ASTV ผู้จัดการรายวัน – ตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งเป้าแก้เกณฑ์เอื้อบริษัทขนาดกลาง-เล็ก เข้าจดทะเบียนเร็วขึ้น โดย ก.ล.ต.ไม่ตรวจไฟลิ่งซ้ำให้แล็วเสร็จภายในปีนี้ หวังเปิดทางให้ระดมทุนได้สะดวกหากภาวะตลาดหุ้นกลับสู่ขาขึ้น ด้าน “วิเชฐ” ยันไม่ได้เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ที่ปรึกษาทางการเงิน แต่ผลประโยชน์จะตกอยู่กับทุกฝ่าย ขณะที่สำนักงานก.ล.ต. ย้ำที่ปรึกษาฯ ต้องระมัดระวังเลือกบริษัทที่ดีเข้าเทรด ส่วนที่ปรึกษาทางการเงิน หวั่นต้องแบกรับภาระมากกว่าผ่อนปรน
นายวิเชฐ ตันติวานิช รองผู้จัดการ สายงานผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้หารือกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในการจัดทำแบบเสนอขายข้อมูลหลักทรัพย์ (ไฟลิ่ง) เพื่อเอื้อให้สามารถเสนอขายหุ้นได้รวดเร็วขึ้นสำหรับบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง ด้วยการเปิดทางให้ที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ โดยที่สำนักงาน ก.ล.ต.ไม่ต้องเข้าไปตรวจเช็คไฟลิ่งอีกครั้ง ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการให้แล้วภายภายในปีนี้
ทั้งนี้ จากการหารือเบื้องต้นสำนักงานก.ล.ต.เห็นชอบในหลักการแล้ว แต่จะต้องเสนอให้กระทรวงการคลังมีความเห็นชอบเพื่อที่จะสามารถออกเกณฑ์เรื่องดังกล่าวได้เร็วมากขึ้น เพื่อจะสนับสนุนให้บริษัทขนาดกลางและเล็กสามารถเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ สามารถได้เร็วขึ้น เพราะบริษัทขนาดกลางและเล็กอาจจะประสบปัญหาด้านสภาพคล่องทางการเงิน หลังจากที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
“การที่แบงก์เข้มงวดปล่อยกู้ให้กับบริษัทขนาดกลางและเล็กยาก ส่งผลทำให้มีปัญหาในเรื่องเงินทุน ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงต้องการสนับสนุนให้บริษัทดังกล่าวเข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ หรือ mai ได้เร็วขึ้น เพื่อนำเงินทุนไปดำเนินธุรกิจหรือขยายกิจการต่อไป เพราะปัจจุบันในประเทศไทยมีบริษัทขนาดกลางและเล็กในเมืองไทยเป็นแสนๆ บริษัท ส่วนบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังคงต้องยื่นไฟลิ่งต่อสำนักงานก.ล.ต.เหมือนเดิม”
นายวิเชฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินการดังกล่าวจะไม่เป็นการเพิ่มภาระความรับผิดชอบให้กับทางบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน เพราะหลักเกณฑ์ที่จะออกมานั้นจะดูแลทั้งในส่วนของบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินเช่นกัน แต่บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินก็จะต้องมีการคัดเลือกบริษัทที่ดีและมีคุณสมบัติที่ครบถ้วน แม้ที่ปรึกษาทางการเงินจะทำหน้าที่มากขึ้นแต่ผลตอบแทนก็จะสูงขึ้นเช่น ซึ่งหากมีการดำเนินการดังกล่าวก็จะส่งผลดีกับทุกฝ่ายทั้งบจ.และที่ปรึกทางการเงิน
นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ ผู้ช่วยผู้จัดการกลุ่มงานผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในปีนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีนโยบายที่จะสนับสนุนให้บริษัทเอกชนเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาดเอ็มเอไอได้รวดเร็วขึ้น โดยจะนำแผนเดิมที่จะให้บริษัทเอกชนสามารถเข้าจดทะเบียนได้เร็ว โดยที่สำนักงานก.ล.ต.ไม่ต้องมาตรวจเช็คไฟลิ่งอีกครั้งมาใช้
ทั้งนี้ แม้ภาวะตลาดหุ้นไทยปีนี้ไม่เอื้อในการเข้าระดมทุนแต่หากสามารถผลักดันให้เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นได้เพื่ออนาคตภาวะตลาดหุ้นไทยกลับมาปรับตัวดีขึ้น และเอื้อในการเข้าจดทะเบียนก็จะทำให้บริษัทจดทะเบียนใช้เวลาไม่นานที่จะระดมทุน
