ASTVผู้จัดการรายวัน - สบน.เมินกู้เงินจากตลาดต่างประเทศหันพึ่งองค์กรระหว่างประเทศแทน ชี้เครดิตประเทศลดไม่กระทบต้นทุนการกู้ยืมในประเทศ แถมดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลงด้วยซ้ำ พร้อมระบุสภาพคล่องในประเทศมี เพียงพอรองรับรัฐกู้เงินปีละ 5 แสนล้าน
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) กล่าวถึงกรณีที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศประกาศปรับลดเครดิตตราสารหนี้ไทยทั้งสกุลเงินต่างประเทศและสกุลเงินบาทรวมถึงปรับลดเครดิตของประเทศจาก A- เป็น BBB+ เนื่องจากมีการประเมินเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเมืองในประเทศว่า แม้จะส่งผลกระทบให้ต้นทุนการกู้ยืมในตลาดเงินสูงขึ้น แต่ก็ไม่มีผลกระทบกับการกู้เงินของภาครัฐมากนัก เนื่องจากที่ผ่านมาไทยไม่ได้ออกพันธบัตรหรือเงินจากตลาดเงินมาระยะหนึ่งแล้วประกอบกับช่วงนี้ตลาดยังปิด จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องเข้าไปกู้ยืมเงิน โดยอาจกระทบในส่วนของภาคเอกชนที่ต้องการกู้เงินในต่างประเทศมากกว่า
นอกจากนั้นการกู้ยืมเงินในปัจจุบันหน่วยงานผู้ปล่อยกู้ไม่ได้มองที่เครดิตเรทติ้ง แต่มองที่ ซีพีเอส หรือความเสี่ยงของการไม่ชำระหนี้คืนมากกว่า ซึ่งแต่ละประเทศแม้เครดิตจะเท่ากับแต่ความเสี่ยงตรงนี้จะต่างกันและมีผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของแต่ละประเทศที่ได้รับต่างกันด้วย เช่น เครดิตของไทยกับมาเลเซียเท่ากันแต่ต้นทุนการกู้ยืมของไทยถูกกว่า โดยอยู่ที่ไลบอร์บวก 250 พ้อยท์
ทั้งนี้สาเหตุที่ต้นทุนทางการเงินในการกู้ยืมจากองค์กรต่างประเทศต่ำกว่าบางประเทศเนื่องจากพันธบัตรของรัฐบาลไทยในตลาดเงินต่างประเทศนั้นค่อนข้างมีน้อย และขณะนี้ถือว่าเครดิตของประเทศยังดีอยู่ อีกทั้งจะไม่ส่งผลกระทบการกู้ยืมจากองค์กรระหว่างประเทศเดิมและที่จะกู้ใหม่ด้วย เช่น เงินกู้ 7 หมื่นล้านบาทจากธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย(เอดีบี) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น(ไจก้า) นั้นยังมีต้นทุนในระดับเดิม
"รัฐบาลไม่มีแผนจะกู้เงินจากตลาดต่างประเทศอยู่แล้ว แต่หากจำเป็นต้องใช้ก็สามารถกู้ผ่านองค์กรเหล่านี้ได้ ซึ่งส่วนใหญ่พร้อมจะให้ไทยกู้ยืมอยู่แล้ว ส่วนการกู้ยืมจากตลาดในประเทศที่อาจจะมีมากขึ้นตามความต้องการใช้เงินของรัฐบาลและจากภาวะเศรษฐกิจนั้นเชื่อว่าจะไม่ได้รับผลกระทบทั้งเรื่องของอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากเครดิตของรัฐบาลถือว่ามีความมั่นคงสูงสุดและได้รับดอกเบี้ยต่ำสุดอยู่แล้ว อีกทั้งแนวโน้มดอกเบี้ยในประเทศก็อยู่ในช่วงขาลงจึงไม่น่าจะทำให้ต้นการระดมทุนของรัฐบาลสูงขึ้น"นายจักรกฤศฏิ์ กล่าวและว่าสภาพคล่องในประเทศยังมีเพียงพอ เพราะส่วนหนึ่งภาคเอกชนชะลอการลงทุนและการกู้ยืมอยู่แล้วในช่วง 1-2 ปีนี้
ส่วนการระดมทุนในประเทศนั้นกระทรวงการคลังจะพิจารณาตามความเหมาะสมและความจำเป็นใช้เงิน โดยอาจจะทยอยกู้จำนวนไม่มากแต่จะไม่กู้เงินมากองเอาไว้ เพราะกว่าโครงการจะเกิดจริงต้องใช้เวลา โดยเฉพาะแผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 วงเงินลงทุน 1.56 ล้านล้านบาทนั้น อาจจะกู้ในประเทศปีละ 5 แสนล้านบาท ภายในระยะเวลา 3 ปีก็ได้ หรือส่วนหนึ่งอาจใช้เงินกู้จากองค์กรต่างประเทศ เพราะรัฐบาลต้องกู้เงินชดเชยการขาดดุลงบประมาณเดิมรวมกับส่วนที่เพิ่มอีก 9.4 หมื่นล้านบาทเพื่อจ่ายคืนเงินคงคลังด้วย จึงต้องบริหารการกู้ยืมให้เหมาะสมเพื่อไม่ให้กระจุกตัวช่วงใดช่วงหนึ่งมากเกินไป
