นายกิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลับธรรมศาตร์ กล่าวตอนหนึ่งในการเสวนาเรื่อง ผ่าทางตันวิกฤตประเทศไทย ว่า วิกฤติประเทศเกิดจากปัญหาสะสมทางโครงสร้างสังคม เศรษฐกิจ การเมืองที่มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน มากกว่าการช่วงชิวอำนาจการเมือง ที่เพิ่งเกิดขี้นไม่นานมานี้ ดังนั้น การแก้ปัญหา ต้องปรับปรุงโครงสร้างสังคม เหมือนในประเทศเยอรมัน ที่เคยประสบปัญหาความแตกต่างในช่วงสงครามโลก และหลังสงครามโลกจนเมื่อมีการทำลายกำแพงเบอร์ลินที่แบ่งเป็นเยอรมันตะวันตกและตะวันออก ซึ่งประเทศเยอรมัน ได้สร้างนโยบายที่ปฏิเสธสังคมนิยม มาเป็นเสรีนิยม โดยการสร้างสวัสดิการทางสังคม และได้มีการเจรจา ถกเถียง ต่อรองกันในระดับชาติอย่างกว้าขวางทุกระดับชนชั้น เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพ
ขณะนี้ประชาธิปไตยของไทยอยู่ภายใต้เวทีสื่อมวลชน ที่มีเพียงนักการเมืองบางคน หรือนักวิชาการไม่กี่คน ที่ออกมาแสดงความเห็นในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งมีการเผยแพร่ความคิดเห็นแล้วกลายเป็นเรื่องที่จะนำมาตัดสินใจโดยใช้เวลาอันสั้นในการพิจารณาไตร่ตรอง เป็นการตัดสินใจแบบฉาบฉวย ดังนั้นการจะมีประชาธิปไตยได้ จะต้องสร้างหลักให้กฎหมายเป็นใหญ่เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย และการสร้างประชาสังคมที่เป็นจริงและชุมชนที่เข้มแข็ง ขณะที่ต้องสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่ยอมรับอุดมคติอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทุกฝ่ายยอมรับ แต่ไม่ใช่เรื่องที่จะนำเสียงบางส่วนมาบีบ
นานบรรเจิด สิงคเนติ อาจารณ์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิด ต้องใช้ สติปัญญาในการจำแนก แยกความเป็นสภาพการณ์ในการชุมนุมของคนเสื้อสีต่าง ๆ จากปัญหาโครงสร้างประเทศ และชนชั้น ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมารัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นได้แต่เพียงแก้ปัญหาระบบส่วนบนของประเทศไม่ใช่ระบบส่วนล่างเลย
ซึ่งประชาธิปไตยจะเกิดได้เมื่อชุมชนมีความเข้มแข็ง ดังนั้นที่ผ่านมา จึงมีการช่องโหว่งนี้สร้างนโยบายประชานิยมเพื่อทำให้ชนะใจระบบส่วนล่าง แต่ขณะที่นโยบายประชานิยม คือ เรื่องที่พรรคการเมืองห่วงต่อการสร้างคะแนนเสียง ในอนาคตเท่านั้น ดังนั้นทางออกวิกฤติ ต้องดูถึงมิติการแก้ปัญหาโครงสร้างส่วนล่าง ที่ย้อนกลับไปที่ชุมชน ที่จะสร้างความเข้มแข็ง ดูแลตัวเองได้แบบที่ให้เป็นประชาธิปไตยกินได้ โดยเป็นการแก้ปัญหาชุมชนและประชาธิปไตย
นายบรรเจิด กล่าวว่า ความเข้มแข็งของชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ต้องสร้างการมีส่วนร่วม การกำหนดทิศทางการดูแลชุมชนด้วยตนเอง ขณะที่ระดับฝ่าบริหาร รัฐบาลควรต้องปรับยุทธศาสตร์ อย่างกรณีปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น รัฐบาลจะต้องไม่พึ่งการส่งออกอย่างเดียว แต่จะต้องสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศ ที่จะอาศัยหลักเศรษฐกิจพอเพียง ที่จะแก้ปัจจัยการผลิตระดับชุมชน เรื่องที่ดินทำกิน แต่ปรากฏว่าที่ผ่านมาการแก้ปัญหา พูดถึงแต่ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นปัญหาโครงสร้างระดับบนมากกว่าส่วนล่าง
