สัปดาห์ที่ผ่านมาท่านผู้อ่านได้ทราบถึงบัญญัติฯ ประการแรกถึงประการที่สามไปแล้วว่ามีเรื่องใดบ้าง สัปดาห์นี้ขอนำเสนออีก 3 ประการ
ประการที่สี่ ส่งเสริมคุณภาพการให้บริการแก่ธุรกิจลอจิสติกส์ให้มีมาตรฐานสูง
รัฐบาลของประเทศเหล่านี้ได้มุ่งเน้นให้ภาคราชการรวมถึงผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานในด้านลอจิสติกส์เพิ่มประสิทธิภาพให้อยู่ในระดับยอดเยี่ยมของโลก โดยการกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจนและพยายามอย่างเต็มที่เพื่อบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัด โดยเฉพาะตัวชี้วัดที่เปรียบเทียบกับคุณภาพบริการของประเทศผู้นำของโลกในธุรกิจลอจิสติกส์
ปัจจุบันท่าเรือ PSA ของสิงคโปร์ มีมาตรฐานคุณภาพบริการสูงมาก สามารถขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์สำหรับเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่โดยใช้เวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง ยิ่งไปกว่านั้น เรือเดินสมุทรบางลำที่เสียเวลาจากการขนถ่ายล่าช้าที่ท่าเรือแห่งอื่นๆ มักตัดสินใจเปลี่ยนมาเทียบท่าที่ท่าเรือ PSA เนื่องจากสามารถขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ขึ้นลงเรือได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เรือแล่นออกจากท่าได้เร็วกว่า และสามารถชดเชยเวลาที่สูญเสียไปได้
ทางด้านรัฐบาลมาเลเซียก็ได้กำหนดมาตรฐานคุณภาพบริการ โดยหากเรือเข้าเทียบท่าเรือ PSA ของสิงคโปร์ ใช้เวลาขนตู้คอนเทนเนอร์ขึ้นลงกี่ชั่วโมง ท่าเรือมาเลเซียจะต้องใช้เวลาไม่เกินกว่านี้ จากความพยายามข้างต้นทำให้ท่าเรือ PTP ของมาเลเซีย สามารถขนถ่ายสินค้าได้ 24 ตู้ต่อชั่วโมง นับเป็นความเร็วที่ทัดเทียมกับท่าเรือของสิงคโปร์
สำหรับการส่งออกปลาของมาเลเซียไปยังต่างประเทศ เดิมจะต้องใช้ระยะเวลายาวนานถึง 6 ชั่วโมง ในการตรวจสอบโดยกรมประมงและกรมศุลกากร ทำให้ผู้ส่งออกปลาของมาเลเซียหันไปใช้บริการท่าอากาศยานชางกีของสิงคโปร์ เนื่องจากใช้เวลาด้านพิธีการศุลกากรเพียงแค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2545 เป็นต้นมา รัฐบาลมาเลเซียจึงได้ดำเนินการปรับปรุงพิธีการศุลกากรและขั้นตอนการตรวจสอบสินค้าในท่าอากาศยานของกรุงกัวลาลัมเปอร์ครั้งใหญ่ ส่งผลทำให้สามารถลดระยะเวลาในการตรวจสอบลงเหลือเพียง 2 ชั่วโมง ซึ่งเทียบเท่ากับสิงคโปร์ เพื่อดึงผู้ประกอบการให้กลับมาใช้บริการที่ท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์
ส่วนท่าอากาศยานเท็ดสตีเวนของนครแอนชอเรจในมลรัฐอะแลสกาของสหรัฐฯ ซึ่งกำลังมาแรง จากอันดับ 5 ของโลกในปี 2545 มาเป็นอันดับ 3 ของโลก ในปี 2550 แม้จะตั้งอยู่ในบริเวณที่มีอากาศหนาวใกล้กับขั้วโลกเหนือ โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำถึง -6 องศาเซลเซียส ในช่วงฤดูหนาว และมีหิมะตกมากถึง 150 มิลลิเมตรต่อปี แต่จุดเด่นสำคัญ คือ เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ยิ่งไปกว่านั้น การบริหารจัดการนับว่าเป็นเยี่ยม โดยในช่วงระยะเวลานับสิบปีที่ผ่านมา ท่าอากาศยานแห่งนี้ไม่เคยต้องปิดสนามบินเนื่องจากกรณีภัยธรรมชาติแม้แต่เพียงครั้งเดียว แตกต่างจากท่าอากาศยานแห่งอื่นๆ ที่มีลักษณะภูมิอากาศใกล้เคียงกัน ต้องปิดการให้บริการจากปัญหาพายุหิมะบ่อยครั้ง
