รอยเตอร์/เอเอฟพี – ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด แถลงในวันพุธ(28)ภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินว่า ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเกือบเท่ากับ 0% ต่อไป พร้อมกันนั้นก็เดินหน้าไปอีกขั้นหนึ่งในเรื่องแผนการที่จะรับซื้อตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐฯ อันจะเป็นการเปิดแนวรบใหม่สำหรับการแก้ไขวิกฤตการณ์สินเชื่อตึงตัว ซึ่งนอกจากทำให้เศรษฐกิจทรุดตัวอย่างรวดเร็วแล้ว ยังส่อเค้าอาจจะเป็นชนวนให้เกิดภาวะเงินฝืดรุนแรงอีกด้วย
คณะกรรมการนโยบายการเงินของเฟด(เอฟโอเอ็มซี) ที่ประชุมกันเป็นเวลา 2 วัน (27-28) ได้มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย “เฟดฟันด์เรต” หรือเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ระหว่างกันในชั่วเวลาข้ามคืน เอาไว้ที่ระดับ 0 - 0.25 เปอร์เซ็นต์ต่อไป โดยในคำแถลงบอกว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับต่ำเช่นนี้ต่อไปอีกระยะหนึ่ง
เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ต่ำเตี้ย จนไม่สามารถใช้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเป็นเครื่องมือได้อีก เฟดก็บอกในคำแถลงว่า เตรียมพร้อมจะใช้ยุทธวิธีใหม่คือการเข้าซื้อตั๋วเงินและพันธบัตรกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ในกรณีที่เห็นว่าจะสามารถช่วยคลี่คลายภาวะสินเชื่อตึงตัวได้
การรับซื้อตราสารหนี้รัฐบาลของเฟด จะทำให้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ลดต่ำลง จึงเห็นกันว่าจะสามารถช่วยคลี่คลายแก้ปัญหาการทรุดตัวของตลาดบ้านพักอาศัย ซึ่งเป็นมูลเหตุสำคัญของวิกฤตการณ์ครั้งนี้
พวกนักลงทุนในตลาดพันธบัตร ต่างรู้สึกผิดหวังที่เฟดไม่ได้ประกาศเป็นนโยบายชัดเจนในคราวนี้ ว่าจะเข้าซื้อตั๋วเงินและพันธบัตรคลัง จึงทำให้ราคาพันธบัตรลดต่ำลงอย่างรุนแรง โดยผลตอบแทน(ซึ่งเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามกับราคา)ของพันธบัตรคลังอายุ 30 ปี พุ่งขึ้นเหนือ 3.46 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมปีที่แล้วเป็นต้นมา
“คณะกรรมการ (นโยบายการเงิน) พร้อมที่จะเข้าซื้อตราสารหนี้ระยะยาวของกระทรวงการคลัง หากสถานการณ์แวดล้อมบ่งชี้ว่า ธุรกรรมดังกล่าวจะช่วยปรับปรุงให้สภาพของตลาดสินเชื่อภาคเอกชนพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น” คำแถลงของเฟดกล่าว
ก่อนหน้านี้ภายหลังการประชุมเอฟโอเอ็มซีเมื่อเดือนธันวาคม เฟดแถลงแต่เพียงว่า กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาถึงวิธีการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล ในฐานะเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาความตึงตัวในตลาดสินเชื่อ
แกรี เธเยอร์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ วาโชเวีย ซีเคียวริตีส์ กล่าวว่า ตลาดกำลังเฝ้ารอการแสดงท่าทีที่ชัดเจนของเฟด ว่าจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลแน่นอนหรือไม่
**เสียงไม่เอกฉันท์**
หลังเสร็จสิ้นการประชุมเป็นเวลา 2 วัน เอฟโอเอ็มซีมีมติด้วยคะแนนเสียง 8-1 ยังไม่ประกาศจุดยืนที่ชัดเจนในเรื่องการรับซื้อตราสารหนี้รัฐบาลนี้ โดยปรากฏว่า เจฟฟรีย์ แล็คเคอร์ ประธานเฟดสาขาริชมอนด์ ซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยเสียงเดียว เป็นผู้ที่เห็นว่า เฟดควรจะประกาศการตัดสินใจเรื่องการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอย่างชัดเจนในทันที
