สถาบันข้าราชการฝ่ายตุลาการ จัดสัมมนาการเมือง ถกปัญหายุบพรรค “สมคิด” แนะรื้อกฎหมายยุบพรรคให้เหมาะสม ขณะที่ “วรเจตน์” อัดรัฐธรรมนูญ 50 ลิดรอนสิทธิส่วนบุคคล จวกตัดสิทธิ์ทำการเมืองพัฒนาช้า ส่วนฝ่ายพรรคการเมือง อย่าง “ถาวร” แนะประเมินเหตุก่อนใช้ยาแรง ข้างฝ่ายลิ่วล้า “นช.แม้ว” เปรียบ กกต.-ศาลมีอำนาจล้นมือ ถือปืนจี้หัวรัฐบาล
วันนี้ (22 เม.ย.) ที่ห้องประชุม 1 ชั้น 7 อาคารสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กรุงเทพฯ วิทยาการยุติธรรม สถาบันข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม จัดสัมมนาเรื่อง “มาตรการยุบพรรคในรัฐธรรมนูญ : มีผลต่อการพัฒนาทางการเมืองอย่างไร” โดยมี นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ศาสตราจารย์ นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ หัวหน้าภาควิชากฏหมายมหาชนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมี ดร.เสนีย์ สุวรรณดี รองอธิบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เป็นผู้ดำเนินการสัมมนา
แนะรื้อ กม.ยุบพรรคให้เหมาะสม
นายสมคิด กล่าวว่า การยุบพรรคจึงไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้นในเมืองไทย เพราะรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาทั้ง 6 ฉบับมีกฎหมายว่าด้วยการยุบพรรคทั้งสิ้น แต่เหตุที่มีการพูดถึงในเชิงวิชาการเนื่องจากเป็นการยุบพรรคการเมืองขนาดใหญ่ อย่าง พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน จึงมีการวิพากษ์มีจารณ์กันอย่างหนาหู ซึ่งตนมองว่า ถ้าจะแก้ไขสามารถทำได้แต่ก็ต้องหามาตรการใหม่ๆ ที่มีความเหมาะสมและดีกว่า ส่วนคำวินิจฉัยยุบพรรคทั้ง 3 ที่ผ่านมา ก็มีเหตุในการวินิจฉัยทั้งสิ้น
อัด รธน.50 ลิดรอนสิทธิส่วนบุคคล
ด้าน นายวรเจตน์ กล่าวว่า ควรปล่อยให้ประชาชนเรียนรู้พัฒนาการทางการเมืองมากกว่าที่จะให้ฏกหมายเหล่านี้เป็นตัวเร่ง เพราะหากยังมีบทบัญญัติอย่างนี้ต่อไป ทุกพรรคการเมืองย่อมมีสิทธิ์ถูกยุบหมด และมาตรา 237 ว่าด้วยการยุบพรรค จะไม่มีปัญหามากขนาดนี้หากศาลตีความไปในทางประชาธิปไตย นอกจากนี้ ตนมองว่า เหตุที่จะมีการตัดสินให้ยุบพรรคต้องเป็นพรรคที่ตั้งขึ้นมาเป็นปรปักษ์กับระบอบประชาธิปไตยซึ่งเมื่อตั้งขึ้นมาแล้ว หลังได้รับเลือกมาใช้อำนาจรัฐทำลายระบอบประชาธิปไตย และเหตุที่จะยุบพรรคได้พรรคนั้นต้องไม่ประสงค์จะดำเนินการทางเมือง
จวกตัดสิทธิ์ทำการเมืองพัฒนาช้า
“ส่วนตัวแล้วไม่เห็นด้วยกับการยุบพรรคในทางเทคนิคเช่นที่ผ่านมา เดิมรัฐธรรมนุญบับ 40 ที่ยุบพรรคไทยรักไทยที่อยู่ในศาลรัฐธรรมนูญผลก็ไม่ได้มีการตัดสิทธิ์ทางการเมืองเพียงแต่กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยจะไปเป็นกรรมการบริหารพรรคอื่นอีกไม่ได้ ซึ่งไม่ได้กระทบสิทธิส่วนบุคคลเท่ากับฉบับ 50 ที่ตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค ทำให้ปัจจุบันผู้ที่มีความรู้ความสามารถไม่อยากเป็นกรรมการบริหารพรรคเนื่องจากกลัวว่าจะถูกตัดสิทธิ์ โดยผมอยากจะถามว่ากระบวนการยุบพรรคที่ผ่านมามันชอบด้วยหลักนิติรัฐ และนักการเมืองไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ เพราะส่งผลให้ไม่มีประโยชน์ในการพัฒนาทางการเมือง” นายวรเจตน์กล่าว
“ถาวร” แนะประเมินเหตุก่อนใช้ยาแรง
ขณะที่ นายถาวร กล่าวว่า การยุบพรรคสามารถทำได้หากมีการพิสูจน์ทางการเมืองด้วยกระบวนยุติธรรม ว่า มีการกระทำผิดจริงของกรรมการบริหารพรรค และมองว่า พรรคการเมืองเกิดได้ก็ย่อมดับได้ ส่วนการยุบพรรคนั้นต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนั้นด้วยว่า สมควรใช้ยาอ่อน หรือยาแรงแค่ไหน แต่อย่างไรก็ตาม การยุบพรรคย่อมต้องมีผลกระทบต่อการพัฒนาการเมืองอย่างแน่นอน ต้องยอมรับว่าพรรคการเมืองเป็นสถาบันทางการเมือง ที่พูดมาคือนักการเมืองเองที่ไม่ดีมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงนำไปสู่ความไม่ดี
ลั่นเป็นปรปักษ์ประชาธิปไตยต้องยุบสถานเดียว
“สิ่งที่เจ็บช้ำน้ำใจมาก เมื่อมีการปฏิวัติที่เกิดจากการทุจริต เพราะฉะนั้นถ้าไม่เอานักการเมืองไม่ดีออกจากจาการเมืองซะบ้างบ้านเมืองก็ยังมีการทุจริตซ้ำซาก และพรรคการเมืองที่จะถุกยุบเนื่องจากมีการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยคงเพียงพอที่จะบัญญัติไว้สำหรับการยุบพรรคการเมือง นอกจากนี้ การเป็นปรปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยควรเป็นเรื่องหลักที่จะทำให้ยุบได้ ส่วนความผิดของนักการเมืองต้องมีการพิสูจน์ว่าใครผิด การตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคต้องมีการรู้เห็นเป็นใจกับการกระทำความผิดด้วย
เย้ย กกต.-ศาลอำนาจเพียบ-เปรียบถือปืนจี้ รบ.
สำหรับ นายพงศ์เทพ กล่าวว่า การยุบพรรคการเมือง ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญ เพราะถ้าไม่มีพรรคการเมืองระบอบประชาธิปไตยคงไม่เกิดขึ้น และหากไม่มีพรรคการเมืองให้ผู้สมัคร ส.ส.สังกัดแล้วนโยบายที่ใช้หาเสียงกับประชาชนจะทำเองเพียงคนเดียวไม่ได้ ต้องทำงานร่วมกันของสมาชิกในพรรคเดียวกัน เพราะการสังกัดพรรคคือการรวมคนที่มีความรู้ความสามารถร่วมระดมความคิดช่วยกันทำงาน ผลกระทบที่ได้รับจากการยุบพรรค ตนมองว่า พรรคการเมืองต่อไปจะมีอายุสั้น และไม่สามารถพัฒนาเป็นสถาบันได้ และต่อไปเราจะเห็นเฉพาะกรรมการบริหารพรรคที่มีเฉพาะตัวแทน เนื่องจากตัวจริงกลัวจนไม่กล้ามาแสดงตัว และในแต่ละพรรคการเมืองก็จะหากรรการบริการพรรคยากขึ้นเนื่องจากไม่มีใครกล้าที่จะเป็นกรรมการบริหารพรรคกลัวว่าจะถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง ขณะที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และศาลรัฐธรรมนูญก็มีอำนาจล้นมือเปรียบเสมือนกับกำลังถือปืนจี้รัฐบาลตลอดเวลา เพราะถือว่าองค์กรดังกล่าวมีอำนาจเหนือรัฐบาลเหนือรัฐสภา และหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปรัฐบาลจะมีเสถียรภาพได้อย่างไร
