**สถาบันวิจัยนครหลวงไทย (SCRI)** เล็งเห็นความสำคัญของความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจต่างประเทศ ในประเทศ ที่กำลังจะเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม รวมถึง บริษัทจดทะเบียน(บจ.) จึงได้จัดทำการประเมินความเสี่ยงของการลงทุนในบริษัทจดทะเบียนจำนวน 84 บริษัท ทั้ง 2 ด้าน คือ 1. ด้านบรรษัทภิบาล และ 2. สถานภาพทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนขึ้นในชื่อ **“SCRI Rating”** เพื่อให้นักลงทุนรับทราบถึงระดับความเสี่ยงในด้านต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับบริษัทจดทะเบียนที่นักลงทุนวางแผนจะลงทุนซึ่งจะแตกต่างจากบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ในอดีตที่มุ่งเน้นเพียงมุมมองด้านผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน
**บจ.ที่มีคะแนน SCRI Rating สูงสุด **
โดยจากการศึกษา ภายใต้ตัวแบบ SCRI Rating ซึ่งใช้ข้อมูลบริษัทจดทะเบียนที่ SCRI ได้จัดทำบทวิเคราะห์จำนวน 84 บริษัท ที่ได้มีการปรับประมาณการข้อมูลบริษัทจดทะเบียน ภายหลังการประกาศงบปี 2551 แล้ว ได้ผลสรุปดังต่อไปนี้ **1.บริษัทจดทะเบียนที่มีความเสี่ยงจากการลงทุนในช่วง 1 ปีข้างหน้าต่ำที่สุด โดยไ ด้คะแนน SCRI Rating 100 คะแนนเต็มได้แก่ EGCO และ SCB **
ส่วนบริษัทจดทะเบียนที่มีความเสี่ยงจากการลงทุนระดับรองลงไปได้แก่ KBANK ได้ 96.4 คะแนน และ BCP / RATCH / TOP / BBL ได้คะแนนเท่ากันคือ 95 คะแนน เพราะบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มดังกล่าวจัดเป็นบริษัทที่มีความเสี่ยงในการลงทุนที่ต่ำ โดยมีสถานภาพทางการเงินที่แข็งแกร่ง และมีคุณภา พบรรษัทภิบาลในระดับดีเลิศ
นอกจากนี้ยังมีบริษัทจดทะเบียนอีก 25 แห่งที่ได้รับการจัดอันดับ SCRI Rating อยู่ในระดับ “A” ที่นักลงทุนสามารถตัดสินใจลงทุนได้โดยมั่นใจได้ว่าบริษัทจดทะเบียนนั้นๆ จะมีโอกาสเกิดปัญหาด้านธรรมาภิบาลของผู้บริหารและปัญหาด้านเครดิตภายใน 1 ปีข้างหน้า ในระดับที่ต่ำ
**2.บริษัทจดทะเบียนที่มีความเสี่ยงในการลงทุนระดับที่สูงสุดได้แก่ CIG และ GSTEEL โดยทั้ง 2 บริษัทได้คะแนน SCRI Rating เท่ากันคือ 40 คะแนน และอีก 2 บริษัทที่มีความเสี่ยงในการลงทุนสูงรองลงมาได้แก่ SALEE และ ERAWAN ซึ่งได้คะแนนเท่ากันคือ 45 คะแนน** ซึ่งได้ถูกจัดอันดับความเสี่ยงในการลงทุนของบริษัทจดทะเบียนทั้ง 4 ที่กล่าวมาในระดับ “C” คือมีความเสี่ยงในการลงทุนระดับที่สูงทั้งปัญหาด้านสถานภาพทางการเงินที่มีแนวโน้มอ่อนแอในช่วง 1 ปีข้างหน้า และคุณภาพบรรษัทภิบาลในระดับที่ค่อนข้างแย่ นอกเหนือจาก 4 บริษัทที่กล่าวมายังมีบริษัทจดทะเบียนอีกจำนวน 23 แห่งที่ SCRI จัดอันดับความเสี่ยงในการลงทุนระดับ “C” ซึ่งเป็นความเสี่ยงระดับที่นักลงทุนต้องให้ความใส่ใจ และติดตามข้อมูลการลงทุนอยู่ตลอดเวลา เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาด้านการเงินหรือด้านธรรมาภิบาลของผู้บริหารในช่วง 1 ปีข้างหน้า
**การประเมิน SCRI Rating**
SCRI Rating ได้ทำการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียนโดยแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ด้าน และใช้ตัวแปรต่างๆกัน ในการประเมินคะแนนดังต่อไปนี้ **คุณภาพด้านบรรษัทภิบาล ** 1.