“ชาญชัย” เตรียมเสนอ ครม.เศรษฐกิจออกมาตรการช่วยเหลือสภาพคล่องธุรกิจด้วยการยืดเวลาการชำระหนี้สินเชื่อธุรกิจสูงสุดไม่เกิน 15 ปีเป็น 25 ปี ภาคเอกชนครวญรายได้ลดกระทบต่อการชำระหนี้ แถมสถาบันการเงินไม่ยอมปล่อยกู้เพิ่ม
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอุตสาหกรรม เปิดเผยหลังการสัมมนาเรื่อง ผู้ประกอบการไทยอยู่รอดได้อย่างไร ? ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจ วานนี้ (4 พ.ค.) ว่า เร็วๆ นี้ กระทรวงอุตสาหกรรมจะเสนอคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ครม.) เพื่อหามาตรการช่วยเหลือสภาพคล่องเอกชน ด้วยการให้พิจารณาความเป็นไปได้ ในการยืดเวลาการชำระหนี้สินเชื่อธุรกิจสูงสุดไม่เกิน 25 ปี จากปกติสูงสุดไม่เกิน 15ปีซึ่งประเด็นดังกล่าวเอกชนได้เป็นผู้เสนอผ่านมายังกระทรวงอุตสาหกรรมเนื่องจากขณะนี้ภาคการผลิตประสบปัญหารายได้ที่ลดลงจากวิกฤติเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจึงไม่มีความสามารถในการชำระเงินได้เช่นอดีตที่ผ่านมา
“ เราเห็นว่าแบงก์รัฐน่าจะสามารถนำร่องได้ก่อนเพราะธุรกิจขาดสภาพคล่องก็จะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจต่อไป กระทบต่อการจ้างงาน กระทรวงอุตสาหกรรมได้ของบประมาณปี 2553 วงเงิน 1.8 หมื่นล้านบาทเพื่อที่จะนำมาสร้างความเชื่อมั่นการลงทุนและพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ยอมรับว่าหากได้รับจัดสรรที่ต่ำก็คงทำได้เท่าที่ทำ” นายชาญชัยกล่าว
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)กล่าวว่า ภาคธุรกิจมีผลกระทบต่อรายได้ที่ลดต่ำจากผลกระทบของยอดขายและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ลดตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งหากรัฐบาลผ่อนปรนการยืดเวลาชำระเงินต้นออกไปก็จะส่งผลให้ภาคธุรกิจมีสภาพคล่องที่ดีขึ้นโดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี)
นายสุรชัย กำพลานนท์วัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมหรือเอสเอ็มอีแบงก์ กล่าวว่า หากรัฐบาลมีนโยบายในการยืดเวลาการชำระหนี้เงินต้นก็จะเป็นผลดีต่อสภาพคล่องของภาคธุรกิจซึ่งเอสเอ็มอีแบงก์ปัจจุบันก็ได้มีการเจรจากับลูกค้าแต่ละรายในการยืดเวลาชำระหนี้อยู่แล้วแต่สูงสุดจะไม่เกิน 15ปีขึ้นอยู่กับรายได้และวงเงินสินเชื่อ
ชี้สังคมอ่อนแอ ศก.ไทยเติบโตยาก
นายดุสิต นนทะนาคร ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า เอกชนโชคร้ายที่เจอภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวแล้วยังเจอปัจจัยการเมือง และไข้หวัดใหญ่เม็กซิโกเข้ามาซ้ำเติมอีกจึงทำให้ภาพรวมของสังคมไทยอ่อนแอซึ่งประเด็นนี้คงไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจไทยเจริญต่อไปได้หากยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปจึงต้องการให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันแก้ไขความขัดแย้งของสังคมให้ยุติลงไปเพื่อให้เศรษฐกิจไทยกลับมาเข้มแข็งเช่นเดิม