ผมไม่เชื่อว่าการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ปฏิรูปการเมืองและแก้รัฐธรรมนูญ จะแก้วิกฤติได้ แต่นอกจากจะต้องส่งเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งเพื่อสร้างประชาธิปไตยที่กินได้แล้ว ก็ต้องปฏิรูปโครงสร้างสำนักงานตรวจแห่งชาติ ( สตช.) ที่ทำให้เกิด 2 มาตรฐาน โดยต้องมีการกระจายแบ่งอำนาจไปยังตำรวจภาคต่างๆ ขณะที่คณะกรรมการตำรวจ ควรต้องให้มีประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมตรวจสอบด้วย ส่วนเรื่องการทุจริตคอรัปชั่น ก็ต้องไม่เน้นแต่การปราบปราม ต้องเน้นการป้องกันด้วย
นายบรรเจิด กล่าวว่า เรื่องการนิรโทษกรรมควรจะเกิดขึ้นหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงคุณค่าว่า ถ้าแก้แล้วจะไปทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายและความเชื่อถือในหลักนิติรัฐหรือไม่ ถ้าแก้แล้วจะไปทำลายคุณค่านั้นก็ไม่ควรทำ
นายธีระ สุธีวรางกูร อาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า วิกฤตของประเทศ เกิดจากโครงสร้าง ชนชั้น เศรษฐกิจ แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ในปีที่ผ่านมา คือต่างคนต่างชี้หน้าพูดว่าเกิดจากระบบทักษิณ ขณะที่อีกฝ่ายบอกว่า เกิดจากอำมาตยาธิปไตยที่รวมถึงโครงสร้างบทบาท ตุลากร องคมนตรีบางท่าน ซึ่งการแก้ปัญหาก็มี 2 วิธี คือวิธีแบบสันติ ที่จะต้องรู้ 2 เรื่องว่า 1.ใครคือต้นเหตุ ใครมีส่วนร่วมปัญหาทั้งหน้าม่านและหลังม่าน 2.ปัญหาเกิดจากอะไร เกิดจากทางเทคนิค ระบอบโครงงสร้าง ซึ่งการแก้ปัญหาต้องมีคุยอย่างเปิดเผย แต่ขึ้นอยู่กับว่าคนที่คิดว่าเป็นต้นปัญหาจะคิดหรือไม่ว่าตัวเองเป็นปัญหาแล้วมานั่งเจรจาหรือไม่ ส่วนวิธีแก้ปัญหาแบบไม่สันติ คือการทำสงครามกันไม่ใช่แบบเปิดเผยที่ใช้วิธรการเจรจาไม่ได้แล้ว อย่างไรก็ดีส่วนตัวยังเชื่อมั่นว่าในภาวะที่มีคนหลายพวกทำให้เกิดวิฤติขณะนี้ ยังอยู่ในช่วงที่ใช้วิธีแบบสันติคุยกันได้ แต่ขึ้นว่าต้นเหตุปัญหาจะรู้ตัวแล้วมาคุยหรือไม่
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาเกิดปัญหาทำ 2 มาตรฐาน จนทำให้เกิดการชุมนุม ของคนเสื้อแดง ซึ่งปัญหาจะต้องไม่มองว่า เสื้อแดงเป็นเพียงสาวกทักษิณ เพราะถ้ามองแค่นั้นก็แก้ปัญหาไม่ได้ ดังนั้นส่วนหนึ่งความขัดแย้งที่จะยุติได้ด้วยกระบวนการยุติธรรม จะยุติสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยความเป็นธรรม
