที่ต้องการทดลองใช้สินค้าแบรนด์ใหม่ ขณะเดียวกันต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กรให้มีความแข็งแกร่งและการพัฒนาความสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์กับพันธมิตร
***ตลาดคอนซูเมอร์เดี้ยง 1-2%
นายสมบุญ ประสิทธิ์จูตระกูล นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตค่อนข้างชะลอตัว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง แม้ว่าในช่วงเดือน ม.ค.จะเริ่มมีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น
แต่หลังจากเดือน ก.พ.-มี.ค.กำลังซื้อของผู้บริโภคก็เริ่มชะลอตัว จึงส่งผลให้ภาพรวมไตรมาสแรกของตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคเติบโตไม่ดีนักเช่นเดียวกับเดือน เม.ย.นี้ที่มีการชุมนุมประท้วงจนถึงขั้นรุนแรง ซึ่งจากปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว ทำให้คาดการณ์ว่าสิ้นปีนี้ภาพรวมสินค้าอุปโภคบริโภคน่าจะมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 1-2% ลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะเติบโตได้ที่ 4-5%
สำหรับกำลังการซื้อลดลงเฉพาะผู้บริโภคเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เนื่องจากกลุ่มคนดังกล่าวมีความอ่อนไหวกับปัญหาทางการเมืองค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดต่างจังหวัด เพราะจากผลการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดต่างจังหวัด พบว่ายังมีกำลังซื้อที่ค่อนข้างดี เนื่องจากพืชผลทางการเกษตรยังคงอยู่ในระดับที่น่าพอใจ แม้ว่าจะมีการปรับตัวลดลงมาบ้าง
นายสมบุญ กล่าวว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีการซื้อสินค้าลดลง และซื้อสินค้าเท่าที่จำเป็น ในขณะที่บางคนซื้อสินค้าเฉพาะที่มีการจัดโปรโมชัน ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องมีการปรับตัว เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคและกระตุ้นตลาดให้มีการเติบโต เนื่องจากปัจจุบันตลาดคอนซูเมอร์เล็กลงไปมาก เพราะผู้บริโภคชะลอกำลังซื้อและซื้อน้อยลง
สำหรับประเภทของสินค้าและแบรนด์สินค้าอุปโภคบริโภคที่จะอยู่ในตลาดได้ท่ามกลางปัจจัยลบที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้คือ ต้องการออกมาทำการตลาดที่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างสินค้าให้มีความต่างจากคู่แข่งในตลาด เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ เพราะจากปัจจุบันการเปิดตัวสินค้าใหม่เพื่อขยายฐานลูกค้าใหม่ทำได้ค่อนข้างยากพร้อมกันนี้ผู้ประกอบการควรมีการติดตามพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างใกล้ชิด เพื่อนำพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปมาปรับเป็นกลยุทธทางการตลาด
“สิ่งที่ภาครัฐต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือ การโปรโมตส่งออกและการท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้ามาประเทศไทยเหมือนเดิม เพราะธุรกิจดังกล่าวสามารถกระตุ้นให้อีกหลายธุรกิจมีการขับเคลื่อน ซึ่งถ้าหากภาครัฐสามารถจัดให้มีการประชุมผู้นำอาเซียน +6 +3 รอบ 2 ให้เกิดขึ้นได้เชื่อว่าจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวและนักลงทุนกลับคืนมา”