เอเอฟพี – รายงานผลประกอบการของธนาคารใหญ่ๆ ในสหรัฐฯหลายแห่ง ที่แข็งแกร่งกว่าที่คาดไว้ ทำให้เห็นกันว่าภาคการธนาคารของประเทศฟื้นจาก “ภาวะเฉียดตาย” แล้ว อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางรายเตือนว่า ปัญหาและความยากลำบากต่าง ๆ ใช่ว่าจะหมดสิ้นไป
เมื่อวันจันทร์ (20) แบงก์ออฟอเมริกา ประกาศผลประกอบการซึ่งปรากฏว่าดีกว่าที่คาดเอาไว้มาก โดยได้กำไรถึง 4,200 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรกปีนี้ มากกว่าที่เคยทำได้ตลอดทั้งปี 2008 ก่อนหน้านี้ซิติกรุ๊ป, เจพีมอร์แกน, และโกลด์แมนแซคส์ ก็ออกมารายงานว่ามีกำไรมากกว่าที่คาดเคยคาดไว้เดิม อันเป็นสัญญาณที่เพิ่มความหวังว่า อุตสาหกรรมนี้น่าจะฟื้นตัวจากภาวะตกต่ำร้ายแรงแล้ว
ส่วนธนาคารเวลส์ ฟาร์โก ที่ยังไม่ได้รายงานผลประกอบการอย่างเป็นทางการ ก็ออกมาแถลงล่วงหน้าว่า ธนาคารจะมีกำไร “สูงเป็นประวัติการณ์” ในไตรมาสระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคมด้วย
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภาคการธนาคารของสหรัฐฯ มีผลการดำเนินงานที่ดีก็คือ อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากๆ เพราะว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ได้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเฟดฟันด์เรต จนเกือบแตะระดับ 0% เพื่อกระตุ้นสินเชื่อและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
“ธนาคารได้ประโยชน์จากการดีดขึ้นของการรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้าน อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากก็ทำให้ ธนาคารสามารถกู้ยืมเงินได้ในต้นทุนแสนถูกเพื่อมาปล่อยกู้ต่อ ซึ่งทำให้ได้กำไรมากขึ้น” จอห์น วิลสันจากมอร์แกน คีแกนกล่าว และเสริมด้วยว่าสถานการณ์เช่นนี้ ย่อมถือเป็นโอกาสในการสร้างกำไรของแบงก์ทั้งหลาย
อย่างไรก็ตาม มีข้อน่าสังเกตด้วยว่า ในการรายงานผลประกอบการไตรมาสแรกนี้ ธนาคารจำนวนไม่น้อยยังต้องตั้งสำรองเงินสดก้อนโตสำหรับหนี้เสีย ซึ่งแสดงถึงการคาดการณ์ของธนาคารที่ว่า สินเชื่อบ้านและเครดิตการ์ดอาจจะมีปัญหาเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น แบงก์ออฟอเมริกาที่สำรองเงินสดต่อหนี้เสียเพิ่มขึ้นเป็น 6,400 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่ซิตี้กรุ๊ปตั้งสำรองเพิ่มเป็นราวๆ 4.6% ของสินเชื่อทั้งหมด
แม้ว่าซิตี้จะมีกำไร 1,600 ล้านในช่วงไตรมาสแรก หลังจากขาดทุนมหาศาลถึง 18,000 ล้านดอลลาร์เมื่อปี2008 แต่นักวิเคราะห์บางคนก็ยังไม่เห็นว่าสถานการณ์จะดีขึ้น เพราะว่ารายงานของซิตี้นั้นรวมเอารายการพิเศษต่าง ๆเข้ามารวมด้วย ซึ่งทำให้ไม่สามารถประเมินผลการดำเนินงานของบริษัทในเครือได้อย่างชัดเจน ทำให้นักวิเคราะห์ไม่น้อยเห็นว่า ภายใต้ภาพสวยงามนั้น ภาคธนาคารยังคงเปราะบาง และบางแห่งกำลังจะเผชิญหน้ากับปัญหาอันสาหัสที่จะมาในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากเศรษฐกิจโดยรวมยังคงอ่อนแอต่อไป
