เอเอฟพี/รอยเตอร์ – สมาชิกทั้ง 10 ประเทศของสมาคมอาเซียน บวกกับ 3 ชาติเอเชียตะวันออก คือ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ ตกลงกันอย่างเป็นทางการเมื่อวานนี้(3) ที่จะจัดตั้งกองทุนเงินตราต่างประเทศฉุกเฉินมูลค่า 120,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจะปล่อยสภาพคล่องให้แก่ทั้ง 13 ประเทศเหล่านี้ที่ต้องการความช่วยเหลือ โดยเฉพาะในระหว่างที่เศรษฐกิจกำลังทรุดต่ำทั่วโลกเช่นปัจจุบัน
บรรดารัฐมนตรีคลังของ 10 ชาติอาเซียนบวกกับของจีน, ญี่ปุ่น, และเกาหลีใต้ ประกาศข้อตกลงคราวนี้ ภายหลังประชุมข้างเคียง ระหว่างที่ทั้งหมดมาเข้าร่วมการประชุมประจำปีของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย(เอดีบี) ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
“เรามีความยินดีที่จะประกาศว่า เราได้บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับส่วนประกอบหลักๆ ทั้งหมดของ ซีเอ็มไอเอ็ม (Chiang Mai Initiative Multilateralisation ข้อตกลงริเริ่มเชียงใหม่ที่แปลงเป็นแบบพหุภาคี) และตัดสินใจที่จะเริ่มใช้แผนการนี้ก่อนสิ้นสุดปีนี้” เหล่ารัฐมนตรีคลังของ 13 ชาติระบุในคำแถลงร่วม
ตามการตกลงกันในครั้งนี้ ในจำนวนกองทุนมูลค่า 120,000 ล้านดอลลาร์ จีนและญี่ปุ่นจะออกฝ่ายละ 32% หรือประมาณ 38,400 ล้านดอลลาร์ โดยส่วนของจีนนั้นจะรวมเอาส่วนที่ฮ่องกงจะสมทบเป็นจำนวน 4,200 ล้านดอลลาร์ด้วย ทางด้านเกาหลีใต้จะควักกระเป๋าเท่ากับ 16% หรือ 19,200 ล้านดอลลาร์
สำหรับฝ่ายอาเซียนที่จะออกสมทบเท่ากับ 20% นั้น ทางอินโดนีเซีย, สิงคโปร์, ไทย, และมาเลเซีย จะออกมากกว่าเพื่อน โดยจ่ายประเทศละ 4,770 ล้านดอลลาร์
เหล่ารัฐมนตรีทั้ง 13 ประเทศต่างแสดงท่าทีระมัดระวังในการอธิบายว่า แผนการนี้มุ่งหมายที่จะเป็น “ส่วนเสริม” พวกสถาบันการเงินระหว่างประเทศที่มีอยู่แล้วในเวลานี้ ทั้งนี้อาจจะเนื่องจากมีเสียงแสดงความกังวลโดยเฉพาะจากสหรัฐฯว่า การจัดตั้งกองทุนฉุกเฉินเช่นนี้ขึ้นมา ก็เพื่อจะได้ไม่ต้องอาศัยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ)
ทั้งนี้ชาติเอเชียเหล่านี้อย่างน้อย 3 ราย ได้แก่ ไทย, อินโดนีเซีย, และเกาหลีใต้ ต้องถูกบังคับให้ดำเนินมาตรการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ เพื่อแลกกับการรับเงินช่วยเหลือกอบกู้ชีวิตจากไอเอ็มเอฟ เมื่อครั้งเกิดวิกฤตการเงินเอเชียปี 1997-98 มาตรการของไอเอ็มเอฟเหล่านี้ต่อมาเป็นที่ยอมรับกันว่าหลายๆ อย่างไม่จำเป็นหรือไม่ก็ดำเนินการมากเกินไปและสร้างความเสียหายให้แก่ผู้คนจำนวนมากมาย ทำให้เกิดเสียงเรียกร้องในเอเชียเรื่อยมา ว่าควรที่จะจัดตั้งกองทุนสู้วิกฤตของภูมิภาคนี้เองขึ้นมา
อย่างไรก็ตาม เหล่ารัฐมนตรีคลัง 13 ชาติพยายามยืนยันว่า การก่อตั้งกองทุนนี้ ไม่ใช่เป็นการปลีกตัวหลีกหนีไอเอ็มเอฟหรือเวิลด์แบงก์ โดยความเคลื่อนไหวคราวนี้ เป็นเพียงจังหวะก้าว “ตามธรรมชาติ” ที่จะต้องเกิดขึ้น บนเส้นทางแห่งความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นของภูมิภาค
อนึ่งสำหรับญี่ปุ่น นอกเหนือจากตกลงออกเงินสมทบเข้าไปในกองทุนฉุกเฉินของเอเชียนี้แล้ว รัฐมนตรีคลัง คาโอรุ โยซาโนะ ของแดนอาทิตย์อุทัย ยังแถลงด้วยว่า ญี่ปุ่นกำลังจัดทำแผนการที่จะให้ประเทศที่ประสบภาวะฉุกเฉิน ทำการสว็อปเงินเยนเป็นจำนวนสูงถึง 6 ล้านล้านเยน (60,400 ล้านดอลลาร์) โดยที่ทางการแดนอาทิตย์อุทัยยอมรับว่า เรื่องนี้จะเป็นการส่งเสริมการใช้เงินเยนในภูมิภาคอาเซียน
