วานนี้ (23 เม.ย.)เวลา 13.30 น.ที่ห้องพิจารณาคดี 813 ศาลมีคำสั่ง ยกคำร้อง ที่นายคารม พลทะกลาง ทนายความ กลุ่มแนวร่วมประชาชนต่อต้าน เผด็จการแห่งชาติ (นปช. ) หรือกลุ่มคนเสื้อแดงยื่นคำร้องขอให้ศาลปล่อยตัว นายวีระ มุสิกพงศ์ นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ และ นพ.เหวง โตจิราการ 3 แกนนำ นปช. ซึ่งถูกเจ้าพนักงานควบคุมตัวตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ไว้ที่กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 จังหวัดปทุมธานี
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ฝ่ายผู้ร้องมีนายคารม ทนายความเบิกความ เพียงปากเดียวไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุน ซึ่งได้ความจาก นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ เลขาธิการ ครม. ยืนยันว่า การประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เมื่อวันที่ 12 เมษายน ที่กระทรวงมหาดไทย นายกรัฐมนตรีได้ปรึกษา นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง นายชวรัตน์ ชาญวีระกุล รมว.มหาดไทย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย มีมติเห็นชอบแล้ว และเมื่อวันที่ 17 เมษายน มีการประชุม ครม.วาระปกติที่ทำเนียบรัฐบาล นายกรัฐมนตรีได้แจ้งให้ที่ประชุม ครม.รับทราบให้ความเห็นชอบและสนับสนุนการออกประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯดังกล่าวแล้ว ถือเป็นการผ่านความเห็นชอบของ ครม. ตาม ม.8 วรรคสอง ของกฤษฎีกา ว่าด้วยการเสนอเรื่องและประชุม ครม. พ.ศ.2548 ที่ระบุว่า กรณีมีเห็นจำเป็นที่จะต้องรักษาผล ความลับของชาติ หรือในสถานการณ์ฉุกเฉิน นายกรัฐมนตรีอาจพิจารณาร่วมกับ ครม. ที่เห็นสมควรเพื่อดำเนินการได้ และให้แจ้งเรื่องให้ครม.ทราบในการประชุมครั้งต่อไป
ศาลเห็นว่า ในการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เมื่อวันที่ 12 เมษายน นายกรัฐมนตรีได้ปรึกษากับ ครม. ก่อนจึงค่อยประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และต่อมาวันที่ 17 เมษายน ได้รายงานให้ ครม.ทราบแล้ว ถือว่านายกรัฐมนตรีประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยความเห็นชอบของ ครม. ถูกต้องแล้ว ไม่ได้เป็นการประกาศโดยอาศัยอำนาจนายกรัฐมนตรีเพียงลำพัง ที่จะต้องขอความเห็นชอบ ครม.ภายใน 3 วัน ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ม.5 ดังนั้นประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ดังกล่าว จึงยังไม่สิ้นสุดลงแต่อย่างได้ การที่เจ้าพนักงานควบคุมตัวผู้ต้องหาจึงไม่ใช่เป็นการจับคุมคุมขังโดยไม่ชอบ คำร้องไม่มีมูล ให้ยกคำร้อง
ภายหลังนายคารม กล่าวว่า กลุ่มคนเสื้อแดงได้ใช้กระบวนการตามกฎหมายอย่างเต็มที่แล้ว และเคารพคำสั่งศาล แต่คดีนี่จะต้องมีการพิสูจน์กันต่อไปในชั้นศาลอุทธรณ์ และฎีกา ที่จะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าการประชุมครม.เกี่ยวกับเรื่องที่มีความร้ายแรง ประชุมกันแค่ 4-5 คน ได้ตามกฤษฎีกาตีความ แต่ขัดกับรัฐธรรมนูญซึ่งระบุไว้ต้องประชุม ครม. จำนวน 1 ใน 3 ของ ครม.ทั้งหมดที่มีอยู่ โดยจะยื่นอุทธรณ์ภายในวันจันทร์หรืออังคารหน้า พร้อมขอให้ศาลอุทธรณ์มีหมายเรียกเอกสารการประชุม ครม.เมื่อวันที่ 17 เมษายน มาตรวจสอบว่ามีการนำเรื่องประกาศ พ.ร.ก.เข้าสู่ที่ประชุม ครม.ทราบหรือไม่ เพราะนายสุรชัย เพียงให้การด้วยวาจาไม่ได้แสดงเอกสาร ซึ่งขัดแย้งกับหลักฐานที่ตนมี
วันเดียวกัน เวลา 09.00 น. นายเรืองเดช เหลืองบริบูรณ์ ทนายความ ในฐานะตัวแทนของนายวีระ มุสิกพงศ์ นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ นพ.เหวง โตจิราการ และพ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงเดินทางเข้ายื่นฟ้อง ต่อศาลปกครอง เพื่อให้ดำเนินการกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กรณีมีการกระทำโดยมิชอบที่ประกาศใช้พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงในเขตพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล เมื่อวันที่ 12 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ตามพ.ร.ก.บริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาตรา 5
อีกทั้งหลังจากประกาศใช้พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าวยังไม่มีการนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อขอความเห็นชอบภายใน 3 วัน จึงมีผลทำให้พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าวต้องสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 15 เม.ย.ที่ผ่านมา
นายเรืองเดช กล่าวว่า เดินทางมายื่นคำฟ้องในฐานะประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน และในฐานะตัวแทนของนายวีระ นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ นพ.เหวง และ พ.ต.ท.ไวพจน์ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว ซึ่งตนเห็นว่า การประกาศใช้พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าวส่งผลทำให้ประชาชน นักท่องเที่ยวจำนวนมาก เกิดความหวาดกลัว ตนจึงเดินทางมายื่นคำฟ้องเพื่อให้เพิกถอนการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว และยื่นขอให้ไต่สวนฉุกเฉิน ให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวและระงับการกระทำใดๆอันเกิดจากการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว ซึ่งขณะนี้ตนกำลังรออยู่ว่า ศาลจะรับคำฟ้องไว้พิจารณาและไต่สวนฉุกเฉินหรือไม่
