00 หลายคนเริ่มเป็นห่วงกับแรงกดดันของพวกนักการเมือง “เขี้ยวลากดิน” ที่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือฉบับปี 2550 โดยอ้างสารพัด อ้างว่าที่มามิชอบ อ้างความไม่เป็นประชาธิปไตย เป็นอุปสรรคต่อการบริหารประเทศ และหนักข้อถึงขั้นทำให้เกิดปัญหาความแตกแยก ดังนั้นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อสมานฉันท์
00 โทษกันแต่รัฐธรรมนูญยันเต ทั้งที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ผ่านการลงประชามติรับรองจากประชาชนเป็นครั้งแรก แต่จู่ๆ บรรดานักการเมือง “ขี้ฉ้อ” ทั้งหลายที่ได้รับผลกระทบจากกติกาเข้มงวดก็เลยอยากให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขใหม่ เพื่อให้ตัวเองได้พ้นผิด ได้กลับมากระทำย่ำยี เอาเปรียบบ้านเมืองกันต่อไป
00 ตั้งคำถามกันไม่ยากว่า บรรดานักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง หรือถูกดำเนินคดีในข้อหาทุจริต หากลองไล่เรียงไปแต่ละคน หากใครติดตามการเมืองมาตั้งแต่ต้น และรู้ทันก็จะเห็นกันว่าคนพวกนี้ “หากิน” มากับการเมืองมาตั้งแต่ต้น ร่ำรวย มีอำนาจ มีบารมี มาจากอาชีพนักการเมืองมาทั้งสิ้น แล้วถามว่าถ้าบ้านเมือง หรือในสภา ถ้าหากขาดนักการเมืองประเภทนี้แล้ว ประเทศไทยจะเสียโอกาส หรือจะฉิบหายวายป่วงหรือไม่
00 ในทางตรงกันข้าม จะดีหรือไม่ถ้าหากไม่มีนักการเมืองประเภทนี้มาวอแว อย่างน้อย 5 ปี ที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง แต่เชื่อหรือไม่ว่า เชื้อชั่วไม่มีวันตาย เพราะยังแอบชักใยเบื้องหลัง ส่งลูก ส่งเมีย ส่งลูกน้อง เข้ามาเป็น “นอมินี” สร้างความวุ่นวายไม่จบสิ้น
00 ทีนี้ลองสรุปแต่ละประเด็นที่บรรดานักการเมือง “ล้าหลัง” ต้องการจะแก้ไข คร่าวๆ เริ่มตั้งแต่ มาตรา 190 ที่เกี่ยวกับการทำสัญญากับต่างประเทศ เช่น เรื่องอธิปไตย เศรษฐกิจและความมั่นคง เฉพาะที่เป็นนัยสำคัญเท่านั้นต้องผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน เพราะในอดีตเคยมีบทเรียน เช่น กรณีปราสาทพระวิหาร ทำเอฟทีเอ แลกกับผลประโยชน์ธุรกิจโทรคมนาคม
00 ให้แก้ไข มาตรา 237 ที่เกี่ยวกับเรื่องยุบพรรค และกรรมการบริหารพรรคต้องถูกตัดสิทธิ์ 5 ปี หากถูกจับได้ว่าโกงเลือกตั้ง บางคนโอดโอยว่าตัวเองไม่เกี่ยว เป็นเรื่องที่หัวหน้าพรรค หรือผู้บริหารพรรคไม่กี่คนงุบงิบกันทำ ก็อยากถามกลับว่า แล้วเอ็งไปร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารพรรคอยู่ทำไม ถ้าเพียงแค่เป็นตรายาง หรือเพียงเอาชื่อไปแปะไว้ ทำไมไม่โวยวาย หรือถอนตัวออกมาเสียก่อน เพราะถ้าจับไม่ได้ตัวเองก็ได้ประโยชน์ อีกทั้งเป็นข้อกำหนดที่ระบุเอามาแบให้เห็นไว้ล่วงหน้า ให้รู้ว่าถ้าทำผิดจะต้องโดนแบบนี้ แต่ก็ยังทำ
00 มาตรา 266 ก็ห้ามไม่ให้ ส.ส.เข้าไปจุ้น ล้วงลูกข้าราชการประจำ ที่ห้ามก็เพราะไม่ใช่หน้าที่ มาตรา 309 ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับคำสั่ง คปค. เรื่องตั้งองค์กรอิสระมาตรวจสอบการทุจริตต่างๆ เท่าที่ประมวลมาก็มีประมาณนี้แหละ ที่น่าทุเรศก็คือเป็นเรื่องประโยชน์ตัวเองล้วน ๆ ชาวบ้านทั่วไปไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ในทางตรงกันข้าม กลับจะสร้างความแตกแยก เพราะชาวบ้านที่เขาขยะแขยงนักการเมืองเขี้ยวลากดินเขาจะทนไม่ได้ นี่ยังไม่เกี่ยวกับเรื่องที่ว่าผิดกฎหมาย เพราะเขาห้ามไม่ให้ผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้แก้ไขรัฐธรรมนูญ
00 ดังนั้นทางที่ดีที่สุดก็คือ แนวทางของ นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เคยประกาศเอาไว้ว่า ให้ยึดหลักกฎหมายโดยไม่เลือกปฏิบัติ ผิดถูกว่ากันไปตามกระบวนการยุติธรรมอย่างโปร่งใส ให้ศาลเป็นผู้ตัดสิน ทุกอย่างมันก็จบ คิดง่ายๆไม่ต้องซับซ้อน ไม่เช่นนั้นจะป่วนอีกรอบแน่นอน!!