รายงานของคณะกรรมการบรรษัทภิบาลมีข้อจำกัดในเรื่องความล่าช้าของข้อมูล (รายงานเปิดเผยปีละ 1 ครั้ง) ดังนั้น SCRI จึงอาจมีการปรับปรุงข้อมูลให้มีความเป็นปัจจุบันมากที่สุด ตามดุลยพินิจของนักวิเคราะห์ที่รับผิดชอบ
2.คุณภาพรายงานงบการเงิน : แม้ว่าความโปร่งใสของการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินจะเป็นหนึ่งในหัวข้อหลักที่ “คณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ” ได้ทำการวิเคราะห์แล้ว แต่ SCRI ยังได้ให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพของการรายงานข้อมูลในงบการเงินที่สามารถพิจารณาได้จาก “ความเห็นของผู้ตรวจสอบบัญชี” ในงบการเงินแต่ละไตรมาสด้วย
**ความแข็งแกร่งด้านการเงิน** 1.ด้านสภาพคล่อง SCRI ใช้อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) เป็นตัวแปรหนึ่งในการประเมิน เนื่องจากเป็นอัตราส่วนที่บ่งชี้ว่าในกรณีที่ต้องการใช้หนี้สินระยะสั้นคืน บริษัทจดทะเบียนมีสามารถใช้คืนได้โดยไม่จำเป็นต้องก่อหนี้เพิ่มได้หรือไม่ **ความสามารถในการชำระหนี้ ** SCRI ใช้อัตราส่วน Debt Service Coverage เป็นตัวแปรในการประเมินความสามารถดังกล่าวเพราะจะแสดงให้เห็นได้ว่าบริษัทจดทะเบียนมีกำไรจากการดำเนินงานเพียงพอที่จะใช้ชำระภาระหนี้สินอย่างน้อยภายใน 1 ปีข้างหน้าหรือไม่
**ด้านโครงสร้างเงินทุน** SCRI ใช้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน ในการประเมินความเสี่ยงด้านโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจดทะเบียนเพราะถ้ามีอัตราส่วนดังกล่าวสูงแสดงว่ามีภาระหนี้สินที่สูง **ความแข็งแกร่งด้านการเงินโดยรวม** SCRI นำตัวแบบพยากรณ์การล้มละลายของกิจการ (Z–Score Model) ที่พัฒนาโดย Altman (1968) มาใช้เป็นตัวแปรหนึ่งในการประเมินความเสี่ยงด้านการเงินด้วย
**หลักการและเหตุผล**
**1) ด้านบรรษัทภิบาล (Corporate Governance)**
SCRI ได้ให้ความสำคัญของคุณภาพบรรษัทภิบาลของบริษัทจดทะเบียนเป็นอย่างมากในสถานการณ์ที่อาจเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เนื่องจากคุณภาพบรรษัทภิบาลนั้นมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อผลประกอบการ จึงได้ทำการสรุปค่าเฉลี่ยด้านต่างๆของบริษัทจดทะเบียนที่ได้คะแนนบรรษัทภิบาลในช่วงคะแนนต่างๆกันโดยใช้รายงานปี 2551 ของคณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ และ ข้อมูลจากงบการเงินสิ้นสุดปี 2551 ให้เห็นความสัมพันธ์ดังกล่าว
ตารางแสดงค่าเฉลี่ยของผลประกอบการและมูลค่าของบริษัทจดทะเบียน( ขอรูป - SCRI 1)