มาตรา 116 และ 215 ที่มีการมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ตรงนี้คือสิ่งที่ศาลจะสร้างบรรทัดฐานเส้นแบ่งของการใช้สิทธิชุมนุมที่เป็นไปโดยสงบ สันติ ไม่ละเมิดสิทธิบุคคล ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ศาลต้องสร้างบรรทัดฐานขึ้นมาส่วนเรื่อง ของกฎหมาย ผมเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญรองลงมาที่จะพยายามร่างกฎหมายการชุมนุม โดยผมเห็นว่าแม้มีกฎหมาย แต่ถ้าบังคบัใช้ก็ไม่ได้ ก็ไม่มีประโยชน์อะไร
นายปริญญา กล่าวถึงการนิรโทษกรรมให้นักการเมืองว่า หากทำแล้วทำให้ทะเลาะกันน้อยลงก็ควรทำแต่หากทะเลาะกันมากขึ้นก็ควรหลีกเลี่ยง ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 นั้น เพราะเนื้อหาไม่สามารถเป็นสัญญาประชาคมอย่างสมบูรณ์ในการเป็นกติกาสูงสูดจนเกิดการไม่ยอมรับเหมือนรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ซึ่งตนเห็นว่า การทำให้รัฐธรรมนูญเป็นกติกาสูงสุด ก็มี 3 แนวทาง คือ 1.การนำ รธน. ปี 2540 มาแก้ 2.การแก้ รธน.ปี 2550 3.การร่าง รธน.ใหม่ทั้งฉบับ ซึ่งทั้งสามแนวทางมีความเป็นไปได้ทั้งสิ้น เพียงแต่ต้องทำให้รัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้นเป็นฉบับสุดท้ายเสียที
นายปริญญา กล่าวว่าคำถามที่ว่าในวิกฤติที่เกิดขึ้นเป็นทางตันหรือไม่ ตนยังเชื่อว่าประเทศไทยไม่มีทางตัน มีแต่อนาคตที่มีทางไป 2 ทาง คือ 1.อนาคตที่จะเกิดความขัดแย้ง ซึ่งจะเกิดในเวลาอันใกล้ และมีความรุนแรงกว่า โดยเวลาไม่เกิน 2 ปีจะเกิดสงครามการเมือง ซึ่งการเกิดสงครามการเมืองอาจจะไม่ดีเหมือนที่เกิดขึ้น ในยุโรป หรือ อเมริการ ที่นำไปสู้การสร้างประชาธิปไตย
2. อนาคตที่มีประชาธิปไตย ที่มีภาคประชาสังคมเข้มแข็ง ไม่เกิดการปฏิวัติโดยกำลังทหาร โดยอนาคตของไทยจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับเราทุกคนว่าจะเลือกกันอย่างไร ถ้าพลังส่วนใหญ่ในสังคมยังนิ่งเฉยก็จะไปสู่อนาคตทางที่หนึ่งแน่นอน แต่ถ้าทางภาคประชาสังคมออกมาแล้วขีดเส้นที่จะให้สังคมเป็นผู้คุมกติกา นำไปสู่อนาคตแบบที่สอง ก็จะทำให้การเมืองภาคพลเมืองเข้มแข็งได้
ขณะนี้ประชาธิปไตยของไทยอยู่ภายใต้เวทีสื่อมวลชน ที่มีเพียงนักการเมืองบางคน หรือนักวิชาการไม่กี่คน ที่ออกมาแสดงความเห็นในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งมีการเผยแพร่ความคิดเห็นแล้วกลายเป็นเรื่องที่จะนำมาตัดสินใจโดยใช้เวลาอันสั้นในการพิจารณาไตร่ตรอง เป็นการตัดสินใจแบบฉาบฉวย ดังนั้นการจะมีประชาธิปไตยได้ จะต้องสร้างหลักให้กฎหมายเป็นใหญ่เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย และการสร้างประชาสังคมที่เป็นจริงและชุมชนที่เข้มแข็ง ขณะที่ต้องสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่ยอมรับอุดมคติอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทุกฝ่ายยอมรับ แต่ไม่ใช่เรื่องที่จะนำเสียงบางส่วนมาบีบ
นานบรรเจิด สิงคเนติ อาจารณ์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิด ต้องใช้ สติปัญญาในการจำแนก แยกความเป็นสภาพการณ์ในการชุมนุมของคนเสื้อสีต่าง ๆ จากปัญหาโครงสร้างประเทศ และชนชั้น ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมารัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นได้แต่เพียงแก้ปัญหาระบบส่วนบนของประเทศไม่ใช่ระบบส่วนล่างเลย