00 โทษกันแต่รัฐธรรมนูญยันเต ทั้งที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ผ่านการลงประชามติรับรองจากประชาชนเป็นครั้งแรก แต่จู่ๆ บรรดานักการเมือง “ขี้ฉ้อ” ทั้งหลายที่ได้รับผลกระทบจากกติกาเข้มงวดก็เลยอยากให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขใหม่ เพื่อให้ตัวเองได้พ้นผิด ได้กลับมากระทำย่ำยี เอาเปรียบบ้านเมืองกันต่อไป
00 ตั้งคำถามกันไม่ยากว่า บรรดานักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง หรือถูกดำเนินคดีในข้อหาทุจริต หากลองไล่เรียงไปแต่ละคน หากใครติดตามการเมืองมาตั้งแต่ต้น และรู้ทันก็จะเห็นกันว่าคนพวกนี้ “หากิน” มากับการเมืองมาตั้งแต่ต้น ร่ำรวย มีอำนาจ มีบารมี มาจากอาชีพนักการเมืองมาทั้งสิ้น แล้วถามว่าถ้าบ้านเมือง หรือในสภา ถ้าหากขาดนักการเมืองประเภทนี้แล้ว ประเทศไทยจะเสียโอกาส หรือจะฉิบหายวายป่วงหรือไม่
00 ในทางตรงกันข้าม จะดีหรือไม่ถ้าหากไม่มีนักการเมืองประเภทนี้มาวอแว อย่างน้อย 5 ปี ที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง แต่เชื่อหรือไม่ว่า เชื้อชั่วไม่มีวันตาย เพราะยังแอบชักใยเบื้องหลัง ส่งลูก ส่งเมีย ส่งลูกน้อง เข้ามาเป็น “นอมินี” สร้างความวุ่นวายไม่จบสิ้น
00 ทีนี้ลองสรุปแต่ละประเด็นที่บรรดานักการเมือง “ล้าหลัง” ต้องการจะแก้ไข คร่าวๆ เริ่มตั้งแต่ มาตรา 190 ที่เกี่ยวกับการทำสัญญากับต่างประเทศ เช่น เรื่องอธิปไตย เศรษฐกิจและความมั่นคง เฉพาะที่เป็นนัยสำคัญเท่านั้นต้องผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน เพราะในอดีตเคยมีบทเรียน เช่น กรณีปราสาทพระวิหาร ทำเอฟทีเอ แลกกับผลประโยชน์ธุรกิจโทรคมนาคม
00 ให้แก้ไข มาตรา 237 ที่เกี่ยวกับเรื่องยุบพรรค และกรรมการบริหารพรรคต้องถูกตัดสิทธิ์ 5 ปี หากถูกจับได้ว่าโกงเลือกตั้ง บางคนโอดโอยว่าตัวเองไม่เกี่ยว เป็นเรื่องที่หัวหน้าพรรค หรือผู้บริหารพรรคไม่กี่คนงุบงิบกันทำ ก็อยากถามกลับว่า แล้วเอ็งไปร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารพรรคอยู่ทำไม ถ้าเพียงแค่เป็นตรายาง หรือเพียงเอาชื่อไปแปะไว้ ทำไมไม่โวยวาย หรือถอนตัวออกมาเสียก่อน เพราะถ้าจับไม่ได้ตัวเองก็ได้ประโยชน์ อีกทั้งเป็นข้อกำหนดที่ระบุเอามาแบให้เห็นไว้ล่วงหน้า ให้รู้ว่าถ้าทำผิดจะต้องโดนแบบนี้ แต่ก็ยังทำ
00 มาตรา 266 ก็ห้ามไม่ให้ ส.ส.เข้าไปจุ้น ล้วงลูกข้าราชการประจำ ที่ห้ามก็เพราะไม่ใช่หน้าที่ มาตรา 309 ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับคำสั่ง คปค. เรื่องตั้งองค์กรอิสระมาตรวจสอบการทุจริตต่างๆ เท่าที่ประมวลมาก็มีประมาณนี้แหละ ที่น่าทุเรศก็คือเป็นเรื่องประโยชน์ตัวเองล้วน ๆ ชาวบ้านทั่วไปไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ในทางตรงกันข้าม กลับจะสร้างความแตกแยก เพราะชาวบ้านที่เขาขยะแขยงนักการเมืองเขี้ยวลากดินเขาจะทนไม่ได้ นี่ยังไม่เกี่ยวกับเรื่องที่ว่าผิดกฎหมาย เพราะเขาห้ามไม่ให้ผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้แก้ไขรัฐธรรมนูญ
00 ดังนั้นทางที่ดีที่สุดก็คือ แนวทางของ นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เคยประกาศเอาไว้ว่า ให้ยึดหลักกฎหมายโดยไม่เลือกปฏิบัติ ผิดถูกว่ากันไปตามกระบวนการยุติธรรมอย่างโปร่งใส ให้ศาลเป็นผู้ตัดสิน ทุกอย่างมันก็จบ คิดง่ายๆไม่ต้องซับซ้อน ไม่เช่นนั้นจะป่วนอีกรอบแน่นอน!!