แล็คเคอร์ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยออกเสียงสวนทางกับเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมอยู่เนือง ๆ และเคยแสดงความวิตกกังวลกับแนวนโยบายของเฟดในการเข้าแทรกแซงตลาดสินเชื่อภาคเอกชน กล่าวถึงการลงมติของเขาในที่ประชุมว่า เขาไม่ได้คัดค้านในเรื่องปริมาณเงินที่เฟดจะอัดฉีดเข้าสู่ระบบ หากแต่ไม่เห็นด้วยในด้านกลวิธีเท่านั้น
หลังจากปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเฟดฟันด์เรต ลงมาอยู่ที่ระดับใกล้ศูนย์เปอร์เซ็นต์เมื่อเดือนธันวาคม เฟดก็จำเป็นต้องหันไปหาแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหา ซึ่ง เบน เบอร์นันกี ประธานเฟดเรียกว่าเป็น “การผ่อนคลายสินเชื่อ” ได้แก่การเข้าซื้อสินทรัพย์บางประเภทที่จะช่วยให้ภาวะความตึงตัวในตลาดสินเชื่อคลี่คลายลง
ธนาคารกลางสหรัฐฯยังแสดงท่าทีชัดเจนว่า กำลังดำเนินความพยายามที่จะยับยั้งไม่ให้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นเวลา 1 ปีเต็ม ยืดเยื้อยาวนานต่อไปจนทำให้การลงทุนชะงักงัน ซึ่งจะสร้างความเสียหายให้แก่ระบบเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น
คำแถลงของเฟดในวันพุธกล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินยังคงคาดหวังว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ แต่แนวโน้มในอนาคตก็ยังมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะทรุดตัวลงไปได้อีก
“มีความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อจะลดต่ำลงสู่ระดับที่ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพของราคาในระยะยาว” คำแถลงของเฟดระบุ ซึ่งเท่ากับเป็นการส่งสัญญาณว่า มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาเงินฝืดขึ้นได้
สำนักข่าวรอยเตอร์สได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารสถาบันการเงินชั้นนำในวอลสตรีทพบว่า ผู้ตอบคำถาม 11 ใน 13 รายคาดการณ์ว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับใกล้ศูนย์เปอร์เซ็นต์ต่อไปจนถึงปี 2010 เป็นอย่างน้อย ขณะที่ 9 ใน 12 รายเชื่อว่า เมื่อถึงจังหวะเวลาที่เหมาะสม เฟดจะตัดสินใจเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอย่างแน่นอน
คณะกรรมการนโยบายการเงินของเฟด(เอฟโอเอ็มซี) ที่ประชุมกันเป็นเวลา 2 วัน (27-28) ได้มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย “เฟดฟันด์เรต” หรือเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ระหว่างกันในชั่วเวลาข้ามคืน เอาไว้ที่ระดับ 0 - 0.25 เปอร์เซ็นต์ต่อไป โดยในคำแถลงบอกว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับต่ำเช่นนี้ต่อไปอีกระยะหนึ่ง
เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ต่ำเตี้ย จนไม่สามารถใช้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเป็นเครื่องมือได้อีก เฟดก็บอกในคำแถลงว่า เตรียมพร้อมจะใช้ยุทธวิธีใหม่คือการเข้าซื้อตั๋วเงินและพันธบัตรกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ในกรณีที่เห็นว่าจะสามารถช่วยคลี่คลายภาวะสินเชื่อตึงตัวได้
การรับซื้อตราสารหนี้รัฐบาลของเฟด จะทำให้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ลดต่ำลง จึงเห็นกันว่าจะสามารถช่วยคลี่คลายแก้ปัญหาการทรุดตัวของตลาดบ้านพักอาศัย ซึ่งเป็นมูลเหตุสำคัญของวิกฤตการณ์ครั้งนี้
พวกนักลงทุนในตลาดพันธบัตร ต่างรู้สึกผิดหวังที่เฟดไม่ได้ประกาศเป็นนโยบายชัดเจนในคราวนี้ ว่าจะเข้าซื้อตั๋วเงินและพันธบัตรคลัง จึงทำให้ราคาพันธบัตรลดต่ำลงอย่างรุนแรง โดยผลตอบแทน(ซึ่งเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามกับราคา)ของพันธบัตรคลังอายุ 30 ปี พุ่งขึ้นเหนือ 3.46 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมปีที่แล้วเป็นต้นมา