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) กล่าวถึงกรณีที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศประกาศปรับลดเครดิตตราสารหนี้ไทยทั้งสกุลเงินต่างประเทศและสกุลเงินบาทรวมถึงปรับลดเครดิตของประเทศจาก A- เป็น BBB+ เนื่องจากมีการประเมินเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเมืองในประเทศว่า แม้จะส่งผลกระทบให้ต้นทุนการกู้ยืมในตลาดเงินสูงขึ้น แต่ก็ไม่มีผลกระทบกับการกู้เงินของภาครัฐมากนัก เนื่องจากที่ผ่านมาไทยไม่ได้ออกพันธบัตรหรือเงินจากตลาดเงินมาระยะหนึ่งแล้วประกอบกับช่วงนี้ตลาดยังปิด จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องเข้าไปกู้ยืมเงิน โดยอาจกระทบในส่วนของภาคเอกชนที่ต้องการกู้เงินในต่างประเทศมากกว่า
นอกจากนั้นการกู้ยืมเงินในปัจจุบันหน่วยงานผู้ปล่อยกู้ไม่ได้มองที่เครดิตเรทติ้ง แต่มองที่ ซีพีเอส หรือความเสี่ยงของการไม่ชำระหนี้คืนมากกว่า ซึ่งแต่ละประเทศแม้เครดิตจะเท่ากับแต่ความเสี่ยงตรงนี้จะต่างกันและมีผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของแต่ละประเทศที่ได้รับต่างกันด้วย เช่น เครดิตของไทยกับมาเลเซียเท่ากันแต่ต้นทุนการกู้ยืมของไทยถูกกว่า โดยอยู่ที่ไลบอร์บวก 250 พ้อยท์
ทั้งนี้สาเหตุที่ต้นทุนทางการเงินในการกู้ยืมจากองค์กรต่างประเทศต่ำกว่าบางประเทศเนื่องจากพันธบัตรของรัฐบาลไทยในตลาดเงินต่างประเทศนั้นค่อนข้างมีน้อย และขณะนี้ถือว่าเครดิตของประเทศยังดีอยู่ อีกทั้งจะไม่ส่งผลกระทบการกู้ยืมจากองค์กรระหว่างประเทศเดิมและที่จะกู้ใหม่ด้วย เช่น เงินกู้ 7 หมื่นล้านบาทจากธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย(เอดีบี) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น(ไจก้า) นั้นยังมีต้นทุนในระดับเดิม
"รัฐบาลไม่มีแผนจะกู้เงินจากตลาดต่างประเทศอยู่แล้ว แต่หากจำเป็นต้องใช้ก็สามารถกู้ผ่านองค์กรเหล่านี้ได้ ซึ่งส่วนใหญ่พร้อมจะให้ไทยกู้ยืมอยู่แล้ว ส่วนการกู้ยืมจากตลาดในประเทศที่อาจจะมีมากขึ้นตามความต้องการใช้เงินของรัฐบาลและจากภาวะเศรษฐกิจนั้นเชื่อว่าจะไม่ได้รับผลกระทบทั้งเรื่องของอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากเครดิตของรัฐบาลถือว่ามีความมั่นคงสูงสุดและได้รับดอกเบี้ยต่ำสุดอยู่แล้ว อีกทั้งแนวโน้มดอกเบี้ยในประเทศก็อยู่ในช่วงขาลงจึงไม่น่าจะทำให้ต้นการระดมทุนของรัฐบาลสูงขึ้น"นายจักรกฤศฏิ์ กล่าวและว่าสภาพคล่องในประเทศยังมีเพียงพอ เพราะส่วนหนึ่งภาคเอกชนชะลอการลงทุนและการกู้ยืมอยู่แล้วในช่วง 1-2 ปีนี้
ส่วนการระดมทุนในประเทศนั้นกระทรวงการคลังจะพิจารณาตามความเหมาะสมและความจำเป็นใช้เงิน โดยอาจจะทยอยกู้จำนวนไม่มากแต่จะไม่กู้เงินมากองเอาไว้ เพราะกว่าโครงการจะเกิดจริงต้องใช้เวลา โดยเฉพาะแผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 วงเงินลงทุน 1.56 ล้านล้านบาทนั้น อาจจะกู้ในประเทศปีละ 5 แสนล้านบาท ภายในระยะเวลา 3 ปีก็ได้ หรือส่วนหนึ่งอาจใช้เงินกู้จากองค์กรต่างประเทศ เพราะรัฐบาลต้องกู้เงินชดเชยการขาดดุลงบประมาณเดิมรวมกับส่วนที่เพิ่มอีก 9.4 หมื่นล้านบาทเพื่อจ่ายคืนเงินคงคลังด้วย จึงต้องบริหารการกู้ยืมให้เหมาะสมเพื่อไม่ให้กระจุกตัวช่วงใดช่วงหนึ่งมากเกินไป