xs
xsm
sm
md
lg

กก.ศึกษาแก้รธน.ถก7พ.ค.นี้ มาร์คไม่ห่วงกระแสคัดค้าน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี ในฐานะประธานคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง

และศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าวถึง การประชุมนอกรอบอย่างไม่เป็นทางการของกรรมการฯ ว่าจะนัด

ประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกในวันที่ 7 พ.ค. เวลา 13.30 น. เพื่อกำหนดกรอบการทำงาน ทั้งในส่วนของ

เนื่องหา ระยะเวลา และประเด็นในการศึกษา รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อได้ประเด็นที่ชัดเจนแล้วก็จะ

พิจารณาศึกษาไปทีละประเด็น
"การเสนอประเด็นจะให้เสนอความเห็นเต็มที่ ไม่มีการชี้นำ เราอยากให้คิดกันว่าประเด็นที่เป็น

ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วง 3-4 ปี มีอะไรบ้าง" นายดิเรกกล่าว
ส่วนที่กลุ่มพันธมิตรฯ ออกมาส่งสัญญาณคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คงเป็นคนละส่วนกับที่

เราทำ เราเป็นคณะกรรมการศึกษาการแก้ไขปัญหาในทุกเรื่อง ไม่เฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ สิ่งที่กรรมการ

วิตก และคิดหาทางคือ เมื่อบ้านเมืองอยู่ในวิกฤตเช่นนี้ เราจะมีวิถีทางใดที่จะข้ามผ่านวิกฤติไปได้ คณะ

กรรมการจึงไม่ได้มุ่งประเด็นที่ระยะเวลาเพียงอย่างเดียว
สำหรับกรอบเวลาการทำงานนั้น เดิมประธานรัฐสภาได้กำหนดไว้ 15 วัน ล่าสุดประธานรัฐสภา

ต้องการให้เสร็จโดยเร็ว คณะกรรมการมองว่า ในระยะแรกน่าจะกำหนดกรอบเวลาไว้ประมาณ 45 วัน โดย

คณะกรรมการจะรายงานผลการศึกษาให้ประชาชนทราบเป็นระยะ เพื่อให้ประชาชนทราบว่าสิ่งที่ทำไม่ใช่

เกมซื้อเวลาแต่เป็นการคิดที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาบ้านเมืองอย่างจริงจัง และหากกรอบเวลาไม่พอ คงต้องขอ

ประธานรัฐสภาให้ขยายเวลาออกไป
"ผมเชื่อว่า เรามาถูกทาง ส่วนจะสำเร็จหรือไม่ ว่ากันอีกที ถามว่าหนักใจไหม หนักใจนะ เพราะว่า

วิกฤติการเมืองเกิดขึ้นมา 3-4 ปีแล้ว ไม่ใช่เรื่องง่าย ความหนักใจจึงเป็นธรรมดา แต่เมื่อเห็นจากคำสั่งที่ตั้ง

คณะกรรมการแล้ว เราได้เชิญคู่กรณีทุกฝ่ายเข้ามาทำงาน ให้ทุกคนได้มาแสดงความเห็น หากปัญหาประเด็น

ใดเห็นตรงกัน เราก็นำไปดำเนินการ ประเด็นเห็นไม่ตรงกัน ก็ต้องมาคิดกันว่าที่คิดแบบนั้นทำยังไงจะหา

จุดกลางที่พบกันได้ แล้วเอาจุดนั้นมาทำให้ทุกฝ่ายยอมรับ ถ้าทำให้ทุกคนยอมรับกันไม่ได้ ก็แก้ปัญหาไม่ได้"

นายดิเรกกล่าว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี กลุ่มพันธมิตรฯ แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับ

การแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า อยากจะเชิญชวนทุกส่วนว่า ขณะนี้มีคณะกรรมการของสภาซึ่งเปิดกว้างรับฟังความ

คิดเห็น คิดว่าน่าจะเข้าไปช่วยกันเสนอความเห็นตรงนั้นดีกว่า และอย่าเพิ่งไปคิดว่า กรรมการที่ตั้งขึ้น จะเป็น

อย่างนั้น อย่างนี้ เพราะกรรมการของสภาก็ต้องไปรับฟังความเห็นประชาชนอยู่แล้ว และสุดท้ายผู้แทนฯของ

ประชาชน ก็จะเป็นคนตัดสินใจและรับผิดชอบ
"กรรมการที่มาเป็น เราก็เลือกคนที่คิดว่าจะเป็นที่ยอมรับกันได้ ซึ่งประธานชัย ชิดชอบ ก็บอกว่า