สำหรับสภาพคล่องนั้นภาวะวิกฤติต้องยอมรับว่ามีผลกระทบให้สถาบันการเงินเข้มงวดการปล่อยกู้เพิ่มขึ้นมากซึ่งเอกชนจึงต้องประหยัดต้นทุนทุกด้าน การเจรจายืดหนี้เห็นว่าสถาบันการเงินควรจะต้องผ่อนปรนมากขึ้น ซึ่งทุกฝ่ายต้องทำใจว่าเศรษฐกิจโลกเองยังติดลบดังนั้นเศรษฐกิจไทยปีนี้ต้องติดลบแน่นอนแต่อย่าบั่นทอนจิตใจด้วยการมุ่งเน้นแต่ว่าจะติดลบเท่าใดแน่
“เอกชนจะต้องปรับตัวอย่างมากให้อยู่รอดได้จะต้องพึ่งตนเองก่อนสินค้าจะต้องมีการเจาะตลาดให้ถึงเป้าหมายโดยดูจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงเช่น ที่สหรัฐประชาชนเริ่มหันมาใช้สินค้าราคาถูกลง เป็นต้น”นายดุสิตกล่าว
อุตฯ ไฟฟ้าคาดรับคนงานใหม่ได้ปี 53
นายขัติยา ไกรกาญจน์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ส.อ.ท.) กล่าวว่า หากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวในช่วงปลายปีนี้เชื่อว่าอุตสาหกรรมนี้เฉลี่ยทั้งปีจะติดลบประมาณ 20-25 % จากเดิมที่คาดไว้จะติดลบมากกว่า 30-40 % อย่างไรก็ตามไม่ต้องการให้สถานการณ์การเมืองกลับมาร้อนแรงอีกครั้ง เพราะจะทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจในประเทศมีปัญหา
จึงอยากให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงผลกระทบที่จะตามมาอีกมากมาย
“ กลุ่มอุตสาหกรรมนี้จำเป็นต้องปลดคนงานกว่า 20,000-30,000 คนไปแล้วจากคำสั่งซื้อที่ลดลง 30-40% ส่งผลให้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมนี้เหลือประมาณ 490,000-500,000 คน และปีนี้เท่าที่มีการสอบถามจะยังไม่เปิดรับคนงานใหม่ แต่เชื่อว่าเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว จะมีการเปิดรับพนักงานใหม่เพิ่มใกล้เคียงกับช่วงที่มีการปรับลด และคาดว่าจะเริ่มเปิดรับได้ช่วงต้นปี 2553 เป็นต้นไป “นายขัติยากล่าว
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอุตสาหกรรม เปิดเผยหลังการสัมมนาเรื่อง ผู้ประกอบการไทยอยู่รอดได้อย่างไร ? ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจ วานนี้ (4 พ.ค.) ว่า เร็วๆ นี้ กระทรวงอุตสาหกรรมจะเสนอคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ครม.) เพื่อหามาตรการช่วยเหลือสภาพคล่องเอกชน ด้วยการให้พิจารณาความเป็นไปได้ ในการยืดเวลาการชำระหนี้สินเชื่อธุรกิจสูงสุดไม่เกิน 25 ปี จากปกติสูงสุดไม่เกิน 15ปีซึ่งประเด็นดังกล่าวเอกชนได้เป็นผู้เสนอผ่านมายังกระทรวงอุตสาหกรรมเนื่องจากขณะนี้ภาคการผลิตประสบปัญหารายได้ที่ลดลงจากวิกฤติเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจึงไม่มีความสามารถในการชำระเงินได้เช่นอดีตที่ผ่านมา
“ เราเห็นว่าแบงก์รัฐน่าจะสามารถนำร่องได้ก่อนเพราะธุรกิจขาดสภาพคล่องก็จะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจต่อไป กระทบต่อการจ้างงาน กระทรวงอุตสาหกรรมได้ของบประมาณปี 2553 วงเงิน 1.8 หมื่นล้านบาทเพื่อที่จะนำมาสร้างความเชื่อมั่นการลงทุนและพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ยอมรับว่าหากได้รับจัดสรรที่ต่ำก็คงทำได้เท่าที่ทำ” นายชาญชัยกล่าว