อนึ่ง กรณีของญี่ปุ่นซึ่งเดิมเสียเวลามากถึง 3 วัน กว่าสินค้าจะออกจากท่าเรือ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงได้ตั้งเป้าหมายให้สินค้าต้องออกจากท่าเรือภายใน 34 ชั่วโมง เพื่อให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับท่าเรือสิงคโปร์ ซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดในทวีปเอเชีย ในฐานะที่เป็นผู้นำเข้าและส่งออกที่มีความน่าเชื่อถือ โดยการปรับปรุงกฎระเบียบด้านศุลกากร ซึ่งเดิมกระบวนการด้านพิธีการศุลกากรสามารถดำเนินการได้ต่อเมื่อเรือมาถึงท่าเรือแล้วเท่านั้น รัฐบาลญี่ปุ่นจึงได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบใหม่ให้รวดเร็วขึ้น โดยสามารถดำเนินการด้านพิธีการศุลกากรและยื่นเอกสารไปยังหน่วยงานต่างๆ ให้แล้วเสร็จก่อนที่เรือจะมาถึงท่าเรือได้
ประการที่ห้า ความสามารถในการให้บริการแก่ธุรกิจลอจิสติกส์ได้ตลอดเวลา
ปัจจุบันร้านเซเว่นอีเลฟเว่นสามารถเปิดให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน หรือ 365 วันต่อปี นับว่าเป็นตัวอย่างสำคัญด้านคุณภาพบริการของภาคเอกชนที่รัฐบาลควรเอาเป็นแบบอย่าง โดยอาจจะต้องศึกษาความเป็นเลิศหรือจ้างผู้บริหารของบริษัทแห่งนี้มาให้คำปรึกษาแก่รัฐบาล
ปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จ คือ รัฐบาลจะต้องสนับสนุนให้บริการของทางราชการและบริการโครงสร้างพื้นฐานด้านลอจิสติกส์เปิดบริการตลอดเวลา แม้การปิดบริการในช่วงกลางคืนจะส่งผลกระทบต่อการขนส่งผู้โดยสารไม่มากนัก แต่จะส่งผลกระทบต่อการขนส่งสินค้าเป็นอย่างมาก เนื่องจากศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางอากาศ โดยเฉพาะสำหรับการส่งพัสดุด่วนที่จัดส่งในลักษณะ Overnight จะทำงานในช่วงเวลากลางคืนเป็นหลัก โดยเครื่องบินจะขึ้นลงในช่วงเวลา 22.00 – 04.00 น.
จากเหตุผลข้างต้น ได้ส่งผลทำให้ท่าอากาศยานขนาดกลางบางแห่งที่มีจำนวนผู้โดยสารไม่มากนัก เช่น ท่าอากาศยานเมมฟิส ท่าอากาศยานหลุยส์วิลล์ ท่าอากาศยานของนครโคโลญจ์/บอนน์ ฯลฯ ที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ได้กลายเป็นท่าอากาศยานที่มีปริมาณการขนถ่ายสินค้าจำนวนมากที่สุดอันดับต้นๆ ของโลก
หากท่าอากาศยานใดไม่สามารถอนุญาตให้เครื่องบินสามารถบินขึ้นลงได้ตลอด 24 ชั่วโมง จะได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยเฉพาะกรณีมีท่าอากาศยานคู่แข่งในบริเวณใกล้เคียงที่สามารถเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้นว่า ท่าอากาศยานนานาชาตินครโตรอนโตของประเทศแคนาดา ซึ่งปิดให้บริการช่วงกลางคืน เพื่อลดมลพิษในด้านเสียง ทำให้สายการบินขนส่งสินค้าบางส่วนเปลี่ยนไปใช้บริการของท่าอากาศยานแฮมิงตันซึ่งเปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง แม้ว่าจะมีทำเลที่ตั้งอยู่ห่างไกลกว่าก็ตาม
สำหรับท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ตของเยอรมนี ซึ่งมีปริมาณการขนถ่ายสินค้าทางอากาศมากเป็นอันดับ 2 ของทวีปยุโรปและอันดับ 8 ของโลก ก็กำลังเผชิญปัญหานี้ในอนาคต เนื่องจากได้เจรจาตกลงกับประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงที่จะระงับการบินในช่วงเวลาเที่ยงคืนจนถึง 5 นาฬิกา เพื่อแลกกับการขยายสนามบิน ซึ่งนับเป็นเหตุผลสำคัญทำให้บริษัท FedEx ได้ประกาศเมื่อปี 2550 ที่จะย้ายฐานลอจิสติกส์จากท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี มาเป็นท่าอากาศยานของนครโคโลญจ์/บอนน์ นับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป
ส่วนท่าอากาศยานเช็คแล็บก๊อกของฮ่องกง ซึ่งมีปริมาณการขนถ่ายสินค้าทางอากาศมากเป็นอันดับ 2 ของโลก เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งอยู่บนเกาะ เสียงขึ้นลงของเครื่องบินจึงไม่รบกวนประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ส่งผลทำให้ท่าอากาศยานแห่งนี้สามารถอนุญาตให้เครื่องบินสามารถบินขึ้นลงได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ทางด้านท่าอากาศยานอินชอนของเกาหลีใต้ก็มีจุดเด่นคล้ายคลึงกัน โดยเป็นท่าอากาศยานที่มีทำเลที่ตั้งติดกับทะเล ทำให้เครื่องบินสามารถบินขึ้นลงได้ตลอด 24 ชั่วโมง แตกต่างจากท่าอากาศยานนาริตะที่หยุดบินในช่วงกลางคืน ทำให้สามารถแซงท่าอากาศนาริตะของญี่ปุ่น ขึ้นเป็นท่าอากาศยานที่มีปริมาณการขนถ่ายสินค้ามากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียและอันดับ 4 ของโลก นับตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา
อนึ่ง ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซของนครโอซากา ซึ่งได้เปิดให้บริการรันเวย์ที่ 2 เมื่อเดือนสิงหาคม 2550 ก็ได้พยายามปรับปรุงตนเองเพื่อให้สามารถแข่งขันกับท่าอากาศยานอื่นๆ ในภูมิภาคได้ โดยได้ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลกลางของญี่ปุ่นเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2550 เพื่อขอให้ตนเองเป็นเขตพิเศษสำหรับปฏิรูปด้านโครงสร้าง (Special Zone for Structural Reform) และเปิดให้บริการศุลกากรตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายพิเศษ
ประการที่หก พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ตอบสนองต่อความต้องการ
รัฐบาลจะต้องก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านลอจิสติกส์ เป็นต้นว่า ท่าเรือ PSA ของสิงคโปร์ได้ตัดสินใจก่อสร้างท่าเทียบเรือคอนเทนเนอร์แห่งแรกก่อนประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เนื่องจากท่าเรือแห่งอื่นๆ ไม่กล้าเสี่ยงในการตัดสินใจก่อสร้างท่าเทียบเรือคอนเทนเนอร์ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ในขณะนั้น ทำให้สายการเดินเรือหันไปใช้บริการขนถ่ายสินค้าที่สิงคโปร์ นับเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สิงคโปร์พัฒนาตนเองอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นท่าเรือคอนเทนเนอร์ที่มีปริมาณขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์มากที่สุดในโลก
สำหรับการก่อสร้างศูนย์กลางการขนส่งพัสดุด่วนที่สิงคโปร์ ซึ่งอยู่ภายในท่าอากาศยานชางกี พร้อมกับออกแบบระบบการบริหารจัดการที่เอื้ออำนวยให้การเคลื่อนย้ายสินค้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งเป็นไปอย่างรวดเร็วและคล่องตัวจากลานจอดเครื่องบิน ด่านศุลกากร และการรักษาความปลอดภัย ทำให้สามารถจัดส่งได้ภายในเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง ภายหลังเครื่องบินบรรทุกสินค้าร่อนลงจอด
