คอลัมน์คุยกับผู้จัดการกองทุน
โดย ดร.ฐนิตพงศ์ ชื่นภิบาล
นักวิเคราะห์การลงทุนอาวุโส
บลจ.อยุธยา จำกัด
คำว่า บรรษัทภิบาล ซึ่งหมายถึง การบริหารจัดการที่ดี ในปัจจุบันไม่ใช่คำแปลกใหม่แต่อย่างใด และได้มีการรณรงค์กันอย่างกว้างขวางมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับเรื่องของบรรษัทภิบาล ทางกองทุนของเราให้ความสำคัญอย่างมาก โดยหุ้นหรือหุ้นกู้ที่ทางกองทุนของเราจะลงทุน จะต้องได้รับการพิจารณาในเรื่องของบรรษัทภิบาลด้วย เพราะทางเราเชื่อว่าบริษัทที่เป็นบรรษัทภิบาล จะสามารถสร้างผลการดำเนินงานที่ดี และให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
เพื่อเป็นการส่งเสริมบรรษัทภิบาลที่ดี ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้คัดเลือกหลักของบรรษัทภิบาลที่ดีจำนวน 15 ข้อ ได้แก่ 1. นโยบายเกี่ยวกับบรรษัทภิบาลและการกำกับดูแลกิจการ 2. สิทธิของผู้ถือหุ้น 3. สิทธิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ 4. การประชุมผู้ถือหุ้น 5. ภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์ 6. ความขัดแย้งของผลประโยชน์ 7. จริยธรรมธุรกิจ 8. การถ่วงดุลของกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร 9. การรวมหรือแยกตำแหน่ง 10. ค่าตอบแทนของกรรมการและผู้บริหาร 11. การประชุมคณะกรรมการ 12. คณะอนุกรรมการ 13. ระบบการควบคุมและการตรวจสอบภายใน 14. รายงานของคณะกรรมการ 15. ความสัมพันธ์กับผู้ลงทุน ซึ่งอาจสรุปเป็นประเด็นสำคัญได้ดังนี้
การปฏิบัติกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างเป็นธรรม โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรวมถึง เจ้าของบริษัท ผู้ถือหุ้น ผู้ขายสินค้า ลูกค้า พนักงาน เจ้าหนี้ ชุมชน สังคมโดยรวม และรัฐบาล ซึ่งในจุดนี้ สามารถทำการวิเคราะห์ได้หลายวิธี เช่น บริษัทเอาเปรียบลูกค้าหรือไม่ ก็อาจจะสำรวจโดยการไปเป็นลูกค้าจริง (ถ้าทำได้) สอบถามจากผู้ที่เป็นลูกค้า หรืออาจจะหาข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ในเรื่องของการปฏิบัติต่อพนักงาน อาจหาข้อมูลได้จากการสอบถามพนักงาน หรือดูในเรื่องของการให้สวัสดิการ การให้ความช่วยเหลือพนักงาน หรือในเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคม ก็อาจดูได้จากการรักษาสิ่งแวดล้อม หรือดูว่าบริษัทนั้นๆมีความรับผิดชอบต่อชุมชนโดยรอบดีเพียงใด ซึ่งในส่วนนี้ มีผลต่อการดำเนินงานในอนาคตอย่างมาก ตัวอย่างเช่น หากบริษัทไม่มีความซื่อตรงต่อลูกค้าหรือเจ้าหนี้ ก็มีโอกาสที่บริษัทอาจถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากลูกค้าหรือเจ้าหนี้ได้ หรือแม้กระทั่งบริษัทอาจปิดกิจการหนีลูกค้าหรือเจ้าหนี้ก็เป็นได้ ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อผู้ถือหุ้นได้อย่างมาก
การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ นักลงทุน เจ้าหนี้ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยการเปิดเผยข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง ชัดเจน ทันต่อเหตุการณ์ และมีความสม่ำเสมอ เพื่อที่จะสามารถนำมาวิเคราะห์ข้อมูลการลงทุนได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น หากแนวโน้มผลประกอบในอนาคตไม่ดี ทางบริษัทก็ควรจะบอกตามตรงว่าไม่ดี และถ้าแนวโน้มดี ก็ควรจะบอกว่าดี หากทางบริษัทไม่บอกข้อมูลที่แท้จริง ก็อาจจะทำให้การตัดสินใจของนักลงทุนผิดพลาดได้ และอาจก่อให้เกิดความเสียหายตามมา
การลดความเสี่ยง ถึงแม้ทางบริษัทจะมีระบบการตรวจสอบและควบคุมที่ดี แต่ทางบริษัทก็ต้องมีการบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่น ถึงแม้บริษัทจะมีระบบการควบคุมต้นทุนที่ดี แต่บริษัทก็ควรมีการประเมินต้นทุนในอนาคต รวมถึงการเตรียมแผนรองรับในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น
