ASTVผู้จัดการรายวัน - "กรณ์" ตีปี๊ปนักลงทุนต่างชาติยังเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทย เหตุปัจจัยพื้นฐานยังแข็งแกร่ง เผยนักธุรกิจสหรัฐแนะเร่งสร้างการเมืองที่แข็งแกร่ง-รักษากฎหมาย นอกจากนี้ รมว.คลังยังเสนอไอเอ็มเอฟ-เวิลด์แบงก์ปรับปรุงเงื่อนไขปล่อยกู้ประเทศกำลังพัฒนา
จากการเข้าพบลงทุนและผู้แทนจากภาคธุรกิจของสหรัฐฯ ประมาณ 150 คน จาก 25 บริษัท ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี สหรัฐอเมริกา นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า นักลงทุนส่วนใหญ่ยังมีความพร้อมที่จะลงทุนในไทย และสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลให้เร่งสร้างความเชื่อมั่นทางการเมืองและการรักษากรอบกฎหมาย
"ระหว่างร่วมงาน Thai Foreign and Finance Ministers Roundtable ซึ่งจัดโดย U.S.-ASEAN Business Council และ Asia Society in Washington ได้ชี้แจงต่อนักลงทุนสหรัฐให้ได้ทราบถึงภาพรวมสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองล่าสุดของไทย รวมทั้งสร้างความเข้าใจในแนวนโยบายของรัฐบาลในการรองรับความเสี่ยงที่สำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง อันเกิดจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจการเงินโลกที่ได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกและภาคการผลิตของประเทศไทย" รมว.คลังกล่าว
อย่างไรก็ตาม จากปัญหาความไม่สงบทางการเมืองในประเทศในช่วงที่ผ่านมาได้ทำให้เศรษฐกิจไทยน่าจะหดตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมจากการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบโดยตรงและความเชื่อมั่นผู้บริโภคและนักลงทุนที่ลดลง แต่ยังมั่นใจว่า ภาคการเงินของไทยยังคงมีความแข็งแกร่งมากจากการปฏิรูปภาคการเงินในช่วงหลังวิกฤติในปี 40
นายกรณ์ยังชี้แจงถึงแนวทางที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยด้วยการดำเนินนโยบายการคลังแบบผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ และการให้ความสำคัญกับการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ โดยรัฐบาลได้อนุมัติกรอบวงเงินลงทุนจำนวน 1.57 ล้านล้านบาทในช่วงปีงบประมาณ 53-55 ซึ่งรัฐบาลจะเน้นการดำเนินโครงการต่างๆ ให้สามารถเกิดขึ้นได้จริงในทางปฏิบัติ และให้ความสำคัญกับการเพิ่มบทบาทความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private Partnership:PPP) ให้มากยิ่งขึ้น และแม้จะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะสูงขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล ทำให้รัฐบาลมีช่องทางใช้นโยบายการคลังแบบผ่อนคลายได้โดยไม่เป็นปัญหากับฐานะการคลังของประเทศ
"หลังจากการชี้แจงข้อมูล นักลงทุนสหรัฐฯ ส่วนใหญ่มีความเห็นคล้ายกันว่า เศรษฐกิจไทยยังมีปัจจัยพื้นฐานทางเสถียรภาพที่เข้มแข็ง ซึ่งจะทำให้สามารถฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้เร็วกว่าประเทศอื่นๆ แต่จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขความสำเร็จของการปฏิรูปทางการเมืองและการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลให้ประสบความสำเร็จตามที่วางแผนไว้ต่อไป" นายกรณ์กล่าว
นอกจากนี้ รมว.คลังได้เข้าพบผู้บริหารกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เพื่อเสนอปรับปรุงแนวทางในการกำหนดเงื่อนไขในการปล่อยกู้ให้ประเทศกำลังพัฒนามีความยืดหยุ่นและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดตราบาป จากที่เคยเกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศในเอเชียในช่วงวิกฤติการเงินในช่วงปี 2540 โดยให้ไอเอ็มเอฟและธนาคารโลกเข้าใจถึงบทบาทของความร่วมมือทางการเงินในอาเซียน+3 ที่จัดตั้งกองทุนความร่วมมือเชียงใหม่ในระดับพหุพาคี ซึ่งจะสามารถร่วมมือกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลกในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงินให้แก่ภูมิภาคเอเชีย
"ได้เข้าหารือกับ นาง Kathy Sierra รองประธานธนาคารโลก และผู้เชี่ยวชาญธนาคารโลก เรื่องวิธีการเสริมสร้างการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPPs) เพื่อนำมาใช้สนับสนุนแนวทางการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวงเงิน 1.57 ล้านล้านบาทของรัฐบาล และวิธีการพัฒนาระบบประกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติ เพื่อสร้างเสถียรภาพด้านรายได้และลดภาระความเสี่ยงให้แก่เกษตรกรไทย รวมทั้ง การใช้เงินกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีที่สะอาดของธนาคารโลก มาสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงานสะอาด เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและเพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศไทย โดยธนาคารโลก พร้อมจัดส่งคณะผู้เชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวทั้งหมดมาร่วมมือกับรัฐบาลไทย"
รมว.คลังเปิดเผยว่า ที่ประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ผู้แทนออกเสียงในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ มองแนวโน้มเศรษฐกิจโลกว่าจะหดตัวที่ 1.3% ในปี 52 และคาดการณ์ว่าจะสามารถเริ่มฟื้นตัวอย่างช้าๆ ในปี 53 ที่คาดว่าขยายตัวได้ 1.9%.
จากการเข้าพบลงทุนและผู้แทนจากภาคธุรกิจของสหรัฐฯ ประมาณ 150 คน จาก 25 บริษัท ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี สหรัฐอเมริกา นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า นักลงทุนส่วนใหญ่ยังมีความพร้อมที่จะลงทุนในไทย และสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลให้เร่งสร้างความเชื่อมั่นทางการเมืองและการรักษากรอบกฎหมาย
"ระหว่างร่วมงาน Thai Foreign and Finance Ministers Roundtable ซึ่งจัดโดย U.S.-ASEAN Business Council และ Asia Society in Washington ได้ชี้แจงต่อนักลงทุนสหรัฐให้ได้ทราบถึงภาพรวมสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองล่าสุดของไทย รวมทั้งสร้างความเข้าใจในแนวนโยบายของรัฐบาลในการรองรับความเสี่ยงที่สำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง อันเกิดจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจการเงินโลกที่ได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกและภาคการผลิตของประเทศไทย" รมว.คลังกล่าว
อย่างไรก็ตาม จากปัญหาความไม่สงบทางการเมืองในประเทศในช่วงที่ผ่านมาได้ทำให้เศรษฐกิจไทยน่าจะหดตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมจากการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบโดยตรงและความเชื่อมั่นผู้บริโภคและนักลงทุนที่ลดลง แต่ยังมั่นใจว่า ภาคการเงินของไทยยังคงมีความแข็งแกร่งมากจากการปฏิรูปภาคการเงินในช่วงหลังวิกฤติในปี 40
นายกรณ์ยังชี้แจงถึงแนวทางที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยด้วยการดำเนินนโยบายการคลังแบบผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ และการให้ความสำคัญกับการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ โดยรัฐบาลได้อนุมัติกรอบวงเงินลงทุนจำนวน 1.57 ล้านล้านบาทในช่วงปีงบประมาณ 53-55 ซึ่งรัฐบาลจะเน้นการดำเนินโครงการต่างๆ ให้สามารถเกิดขึ้นได้จริงในทางปฏิบัติ และให้ความสำคัญกับการเพิ่มบทบาทความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private Partnership:PPP) ให้มากยิ่งขึ้น และแม้จะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะสูงขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล ทำให้รัฐบาลมีช่องทางใช้นโยบายการคลังแบบผ่อนคลายได้โดยไม่เป็นปัญหากับฐานะการคลังของประเทศ
"หลังจากการชี้แจงข้อมูล นักลงทุนสหรัฐฯ ส่วนใหญ่มีความเห็นคล้ายกันว่า เศรษฐกิจไทยยังมีปัจจัยพื้นฐานทางเสถียรภาพที่เข้มแข็ง ซึ่งจะทำให้สามารถฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้เร็วกว่าประเทศอื่นๆ แต่จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขความสำเร็จของการปฏิรูปทางการเมืองและการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลให้ประสบความสำเร็จตามที่วางแผนไว้ต่อไป" นายกรณ์กล่าว
นอกจากนี้ รมว.คลังได้เข้าพบผู้บริหารกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เพื่อเสนอปรับปรุงแนวทางในการกำหนดเงื่อนไขในการปล่อยกู้ให้ประเทศกำลังพัฒนามีความยืดหยุ่นและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดตราบาป จากที่เคยเกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศในเอเชียในช่วงวิกฤติการเงินในช่วงปี 2540 โดยให้ไอเอ็มเอฟและธนาคารโลกเข้าใจถึงบทบาทของความร่วมมือทางการเงินในอาเซียน+3 ที่จัดตั้งกองทุนความร่วมมือเชียงใหม่ในระดับพหุพาคี ซึ่งจะสามารถร่วมมือกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลกในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงินให้แก่ภูมิภาคเอเชีย
"ได้เข้าหารือกับ นาง Kathy Sierra รองประธานธนาคารโลก และผู้เชี่ยวชาญธนาคารโลก เรื่องวิธีการเสริมสร้างการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPPs) เพื่อนำมาใช้สนับสนุนแนวทางการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวงเงิน 1.57 ล้านล้านบาทของรัฐบาล และวิธีการพัฒนาระบบประกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติ เพื่อสร้างเสถียรภาพด้านรายได้และลดภาระความเสี่ยงให้แก่เกษตรกรไทย รวมทั้ง การใช้เงินกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีที่สะอาดของธนาคารโลก มาสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงานสะอาด เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและเพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศไทย โดยธนาคารโลก พร้อมจัดส่งคณะผู้เชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวทั้งหมดมาร่วมมือกับรัฐบาลไทย"
รมว.คลังเปิดเผยว่า ที่ประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ผู้แทนออกเสียงในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ มองแนวโน้มเศรษฐกิจโลกว่าจะหดตัวที่ 1.3% ในปี 52 และคาดการณ์ว่าจะสามารถเริ่มฟื้นตัวอย่างช้าๆ ในปี 53 ที่คาดว่าขยายตัวได้ 1.9%.