วันนี้ (22 เม.ย.) ที่ห้องประชุม 1 ชั้น 7 อาคารสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กรุงเทพฯ วิทยาการยุติธรรม สถาบันข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม จัดสัมมนาเรื่อง “มาตรการยุบพรรคในรัฐธรรมนูญ : มีผลต่อการพัฒนาทางการเมืองอย่างไร” โดยมี นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ศาสตราจารย์ นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ หัวหน้าภาควิชากฏหมายมหาชนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมี ดร.เสนีย์ สุวรรณดี รองอธิบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เป็นผู้ดำเนินการสัมมนา
แนะรื้อ กม.ยุบพรรคให้เหมาะสม
นายสมคิด กล่าวว่า การยุบพรรคจึงไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้นในเมืองไทย เพราะรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาทั้ง 6 ฉบับมีกฎหมายว่าด้วยการยุบพรรคทั้งสิ้น แต่เหตุที่มีการพูดถึงในเชิงวิชาการเนื่องจากเป็นการยุบพรรคการเมืองขนาดใหญ่ อย่าง พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน จึงมีการวิพากษ์มีจารณ์กันอย่างหนาหู ซึ่งตนมองว่า ถ้าจะแก้ไขสามารถทำได้แต่ก็ต้องหามาตรการใหม่ๆ ที่มีความเหมาะสมและดีกว่า ส่วนคำวินิจฉัยยุบพรรคทั้ง 3 ที่ผ่านมา ก็มีเหตุในการวินิจฉัยทั้งสิ้น
อัด รธน.50 ลิดรอนสิทธิส่วนบุคคล
ด้าน นายวรเจตน์ กล่าวว่า ควรปล่อยให้ประชาชนเรียนรู้พัฒนาการทางการเมืองมากกว่าที่จะให้ฏกหมายเหล่านี้เป็นตัวเร่ง เพราะหากยังมีบทบัญญัติอย่างนี้ต่อไป ทุกพรรคการเมืองย่อมมีสิทธิ์ถูกยุบหมด และมาตรา 237 ว่าด้วยการยุบพรรค จะไม่มีปัญหามากขนาดนี้หากศาลตีความไปในทางประชาธิปไตย นอกจากนี้ ตนมองว่า เหตุที่จะมีการตัดสินให้ยุบพรรคต้องเป็นพรรคที่ตั้งขึ้นมาเป็นปรปักษ์กับระบอบประชาธิปไตยซึ่งเมื่อตั้งขึ้นมาแล้ว หลังได้รับเลือกมาใช้อำนาจรัฐทำลายระบอบประชาธิปไตย และเหตุที่จะยุบพรรคได้พรรคนั้นต้องไม่ประสงค์จะดำเนินการทางเมือง
จวกตัดสิทธิ์ทำการเมืองพัฒนาช้า
“ส่วนตัวแล้วไม่เห็นด้วยกับการยุบพรรคในทางเทคนิคเช่นที่ผ่านมา เดิมรัฐธรรมนุญบับ 40 ที่ยุบพรรคไทยรักไทยที่อยู่ในศาลรัฐธรรมนูญผลก็ไม่ได้มีการตัดสิทธิ์ทางการเมืองเพียงแต่กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยจะไปเป็นกรรมการบริหารพรรคอื่นอีกไม่ได้ ซึ่งไม่ได้กระทบสิทธิส่วนบุคคลเท่ากับฉบับ 50 ที่ตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค ทำให้ปัจจุบันผู้ที่มีความรู้ความสามารถไม่อยากเป็นกรรมการบริหารพรรคเนื่องจากกลัวว่าจะถูกตัดสิทธิ์ โดยผมอยากจะถามว่ากระบวนการยุบพรรคที่ผ่านมามันชอบด้วยหลักนิติรัฐ และนักการเมืองไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ เพราะส่งผลให้ไม่มีประโยชน์ในการพัฒนาทางการเมือง” นายวรเจตน์กล่าว
