ASTVผู้จัดการรายวัน - รัฐวิสาหกิจยังร่อแร่ สถานการณ์ล่าสุดนำส่งรายได้ไม่ถึง 3 หมื่นล้าน กนร.บี้นำเงินสดส่งคลังพร้อมปรับปรุงผลประกอบการด่วน เผยยอดนำส่งปี 51 มีรายได้รวมแค่ 3.55 ล้านล้าน เพิ่มจากปีก่อน 16.2% ส่งผลกำไรหด 40% ระบุ ปตท.รายได้เพิ่ม 30% แต่กำไรสุทธิลด 47% ขณะที่ 19 แห่งยังสุญญากาศขาดผู้บริหารสูงสุด ชง ครม.วันนี้ กำชับให้ รมต.ที่รับผิดชอบไปดูแล ส่วนแผนฟื้นฟูการบินไทยเสนอเข้า ครม.เศรษฐกิจพุธนี้
รายงานข่าวจากคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) แจ้งว่า คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ครั้งที่ 2 โดยนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับแผนการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ ปี 2552 หลังจากกำหนดเป้าหมายจำนวน 93,000 ล้านบาท แต่ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย คาดว่า รัฐวิสาหกิจจะสามารถนำส่งรายได้เพียง 85,000 ล้านบาท ปรากฏว่าที่ประชุมรับทราบล่าสุด ณ เดือน มี.ค. 52 หรือ 6 เดือนนับจาก ต.ค. 51 รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้เข้ารัฐบาลเพียง 29,969 ล้านบาท แยกเป็นการจัดสรรกำไรประจำปี 21,740 ล้านบาท เงินปันผล 5,309 ล้านบาท เงินปันผลหลักทรัพย์ 2,920 ล้านบาท
ขณะที่ผลการดำเนินงานในปี 2551 รัฐวิสาหกิจทั้ง 58 แห่ง มีรายได้รวม 3.55 ล้านล้านบาท สูงกว่าปี 50 กว่า 4.94 แสนล้านบาท หรือสูงกว่า 16.2% ขณะที่มีกำไรรวม 1.22 แสนล้านบาท ต่ำกว่าปี 50 มากถึง 81,857 ล้านบาท หรือต่ำกว่า 40.1% โดยเฉพาะกลุ่มไฟฟ้าที่พบว่ามีรายได้เพิ่มขึ้น 3% แต่มีกำไรลดลง 12% เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายด้านพนักงานเพิ่มขึ้นถึง 14% และขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน 4,851 ล้านบาท
ด้าน บมจ.ปตท.มีรายได้เพิ่มขึ้น 30% มีกำไรสุทธิลดลง 47% เพราะต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นมากและขาดทุนจากสินค้าคงคลัง ส่วน บมจ.การบินไทย มีรายได้เพิ่มขึ้น 10% แต่ขาดทุนสุทธิ 21,379 ล้านบาท จากเดิมที่กำไร 4,368 ล้านบาท และขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน 4,471 ล้านบาท โดยการนำส่งรายได้เข้าคลังของการบินไทยในปี 2551 มีจำนวน 101,430 ล้านบาท
นายกอร์ปศักดิ์ระบุว่า รัฐบาลจึงต้องกำชับไปยังผู้บริหารรัฐวิสาหกิจทุกแห่งบริหารแผนงาน เพื่อให้สามารถนำส่งรายได้เป็นไปตามเป้าหมายโดยเฉพาะเมื่อแต่ละแห่งสามารถมีแผนฟื้นฟู เช่น บมจ.การบินไทย ซึ่งผู้บริหารเชื่อว่าหากสามารถดำเนินการตามแผนฟื้นฟู คาดว่าปี 2552 จะกลับมามีกำไร
ทั้งนี้ จะมีการเสนอแผนฟื้นฟูการบินไทยให้ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจพิจารณาในวันพุธที่ 29 เม.ย.นี้ โดยให้ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น 10,000 ล้านบาท เพื่อให้กลับมามีกำไร 7,000-8,000 ล้านบาท
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ กนร. เห็นชอบให้รัฐวิสาหกิจที่ยังมีเงินสดส่วนที่เกินกว่าจำเป็นในการดำเนินงาน ให้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดินเพิ่มเติม รวมทั้งให้ปรับปรุงผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจให้เพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่าน มาและนำเงินส่งรัฐให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด เพื่อลดผลกระทบที่อาจมีต่อสถานะการเงินการคลังของประเทศ และเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้เร็วขึ้นและจัดทำโครงการลงทุนเพิ่มเติมระหว่างปี เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ เบื้องต้นคาดว่ารัฐวิสาหกิจจะนำส่งรายได้เข้ารัฐ 85,000-83,000 ล้านบาท แต่จะพยายามดำเนินการให้ได้ตามเป้าหมายที่ 93,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ ยังมอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศหรือไอซีที ร่วมกับกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการสะสางปัญหาของ บมจ.