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)กล่าวว่า ภาคธุรกิจมีผลกระทบต่อรายได้ที่ลดต่ำจากผลกระทบของยอดขายและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ลดตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งหากรัฐบาลผ่อนปรนการยืดเวลาชำระเงินต้นออกไปก็จะส่งผลให้ภาคธุรกิจมีสภาพคล่องที่ดีขึ้นโดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี)
นายสุรชัย กำพลานนท์วัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมหรือเอสเอ็มอีแบงก์ กล่าวว่า หากรัฐบาลมีนโยบายในการยืดเวลาการชำระหนี้เงินต้นก็จะเป็นผลดีต่อสภาพคล่องของภาคธุรกิจซึ่งเอสเอ็มอีแบงก์ปัจจุบันก็ได้มีการเจรจากับลูกค้าแต่ละรายในการยืดเวลาชำระหนี้อยู่แล้วแต่สูงสุดจะไม่เกิน 15ปีขึ้นอยู่กับรายได้และวงเงินสินเชื่อ
ชี้สังคมอ่อนแอ ศก.ไทยเติบโตยาก
นายดุสิต นนทะนาคร ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า เอกชนโชคร้ายที่เจอภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวแล้วยังเจอปัจจัยการเมือง และไข้หวัดใหญ่เม็กซิโกเข้ามาซ้ำเติมอีกจึงทำให้ภาพรวมของสังคมไทยอ่อนแอซึ่งประเด็นนี้คงไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจไทยเจริญต่อไปได้หากยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปจึงต้องการให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันแก้ไขความขัดแย้งของสังคมให้ยุติลงไปเพื่อให้เศรษฐกิจไทยกลับมาเข้มแข็งเช่นเดิม
สำหรับสภาพคล่องนั้นภาวะวิกฤติต้องยอมรับว่ามีผลกระทบให้สถาบันการเงินเข้มงวดการปล่อยกู้เพิ่มขึ้นมากซึ่งเอกชนจึงต้องประหยัดต้นทุนทุกด้าน การเจรจายืดหนี้เห็นว่าสถาบันการเงินควรจะต้องผ่อนปรนมากขึ้น ซึ่งทุกฝ่ายต้องทำใจว่าเศรษฐกิจโลกเองยังติดลบดังนั้นเศรษฐกิจไทยปีนี้ต้องติดลบแน่นอนแต่อย่าบั่นทอนจิตใจด้วยการมุ่งเน้นแต่ว่าจะติดลบเท่าใดแน่
“เอกชนจะต้องปรับตัวอย่างมากให้อยู่รอดได้จะต้องพึ่งตนเองก่อนสินค้าจะต้องมีการเจาะตลาดให้ถึงเป้าหมายโดยดูจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงเช่น ที่สหรัฐประชาชนเริ่มหันมาใช้สินค้าราคาถูกลง เป็นต้น”นายดุสิตกล่าว
อุตฯ ไฟฟ้าคาดรับคนงานใหม่ได้ปี 53
นายขัติยา ไกรกาญจน์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ส.อ.ท.) กล่าวว่า หากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวในช่วงปลายปีนี้เชื่อว่าอุตสาหกรรมนี้เฉลี่ยทั้งปีจะติดลบประมาณ 20-25 % จากเดิมที่คาดไว้จะติดลบมากกว่า 30-40 % อย่างไรก็ตามไม่ต้องการให้สถานการณ์การเมืองกลับมาร้อนแรงอีกครั้ง เพราะจะทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจในประเทศมีปัญหา
จึงอยากให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงผลกระทบที่จะตามมาอีกมากมาย
“ กลุ่มอุตสาหกรรมนี้จำเป็นต้องปลดคนงานกว่า 20,000-30,000 คนไปแล้วจากคำสั่งซื้อที่ลดลง 30-40% ส่งผลให้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมนี้เหลือประมาณ 490,000-500,000 คน และปีนี้เท่าที่มีการสอบถามจะยังไม่เปิดรับคนงานใหม่ แต่เชื่อว่าเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว จะมีการเปิดรับพนักงานใหม่เพิ่มใกล้เคียงกับช่วงที่มีการปรับลด และคาดว่าจะเริ่มเปิดรับได้ช่วงต้นปี 2553 เป็นต้นไป “นายขัติยากล่าว