“คณะกรรมการ (นโยบายการเงิน) พร้อมที่จะเข้าซื้อตราสารหนี้ระยะยาวของกระทรวงการคลัง หากสถานการณ์แวดล้อมบ่งชี้ว่า ธุรกรรมดังกล่าวจะช่วยปรับปรุงให้สภาพของตลาดสินเชื่อภาคเอกชนพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น” คำแถลงของเฟดกล่าว
ก่อนหน้านี้ภายหลังการประชุมเอฟโอเอ็มซีเมื่อเดือนธันวาคม เฟดแถลงแต่เพียงว่า กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาถึงวิธีการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล ในฐานะเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาความตึงตัวในตลาดสินเชื่อ
แกรี เธเยอร์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ วาโชเวีย ซีเคียวริตีส์ กล่าวว่า ตลาดกำลังเฝ้ารอการแสดงท่าทีที่ชัดเจนของเฟด ว่าจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลแน่นอนหรือไม่
**เสียงไม่เอกฉันท์**
หลังเสร็จสิ้นการประชุมเป็นเวลา 2 วัน เอฟโอเอ็มซีมีมติด้วยคะแนนเสียง 8-1 ยังไม่ประกาศจุดยืนที่ชัดเจนในเรื่องการรับซื้อตราสารหนี้รัฐบาลนี้ โดยปรากฏว่า เจฟฟรีย์ แล็คเคอร์ ประธานเฟดสาขาริชมอนด์ ซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยเสียงเดียว เป็นผู้ที่เห็นว่า เฟดควรจะประกาศการตัดสินใจเรื่องการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอย่างชัดเจนในทันที
แล็คเคอร์ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยออกเสียงสวนทางกับเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมอยู่เนือง ๆ และเคยแสดงความวิตกกังวลกับแนวนโยบายของเฟดในการเข้าแทรกแซงตลาดสินเชื่อภาคเอกชน กล่าวถึงการลงมติของเขาในที่ประชุมว่า เขาไม่ได้คัดค้านในเรื่องปริมาณเงินที่เฟดจะอัดฉีดเข้าสู่ระบบ หากแต่ไม่เห็นด้วยในด้านกลวิธีเท่านั้น
หลังจากปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเฟดฟันด์เรต ลงมาอยู่ที่ระดับใกล้ศูนย์เปอร์เซ็นต์เมื่อเดือนธันวาคม เฟดก็จำเป็นต้องหันไปหาแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหา ซึ่ง เบน เบอร์นันกี ประธานเฟดเรียกว่าเป็น “การผ่อนคลายสินเชื่อ” ได้แก่การเข้าซื้อสินทรัพย์บางประเภทที่จะช่วยให้ภาวะความตึงตัวในตลาดสินเชื่อคลี่คลายลง
ธนาคารกลางสหรัฐฯยังแสดงท่าทีชัดเจนว่า กำลังดำเนินความพยายามที่จะยับยั้งไม่ให้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นเวลา 1 ปีเต็ม ยืดเยื้อยาวนานต่อไปจนทำให้การลงทุนชะงักงัน ซึ่งจะสร้างความเสียหายให้แก่ระบบเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น
คำแถลงของเฟดในวันพุธกล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินยังคงคาดหวังว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ แต่แนวโน้มในอนาคตก็ยังมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะทรุดตัวลงไปได้อีก
“มีความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อจะลดต่ำลงสู่ระดับที่ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพของราคาในระยะยาว” คำแถลงของเฟดระบุ ซึ่งเท่ากับเป็นการส่งสัญญาณว่า มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาเงินฝืดขึ้นได้
สำนักข่าวรอยเตอร์สได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารสถาบันการเงินชั้นนำในวอลสตรีทพบว่า ผู้ตอบคำถาม 11 ใน 13 รายคาดการณ์ว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับใกล้ศูนย์เปอร์เซ็นต์ต่อไปจนถึงปี 2010 เป็นอย่างน้อย ขณะที่ 9 ใน 12 รายเชื่อว่า เมื่อถึงจังหวะเวลาที่เหมาะสม เฟดจะตัดสินใจเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอย่างแน่นอน