ยิ่งกว่านั้น โอซาโนะเผยว่า ญี่ปุ่นยังจะเปิดตัวกรอบข้อตกลงเพื่อการค้ำประกันตราสารหนี้สกุลเงินเยนในตลาดญี่ปุ่น (หรือที่เรียกกันว่า ซามูไรบอนด์) ทั้งที่ออกโดยรัฐบาลต่างประเทศและบริษัทต่างประเทศ
บรรดารัฐมนตรีคลังของ 10 ชาติอาเซียนบวกกับของจีน, ญี่ปุ่น, และเกาหลีใต้ ประกาศข้อตกลงคราวนี้ ภายหลังประชุมข้างเคียง ระหว่างที่ทั้งหมดมาเข้าร่วมการประชุมประจำปีของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย(เอดีบี) ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
“เรามีความยินดีที่จะประกาศว่า เราได้บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับส่วนประกอบหลักๆ ทั้งหมดของ ซีเอ็มไอเอ็ม (Chiang Mai Initiative Multilateralisation ข้อตกลงริเริ่มเชียงใหม่ที่แปลงเป็นแบบพหุภาคี) และตัดสินใจที่จะเริ่มใช้แผนการนี้ก่อนสิ้นสุดปีนี้” เหล่ารัฐมนตรีคลังของ 13 ชาติระบุในคำแถลงร่วม
ตามการตกลงกันในครั้งนี้ ในจำนวนกองทุนมูลค่า 120,000 ล้านดอลลาร์ จีนและญี่ปุ่นจะออกฝ่ายละ 32% หรือประมาณ 38,400 ล้านดอลลาร์ โดยส่วนของจีนนั้นจะรวมเอาส่วนที่ฮ่องกงจะสมทบเป็นจำนวน 4,200 ล้านดอลลาร์ด้วย ทางด้านเกาหลีใต้จะควักกระเป๋าเท่ากับ 16% หรือ 19,200 ล้านดอลลาร์
สำหรับฝ่ายอาเซียนที่จะออกสมทบเท่ากับ 20% นั้น ทางอินโดนีเซีย, สิงคโปร์, ไทย, และมาเลเซีย จะออกมากกว่าเพื่อน โดยจ่ายประเทศละ 4,770 ล้านดอลลาร์
เหล่ารัฐมนตรีทั้ง 13 ประเทศต่างแสดงท่าทีระมัดระวังในการอธิบายว่า แผนการนี้มุ่งหมายที่จะเป็น “ส่วนเสริม” พวกสถาบันการเงินระหว่างประเทศที่มีอยู่แล้วในเวลานี้ ทั้งนี้อาจจะเนื่องจากมีเสียงแสดงความกังวลโดยเฉพาะจากสหรัฐฯว่า การจัดตั้งกองทุนฉุกเฉินเช่นนี้ขึ้นมา ก็เพื่อจะได้ไม่ต้องอาศัยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ)
ทั้งนี้ชาติเอเชียเหล่านี้อย่างน้อย 3 ราย ได้แก่ ไทย, อินโดนีเซีย, และเกาหลีใต้ ต้องถูกบังคับให้ดำเนินมาตรการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ เพื่อแลกกับการรับเงินช่วยเหลือกอบกู้ชีวิตจากไอเอ็มเอฟ เมื่อครั้งเกิดวิกฤตการเงินเอเชียปี 1997-98 มาตรการของไอเอ็มเอฟเหล่านี้ต่อมาเป็นที่ยอมรับกันว่าหลายๆ อย่างไม่จำเป็นหรือไม่ก็ดำเนินการมากเกินไปและสร้างความเสียหายให้แก่ผู้คนจำนวนมากมาย ทำให้เกิดเสียงเรียกร้องในเอเชียเรื่อยมา ว่าควรที่จะจัดตั้งกองทุนสู้วิกฤตของภูมิภาคนี้เองขึ้นมา
อย่างไรก็ตาม เหล่ารัฐมนตรีคลัง 13 ชาติพยายามยืนยันว่า การก่อตั้งกองทุนนี้ ไม่ใช่เป็นการปลีกตัวหลีกหนีไอเอ็มเอฟหรือเวิลด์แบงก์ โดยความเคลื่อนไหวคราวนี้ เป็นเพียงจังหวะก้าว “ตามธรรมชาติ” ที่จะต้องเกิดขึ้น บนเส้นทางแห่งความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นของภูมิภาค
อนึ่งสำหรับญี่ปุ่น นอกเหนือจากตกลงออกเงินสมทบเข้าไปในกองทุนฉุกเฉินของเอเชียนี้แล้ว รัฐมนตรีคลัง คาโอรุ โยซาโนะ ของแดนอาทิตย์อุทัย ยังแถลงด้วยว่า ญี่ปุ่นกำลังจัดทำแผนการที่จะให้ประเทศที่ประสบภาวะฉุกเฉิน ทำการสว็อปเงินเยนเป็นจำนวนสูงถึง 6 ล้านล้านเยน (60,400 ล้านดอลลาร์) โดยที่ทางการแดนอาทิตย์อุทัยยอมรับว่า เรื่องนี้จะเป็นการส่งเสริมการใช้เงินเยนในภูมิภาคอาเซียน
ยิ่งกว่านั้น โอซาโนะเผยว่า ญี่ปุ่นยังจะเปิดตัวกรอบข้อตกลงเพื่อการค้ำประกันตราสารหนี้สกุลเงินเยนในตลาดญี่ปุ่น (หรือที่เรียกกันว่า ซามูไรบอนด์) ทั้งที่ออกโดยรัฐบาลต่างประเทศและบริษัทต่างประเทศ