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ฝ่ายผู้ร้องมีนายคารม ทนายความเบิกความ เพียงปากเดียวไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุน ซึ่งได้ความจาก นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ เลขาธิการ ครม. ยืนยันว่า การประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เมื่อวันที่ 12 เมษายน ที่กระทรวงมหาดไทย นายกรัฐมนตรีได้ปรึกษา นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง นายชวรัตน์ ชาญวีระกุล รมว.มหาดไทย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย มีมติเห็นชอบแล้ว และเมื่อวันที่ 17 เมษายน มีการประชุม ครม.วาระปกติที่ทำเนียบรัฐบาล นายกรัฐมนตรีได้แจ้งให้ที่ประชุม ครม.รับทราบให้ความเห็นชอบและสนับสนุนการออกประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯดังกล่าวแล้ว ถือเป็นการผ่านความเห็นชอบของ ครม. ตาม ม.8 วรรคสอง ของกฤษฎีกา ว่าด้วยการเสนอเรื่องและประชุม ครม. พ.ศ.2548 ที่ระบุว่า กรณีมีเห็นจำเป็นที่จะต้องรักษาผล ความลับของชาติ หรือในสถานการณ์ฉุกเฉิน นายกรัฐมนตรีอาจพิจารณาร่วมกับ ครม. ที่เห็นสมควรเพื่อดำเนินการได้ และให้แจ้งเรื่องให้ครม.ทราบในการประชุมครั้งต่อไป
ศาลเห็นว่า ในการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เมื่อวันที่ 12 เมษายน นายกรัฐมนตรีได้ปรึกษากับ ครม. ก่อนจึงค่อยประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และต่อมาวันที่ 17 เมษายน ได้รายงานให้ ครม.ทราบแล้ว ถือว่านายกรัฐมนตรีประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยความเห็นชอบของ ครม. ถูกต้องแล้ว ไม่ได้เป็นการประกาศโดยอาศัยอำนาจนายกรัฐมนตรีเพียงลำพัง ที่จะต้องขอความเห็นชอบ ครม.ภายใน 3 วัน ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ม.5 ดังนั้นประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ดังกล่าว จึงยังไม่สิ้นสุดลงแต่อย่างได้ การที่เจ้าพนักงานควบคุมตัวผู้ต้องหาจึงไม่ใช่เป็นการจับคุมคุมขังโดยไม่ชอบ คำร้องไม่มีมูล ให้ยกคำร้อง
ภายหลังนายคารม กล่าวว่า กลุ่มคนเสื้อแดงได้ใช้กระบวนการตามกฎหมายอย่างเต็มที่แล้ว และเคารพคำสั่งศาล แต่คดีนี่จะต้องมีการพิสูจน์กันต่อไปในชั้นศาลอุทธรณ์ และฎีกา ที่จะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าการประชุมครม.เกี่ยวกับเรื่องที่มีความร้ายแรง ประชุมกันแค่ 4-5 คน ได้ตามกฤษฎีกาตีความ แต่ขัดกับรัฐธรรมนูญซึ่งระบุไว้ต้องประชุม ครม. จำนวน 1 ใน 3 ของ ครม.ทั้งหมดที่มีอยู่ โดยจะยื่นอุทธรณ์ภายในวันจันทร์หรืออังคารหน้า พร้อมขอให้ศาลอุทธรณ์มีหมายเรียกเอกสารการประชุม ครม.เมื่อวันที่ 17 เมษายน มาตรวจสอบว่ามีการนำเรื่องประกาศ พ.ร.ก.เข้าสู่ที่ประชุม ครม.ทราบหรือไม่ เพราะนายสุรชัย เพียงให้การด้วยวาจาไม่ได้แสดงเอกสาร ซึ่งขัดแย้งกับหลักฐานที่ตนมี
วันเดียวกัน เวลา 09.00 น. นายเรืองเดช เหลืองบริบูรณ์ ทนายความ ในฐานะตัวแทนของนายวีระ มุสิกพงศ์ นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ นพ.เหวง โตจิราการ และพ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงเดินทางเข้ายื่นฟ้อง ต่อศาลปกครอง เพื่อให้ดำเนินการกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กรณีมีการกระทำโดยมิชอบที่ประกาศใช้พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงในเขตพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล เมื่อวันที่ 12 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ตามพ.ร.ก.บริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาตรา 5
อีกทั้งหลังจากประกาศใช้พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าวยังไม่มีการนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อขอความเห็นชอบภายใน 3 วัน จึงมีผลทำให้พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าวต้องสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 15 เม.ย.ที่ผ่านมา
นายเรืองเดช กล่าวว่า เดินทางมายื่นคำฟ้องในฐานะประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน และในฐานะตัวแทนของนายวีระ นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ นพ.เหวง และ พ.ต.ท.ไวพจน์ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว ซึ่งตนเห็นว่า การประกาศใช้พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าวส่งผลทำให้ประชาชน นักท่องเที่ยวจำนวนมาก เกิดความหวาดกลัว ตนจึงเดินทางมายื่นคำฟ้องเพื่อให้เพิกถอนการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว และยื่นขอให้ไต่สวนฉุกเฉิน ให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวและระงับการกระทำใดๆอันเกิดจากการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว ซึ่งขณะนี้ตนกำลังรออยู่ว่า ศาลจะรับคำฟ้องไว้พิจารณาและไต่สวนฉุกเฉินหรือไม่