นางณัฐญา นิยมานุสร ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมบรรษัทภิบาล สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า การที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และก.ล.ต.อยู่ระหว่างร่วมกันพิจารณาที่จะให้สามารถที่จะทำไฟลิ่งของบริษัทที่เตรียมตัวเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำได้เร็วขึ้น โดยที่ปรึกษาทางการเงินจะเป็นผู้ดูแลในเรื่องการเปิดเผยข้อมูล โดยที่ ก.ล.ต.จะไม่เข้าไปตรวจเช็คไฟลิ่งอีก
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินจะต้องมีการเลือกบริษัทที่ดีและมีความระมัดระวังมากขึ้น เพื่อที่จะเข้ามาจดทะเบียน และเป็นการเพิ่มความรับผิดชอบของที่ปรึกษาทางการเงินเช่นกัน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นการเพิ่มช่องทางที่จะให้บริษัทเข้าจดทะเบียนได้เร็วขึ้น แต่ระบบการยื่นไฟลิ่งปัจจุบันยังคงมีอยู่เหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีการประกาศใช้นั้นจะต้องมีการสำรวจความคิดเห็น (เฮียริ่ง) กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน
ด้านแหล่งข่าวจากบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินแห่ง กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวเหมือนกับเป็นการผลักภาระให้กับทางที่ปรึกษาทางการเงิน โดยที่ก.ล.ต.ไม่ต้องมาตรวจเช็ค และหากมีปัญหาเกิดขึ้น ก.ล.ต. จะไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะก.ล.ต.ไม่ได้เข้าไปตรวจเช็คไฟลิ่ง ทำให้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินต้องรับผิดชอบคนเดียว และเป็นการเพิ่มต้นทุนในการดำเนินการให้กับทางที่ปรึกษาทางการเงิน ในการให้บริษัทเข้ามาประเมินมูลค่า และสำนักกฎหมายเข้ามาดูในเรื่องความเสี่ยง ทำให้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินมีความกังวลในการทำงานมากขึ้น มากกว่าการผ่อนปรนที่จะทำให้การเข้าจดทะเบียนของบจ.ทำได้เร็วขึ้น
“หากจะมีการดำเนินการดังกล่าว ต้องมีการประกาศเกณฑ์ออกมาในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลที่จะอยู่ในไฟลิ่งว่าจะต้องมีอะไรบ้างที่เป็นมาตรฐาน เพื่อที่จะให้ที่ปรึกษาทางการเงินดำเนินการ เพราะหากไม่มีการทำดังกล่าวที่ปรึกษาทางการเงินบางรายอาจมีการเปิดเผยข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือเปิดเผยข้อมูลมากเกินความจำเป็นได้”
นายวิเชฐ ตันติวานิช รองผู้จัดการ สายงานผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้หารือกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในการจัดทำแบบเสนอขายข้อมูลหลักทรัพย์ (ไฟลิ่ง) เพื่อเอื้อให้สามารถเสนอขายหุ้นได้รวดเร็วขึ้นสำหรับบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง ด้วยการเปิดทางให้ที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ โดยที่สำนักงาน ก.ล.ต.ไม่ต้องเข้าไปตรวจเช็คไฟลิ่งอีกครั้ง ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการให้แล้วภายภายในปีนี้
ทั้งนี้ จากการหารือเบื้องต้นสำนักงานก.ล.ต.เห็นชอบในหลักการแล้ว แต่จะต้องเสนอให้กระทรวงการคลังมีความเห็นชอบเพื่อที่จะสามารถออกเกณฑ์เรื่องดังกล่าวได้เร็วมากขึ้น เพื่อจะสนับสนุนให้บริษัทขนาดกลางและเล็กสามารถเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ สามารถได้เร็วขึ้น เพราะบริษัทขนาดกลางและเล็กอาจจะประสบปัญหาด้านสภาพคล่องทางการเงิน หลังจากที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
“การที่แบงก์เข้มงวดปล่อยกู้ให้กับบริษัทขนาดกลางและเล็กยาก ส่งผลทำให้มีปัญหาในเรื่องเงินทุน ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงต้องการสนับสนุนให้บริษัทดังกล่าวเข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ หรือ mai ได้เร็วขึ้น เพื่อนำเงินทุนไปดำเนินธุรกิจหรือขยายกิจการต่อไป เพราะปัจจุบันในประเทศไทยมีบริษัทขนาดกลางและเล็กในเมืองไทยเป็นแสนๆ บริษัท ส่วนบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังคงต้องยื่นไฟลิ่งต่อสำนักงานก.ล.ต.เหมือนเดิม”
นายวิเชฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินการดังกล่าวจะไม่เป็นการเพิ่มภาระความรับผิดชอบให้กับทางบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน เพราะหลักเกณฑ์ที่จะออกมานั้นจะดูแลทั้งในส่วนของบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินเช่นกัน แต่บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินก็จะต้องมีการคัดเลือกบริษัทที่ดีและมีคุณสมบัติที่ครบถ้วน แม้ที่ปรึกษาทางการเงินจะทำหน้าที่มากขึ้นแต่ผลตอบแทนก็จะสูงขึ้นเช่น ซึ่งหากมีการดำเนินการดังกล่าวก็จะส่งผลดีกับทุกฝ่ายทั้งบจ.และที่ปรึกทางการเงิน
นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ ผู้ช่วยผู้จัดการกลุ่มงานผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในปีนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีนโยบายที่จะสนับสนุนให้บริษัทเอกชนเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาดเอ็มเอไอได้รวดเร็วขึ้น โดยจะนำแผนเดิมที่จะให้บริษัทเอกชนสามารถเข้าจดทะเบียนได้เร็ว โดยที่สำนักงานก.ล.ต.ไม่ต้องมาตรวจเช็คไฟลิ่งอีกครั้งมาใช้
ทั้งนี้ แม้ภาวะตลาดหุ้นไทยปีนี้ไม่เอื้อในการเข้าระดมทุนแต่หากสามารถผลักดันให้เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นได้เพื่ออนาคตภาวะตลาดหุ้นไทยกลับมาปรับตัวดีขึ้น และเอื้อในการเข้าจดทะเบียนก็จะทำให้บริษัทจดทะเบียนใช้เวลาไม่นานที่จะระดมทุน
นางณัฐญา นิยมานุสร ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมบรรษัทภิบาล สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า การที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และก.ล.ต.อยู่ระหว่างร่วมกันพิจารณาที่จะให้สามารถที่จะทำไฟลิ่งของบริษัทที่เตรียมตัวเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำได้เร็วขึ้น โดยที่ปรึกษาทางการเงินจะเป็นผู้ดูแลในเรื่องการเปิดเผยข้อมูล โดยที่ ก.ล.ต.จะไม่เข้าไปตรวจเช็คไฟลิ่งอีก
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินจะต้องมีการเลือกบริษัทที่ดีและมีความระมัดระวังมากขึ้น เพื่อที่จะเข้ามาจดทะเบียน และเป็นการเพิ่มความรับผิดชอบของที่ปรึกษาทางการเงินเช่นกัน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นการเพิ่มช่องทางที่จะให้บริษัทเข้าจดทะเบียนได้เร็วขึ้น แต่ระบบการยื่นไฟลิ่งปัจจุบันยังคงมีอยู่เหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีการประกาศใช้นั้นจะต้องมีการสำรวจความคิดเห็น (เฮียริ่ง) กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน
ด้านแหล่งข่าวจากบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินแห่ง กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวเหมือนกับเป็นการผลักภาระให้กับทางที่ปรึกษาทางการเงิน โดยที่ก.ล.ต.ไม่ต้องมาตรวจเช็ค และหากมีปัญหาเกิดขึ้น ก.ล.ต. จะไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะก.ล.ต.ไม่ได้เข้าไปตรวจเช็คไฟลิ่ง ทำให้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินต้องรับผิดชอบคนเดียว และเป็นการเพิ่มต้นทุนในการดำเนินการให้กับทางที่ปรึกษาทางการเงิน ในการให้บริษัทเข้ามาประเมินมูลค่า และสำนักกฎหมายเข้ามาดูในเรื่องความเสี่ยง ทำให้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินมีความกังวลในการทำงานมากขึ้น มากกว่าการผ่อนปรนที่จะทำให้การเข้าจดทะเบียนของบจ.ทำได้เร็วขึ้น
“หากจะมีการดำเนินการดังกล่าว ต้องมีการประกาศเกณฑ์ออกมาในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลที่จะอยู่ในไฟลิ่งว่าจะต้องมีอะไรบ้างที่เป็นมาตรฐาน เพื่อที่จะให้ที่ปรึกษาทางการเงินดำเนินการ เพราะหากไม่มีการทำดังกล่าวที่ปรึกษาทางการเงินบางรายอาจมีการเปิดเผยข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือเปิดเผยข้อมูลมากเกินความจำเป็นได้”