ซึ่งประชาธิปไตยจะเกิดได้เมื่อชุมชนมีความเข้มแข็ง ดังนั้นที่ผ่านมา จึงมีการช่องโหว่งนี้สร้างนโยบายประชานิยมเพื่อทำให้ชนะใจระบบส่วนล่าง แต่ขณะที่นโยบายประชานิยม คือ เรื่องที่พรรคการเมืองห่วงต่อการสร้างคะแนนเสียง ในอนาคตเท่านั้น ดังนั้นทางออกวิกฤติ ต้องดูถึงมิติการแก้ปัญหาโครงสร้างส่วนล่าง ที่ย้อนกลับไปที่ชุมชน ที่จะสร้างความเข้มแข็ง ดูแลตัวเองได้แบบที่ให้เป็นประชาธิปไตยกินได้ โดยเป็นการแก้ปัญหาชุมชนและประชาธิปไตย
นายบรรเจิด กล่าวว่า ความเข้มแข็งของชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ต้องสร้างการมีส่วนร่วม การกำหนดทิศทางการดูแลชุมชนด้วยตนเอง ขณะที่ระดับฝ่าบริหาร รัฐบาลควรต้องปรับยุทธศาสตร์ อย่างกรณีปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น รัฐบาลจะต้องไม่พึ่งการส่งออกอย่างเดียว แต่จะต้องสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศ ที่จะอาศัยหลักเศรษฐกิจพอเพียง ที่จะแก้ปัจจัยการผลิตระดับชุมชน เรื่องที่ดินทำกิน แต่ปรากฏว่าที่ผ่านมาการแก้ปัญหา พูดถึงแต่ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นปัญหาโครงสร้างระดับบนมากกว่าส่วนล่าง
ผมไม่เชื่อว่าการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ปฏิรูปการเมืองและแก้รัฐธรรมนูญ จะแก้วิกฤติได้ แต่นอกจากจะต้องส่งเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งเพื่อสร้างประชาธิปไตยที่กินได้แล้ว ก็ต้องปฏิรูปโครงสร้างสำนักงานตรวจแห่งชาติ ( สตช.) ที่ทำให้เกิด 2 มาตรฐาน โดยต้องมีการกระจายแบ่งอำนาจไปยังตำรวจภาคต่างๆ ขณะที่คณะกรรมการตำรวจ ควรต้องให้มีประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมตรวจสอบด้วย ส่วนเรื่องการทุจริตคอรัปชั่น ก็ต้องไม่เน้นแต่การปราบปราม ต้องเน้นการป้องกันด้วย
นายบรรเจิด กล่าวว่า เรื่องการนิรโทษกรรมควรจะเกิดขึ้นหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงคุณค่าว่า ถ้าแก้แล้วจะไปทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายและความเชื่อถือในหลักนิติรัฐหรือไม่ ถ้าแก้แล้วจะไปทำลายคุณค่านั้นก็ไม่ควรทำ
นายธีระ สุธีวรางกูร อาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า วิกฤตของประเทศ เกิดจากโครงสร้าง ชนชั้น เศรษฐกิจ แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ในปีที่ผ่านมา คือต่างคนต่างชี้หน้าพูดว่าเกิดจากระบบทักษิณ ขณะที่อีกฝ่ายบอกว่า เกิดจากอำมาตยาธิปไตยที่รวมถึงโครงสร้างบทบาท ตุลากร องคมนตรีบางท่าน ซึ่งการแก้ปัญหาก็มี 2 วิธี คือวิธีแบบสันติ ที่จะต้องรู้ 2 เรื่องว่า 1.ใครคือต้นเหตุ ใครมีส่วนร่วมปัญหาทั้งหน้าม่านและหลังม่าน 2.ปัญหาเกิดจากอะไร เกิดจากทางเทคนิค ระบอบโครงงสร้าง ซึ่งการแก้ปัญหาต้องมีคุยอย่างเปิดเผย แต่ขึ้นอยู่กับว่าคนที่คิดว่าเป็นต้นปัญหาจะคิดหรือไม่ว่าตัวเองเป็นปัญหาแล้วมานั่งเจรจาหรือไม่ ส่วนวิธีแก้ปัญหาแบบไม่สันติ คือการทำสงครามกันไม่ใช่แบบเปิดเผยที่ใช้วิธรการเจรจาไม่ได้แล้ว อย่างไรก็ดีส่วนตัวยังเชื่อมั่นว่าในภาวะที่มีคนหลายพวกทำให้เกิดวิฤติขณะนี้ ยังอยู่ในช่วงที่ใช้วิธีแบบสันติคุยกันได้ แต่ขึ้นว่าต้นเหตุปัญหาจะรู้ตัวแล้วมาคุยหรือไม่