นอกจากนี้ท่าเรือ PSA ของสิงคโปร์ ยังได้ลงทุนจำนวนมากในการติดตั้งเครนขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “Post-Panamax Quay Cranes” เพื่อขนถ่ายสินค้าขึ้นลงเรือเดินสมุทรขนาดยักษ์ โดยแขนของเครนมีความยาวถึง 55 เมตร สามารถให้บริการแก่เรือที่มีขนาดความกว้างของลำตัวเรือไม่เกิน 18 ตู้ และปัจจุบันได้ก้าวสู่ “Super Crane” ซึ่งเป็นเครนขนาดยักษ์ โดยแขนมีความยาวอย่างต่ำ 60 เมตร และสามารถให้บริการแก่เรือที่มีความกว้างของลำตัวเรือ 22 ตู้ขึ้นไป เพื่อให้สามารถรองรับเรือบรรทุกตู้สินค้ารุ่นใหม่ คือ Ultra Large Containership ซึ่งมีระวางบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ 10,000 – 16,000 ทีอียู
สำหรับกรณีของท่าอากาศยานเช็คแล็บก๊อกของฮ่องกง มีอาคารคลังสินค้า SuperTerminal 1 ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอยกว้างขวางถึง 320,000 ตารางเมตร นับเป็นอาคารคลังสินค้าทางอากาศที่ใหญ่ที่สุดในโลก สามารถรองรับการขนถ่ายสินค้าทางอากาศได้มากถึง 3.5 ล้านตันต่อปี โดยมีอุปกรณ์จัดเก็บสินค้าที่ทันสมัยแบบอัตโนมัติ
ขณะที่ออสเตรเลียประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมากในการส่งเสริมการขนส่งทางรถไฟเพื่อลดต้นทุนลอจิสติกส์ของประเทศ เนื่องจากได้ลงทุนจำนวนมากในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในด้านนี้ โดยรัฐบาลกลางได้ให้เงินสนับสนุนแก่มลรัฐต่างๆ เพื่อลงทุนปรับปรุงเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างมลรัฐ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน คือ ขนาด Standard Gauge ทั้งหมด และขยายเครือข่ายทางรถไฟให้กว้างขวางทั่วประเทศ รวมถึงการก่อสร้างสถานีสำหรับขนถ่ายสินค้าขึ้นลงทางรถไฟอีกด้วย
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th
ประการที่สี่ ส่งเสริมคุณภาพการให้บริการแก่ธุรกิจลอจิสติกส์ให้มีมาตรฐานสูง
รัฐบาลของประเทศเหล่านี้ได้มุ่งเน้นให้ภาคราชการรวมถึงผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานในด้านลอจิสติกส์เพิ่มประสิทธิภาพให้อยู่ในระดับยอดเยี่ยมของโลก โดยการกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจนและพยายามอย่างเต็มที่เพื่อบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัด โดยเฉพาะตัวชี้วัดที่เปรียบเทียบกับคุณภาพบริการของประเทศผู้นำของโลกในธุรกิจลอจิสติกส์
ปัจจุบันท่าเรือ PSA ของสิงคโปร์ มีมาตรฐานคุณภาพบริการสูงมาก สามารถขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์สำหรับเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่โดยใช้เวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง ยิ่งไปกว่านั้น เรือเดินสมุทรบางลำที่เสียเวลาจากการขนถ่ายล่าช้าที่ท่าเรือแห่งอื่นๆ มักตัดสินใจเปลี่ยนมาเทียบท่าที่ท่าเรือ PSA เนื่องจากสามารถขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ขึ้นลงเรือได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เรือแล่นออกจากท่าได้เร็วกว่า และสามารถชดเชยเวลาที่สูญเสียไปได้
ทางด้านรัฐบาลมาเลเซียก็ได้กำหนดมาตรฐานคุณภาพบริการ โดยหากเรือเข้าเทียบท่าเรือ PSA ของสิงคโปร์ ใช้เวลาขนตู้คอนเทนเนอร์ขึ้นลงกี่ชั่วโมง ท่าเรือมาเลเซียจะต้องใช้เวลาไม่เกินกว่านี้ จากความพยายามข้างต้นทำให้ท่าเรือ PTP ของมาเลเซีย สามารถขนถ่ายสินค้าได้ 24 ตู้ต่อชั่วโมง นับเป็นความเร็วที่ทัดเทียมกับท่าเรือของสิงคโปร์
สำหรับการส่งออกปลาของมาเลเซียไปยังต่างประเทศ เดิมจะต้องใช้ระยะเวลายาวนานถึง 6 ชั่วโมง ในการตรวจสอบโดยกรมประมงและกรมศุลกากร ทำให้ผู้ส่งออกปลาของมาเลเซียหันไปใช้บริการท่าอากาศยานชางกีของสิงคโปร์ เนื่องจากใช้เวลาด้านพิธีการศุลกากรเพียงแค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2545 เป็นต้นมา รัฐบาลมาเลเซียจึงได้ดำเนินการปรับปรุงพิธีการศุลกากรและขั้นตอนการตรวจสอบสินค้าในท่าอากาศยานของกรุงกัวลาลัมเปอร์ครั้งใหญ่ ส่งผลทำให้สามารถลดระยะเวลาในการตรวจสอบลงเหลือเพียง 2 ชั่วโมง ซึ่งเทียบเท่ากับสิงคโปร์ เพื่อดึงผู้ประกอบการให้กลับมาใช้บริการที่ท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์
ส่วนท่าอากาศยานเท็ดสตีเวนของนครแอนชอเรจในมลรัฐอะแลสกาของสหรัฐฯ ซึ่งกำลังมาแรง จากอันดับ 5 ของโลกในปี 2545 มาเป็นอันดับ 3 ของโลก ในปี 2550 แม้จะตั้งอยู่ในบริเวณที่มีอากาศหนาวใกล้กับขั้วโลกเหนือ โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำถึง -6 องศาเซลเซียส ในช่วงฤดูหนาว และมีหิมะตกมากถึง 150 มิลลิเมตรต่อปี แต่จุดเด่นสำคัญ คือ เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ยิ่งไปกว่านั้น การบริหารจัดการนับว่าเป็นเยี่ยม โดยในช่วงระยะเวลานับสิบปีที่ผ่านมา ท่าอากาศยานแห่งนี้ไม่เคยต้องปิดสนามบินเนื่องจากกรณีภัยธรรมชาติแม้แต่เพียงครั้งเดียว แตกต่างจากท่าอากาศยานแห่งอื่นๆ ที่มีลักษณะภูมิอากาศใกล้เคียงกัน ต้องปิดการให้บริการจากปัญหาพายุหิมะบ่อยครั้ง
อนึ่ง กรณีของญี่ปุ่นซึ่งเดิมเสียเวลามากถึง 3 วัน กว่าสินค้าจะออกจากท่าเรือ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงได้ตั้งเป้าหมายให้สินค้าต้องออกจากท่าเรือภายใน 34 ชั่วโมง เพื่อให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับท่าเรือสิงคโปร์ ซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดในทวีปเอเชีย ในฐานะที่เป็นผู้นำเข้าและส่งออกที่มีความน่าเชื่อถือ โดยการปรับปรุงกฎระเบียบด้านศุลกากร ซึ่งเดิมกระบวนการด้านพิธีการศุลกากรสามารถดำเนินการได้ต่อเมื่อเรือมาถึงท่าเรือแล้วเท่านั้น รัฐบาลญี่ปุ่นจึงได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบใหม่ให้รวดเร็วขึ้น โดยสามารถดำเนินการด้านพิธีการศุลกากรและยื่นเอกสารไปยังหน่วยงานต่างๆ ให้แล้วเสร็จก่อนที่เรือจะมาถึงท่าเรือได้
ประการที่ห้า ความสามารถในการให้บริการแก่ธุรกิจลอจิสติกส์ได้ตลอดเวลา
ปัจจุบันร้านเซเว่นอีเลฟเว่นสามารถเปิดให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน หรือ 365 วันต่อปี นับว่าเป็นตัวอย่างสำคัญด้านคุณภาพบริการของภาคเอกชนที่รัฐบาลควรเอาเป็นแบบอย่าง โดยอาจจะต้องศึกษาความเป็นเลิศหรือจ้างผู้บริหารของบริษัทแห่งนี้มาให้คำปรึกษาแก่รัฐบาล
ปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จ คือ รัฐบาลจะต้องสนับสนุนให้บริการของทางราชการและบริการโครงสร้างพื้นฐานด้านลอจิสติกส์เปิดบริการตลอดเวลา แม้การปิดบริการในช่วงกลางคืนจะส่งผลกระทบต่อการขนส่งผู้โดยสารไม่มากนัก แต่จะส่งผลกระทบต่อการขนส่งสินค้าเป็นอย่างมาก เนื่องจากศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางอากาศ โดยเฉพาะสำหรับการส่งพัสดุด่วนที่จัดส่งในลักษณะ Overnight จะทำงานในช่วงเวลากลางคืนเป็นหลัก โดยเครื่องบินจะขึ้นลงในช่วงเวลา 22.00 – 04.00 น.
จากเหตุผลข้างต้น ได้ส่งผลทำให้ท่าอากาศยานขนาดกลางบางแห่งที่มีจำนวนผู้โดยสารไม่มากนัก เช่น ท่าอากาศยานเมมฟิส ท่าอากาศยานหลุยส์วิลล์ ท่าอากาศยานของนครโคโลญจ์/บอนน์ ฯลฯ ที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ได้กลายเป็นท่าอากาศยานที่มีปริมาณการขนถ่ายสินค้าจำนวนมากที่สุดอันดับต้นๆ ของโลก
หากท่าอากาศยานใดไม่สามารถอนุญาตให้เครื่องบินสามารถบินขึ้นลงได้ตลอด 24 ชั่วโมง จะได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยเฉพาะกรณีมีท่าอากาศยานคู่แข่งในบริเวณใกล้เคียงที่สามารถเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้นว่า ท่าอากาศยานนานาชาตินครโตรอนโตของประเทศแคนาดา ซึ่งปิดให้บริการช่วงกลางคืน เพื่อลดมลพิษในด้านเสียง ทำให้สายการบินขนส่งสินค้าบางส่วนเปลี่ยนไปใช้บริการของท่าอากาศยานแฮมิงตันซึ่งเปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง แม้ว่าจะมีทำเลที่ตั้งอยู่ห่างไกลกว่าก็ตาม
สำหรับท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ตของเยอรมนี ซึ่งมีปริมาณการขนถ่ายสินค้าทางอากาศมากเป็นอันดับ 2 ของทวีปยุโรปและอันดับ 8 ของโลก ก็กำลังเผชิญปัญหานี้ในอนาคต เนื่องจากได้เจรจาตกลงกับประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงที่จะระงับการบินในช่วงเวลาเที่ยงคืนจนถึง 5 นาฬิกา เพื่อแลกกับการขยายสนามบิน ซึ่งนับเป็นเหตุผลสำคัญทำให้บริษัท FedEx ได้ประกาศเมื่อปี 2550 ที่จะย้ายฐานลอจิสติกส์จากท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี มาเป็นท่าอากาศยานของนครโคโลญจ์/บอนน์ นับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป
ส่วนท่าอากาศยานเช็คแล็บก๊อกของฮ่องกง ซึ่งมีปริมาณการขนถ่ายสินค้าทางอากาศมากเป็นอันดับ 2 ของโลก เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งอยู่บนเกาะ เสียงขึ้นลงของเครื่องบินจึงไม่รบกวนประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ส่งผลทำให้ท่าอากาศยานแห่งนี้สามารถอนุญาตให้เครื่องบินสามารถบินขึ้นลงได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ทางด้านท่าอากาศยานอินชอนของเกาหลีใต้ก็มีจุดเด่นคล้ายคลึงกัน โดยเป็นท่าอากาศยานที่มีทำเลที่ตั้งติดกับทะเล ทำให้เครื่องบินสามารถบินขึ้นลงได้ตลอด 24 ชั่วโมง แตกต่างจากท่าอากาศยานนาริตะที่หยุดบินในช่วงกลางคืน ทำให้สามารถแซงท่าอากาศนาริตะของญี่ปุ่น ขึ้นเป็นท่าอากาศยานที่มีปริมาณการขนถ่ายสินค้ามากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียและอันดับ 4 ของโลก นับตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา
อนึ่ง ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซของนครโอซากา ซึ่งได้เปิดให้บริการรันเวย์ที่ 2 เมื่อเดือนสิงหาคม 2550 ก็ได้พยายามปรับปรุงตนเองเพื่อให้สามารถแข่งขันกับท่าอากาศยานอื่นๆ ในภูมิภาคได้ โดยได้ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลกลางของญี่ปุ่นเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2550 เพื่อขอให้ตนเองเป็นเขตพิเศษสำหรับปฏิรูปด้านโครงสร้าง (Special Zone for Structural Reform) และเปิดให้บริการศุลกากรตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายพิเศษ
ประการที่หก พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ตอบสนองต่อความต้องการ
รัฐบาลจะต้องก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านลอจิสติกส์ เป็นต้นว่า ท่าเรือ PSA ของสิงคโปร์ได้ตัดสินใจก่อสร้างท่าเทียบเรือคอนเทนเนอร์แห่งแรกก่อนประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เนื่องจากท่าเรือแห่งอื่นๆ ไม่กล้าเสี่ยงในการตัดสินใจก่อสร้างท่าเทียบเรือคอนเทนเนอร์ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ในขณะนั้น ทำให้สายการเดินเรือหันไปใช้บริการขนถ่ายสินค้าที่สิงคโปร์ นับเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สิงคโปร์พัฒนาตนเองอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นท่าเรือคอนเทนเนอร์ที่มีปริมาณขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์มากที่สุดในโลก
สำหรับการก่อสร้างศูนย์กลางการขนส่งพัสดุด่วนที่สิงคโปร์ ซึ่งอยู่ภายในท่าอากาศยานชางกี พร้อมกับออกแบบระบบการบริหารจัดการที่เอื้ออำนวยให้การเคลื่อนย้ายสินค้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งเป็นไปอย่างรวดเร็วและคล่องตัวจากลานจอดเครื่องบิน ด่านศุลกากร และการรักษาความปลอดภัย ทำให้สามารถจัดส่งได้ภายในเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง ภายหลังเครื่องบินบรรทุกสินค้าร่อนลงจอด
นอกจากนี้ท่าเรือ PSA ของสิงคโปร์ ยังได้ลงทุนจำนวนมากในการติดตั้งเครนขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “Post-Panamax Quay Cranes” เพื่อขนถ่ายสินค้าขึ้นลงเรือเดินสมุทรขนาดยักษ์ โดยแขนของเครนมีความยาวถึง 55 เมตร สามารถให้บริการแก่เรือที่มีขนาดความกว้างของลำตัวเรือไม่เกิน 18 ตู้ และปัจจุบันได้ก้าวสู่ “Super Crane” ซึ่งเป็นเครนขนาดยักษ์ โดยแขนมีความยาวอย่างต่ำ 60 เมตร และสามารถให้บริการแก่เรือที่มีความกว้างของลำตัวเรือ 22 ตู้ขึ้นไป เพื่อให้สามารถรองรับเรือบรรทุกตู้สินค้ารุ่นใหม่ คือ Ultra Large Containership ซึ่งมีระวางบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ 10,000 – 16,000 ทีอียู
สำหรับกรณีของท่าอากาศยานเช็คแล็บก๊อกของฮ่องกง มีอาคารคลังสินค้า SuperTerminal 1 ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอยกว้างขวางถึง 320,000 ตารางเมตร นับเป็นอาคารคลังสินค้าทางอากาศที่ใหญ่ที่สุดในโลก สามารถรองรับการขนถ่ายสินค้าทางอากาศได้มากถึง 3.5 ล้านตันต่อปี โดยมีอุปกรณ์จัดเก็บสินค้าที่ทันสมัยแบบอัตโนมัติ
ขณะที่ออสเตรเลียประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมากในการส่งเสริมการขนส่งทางรถไฟเพื่อลดต้นทุนลอจิสติกส์ของประเทศ เนื่องจากได้ลงทุนจำนวนมากในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในด้านนี้ โดยรัฐบาลกลางได้ให้เงินสนับสนุนแก่มลรัฐต่างๆ เพื่อลงทุนปรับปรุงเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างมลรัฐ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน คือ ขนาด Standard Gauge ทั้งหมด และขยายเครือข่ายทางรถไฟให้กว้างขวางทั่วประเทศ รวมถึงการก่อสร้างสถานีสำหรับขนถ่ายสินค้าขึ้นลงทางรถไฟอีกด้วย
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th