จะพยายามดูแลให้อย่างดีที่สุด และการที่ไม่เลือกจากฝ่ายค้าน หรือฝ่ายรัฐบาล แต่ไปเลือกทางวุฒิสภาก็เพื่อให้

เกิดความรู้สึกว่ามีความเป็นกลางอยู่" นายกรัฐมนตรีกล่าว
เมื่อถามว่า นายกฯให้ความมั่นใจกับสังคมได้หรือไม่ว่าสุดท้ายแล้ว หากส.ส.รัฐบาลจะต้องตัดสิน

ใจยกมือในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะไม่ใช่เพื่อความอยู่รอดของรัฐบาล นายกฯกล่าวว่า เคยพูดแล้วว่าจะ

ต้องเป็นเรื่องที่ต้องฟังความเห็นอีกมาก อย่าเพิ่งไปสรุป หรือมีธงว่าจะต้องเป็นอย่างไร สำหรับตนก็บอกแล้ว

ว่าการตัดสินทั้งหมด จะต้องเป็นประโยชน์กับระบบไม่ใช่เรื่องของตัวบุคคล ส่วนข้อเสนอของใครจะเห็น

อย่างไร หรือเห็นว่าควรแก้ประเด็นไหน ก็ต้องรับฟังกันทุกฝ่าย และมาแลกเปลี่ยนกัน
" วันนี้เราพยายามหากระบวนการว่าทำอย่างไรจะหาทางออกกัน โดยไม่มีความรุนแรงก็น่าจะ

เป็นคำตอบที่ดีที่สุด" เมื่อถามว่าตอนนี้ดูเหมือนความขัดแย้งจะเริ่มเข้าไปสู่สภาแล้ว นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า

ความขัดแย้งมันมีอยู่แล้วทุกส่วนในสังคม วันนี้เรากำลังหาเวทีที่จะสามารถแก้ความขัดแย้ง ซึ่งจำเป็นต้องนำ

ความขัดแย้งมาวางบนชโต๊ะ มากางดูให้ทุกคนได้เห็น ดีกว่าการที่ยังอยู่ในใจคน และเป็นตัวที่ขับเคลื่อนการ

เคลื่อนไหวต่างๆ และนำมาสู่การเผชิญหน้าความรุนแรงอีก
ผู้สื่อข่าวถามว่าที่ผ่านมาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะก่อให้เกิดวิกฤต นายกฯ กล่าวว่าไม่เสมอไปหรอก

เพราะ หลายครั้งที่ผ่านมาก็ประสบความสำเร็จ ไม่ได้มีปัญหา ซึ่งครั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการรับฟังความเห็นจากทุก

ฝ่าย และการใช้เหตุและผล

**"คนพิการคลองเตย"ค้านแก้รธน.
ที่รัฐสภา ตัวแทนชมรมคนพิการพัฒนาตนเองคลองเตย นำโดยนาย อภิเดช เดชวัฒระสกุล

ประธานชมรมฯ ได้เข้ายื่นหนังสือไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต่อนายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว.สรรหา

ในฐานะกมธ. พัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา เพื่อส่งไปให้กับประธานวุฒิสภา

และคณะกรรมการสมานฉันท์ เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
โดยนายอภิเดช กล่าวว่า ทางชมรมฯไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรธน. ในเวลานี้ เนื่องจากปัญหา

ความขัดแย้งของประเทศ ไม่ได้มาจากรัฐธรรมนูญ แต่มาจากนักการเมืองผู้ใช้รัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระ

กระบวนการยุติธรรมต่างๆ อีกทั้งไม่เห็นด้วยที่จะให้ฝ่ายการเมือง เป็นแกนนำในการปฏิรูปการเมือง แต่ควร

จะให้เป็นหน้าที่ของสภาพัฒนาการเมือง ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชน สังคม

องค์กรประชาชนทุกภาคส่วน
ด้านนายวรินทร์ กล่าวว่า กมธ. เปิดรับฟังความเห็นจากประชาชน ซึ่งการแก้ไขรธน.วันนี้

ประชาชนระดับรากหญ้า มองว่าไม่ได้ประโยชน์อะไร แต่ควรเร่งแก้ปัญหาปากท้องมากว่า ทั้งนี้ กมธ.ได้รับ

การติดต่อจากประชาชนในภาคส่วนต่างๆ ที่จะยื่น ข้อเสนอเกี่ยวกับการแก้ไขรธน.เข้ามาค่อนข้างมาก โดย

จะนำส่งต่อให้กับประธานวุฒิสภา และคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ต่อไป
กำลังโหลดความคิดเห็น