ทีโอทีและ บมจ.กสท โทรคมนาคม ที่ยังค้างอยู่ให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน ทั้งข้อพิพาทกับเอกชน, การดำเนินงานภายใต้กฎหมายร่วมทุน, การลงทุนในระบบ 3 จี ,ความชัดเจนในโครงการซีดีเอ็มเอ, การลงทุนที่ซ้ำซ้อน,การเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อให้องค์กรอยู่รอดในระยะยาว การจัดทำข้อเสนอที่ชัดเจนเพื่อให้รัฐบาลกำหนดนโยบายต่อไป เพราะล่าสุดในปี 51 บมจ.ทีโอที มีกำไรสุทธิ 5,602 ล้านบาท แต่เมื่อหักค่าสัมปทานแล้วขาดทุนสูงถึง 15,336 ล้านบาท ส่วน บมจ.กสท โทรคมนาคม มีกำไรสุทธิ 7,265 ล้านบาท ขณะที่มีกำไรหลังหักสัมปทาน เพียง 114 ล้านบาท
นายอารีพงศ์กล่าวด้วยว่า กนร.ได้รับทราบรายงานสถานการณ์สรรหาผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจพบว่ายังมีอีก 19 แห่ง ใน 58 แห่ง ที่ยังไม่มีผู้บริหารระดับสูง โดยวันนี้ (28 เม.ย.) กระทรวงการคลังจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อฝากให้รัฐมนตรีซึ่งกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจไปกำชับผู้บริหารให้เร่งรัดการคัดเลือกผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้มีผู้ตัดสินใจด้านนโยบาย และวางแผนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นายอารีพงศ์ยอมรับว่าขั้นตอนการคัดเลือกผู้บริหารมีการเปิดเผยบุคคลระหว่างการคัดเลือกและบางขั้นตอนอาจไม่จูงใจให้มีผู้เข้ามาสมัคร รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารรัฐวิสาหกิจด้วย จึงมีผลต่อผู้บริหารสูงสุด เช่น การบินไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
รายงานข่าวจากคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) แจ้งว่า คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ครั้งที่ 2 โดยนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับแผนการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ ปี 2552 หลังจากกำหนดเป้าหมายจำนวน 93,000 ล้านบาท แต่ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย คาดว่า รัฐวิสาหกิจจะสามารถนำส่งรายได้เพียง 85,000 ล้านบาท ปรากฏว่าที่ประชุมรับทราบล่าสุด ณ เดือน มี.ค. 52 หรือ 6 เดือนนับจาก ต.ค. 51 รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้เข้ารัฐบาลเพียง 29,969 ล้านบาท แยกเป็นการจัดสรรกำไรประจำปี 21,740 ล้านบาท เงินปันผล 5,309 ล้านบาท เงินปันผลหลักทรัพย์ 2,920 ล้านบาท
ขณะที่ผลการดำเนินงานในปี 2551 รัฐวิสาหกิจทั้ง 58 แห่ง มีรายได้รวม 3.55 ล้านล้านบาท สูงกว่าปี 50 กว่า 4.94 แสนล้านบาท หรือสูงกว่า 16.2% ขณะที่มีกำไรรวม 1.22 แสนล้านบาท ต่ำกว่าปี 50 มากถึง 81,857 ล้านบาท หรือต่ำกว่า 40.1% โดยเฉพาะกลุ่มไฟฟ้าที่พบว่ามีรายได้เพิ่มขึ้น 3% แต่มีกำไรลดลง 12% เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายด้านพนักงานเพิ่มขึ้นถึง 14% และขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน 4,851 ล้านบาท