มาร์ติน ไวส์จาก ไวส์ รีเสิร์ชบอกว่า รายได้ที่เพิ่มขึ้นเป็นเรื่อง “แหกตา” เพราะเป็นผลของกลวิธีต่างๆ รวมทั้งการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ที่ให้ใช้หลักการบัญชีซึ่งคำนวณราคาสินทรัพย์ โดยถือตามราคาตลอดในขณะนั้น (mark-to-market) ทั้งนี้ในสภาพที่ราคาสินทรัพย์ตามราคาตลาดมีแต่ทรุดต่ำลงเรื่อยๆ เช่นปัจจุบัน การผ่อนผันไม่ใช้หลักการนี้ ย่อมทำให้ธนาคารต่างๆ สามารถตีราคาสินทรัพย์ของตนให้สูงขึ้นกว่าราคาตลาด ณ เวลานี้นั่นเอง
“บรรดาหน่วยงานกำกับตรวจสอบ กำลังยินยอมให้ธนาคารปกปิดสินทรัพย์เน่าเสีย ด้วยการลงในบัญชีด้วยมูลค่าที่มากกว่าความเป็นจริงในตลาด มันเหมือนกับการเล่นกล สินทรัพย์เน่าเสียจู่ๆ ก็มีมูลค่ามากขึ้นกว่าเดิม” เขากล่าว
มีนักวิเคราะห์บางคนที่มองแง่บวกมากกว่านี้ โดยระบุว่าพวกธนาคารต่างได้ตั้งสำรองตัดตัดยอดขาดทุนจากตราสารอิงสินเชื่อบ้านที่มีปัญหาออกไปแล้ว ทว่าเวลานี้ก็ยังต้องเผชิญหน้ากับการหยุดพักชำระหนี้กำลังเพิ่มขึ้นในสินเชื่ออื่น ๆรวมทั้งเครดิตการ์ด
นอกจากนี้ นักวิเคราะห์หลายรายยังชี้ว่า ผลประกอบการที่ดูดีมากของธนาคารบางแห่งนั้น เนื่องมาจากพวกเขาได้เงินมาจากอเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (เอไอจี) จำนวนมหาศาล โดยเอไอจีต้องจ่ายเงินให้แก่แบงก์พวกนี้ เนื่องจากพวกเขาได้ซื้อตราสารประกันภัยสินเชื่อ ที่เรียกว่าเครดิต ดีฟอลต์ สวอป ของเอไอจีเอาไว้
ตัวอย่างเช่น โกลด์แมนแซคส์ ที่ได้เงินจากเอไอจีมากถึง 13,000 ล้านดอลลาร์ ก่อนที่จะประกาศผลประกอบการประจำไตรมาสแรกปีนี้ ว่าได้กำไร 1,800 ล้านดอลลาร์ พวกนักวิเคราะห์บอกว่าถ้าไม่ได้เงินจากเอไอจีแล้ว โกลด์แมน ก็ไม่น่าจะมีผลประกอบการออกมาดีขนาดนี้ และนี่เป็นเหตุผลว่าทำไมคนจำนวนมากถึงมองผลประกอบการไตรมาสแรกของพวกธนาคารต่างๆ อย่างไม่เชื่อถือสักเท่าไร
เมื่อวันจันทร์ (20) แบงก์ออฟอเมริกา ประกาศผลประกอบการซึ่งปรากฏว่าดีกว่าที่คาดเอาไว้มาก โดยได้กำไรถึง 4,200 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรกปีนี้ มากกว่าที่เคยทำได้ตลอดทั้งปี 2008 ก่อนหน้านี้ซิติกรุ๊ป, เจพีมอร์แกน, และโกลด์แมนแซคส์ ก็ออกมารายงานว่ามีกำไรมากกว่าที่คาดเคยคาดไว้เดิม อันเป็นสัญญาณที่เพิ่มความหวังว่า อุตสาหกรรมนี้น่าจะฟื้นตัวจากภาวะตกต่ำร้ายแรงแล้ว
ส่วนธนาคารเวลส์ ฟาร์โก ที่ยังไม่ได้รายงานผลประกอบการอย่างเป็นทางการ ก็ออกมาแถลงล่วงหน้าว่า ธนาคารจะมีกำไร “สูงเป็นประวัติการณ์” ในไตรมาสระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคมด้วย
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภาคการธนาคารของสหรัฐฯ มีผลการดำเนินงานที่ดีก็คือ อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากๆ เพราะว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ได้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเฟดฟันด์เรต จนเกือบแตะระดับ 0% เพื่อกระตุ้นสินเชื่อและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
“ธนาคารได้ประโยชน์จากการดีดขึ้นของการรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้าน อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากก็ทำให้ ธนาคารสามารถกู้ยืมเงินได้ในต้นทุนแสนถูกเพื่อมาปล่อยกู้ต่อ ซึ่งทำให้ได้กำไรมากขึ้น” จอห์น วิลสันจากมอร์แกน คีแกนกล่าว และเสริมด้วยว่าสถานการณ์เช่นนี้ ย่อมถือเป็นโอกาสในการสร้างกำไรของแบงก์ทั้งหลาย