xxxxxx
xxxxxx
ที่มา : Thai IOD และ SCR
หมายเหตุ
1. ROE เท่ากับ กำไรสุทธิปี 2551 หารด้วย ส่วนของผู้ถือหุ้น 2551
2. ROA เท่ากับกำไรสุทธิปี 2551 หารด้วย ส่วนสินทรัพย์รวมปี 2551,
3. Tobin’s Q ในบทวิเคราะห์ฉบับนี้ใช้ Approximate Tobin’s Q Ratio ที่แนะนำโดย Chung & Pruit (1994)
**2) ด้านความเสี่ยงทางการเงิน **
SCRI ประเมินว่าความเสี่ยงด้านการเงินในปี 2552 ยังเป็นประเด็นสำคัญที่นักลงทุนควรให้ความสนใจ เพราะมีโอกาสที่บริษัทจดทะเบียนที่มีสถานะภาพทางการเงินอ่อนแอ อาจประสบปัญหาเช่นเดียวกับในปี 2540 ได้เนื่องจากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดลงส่งผลกระทบด้านลบต่อยอดขาย ทำให้บริษัทที่สถานภาพทางการเงินไม่แข็งแกร่ง เกิดความเสี่ยงที่จะไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด และในกรณีเลวร้ายอาจนำไปสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการในที่สุด
นอกจากนี้การประเมินความเสี่ยงด้านการเงินของ SCRI Rating SCRI ได้แบ่งการประเมินความเสี่ยงด้านสถานภาพทางการเงินออกเป็น 2 กลุ่มคือบริษัทจดทะเบียนกลุ่มที่ไม่ใช่สถาบันการเงินและกลุ่มสถาบันการเงิน ดังต่อไปนี้
**การใช้ประโยชน์ SCRI Rating**
SCRI Rating จะทำการแบ่งบริษัทจดทะเบียนออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือระดับความเสี่ยงต่ำ ความเสี่ยงปานกลาง และความเสี่ยงสูง โดยจะแทนด้วยสัญลักษณ์ A / B และ C ตามลำดับ ซึ่งนักลงทุนสามารถพิจารณาระดับความเสี่ยงควบคู่ไปกับคำแนะนำการลงทุนในบทวิเคราะห์ อย่างไรก็ตามระดับความเสี่ยงไม่ได้เป็นตัวแทนที่ใช้ระบุถึงคำแนะนำการลงทุน
**สัญลักษณ์ “A” :** เป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และมีความเสี่ยงด้านต่างๆในระดับที่ต่ำ นักลงทุนสามารถลงทุนโดยมั่นใจได้ว่าบริษัทจดทะเบียนนั้นๆ จะมีโอกาสเกิดปัญหาด้านธรรมาภิบาลของผู้บริหารและปัญหาด้านเครดิตภายใน 1 ปีข้างหน้า ในระดับที่ต่ำ
**สัญลักษณ์ “B” :** เป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีคะแนนด้านใดด้านหนึ่งในระดับที่ต่ำ หรือ อาจเป็นได้ว่าคะแนนของทั้ง 2 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้น นักลงทุนควรศึกษาเพิ่มเติมถึงความเสี่ยงในด้านต่างๆเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนว่าสามารถยอมรับความเสี่ยงในด้านดังกล่าวได้หรือไม่
**สัญลักษณ์ “C” :** เป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีคะแนนด้านบรรษัทภิบาล และ ด้านการเงินต่ำ ดังนั้นนักลงทุนที่ไม่สามารถยอมรับความเสี่ยงในระดับที่สูง อาจหลีกเลี่ยงการลงทุน หรือ หากมีการลงทุนในบริษัทจดทะเบียนนั้นๆ นักลงทุนควรติดตามข่าวสารที่อาจส่งผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานของบริษัทจดทะเบียนและติดตามการเปลี่ยนแปลงคำแนะนำการลงทุนของ SCRI อย่างใกล้ชิด
ผลการศึกษา SCRI Rating กับบจ.