“ถาวร” แนะประเมินเหตุก่อนใช้ยาแรง
ขณะที่ นายถาวร กล่าวว่า การยุบพรรคสามารถทำได้หากมีการพิสูจน์ทางการเมืองด้วยกระบวนยุติธรรม ว่า มีการกระทำผิดจริงของกรรมการบริหารพรรค และมองว่า พรรคการเมืองเกิดได้ก็ย่อมดับได้ ส่วนการยุบพรรคนั้นต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนั้นด้วยว่า สมควรใช้ยาอ่อน หรือยาแรงแค่ไหน แต่อย่างไรก็ตาม การยุบพรรคย่อมต้องมีผลกระทบต่อการพัฒนาการเมืองอย่างแน่นอน ต้องยอมรับว่าพรรคการเมืองเป็นสถาบันทางการเมือง ที่พูดมาคือนักการเมืองเองที่ไม่ดีมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงนำไปสู่ความไม่ดี
ลั่นเป็นปรปักษ์ประชาธิปไตยต้องยุบสถานเดียว
“สิ่งที่เจ็บช้ำน้ำใจมาก เมื่อมีการปฏิวัติที่เกิดจากการทุจริต เพราะฉะนั้นถ้าไม่เอานักการเมืองไม่ดีออกจากจาการเมืองซะบ้างบ้านเมืองก็ยังมีการทุจริตซ้ำซาก และพรรคการเมืองที่จะถุกยุบเนื่องจากมีการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยคงเพียงพอที่จะบัญญัติไว้สำหรับการยุบพรรคการเมือง นอกจากนี้ การเป็นปรปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยควรเป็นเรื่องหลักที่จะทำให้ยุบได้ ส่วนความผิดของนักการเมืองต้องมีการพิสูจน์ว่าใครผิด การตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคต้องมีการรู้เห็นเป็นใจกับการกระทำความผิดด้วย
เย้ย กกต.-ศาลอำนาจเพียบ-เปรียบถือปืนจี้ รบ.
สำหรับ นายพงศ์เทพ กล่าวว่า การยุบพรรคการเมือง ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญ เพราะถ้าไม่มีพรรคการเมืองระบอบประชาธิปไตยคงไม่เกิดขึ้น และหากไม่มีพรรคการเมืองให้ผู้สมัคร ส.ส.สังกัดแล้วนโยบายที่ใช้หาเสียงกับประชาชนจะทำเองเพียงคนเดียวไม่ได้ ต้องทำงานร่วมกันของสมาชิกในพรรคเดียวกัน เพราะการสังกัดพรรคคือการรวมคนที่มีความรู้ความสามารถร่วมระดมความคิดช่วยกันทำงาน ผลกระทบที่ได้รับจากการยุบพรรค ตนมองว่า พรรคการเมืองต่อไปจะมีอายุสั้น และไม่สามารถพัฒนาเป็นสถาบันได้ และต่อไปเราจะเห็นเฉพาะกรรมการบริหารพรรคที่มีเฉพาะตัวแทน เนื่องจากตัวจริงกลัวจนไม่กล้ามาแสดงตัว และในแต่ละพรรคการเมืองก็จะหากรรการบริการพรรคยากขึ้นเนื่องจากไม่มีใครกล้าที่จะเป็นกรรมการบริหารพรรคกลัวว่าจะถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง ขณะที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และศาลรัฐธรรมนูญก็มีอำนาจล้นมือเปรียบเสมือนกับกำลังถือปืนจี้รัฐบาลตลอดเวลา เพราะถือว่าองค์กรดังกล่าวมีอำนาจเหนือรัฐบาลเหนือรัฐสภา และหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปรัฐบาลจะมีเสถียรภาพได้อย่างไร