ด้าน บมจ.ปตท.มีรายได้เพิ่มขึ้น 30% มีกำไรสุทธิลดลง 47% เพราะต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นมากและขาดทุนจากสินค้าคงคลัง ส่วน บมจ.การบินไทย มีรายได้เพิ่มขึ้น 10% แต่ขาดทุนสุทธิ 21,379 ล้านบาท จากเดิมที่กำไร 4,368 ล้านบาท และขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน 4,471 ล้านบาท โดยการนำส่งรายได้เข้าคลังของการบินไทยในปี 2551 มีจำนวน 101,430 ล้านบาท
นายกอร์ปศักดิ์ระบุว่า รัฐบาลจึงต้องกำชับไปยังผู้บริหารรัฐวิสาหกิจทุกแห่งบริหารแผนงาน เพื่อให้สามารถนำส่งรายได้เป็นไปตามเป้าหมายโดยเฉพาะเมื่อแต่ละแห่งสามารถมีแผนฟื้นฟู เช่น บมจ.การบินไทย ซึ่งผู้บริหารเชื่อว่าหากสามารถดำเนินการตามแผนฟื้นฟู คาดว่าปี 2552 จะกลับมามีกำไร
ทั้งนี้ จะมีการเสนอแผนฟื้นฟูการบินไทยให้ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจพิจารณาในวันพุธที่ 29 เม.ย.นี้ โดยให้ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น 10,000 ล้านบาท เพื่อให้กลับมามีกำไร 7,000-8,000 ล้านบาท
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ กนร. เห็นชอบให้รัฐวิสาหกิจที่ยังมีเงินสดส่วนที่เกินกว่าจำเป็นในการดำเนินงาน ให้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดินเพิ่มเติม รวมทั้งให้ปรับปรุงผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจให้เพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่าน มาและนำเงินส่งรัฐให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด เพื่อลดผลกระทบที่อาจมีต่อสถานะการเงินการคลังของประเทศ และเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้เร็วขึ้นและจัดทำโครงการลงทุนเพิ่มเติมระหว่างปี เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ เบื้องต้นคาดว่ารัฐวิสาหกิจจะนำส่งรายได้เข้ารัฐ 85,000-83,000 ล้านบาท แต่จะพยายามดำเนินการให้ได้ตามเป้าหมายที่ 93,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ ยังมอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศหรือไอซีที ร่วมกับกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการสะสางปัญหาของ บมจ.ทีโอทีและ บมจ.กสท โทรคมนาคม ที่ยังค้างอยู่ให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน ทั้งข้อพิพาทกับเอกชน, การดำเนินงานภายใต้กฎหมายร่วมทุน, การลงทุนในระบบ 3 จี ,ความชัดเจนในโครงการซีดีเอ็มเอ, การลงทุนที่ซ้ำซ้อน,การเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อให้องค์กรอยู่รอดในระยะยาว การจัดทำข้อเสนอที่ชัดเจนเพื่อให้รัฐบาลกำหนดนโยบายต่อไป เพราะล่าสุดในปี 51 บมจ.ทีโอที มีกำไรสุทธิ 5,602 ล้านบาท แต่เมื่อหักค่าสัมปทานแล้วขาดทุนสูงถึง 15,336 ล้านบาท ส่วน บมจ.กสท โทรคมนาคม มีกำไรสุทธิ 7,265 ล้านบาท ขณะที่มีกำไรหลังหักสัมปทาน เพียง 114 ล้านบาท
นายอารีพงศ์กล่าวด้วยว่า กนร.ได้รับทราบรายงานสถานการณ์สรรหาผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจพบว่ายังมีอีก 19 แห่ง ใน 58 แห่ง ที่ยังไม่มีผู้บริหารระดับสูง โดยวันนี้ (28 เม.ย.) กระทรวงการคลังจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อฝากให้รัฐมนตรีซึ่งกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจไปกำชับผู้บริหารให้เร่งรัดการคัดเลือกผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้มีผู้ตัดสินใจด้านนโยบาย และวางแผนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นายอารีพงศ์ยอมรับว่าขั้นตอนการคัดเลือกผู้บริหารมีการเปิดเผยบุคคลระหว่างการคัดเลือกและบางขั้นตอนอาจไม่จูงใจให้มีผู้เข้ามาสมัคร รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารรัฐวิสาหกิจด้วย จึงมีผลต่อผู้บริหารสูงสุด เช่น การบินไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)