ความรับผิดชอบต่อสังคม เนื่องจากบริษัทต่างๆ ถือเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และรายได้ส่วนใหญ่ของบริษัทก็มักจะมาจากสังคม ดังนั้น ทางบริษัทควรคืนกำไรให้กับสังคมบ้าง เช่น การทำกิจกรรมการกุศลต่างๆ การให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพราะการคืนกำไรให้กับสังคมจะสร้างประโยชน์กลับมาสู่บริษัทในอนาคต ตัวอย่างเช่น บริษัทหนึ่งมีการให้ทุนการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้ว่านักศึกษาที่ได้รับทุนจะไม่ได้มีข้อผูกมัดที่จะต้องทำงานชดใช้ทุนในอนาคต แต่นักศึกษาที่ได้รับทุน ย่อมนึกถึงบริษัทที่ให้ทุนเป็นแห่งแรกในการที่จะเข้าทำงาน ซึ่งนับว่าเป็นการสร้างบุคลากรที่จะเป็นกำลังสำคัญให้แก่บริษัท รวมถึงเป็นการสร้างโครงข่ายของผู้ที่จะทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้กับบริษัทด้วย
ความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ กล่าวคือ บริษัทโดยทั่วไปมีหน้าที่ที่จะต้องสร้างผลผลิตออกมา และบริษัทจะต้องมีความรับผิดชอบต่อผลผลิตนั้นๆ ไม่ว่าจะดีหรือไม่ ตัวอย่างเช่น บริษัทหนึ่งมีหน้าที่ผลิตรถยนต์ แต่ปรากฏในภายหลังว่ารถยนต์ที่ผลิตออกมามีปัญหาบางประการ บริษัทนั้นก็ควรที่จะแสดงความรับผิดชอบโดยการแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าตามสมควร เพื่อที่จะสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้าในระยะยาว
ความเป็นอิสระและความเข้มแข็งของคณะกรรมการ โดยคณะกรรมการควรมีความเป็นอิสระในการตัดสินใจใดๆที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัท และยึดผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง หากคณะกรรมการเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และตัดสินใจโดยยึดถือผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้องเป็นหลัก ย่อมสร้างความเสียหายให้แก่ผู้ถือหุ้นได้ ตัวอย่างเช่น บริษัทมีคณะกรรมการเป็นผู้บริหารระดับสูง และอาศัยความเป็นคณะกรรมการ อนุมัติขึ้นเงินเดือนให้กับตัวเองในอัตราที่สูงมาก ก็จะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้แก่บริษัท และจะส่งผลให้ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นลดลง
จากตัวอย่างเหล่านี้ จะเห็นได้ว่า หลักของบรรษัทภิบาลได้ส่งผลต่อผลประกอบการของบริษัททั้งในทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น ท่านนักลงทุนจึงไม่ควรละเลยที่จะวิเคราะห์ถึงการมีบรรษัทภิบาลที่ดีก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน โดยมีบทวิจัยจากนักวิจัยหลายท่านได้ยืนยันว่า บริษัทที่มีบรรษัทภิบาลที่ดี จะมีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดี สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง และช่วยให้ระดมทุนได้ง่าย
ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่า ทางเราให้ความสำคัญกับบรรษัทภิบาลอย่างมากในการตัดสินใจลงทุน โดยก่อนการลงทุนทุกครั้ง ทางเราจะทำการศึกษาข้อมูลในเชิงลึก และมีหลายครั้งที่บริษัทมีผลประกอบการที่ดี แต่พบว่าขาดบรรษัทภิบาลที่ดี ทางเราก็จะไม่ลงทุน หรือหากพบในภายหลังว่าขาดบรรษัทภิบาลที่ดี ทางเราก็จะขายหุ้นของบริษัทนั้นออกไป เพื่อที่ทางเราจะมั่นใจได้ว่าหุ้นทุกตัวที่ทางเราถืออยู่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีและไม่สร้างความเสียหายต่อพอร์ตการลงทุนของเราในระยะยาว
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