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาเกิดปัญหาทำ 2 มาตรฐาน จนทำให้เกิดการชุมนุม ของคนเสื้อแดง ซึ่งปัญหาจะต้องไม่มองว่า เสื้อแดงเป็นเพียงสาวกทักษิณ เพราะถ้ามองแค่นั้นก็แก้ปัญหาไม่ได้ ดังนั้นส่วนหนึ่งความขัดแย้งที่จะยุติได้ด้วยกระบวนการยุติธรรม จะยุติสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยความเป็นธรรม
มาตรา 116 และ 215 ที่มีการมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ตรงนี้คือสิ่งที่ศาลจะสร้างบรรทัดฐานเส้นแบ่งของการใช้สิทธิชุมนุมที่เป็นไปโดยสงบ สันติ ไม่ละเมิดสิทธิบุคคล ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ศาลต้องสร้างบรรทัดฐานขึ้นมาส่วนเรื่อง ของกฎหมาย ผมเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญรองลงมาที่จะพยายามร่างกฎหมายการชุมนุม โดยผมเห็นว่าแม้มีกฎหมาย แต่ถ้าบังคบัใช้ก็ไม่ได้ ก็ไม่มีประโยชน์อะไร
นายปริญญา กล่าวถึงการนิรโทษกรรมให้นักการเมืองว่า หากทำแล้วทำให้ทะเลาะกันน้อยลงก็ควรทำแต่หากทะเลาะกันมากขึ้นก็ควรหลีกเลี่ยง ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 นั้น เพราะเนื้อหาไม่สามารถเป็นสัญญาประชาคมอย่างสมบูรณ์ในการเป็นกติกาสูงสูดจนเกิดการไม่ยอมรับเหมือนรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ซึ่งตนเห็นว่า การทำให้รัฐธรรมนูญเป็นกติกาสูงสุด ก็มี 3 แนวทาง คือ 1.การนำ รธน. ปี 2540 มาแก้ 2.การแก้ รธน.ปี 2550 3.การร่าง รธน.ใหม่ทั้งฉบับ ซึ่งทั้งสามแนวทางมีความเป็นไปได้ทั้งสิ้น เพียงแต่ต้องทำให้รัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้นเป็นฉบับสุดท้ายเสียที
นายปริญญา กล่าวว่าคำถามที่ว่าในวิกฤติที่เกิดขึ้นเป็นทางตันหรือไม่ ตนยังเชื่อว่าประเทศไทยไม่มีทางตัน มีแต่อนาคตที่มีทางไป 2 ทาง คือ 1.อนาคตที่จะเกิดความขัดแย้ง ซึ่งจะเกิดในเวลาอันใกล้ และมีความรุนแรงกว่า โดยเวลาไม่เกิน 2 ปีจะเกิดสงครามการเมือง ซึ่งการเกิดสงครามการเมืองอาจจะไม่ดีเหมือนที่เกิดขึ้น ในยุโรป หรือ อเมริการ ที่นำไปสู้การสร้างประชาธิปไตย
2. อนาคตที่มีประชาธิปไตย ที่มีภาคประชาสังคมเข้มแข็ง ไม่เกิดการปฏิวัติโดยกำลังทหาร โดยอนาคตของไทยจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับเราทุกคนว่าจะเลือกกันอย่างไร ถ้าพลังส่วนใหญ่ในสังคมยังนิ่งเฉยก็จะไปสู่อนาคตทางที่หนึ่งแน่นอน แต่ถ้าทางภาคประชาสังคมออกมาแล้วขีดเส้นที่จะให้สังคมเป็นผู้คุมกติกา นำไปสู่อนาคตแบบที่สอง ก็จะทำให้การเมืองภาคพลเมืองเข้มแข็งได้