นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในตอนหนึ่งของการเสวนาเรื่อง ฝ่าฟันวิกฤตประเทศไทยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญมีอยู่ 3 แนวทางคือ 1.แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ในตามมาตราที่ยังมีข้อบกพร่อง 2.นำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาแก้ไข และมาบังคับใช้ใหม่ 3.สร้างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ทั้งฉบับ ซึ่งทั้ง 3 แนวทางมีความเป็นไปได้แต่อยู่ที่ว่าจะเลือกแบบใด
อย่างไรก็ตาม หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ขอให้เป็นการแก้ไขและเป็นฉบับสุดท้ายอย่างแท้จริง เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 18 ฉบับ รวมถึงเมื่อแก้ไขแล้ว ต้องเป็นกติกาสูงสุดของประชาชนทุกฝ่ายอย่างแท้จริงเช่นกัน
ทั้งนี้ ตนมองว่าควรจะเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ เพราะที่ผ่านมากฎหมายรัฐธรรมนูญมีกฎกติกาที่ซับซ้อนเกินไปประชาชนไม่สามารถเข้าใจได้
ขณะที่นายบรรเจิด สิงคะเนติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ใช่ตัวชี้วัดว่า ประเทศไทยจะสามารถผ่านพ้นวิกฤตของประเทศได้หรือไม่ รวมถึงแนวคิดการออกกฎหมายนิรโทษกรรมจะเกิดขึ้นหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าเมื่อแก้ไขไปแล้ว จะมีความศักดิ์สิทธิ์ทางกฎหมายต่อระบบนิติรัฐ นิติธรรมหรือไม่
อย่างไรก็ตาม หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ขอให้เป็นการแก้ไขและเป็นฉบับสุดท้ายอย่างแท้จริง เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 18 ฉบับ รวมถึงเมื่อแก้ไขแล้ว ต้องเป็นกติกาสูงสุดของประชาชนทุกฝ่ายอย่างแท้จริงเช่นกัน
ทั้งนี้ ตนมองว่าควรจะเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ เพราะที่ผ่านมากฎหมายรัฐธรรมนูญมีกฎกติกาที่ซับซ้อนเกินไปประชาชนไม่สามารถเข้าใจได้
ขณะที่นายบรรเจิด สิงคะเนติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ใช่ตัวชี้วัดว่า ประเทศไทยจะสามารถผ่านพ้นวิกฤตของประเทศได้หรือไม่ รวมถึงแนวคิดการออกกฎหมายนิรโทษกรรมจะเกิดขึ้นหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าเมื่อแก้ไขไปแล้ว จะมีความศักดิ์สิทธิ์ทางกฎหมายต่อระบบนิติรัฐ นิติธรรมหรือไม่