รายงานผลประกอบการของธนาคารใหญ่ๆ ในสหรัฐฯหลายแห่ง ที่แข็งแกร่งกว่าที่คาดไว้ ทำให้เห็นกันว่าภาคการธนาคารของประเทศฟื้นจาก "ภาวะเฉียดตาย" แล้ว อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางรายเตือนว่า ปัญหาและความยากลำบากต่าง ๆ ใช่ว่าจะหมดสิ้นไป
เมื่อวันจันทร์ (20) แบงก์ออฟอเมริกา ประกาศผลประกอบการซึ่งปรากฏว่าดีกว่าที่คาดเอาไว้มาก โดยได้กำไรถึง 4,200 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรกปีนี้ มากกว่าที่เคยทำได้ตลอดทั้งปี 2008 ก่อนหน้านี้ซิติกรุ๊ป, เจพีมอร์แกน, และโกลด์แมนแซคส์ ก็ออกมารายงานว่ามีกำไรมากกว่าที่คาดเคยคาดไว้เดิม อันเป็นสัญญาณที่เพิ่มความหวังว่า อุตสาหกรรมนี้น่าจะฟื้นตัวจากภาวะตกต่ำร้ายแรงแล้ว
ส่วนธนาคารเวลส์ ฟาร์โก ที่ยังไม่ได้รายงานผลประกอบการอย่างเป็นทางการ ก็ออกมาแถลงล่วงหน้าว่า ธนาคารจะมีกำไร "สูงเป็นประวัติการณ์" ในไตรมาสระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคมด้วย
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภาคการธนาคารของสหรัฐฯ มีผลการดำเนินงานที่ดีก็คือ อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากๆ เพราะว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ได้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเฟดฟันด์เรต จนเกือบแตะระดับ 0% เพื่อกระตุ้นสินเชื่อและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
"ธนาคารได้ประโยชน์จากการดีดขึ้นของการรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้าน อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากก็ทำให้ ธนาคารสามารถกู้ยืมเงินได้ในต้นทุนแสนถูกเพื่อมาปล่อยกู้ต่อ ซึ่งทำให้ได้กำไรมากขึ้น" จอห์น วิลสันจากมอร์แกน คีแกนกล่าว และเสริมด้วยว่าสถานการณ์เช่นนี้ ย่อมถือเป็นโอกาสในการสร้างกำไรของแบงก์ทั้งหลาย
อย่างไรก็ตาม มีข้อน่าสังเกตด้วยว่า ในการรายงานผลประกอบการไตรมาสแรกนี้ ธนาคารจำนวนไม่น้อยยังต้องตั้งสำรองเงินสดก้อนโตสำหรับหนี้เสีย ซึ่งแสดงถึงการคาดการณ์ของธนาคารที่ว่า สินเชื่อบ้านและเครดิตการ์ดอาจจะมีปัญหาเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น แบงก์ออฟอเมริกาที่สำรองเงินสดต่อหนี้เสียเพิ่มขึ้นเป็น 6,400 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่ซิตี้กรุ๊ปตั้งสำรองเพิ่มเป็นราวๆ 4.6% ของสินเชื่อทั้งหมด
มาร์ติน ไวส์จาก ไวส์ รีเสิร์ชบอกว่า รายได้ที่เพิ่มขึ้นเป็นเรื่อง "แหกตา" เพราะเป็นผลของกลวิธีต่างๆ รวมทั้งการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ที่ให้ใช้หลักการบัญชีซึ่งคำนวณราคาสินทรัพย์ โดยถือตามราคาตลอดในขณะนั้น (mark-to-market) ทั้งนี้ในสภาพที่ราคาสินทรัพย์ตามราคาตลาดมีแต่ทรุดต่ำลงเรื่อยๆ เช่นปัจจุบัน การผ่อนผันไม่ใช้หลักการนี้ ย่อมทำให้ธนาคารต่างๆ สามารถตีราคาสินทรัพย์ของตนให้สูงขึ้นกว่าราคาตลาด ณ เวลานี้นั่นเอง
"บรรดาหน่วยงานกำกับตรวจสอบ กำลังยินยอมให้ธนาคารปกปิดสินทรัพย์เน่าเสีย ด้วยการลงในบัญชีด้วยมูลค่าที่มากกว่าความเป็นจริงในตลาด มันเหมือนกับการเล่นกล สินทรัพย์เน่าเสียจู่ๆ ก็มีมูลค่ามากขึ้นกว่าเดิม" เขากล่าว
เมื่อวันจันทร์ (20) แบงก์ออฟอเมริกา ประกาศผลประกอบการซึ่งปรากฏว่าดีกว่าที่คาดเอาไว้มาก โดยได้กำไรถึง 4,200 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรกปีนี้ มากกว่าที่เคยทำได้ตลอดทั้งปี 2008 ก่อนหน้านี้ซิติกรุ๊ป, เจพีมอร์แกน, และโกลด์แมนแซคส์ ก็ออกมารายงานว่ามีกำไรมากกว่าที่คาดเคยคาดไว้เดิม อันเป็นสัญญาณที่เพิ่มความหวังว่า อุตสาหกรรมนี้น่าจะฟื้นตัวจากภาวะตกต่ำร้ายแรงแล้ว
ส่วนธนาคารเวลส์ ฟาร์โก ที่ยังไม่ได้รายงานผลประกอบการอย่างเป็นทางการ ก็ออกมาแถลงล่วงหน้าว่า ธนาคารจะมีกำไร "สูงเป็นประวัติการณ์" ในไตรมาสระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคมด้วย
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภาคการธนาคารของสหรัฐฯ มีผลการดำเนินงานที่ดีก็คือ อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากๆ เพราะว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ได้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเฟดฟันด์เรต จนเกือบแตะระดับ 0% เพื่อกระตุ้นสินเชื่อและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
"ธนาคารได้ประโยชน์จากการดีดขึ้นของการรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้าน อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากก็ทำให้ ธนาคารสามารถกู้ยืมเงินได้ในต้นทุนแสนถูกเพื่อมาปล่อยกู้ต่อ ซึ่งทำให้ได้กำไรมากขึ้น" จอห์น วิลสันจากมอร์แกน คีแกนกล่าว และเสริมด้วยว่าสถานการณ์เช่นนี้ ย่อมถือเป็นโอกาสในการสร้างกำไรของแบงก์ทั้งหลาย
อย่างไรก็ตาม มีข้อน่าสังเกตด้วยว่า ในการรายงานผลประกอบการไตรมาสแรกนี้ ธนาคารจำนวนไม่น้อยยังต้องตั้งสำรองเงินสดก้อนโตสำหรับหนี้เสีย ซึ่งแสดงถึงการคาดการณ์ของธนาคารที่ว่า สินเชื่อบ้านและเครดิตการ์ดอาจจะมีปัญหาเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น แบงก์ออฟอเมริกาที่สำรองเงินสดต่อหนี้เสียเพิ่มขึ้นเป็น 6,400 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่ซิตี้กรุ๊ปตั้งสำรองเพิ่มเป็นราวๆ 4.6% ของสินเชื่อทั้งหมด
มาร์ติน ไวส์จาก ไวส์ รีเสิร์ชบอกว่า รายได้ที่เพิ่มขึ้นเป็นเรื่อง "แหกตา" เพราะเป็นผลของกลวิธีต่างๆ รวมทั้งการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ที่ให้ใช้หลักการบัญชีซึ่งคำนวณราคาสินทรัพย์ โดยถือตามราคาตลอดในขณะนั้น (mark-to-market) ทั้งนี้ในสภาพที่ราคาสินทรัพย์ตามราคาตลาดมีแต่ทรุดต่ำลงเรื่อยๆ เช่นปัจจุบัน การผ่อนผันไม่ใช้หลักการนี้ ย่อมทำให้ธนาคารต่างๆ สามารถตีราคาสินทรัพย์ของตนให้สูงขึ้นกว่าราคาตลาด ณ เวลานี้นั่นเอง
"บรรดาหน่วยงานกำกับตรวจสอบ กำลังยินยอมให้ธนาคารปกปิดสินทรัพย์เน่าเสีย ด้วยการลงในบัญชีด้วยมูลค่าที่มากกว่าความเป็นจริงในตลาด มันเหมือนกับการเล่นกล สินทรัพย์เน่าเสียจู่ๆ ก็มีมูลค่ามากขึ้นกว่าเดิม" เขากล่าว