SCRI ได้ทำการศึกษาถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะในภาวะที่อาจเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้น ในเบื้องต้น SCRI ทำการศึกษาบริษัทจดทะเบียนจำนวน 87 แห่ง (รวมกลุ่มสถาบันการเงิน) ที่ SCRI ได้จัดทำบทวิเคราะห์ จากผลการศึกษาพบว่า 1.มีบริษัทจดทะเบียนจำนวน 12 แห่ง ที่มีคุณภาพบรรษัทภิบาลที่ “ต่ำกว่าระดับดี” 2.มีบริษัทจดทะเบียนจำนวน 8 แห่ง ที่ผู้ตรวจสอบบัญชีมีการ “ตั้งข้อสังเกต” ในงบการเงินอย่างมีนัยสำคัญ
3.พบบริษัทจดทะเบียน 1 แห่งที่ผู้ตรวจสอบบัญชี “ยอมรับงบการเงินอย่างมีเงื่อนไข” 4.มีบริษัทจดทะเบียนจำนวน 22 แห่ง ที่มี “สถานภาพทางการเงินอ่อนแอ” จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะมีการผิดนัดชำระหนี้ 5.มีบริษัทจดทะเบียนจำนวน 2 แห่ง ที่มีคุณภาพบรรษัทภิบาลต่ำกว่าเกณฑ์ อีกทั้งผู้ตรวจสอบบัญชีมีการตั้งข้อสังเกตในงบการเงินอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้ SCRI ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมโดยทำการวิเคราะห์กลุ่มอุตสาหกรรม วิเคราะห์ความเสี่ยงทั้งด้านบรรษัทภิบาลและสถานภาพทางการเงินของบริษัทจดทะเบียน พบว่า 1.กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพบรรษัทภิบาลต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ได้แก่ กลุ่มชิ้นส่วนอุตสาหกรรมและเครื่องจักร / ยานยนต์ / เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ สื่อและสิ่งพิมพ์
2.กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีสถานภาพทางการเงินที่อ่อนแอกว่าค่าเฉลี่ย ได้แก่ กลุ่มชิ้นส่วนอุตสาหกรรมและเครื่องจักร / อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง / วัสดุก่อสร้าง / ขนส่งและโลจิสติกส์ / ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ และ การท่องเที่ยวและสันทนาการ
3.กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากมีคุณภาพบรรษัทภิบาลที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยและมีสถานภาพทางการเงินที่อ่อนแอด้วย ได้แก่ กลุ่มชิ้นส่วนอุตสาหกรรมและเครื่องจักร
**บจ.ที่มีคะแนน SCRI Rating สูงสุด **
โดยจากการศึกษา ภายใต้ตัวแบบ SCRI Rating ซึ่งใช้ข้อมูลบริษัทจดทะเบียนที่ SCRI ได้จัดทำบทวิเคราะห์จำนวน 84 บริษัท ที่ได้มีการปรับประมาณการข้อมูลบริษัทจดทะเบียน ภายหลังการประกาศงบปี 2551 แล้ว ได้ผลสรุปดังต่อไปนี้ **1.บริษัทจดทะเบียนที่มีความเสี่ยงจากการลงทุนในช่วง 1 ปีข้างหน้าต่ำที่สุด โดยไ ด้คะแนน SCRI Rating 100 คะแนนเต็มได้แก่ EGCO และ SCB **
ส่วนบริษัทจดทะเบียนที่มีความเสี่ยงจากการลงทุนระดับรองลงไปได้แก่ KBANK ได้ 96.4 คะแนน และ BCP / RATCH / TOP / BBL ได้คะแนนเท่ากันคือ 95 คะแนน เพราะบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มดังกล่าวจัดเป็นบริษัทที่มีความเสี่ยงในการลงทุนที่ต่ำ โดยมีสถานภาพทางการเงินที่แข็งแกร่ง และมีคุณภา พบรรษัทภิบาลในระดับดีเลิศ
นอกจากนี้ยังมีบริษัทจดทะเบียนอีก 25 แห่งที่ได้รับการจัดอันดับ SCRI Rating อยู่ในระดับ “A” ที่นักลงทุนสามารถตัดสินใจลงทุนได้โดยมั่นใจได้ว่าบริษัทจดทะเบียนนั้นๆ จะมีโอกาสเกิดปัญหาด้านธรรมาภิบาลของผู้บริหารและปัญหาด้านเครดิตภายใน 1 ปีข้างหน้า ในระดับที่ต่ำ
**2.บริษัทจดทะเบียนที่มีความเสี่ยงในการลงทุนระดับที่สูงสุดได้แก่ CIG และ GSTEEL โดยทั้ง 2 บริษัทได้คะแนน SCRI Rating เท่ากันคือ 40 คะแนน และอีก 2 บริษัทที่มีความเสี่ยงในการลงทุนสูงรองลงมาได้แก่ SALEE และ ERAWAN ซึ่งได้คะแนนเท่ากันคือ 45 คะแนน** ซึ่งได้ถูกจัดอันดับความเสี่ยงในการลงทุนของบริษัทจดทะเบียนทั้ง 4 ที่กล่าวมาในระดับ “C” คือมีความเสี่ยงในการลงทุนระดับที่สูงทั้งปัญหาด้านสถานภาพทางการเงินที่มีแนวโน้มอ่อนแอในช่วง 1 ปีข้างหน้า และคุณภาพบรรษัทภิบาลในระดับที่ค่อนข้างแย่ นอกเหนือจาก 4 บริษัทที่กล่าวมายังมีบริษัทจดทะเบียนอีกจำนวน 23 แห่งที่ SCRI จัดอันดับความเสี่ยงในการลงทุนระดับ “C” ซึ่งเป็นความเสี่ยงระดับที่นักลงทุนต้องให้ความใส่ใจ และติดตามข้อมูลการลงทุนอยู่ตลอดเวลา เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาด้านการเงินหรือด้านธรรมาภิบาลของผู้บริหารในช่วง 1 ปีข้างหน้า
**การประเมิน SCRI Rating**
SCRI Rating ได้ทำการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียนโดยแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ด้าน และใช้ตัวแปรต่างๆกัน ในการประเมินคะแนนดังต่อไปนี้ **คุณภาพด้านบรรษัทภิบาล ** 1.รายงานของคณะกรรมการบรรษัทภิบาลมีข้อจำกัดในเรื่องความล่าช้าของข้อมูล (รายงานเปิดเผยปีละ 1 ครั้ง) ดังนั้น SCRI จึงอาจมีการปรับปรุงข้อมูลให้มีความเป็นปัจจุบันมากที่สุด ตามดุลยพินิจของนักวิเคราะห์ที่รับผิดชอบ
2.คุณภาพรายงานงบการเงิน : แม้ว่าความโปร่งใสของการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินจะเป็นหนึ่งในหัวข้อหลักที่ “คณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ” ได้ทำการวิเคราะห์แล้ว แต่ SCRI ยังได้ให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพของการรายงานข้อมูลในงบการเงินที่สามารถพิจารณาได้จาก “ความเห็นของผู้ตรวจสอบบัญชี” ในงบการเงินแต่ละไตรมาสด้วย
**ความแข็งแกร่งด้านการเงิน** 1.ด้านสภาพคล่อง SCRI ใช้อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) เป็นตัวแปรหนึ่งในการประเมิน เนื่องจากเป็นอัตราส่วนที่บ่งชี้ว่าในกรณีที่ต้องการใช้หนี้สินระยะสั้นคืน บริษัทจดทะเบียนมีสามารถใช้คืนได้โดยไม่จำเป็นต้องก่อหนี้เพิ่มได้หรือไม่ **ความสามารถในการชำระหนี้ ** SCRI ใช้อัตราส่วน Debt Service Coverage เป็นตัวแปรในการประเมินความสามารถดังกล่าวเพราะจะแสดงให้เห็นได้ว่าบริษัทจดทะเบียนมีกำไรจากการดำเนินงานเพียงพอที่จะใช้ชำระภาระหนี้สินอย่างน้อยภายใน 1 ปีข้างหน้าหรือไม่
**ด้านโครงสร้างเงินทุน** SCRI ใช้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน ในการประเมินความเสี่ยงด้านโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจดทะเบียนเพราะถ้ามีอัตราส่วนดังกล่าวสูงแสดงว่ามีภาระหนี้สินที่สูง **ความแข็งแกร่งด้านการเงินโดยรวม** SCRI นำตัวแบบพยากรณ์การล้มละลายของกิจการ (Z–Score Model) ที่พัฒนาโดย Altman (1968) มาใช้เป็นตัวแปรหนึ่งในการประเมินความเสี่ยงด้านการเงินด้วย
**หลักการและเหตุผล**
**1) ด้านบรรษัทภิบาล (Corporate Governance)**
SCRI ได้ให้ความสำคัญของคุณภาพบรรษัทภิบาลของบริษัทจดทะเบียนเป็นอย่างมากในสถานการณ์ที่อาจเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เนื่องจากคุณภาพบรรษัทภิบาลนั้นมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อผลประกอบการ จึงได้ทำการสรุปค่าเฉลี่ยด้านต่างๆของบริษัทจดทะเบียนที่ได้คะแนนบรรษัทภิบาลในช่วงคะแนนต่างๆกันโดยใช้รายงานปี 2551 ของคณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ และ ข้อมูลจากงบการเงินสิ้นสุดปี 2551 ให้เห็นความสัมพันธ์ดังกล่าว
ตารางแสดงค่าเฉลี่ยของผลประกอบการและมูลค่าของบริษัทจดทะเบียน( ขอรูป - SCRI 1)
xxxxxx
xxxxxx
ที่มา : Thai IOD และ SCR
หมายเหตุ
1. ROE เท่ากับ กำไรสุทธิปี 2551 หารด้วย ส่วนของผู้ถือหุ้น 2551
2. ROA เท่ากับกำไรสุทธิปี 2551 หารด้วย ส่วนสินทรัพย์รวมปี 2551,
3. Tobin’s Q ในบทวิเคราะห์ฉบับนี้ใช้ Approximate Tobin’s Q Ratio ที่แนะนำโดย Chung & Pruit (1994)
**2) ด้านความเสี่ยงทางการเงิน **
SCRI ประเมินว่าความเสี่ยงด้านการเงินในปี 2552 ยังเป็นประเด็นสำคัญที่นักลงทุนควรให้ความสนใจ เพราะมีโอกาสที่บริษัทจดทะเบียนที่มีสถานะภาพทางการเงินอ่อนแอ อาจประสบปัญหาเช่นเดียวกับในปี 2540 ได้เนื่องจากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดลงส่งผลกระทบด้านลบต่อยอดขาย ทำให้บริษัทที่สถานภาพทางการเงินไม่แข็งแกร่ง เกิดความเสี่ยงที่จะไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด และในกรณีเลวร้ายอาจนำไปสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการในที่สุด
นอกจากนี้การประเมินความเสี่ยงด้านการเงินของ SCRI Rating SCRI ได้แบ่งการประเมินความเสี่ยงด้านสถานภาพทางการเงินออกเป็น 2 กลุ่มคือบริษัทจดทะเบียนกลุ่มที่ไม่ใช่สถาบันการเงินและกลุ่มสถาบันการเงิน ดังต่อไปนี้
**การใช้ประโยชน์ SCRI Rating**
SCRI Rating จะทำการแบ่งบริษัทจดทะเบียนออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือระดับความเสี่ยงต่ำ ความเสี่ยงปานกลาง และความเสี่ยงสูง โดยจะแทนด้วยสัญลักษณ์ A / B และ C ตามลำดับ ซึ่งนักลงทุนสามารถพิจารณาระดับความเสี่ยงควบคู่ไปกับคำแนะนำการลงทุนในบทวิเคราะห์ อย่างไรก็ตามระดับความเสี่ยงไม่ได้เป็นตัวแทนที่ใช้ระบุถึงคำแนะนำการลงทุน
**สัญลักษณ์ “A” :** เป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และมีความเสี่ยงด้านต่างๆในระดับที่ต่ำ นักลงทุนสามารถลงทุนโดยมั่นใจได้ว่าบริษัทจดทะเบียนนั้นๆ จะมีโอกาสเกิดปัญหาด้านธรรมาภิบาลของผู้บริหารและปัญหาด้านเครดิตภายใน 1 ปีข้างหน้า ในระดับที่ต่ำ
**สัญลักษณ์ “B” :** เป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีคะแนนด้านใดด้านหนึ่งในระดับที่ต่ำ หรือ อาจเป็นได้ว่าคะแนนของทั้ง 2 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้น นักลงทุนควรศึกษาเพิ่มเติมถึงความเสี่ยงในด้านต่างๆเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนว่าสามารถยอมรับความเสี่ยงในด้านดังกล่าวได้หรือไม่
**สัญลักษณ์ “C” :** เป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีคะแนนด้านบรรษัทภิบาล และ ด้านการเงินต่ำ ดังนั้นนักลงทุนที่ไม่สามารถยอมรับความเสี่ยงในระดับที่สูง อาจหลีกเลี่ยงการลงทุน หรือ หากมีการลงทุนในบริษัทจดทะเบียนนั้นๆ นักลงทุนควรติดตามข่าวสารที่อาจส่งผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานของบริษัทจดทะเบียนและติดตามการเปลี่ยนแปลงคำแนะนำการลงทุนของ SCRI อย่างใกล้ชิด
ผลการศึกษา SCRI Rating กับบจ.
SCRI ได้ทำการศึกษาถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะในภาวะที่อาจเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้น ในเบื้องต้น SCRI ทำการศึกษาบริษัทจดทะเบียนจำนวน 87 แห่ง (รวมกลุ่มสถาบันการเงิน) ที่ SCRI ได้จัดทำบทวิเคราะห์ จากผลการศึกษาพบว่า 1.มีบริษัทจดทะเบียนจำนวน 12 แห่ง ที่มีคุณภาพบรรษัทภิบาลที่ “ต่ำกว่าระดับดี” 2.มีบริษัทจดทะเบียนจำนวน 8 แห่ง ที่ผู้ตรวจสอบบัญชีมีการ “ตั้งข้อสังเกต” ในงบการเงินอย่างมีนัยสำคัญ
3.พบบริษัทจดทะเบียน 1 แห่งที่ผู้ตรวจสอบบัญชี “ยอมรับงบการเงินอย่างมีเงื่อนไข” 4.มีบริษัทจดทะเบียนจำนวน 22 แห่ง ที่มี “สถานภาพทางการเงินอ่อนแอ” จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะมีการผิดนัดชำระหนี้ 5.มีบริษัทจดทะเบียนจำนวน 2 แห่ง ที่มีคุณภาพบรรษัทภิบาลต่ำกว่าเกณฑ์ อีกทั้งผู้ตรวจสอบบัญชีมีการตั้งข้อสังเกตในงบการเงินอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้ SCRI ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมโดยทำการวิเคราะห์กลุ่มอุตสาหกรรม วิเคราะห์ความเสี่ยงทั้งด้านบรรษัทภิบาลและสถานภาพทางการเงินของบริษัทจดทะเบียน พบว่า 1.กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพบรรษัทภิบาลต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ได้แก่ กลุ่มชิ้นส่วนอุตสาหกรรมและเครื่องจักร / ยานยนต์ / เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ สื่อและสิ่งพิมพ์
2.กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีสถานภาพทางการเงินที่อ่อนแอกว่าค่าเฉลี่ย ได้แก่ กลุ่มชิ้นส่วนอุตสาหกรรมและเครื่องจักร / อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง / วัสดุก่อสร้าง / ขนส่งและโลจิสติกส์ / ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ และ การท่องเที่ยวและสันทนาการ
3.กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากมีคุณภาพบรรษัทภิบาลที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยและมีสถานภาพทางการเงินที่อ่อนแอด้วย ได้แก่ กลุ่มชิ้นส่วนอุตสาหกรรมและเครื่องจักร