อย่างไรก็ตาม มีข้อน่าสังเกตด้วยว่า ในการรายงานผลประกอบการไตรมาสแรกนี้ ธนาคารจำนวนไม่น้อยยังต้องตั้งสำรองเงินสดก้อนโตสำหรับหนี้เสีย ซึ่งแสดงถึงการคาดการณ์ของธนาคารที่ว่า สินเชื่อบ้านและเครดิตการ์ดอาจจะมีปัญหาเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น แบงก์ออฟอเมริกาที่สำรองเงินสดต่อหนี้เสียเพิ่มขึ้นเป็น 6,400 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่ซิตี้กรุ๊ปตั้งสำรองเพิ่มเป็นราวๆ 4.6% ของสินเชื่อทั้งหมด
แม้ว่าซิตี้จะมีกำไร 1,600 ล้านในช่วงไตรมาสแรก หลังจากขาดทุนมหาศาลถึง 18,000 ล้านดอลลาร์เมื่อปี2008 แต่นักวิเคราะห์บางคนก็ยังไม่เห็นว่าสถานการณ์จะดีขึ้น เพราะว่ารายงานของซิตี้นั้นรวมเอารายการพิเศษต่าง ๆเข้ามารวมด้วย ซึ่งทำให้ไม่สามารถประเมินผลการดำเนินงานของบริษัทในเครือได้อย่างชัดเจน ทำให้นักวิเคราะห์ไม่น้อยเห็นว่า ภายใต้ภาพสวยงามนั้น ภาคธนาคารยังคงเปราะบาง และบางแห่งกำลังจะเผชิญหน้ากับปัญหาอันสาหัสที่จะมาในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากเศรษฐกิจโดยรวมยังคงอ่อนแอต่อไป
มาร์ติน ไวส์จาก ไวส์ รีเสิร์ชบอกว่า รายได้ที่เพิ่มขึ้นเป็นเรื่อง “แหกตา” เพราะเป็นผลของกลวิธีต่างๆ รวมทั้งการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ที่ให้ใช้หลักการบัญชีซึ่งคำนวณราคาสินทรัพย์ โดยถือตามราคาตลอดในขณะนั้น (mark-to-market) ทั้งนี้ในสภาพที่ราคาสินทรัพย์ตามราคาตลาดมีแต่ทรุดต่ำลงเรื่อยๆ เช่นปัจจุบัน การผ่อนผันไม่ใช้หลักการนี้ ย่อมทำให้ธนาคารต่างๆ สามารถตีราคาสินทรัพย์ของตนให้สูงขึ้นกว่าราคาตลาด ณ เวลานี้นั่นเอง
“บรรดาหน่วยงานกำกับตรวจสอบ กำลังยินยอมให้ธนาคารปกปิดสินทรัพย์เน่าเสีย ด้วยการลงในบัญชีด้วยมูลค่าที่มากกว่าความเป็นจริงในตลาด มันเหมือนกับการเล่นกล สินทรัพย์เน่าเสียจู่ๆ ก็มีมูลค่ามากขึ้นกว่าเดิม” เขากล่าว
มีนักวิเคราะห์บางคนที่มองแง่บวกมากกว่านี้ โดยระบุว่าพวกธนาคารต่างได้ตั้งสำรองตัดตัดยอดขาดทุนจากตราสารอิงสินเชื่อบ้านที่มีปัญหาออกไปแล้ว ทว่าเวลานี้ก็ยังต้องเผชิญหน้ากับการหยุดพักชำระหนี้กำลังเพิ่มขึ้นในสินเชื่ออื่น ๆรวมทั้งเครดิตการ์ด
นอกจากนี้ นักวิเคราะห์หลายรายยังชี้ว่า ผลประกอบการที่ดูดีมากของธนาคารบางแห่งนั้น เนื่องมาจากพวกเขาได้เงินมาจากอเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (เอไอจี) จำนวนมหาศาล โดยเอไอจีต้องจ่ายเงินให้แก่แบงก์พวกนี้ เนื่องจากพวกเขาได้ซื้อตราสารประกันภัยสินเชื่อ ที่เรียกว่าเครดิต ดีฟอลต์ สวอป ของเอไอจีเอาไว้
ตัวอย่างเช่น โกลด์แมนแซคส์ ที่ได้เงินจากเอไอจีมากถึง 13,000 ล้านดอลลาร์ ก่อนที่จะประกาศผลประกอบการประจำไตรมาสแรกปีนี้ ว่าได้กำไร 1,800 ล้านดอลลาร์ พวกนักวิเคราะห์บอกว่าถ้าไม่ได้เงินจากเอไอจีแล้ว โกลด์แมน ก็ไม่น่าจะมีผลประกอบการออกมาดีขนาดนี้ และนี่เป็นเหตุผลว่าทำไมคนจำนวนมากถึงมองผลประกอบการไตรมาสแรกของพวกธนาคารต่างๆ อย่างไม่เชื่อถือสักเท่าไร