โดย ดร.ฐนิตพงศ์ ชื่นภิบาล
นักวิเคราะห์การลงทุนอาวุโส
บลจ.อยุธยา จำกัด
คำว่า บรรษัทภิบาล ซึ่งหมายถึง การบริหารจัดการที่ดี ในปัจจุบันไม่ใช่คำแปลกใหม่แต่อย่างใด และได้มีการรณรงค์กันอย่างกว้างขวางมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับเรื่องของบรรษัทภิบาล ทางกองทุนของเราให้ความสำคัญอย่างมาก โดยหุ้นหรือหุ้นกู้ที่ทางกองทุนของเราจะลงทุน จะต้องได้รับการพิจารณาในเรื่องของบรรษัทภิบาลด้วย เพราะทางเราเชื่อว่าบริษัทที่เป็นบรรษัทภิบาล จะสามารถสร้างผลการดำเนินงานที่ดี และให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
เพื่อเป็นการส่งเสริมบรรษัทภิบาลที่ดี ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้คัดเลือกหลักของบรรษัทภิบาลที่ดีจำนวน 15 ข้อ ได้แก่ 1. นโยบายเกี่ยวกับบรรษัทภิบาลและการกำกับดูแลกิจการ 2. สิทธิของผู้ถือหุ้น 3. สิทธิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ 4. การประชุมผู้ถือหุ้น 5. ภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์ 6. ความขัดแย้งของผลประโยชน์ 7. จริยธรรมธุรกิจ 8. การถ่วงดุลของกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร 9. การรวมหรือแยกตำแหน่ง 10. ค่าตอบแทนของกรรมการและผู้บริหาร 11. การประชุมคณะกรรมการ 12. คณะอนุกรรมการ 13. ระบบการควบคุมและการตรวจสอบภายใน 14. รายงานของคณะกรรมการ 15. ความสัมพันธ์กับผู้ลงทุน ซึ่งอาจสรุปเป็นประเด็นสำคัญได้ดังนี้
การปฏิบัติกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างเป็นธรรม โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรวมถึง เจ้าของบริษัท ผู้ถือหุ้น ผู้ขายสินค้า ลูกค้า พนักงาน เจ้าหนี้ ชุมชน สังคมโดยรวม และรัฐบาล ซึ่งในจุดนี้ สามารถทำการวิเคราะห์ได้หลายวิธี เช่น บริษัทเอาเปรียบลูกค้าหรือไม่ ก็อาจจะสำรวจโดยการไปเป็นลูกค้าจริง (ถ้าทำได้) สอบถามจากผู้ที่เป็นลูกค้า หรืออาจจะหาข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ในเรื่องของการปฏิบัติต่อพนักงาน อาจหาข้อมูลได้จากการสอบถามพนักงาน หรือดูในเรื่องของการให้สวัสดิการ การให้ความช่วยเหลือพนักงาน หรือในเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคม ก็อาจดูได้จากการรักษาสิ่งแวดล้อม หรือดูว่าบริษัทนั้นๆมีความรับผิดชอบต่อชุมชนโดยรอบดีเพียงใด ซึ่งในส่วนนี้ มีผลต่อการดำเนินงานในอนาคตอย่างมาก ตัวอย่างเช่น หากบริษัทไม่มีความซื่อตรงต่อลูกค้าหรือเจ้าหนี้ ก็มีโอกาสที่บริษัทอาจถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากลูกค้าหรือเจ้าหนี้ได้ หรือแม้กระทั่งบริษัทอาจปิดกิจการหนีลูกค้าหรือเจ้าหนี้ก็เป็นได้ ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อผู้ถือหุ้นได้อย่างมาก
การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ นักลงทุน เจ้าหนี้ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยการเปิดเผยข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง ชัดเจน ทันต่อเหตุการณ์ และมีความสม่ำเสมอ เพื่อที่จะสามารถนำมาวิเคราะห์ข้อมูลการลงทุนได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น หากแนวโน้มผลประกอบในอนาคตไม่ดี ทางบริษัทก็ควรจะบอกตามตรงว่าไม่ดี และถ้าแนวโน้มดี ก็ควรจะบอกว่าดี หากทางบริษัทไม่บอกข้อมูลที่แท้จริง ก็อาจจะทำให้การตัดสินใจของนักลงทุนผิดพลาดได้ และอาจก่อให้เกิดความเสียหายตามมา
การลดความเสี่ยง ถึงแม้ทางบริษัทจะมีระบบการตรวจสอบและควบคุมที่ดี แต่ทางบริษัทก็ต้องมีการบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่น ถึงแม้บริษัทจะมีระบบการควบคุมต้นทุนที่ดี แต่บริษัทก็ควรมีการประเมินต้นทุนในอนาคต รวมถึงการเตรียมแผนรองรับในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น
ความรับผิดชอบต่อสังคม เนื่องจากบริษัทต่างๆ ถือเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และรายได้ส่วนใหญ่ของบริษัทก็มักจะมาจากสังคม ดังนั้น ทางบริษัทควรคืนกำไรให้กับสังคมบ้าง เช่น การทำกิจกรรมการกุศลต่างๆ การให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพราะการคืนกำไรให้กับสังคมจะสร้างประโยชน์กลับมาสู่บริษัทในอนาคต ตัวอย่างเช่น บริษัทหนึ่งมีการให้ทุนการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้ว่านักศึกษาที่ได้รับทุนจะไม่ได้มีข้อผูกมัดที่จะต้องทำงานชดใช้ทุนในอนาคต แต่นักศึกษาที่ได้รับทุน ย่อมนึกถึงบริษัทที่ให้ทุนเป็นแห่งแรกในการที่จะเข้าทำงาน ซึ่งนับว่าเป็นการสร้างบุคลากรที่จะเป็นกำลังสำคัญให้แก่บริษัท รวมถึงเป็นการสร้างโครงข่ายของผู้ที่จะทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้กับบริษัทด้วย
ความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ กล่าวคือ บริษัทโดยทั่วไปมีหน้าที่ที่จะต้องสร้างผลผลิตออกมา และบริษัทจะต้องมีความรับผิดชอบต่อผลผลิตนั้นๆ ไม่ว่าจะดีหรือไม่ ตัวอย่างเช่น บริษัทหนึ่งมีหน้าที่ผลิตรถยนต์ แต่ปรากฏในภายหลังว่ารถยนต์ที่ผลิตออกมามีปัญหาบางประการ บริษัทนั้นก็ควรที่จะแสดงความรับผิดชอบโดยการแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าตามสมควร เพื่อที่จะสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้าในระยะยาว
ความเป็นอิสระและความเข้มแข็งของคณะกรรมการ โดยคณะกรรมการควรมีความเป็นอิสระในการตัดสินใจใดๆที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัท และยึดผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง หากคณะกรรมการเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และตัดสินใจโดยยึดถือผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้องเป็นหลัก ย่อมสร้างความเสียหายให้แก่ผู้ถือหุ้นได้ ตัวอย่างเช่น บริษัทมีคณะกรรมการเป็นผู้บริหารระดับสูง และอาศัยความเป็นคณะกรรมการ อนุมัติขึ้นเงินเดือนให้กับตัวเองในอัตราที่สูงมาก ก็จะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้แก่บริษัท และจะส่งผลให้ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นลดลง
จากตัวอย่างเหล่านี้ จะเห็นได้ว่า หลักของบรรษัทภิบาลได้ส่งผลต่อผลประกอบการของบริษัททั้งในทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น ท่านนักลงทุนจึงไม่ควรละเลยที่จะวิเคราะห์ถึงการมีบรรษัทภิบาลที่ดีก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน โดยมีบทวิจัยจากนักวิจัยหลายท่านได้ยืนยันว่า บริษัทที่มีบรรษัทภิบาลที่ดี จะมีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดี สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง และช่วยให้ระดมทุนได้ง่าย
ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่า ทางเราให้ความสำคัญกับบรรษัทภิบาลอย่างมากในการตัดสินใจลงทุน โดยก่อนการลงทุนทุกครั้ง ทางเราจะทำการศึกษาข้อมูลในเชิงลึก และมีหลายครั้งที่บริษัทมีผลประกอบการที่ดี แต่พบว่าขาดบรรษัทภิบาลที่ดี ทางเราก็จะไม่ลงทุน หรือหากพบในภายหลังว่าขาดบรรษัทภิบาลที่ดี ทางเราก็จะขายหุ้นของบริษัทนั้นออกไป เพื่อที่ทางเราจะมั่นใจได้ว่าหุ้นทุกตัวที่ทางเราถืออยู่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีและไม่สร้างความเสียหายต่อพอร์ตการลงทุนของเราในระยะยาว
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน