พี่น้องเอย พี่น้องรู้มั้ยว่า การที่พี่น้องได้ทำหน้าที่ของพี่น้องอย่างครบถ้วน และถูกต้องนั้นก็คือ การปฏิบัติธรรมโดยตัวมันเอง เพราะการทำหน้าที่อย่างครบถ้วนและถูกต้อง คือ ประตูไขความลับของสรรพสิ่ง เนื่องจากมันทำให้คนที่ได้ทำหน้าที่อย่างครบถ้วน และถูกต้องสามารถเข้าใจและเข้าถึง “ความจริง” ได้ โดยการฝึกหายใจแบบอานาปานสติ เฝ้าตามรู้ ตามดูจิตใจของตัวเองให้อยู่กับปัจจุบันไปเรื่อยๆ เมื่อทำเช่นนี้ได้บ่อยๆ อย่างเป็นธรรมชาติ พี่น้องก็จะไม่ถูกความรู้สึกนึกคิดของพี่น้องสร้าง “ตัวตน” ของพี่น้องขึ้นมาให้โลภ ให้โกรธ ให้หลง ให้เครียด ให้วิตกทุกข์ร้อนในเรื่องต่างๆ ที่เข้ามากระทบ
แต่พี่น้องจะได้สัมผัสความจริงได้เองเป็นระยะๆ เมื่อพี่น้องเฝ้าตามรู้ตามดูจิตของพี่น้องอย่างสม่ำเสมอว่า “โลกก็คือเรา และเราก็คือโลก เราเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกันกับโลก หาได้แบ่งแยกกันไม่”
พี่น้องจะค่อยๆ เริ่มเห็นได้เองว่า สิ่งที่พี่น้องเห็นโดยสักแต่ว่าเห็น และไม่ทำการวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ นั้น มันจะทำให้พี่น้องกลายเป็นสิ่งที่พี่น้องเห็น ในความหมายที่ว่า “ผู้รู้” กับ “สิ่งที่ถูกรู้” ได้กลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หากพี่น้องใช้ความเข้าใจเช่นนี้เข้าไปสัมผัสกับโลก สัมผัสกับทุกเรื่องราวที่เข้ามาในชีวิต พี่น้องย่อมอยู่กับโลกนี้ได้อย่างไม่มีวันถูกโลกทำร้ายได้เลย เพราะพี่น้องจะสามารถเข้าใจและเข้าถึงความจริงของสรรพสิ่งได้อย่างปราศจาก “ตัวตน” ของผู้เป็นเจ้าของความเข้าใจนั้น และพี่น้องจะแลเห็นได้เองอย่างชัดเจนว่า การแบ่งแยกหรือแตกแยกทางความคิดใดๆ ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ โดยมีอาการของ “ตัวกู-ของกู” ซึ่งเป็นเจ้าของความคิดที่ใช้วิจารณ์ดำรงอยู่ มันจะไม่อาจถูกต้องสมบูรณ์ได้เลยทั้งสองฝ่าย
เพราะฉะนั้น ถึงแม้พี่น้องจะเข้าไปอยู่ในสถานการณ์สู้รบที่มีคู่ต่อสู้ที่ต้องโค่นล้มกันในทางการเมือง ซึ่งจำเป็นที่จะต้องเลือกข้างเหมือนอย่างในช่วงปี 2549 และปี 2551 พี่น้องก็ย่อมเลือกยืนอยู่ข้างที่ถูกต้องกว่า และเป็นฝ่ายธรรมะ โดยที่พี่น้องจะเลือกข้างได้อย่างมีสติรู้ทัน และอย่างไม่มีอคติทางความคิดไม่ว่ารักหรือชัง นอกจากนี้ พี่น้องจะไม่มีอาการของนกสองหัว เพราะพี่น้องย่อมสามารถบอกแต่ละฝ่ายได้ว่า เพราะอะไร อีกฝ่ายจึงคิดและเห็นเช่นนั้น และความคิดเห็นเช่นนั้นมีข้อดี และข้อเสียอย่างไร
ด้วยเหตุนี้ พี่น้องจึงสามารถ “บูรณาการ” ข้อเสนอดีๆ ของแต่ละฝ่าย และขจัดทิ้งซึ่งข้อเสียข้อด้อยที่มีอยู่ในแต่ละฝ่าย แล้วสร้าง “ทางเลือกใหม่” ที่เป็นความถูกต้องยิ่งกว่า โดยทำให้ความแตกต่างของแต่ละฝ่ายค่อยๆ จางหายไปคงเหลือเป็นความถูกต้องที่ทั้งสองฝ่ายสามารถกลับมาร่วมมือ และดำรงอยู่แบบสันติ และสร้างสรรค์ร่วมกันได้ในที่สุด เพราะนี่คือ พลวัตของพวกเราเหล่าพี่น้องพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
พี่น้องเอย พี่น้องจะเห็นได้ว่า ความดีใจ ความเสียใจ หรือความโกรธเกลียดชิงชังเป็น สิ่งต้องห้าม สำหรับผู้ที่ทำหน้าที่เป็น ปัญญาชนสาธารณะ หรือ นักคิดทางสังคม ที่ต้องการจะวิเคราะห์ว่า อะไร? ทำไม? และอย่างไร? ถึงทำให้เกิดการต่อสู้อันลือลั่นของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยถึง 193 วันเต็มในปี 2551
นักคิดทางสังคม จะต้องรักษาความเยือกเย็นของสมอง และจิตใจของตนเอาไว้เสมอมิให้หลงชื่นชมไปกับความสำเร็จในการพัฒนาการต่อสู้ของการเมืองภาคประชาชนที่ทรงพลังยิ่งอย่างขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และมิให้ปล่อยใจไปกับความไม่สมหวังเมื่อขบวนการพันธมิตรฯ ต้องเผชิญกับขีดจำกัดทางประวัติศาสตร์แห่งวิวัฒนาการของสังคมไทย จนยังไม่อาจสถาปนา “การเมืองใหม่” ในเชิงสถาบันขึ้นมาได้ดังใจหวัง
หน้าที่ของ นักคิดทางสังคม นั้นอยู่ที่การทำความเข้าใจ จุดแข็ง และจุดอ่อนของขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ทำให้ขบวนการนี้ได้รับชัยชนะในบางส่วน และประสบความไม่สมหวังในบางส่วน เพราะมีแต่การกระทำเช่นนี้เท่านั้น จึงจะสามารถรักษา คุณค่าและความหมายในทางประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ของขบวนการพันธมิตรฯ เอาไว้ได้อย่างแท้จริง และจะเป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นต่อๆ ไปได้
นอกจากนี้ นักคิดทางสังคม จะต้องไม่ลืมว่า การพิจารณาสรรพสิ่งอย่างด้านเดียว อย่างไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง มักนำมาซึ่งความเพ้อฝัน และความล้มเหลวทางประวัติศาสตร์มานับครั้งไม่ถ้วนเสมอ สาเหตุหลักประการหนึ่งที่ทำให้ฝ่ายระบอบทักษิณพ่ายแพ้ทั้งในทางการเมือง และทางความคิดอย่างหมดรูปก็มาจากการพิจารณาสรรพสิ่งอย่างด้านเดียว และไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงนี้นั่นเอง
* * *
ผม ได้อ่านบทความ “การปฏิบัติการร่วมทางการเมือง : กรณีพันธมิตรฯ” ของ อุเชนทร์ เชียงแสน นักศึกษาปริญญาโท สาขาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่นำเสนอในรัฐศาสตร์-รปศ.วิชาการ 9 และนำมาลงในเว็บไซต์ประชาไทในช่วงต้นเดือนมกราคม 2552 ด้วยความรู้สึกทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย
ผม เห็นด้วย กับอุเชนทร์ ในประเด็นที่ว่า การเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ เพื่อต่อต้านระบอบทักษิณ (รอบแรก) และต่อต้านรัฐบาลหุ่นเชิด (รอบที่สอง) ที่เริ่มต้นในช่วงต้นปี 2549 และดำเนินมาจนถึงปลายปี 2551 นั้น ถือว่า เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองการเคลื่อนไหวที่สำคัญมากในรอบ 15 ปี หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี 2535 ทั้งในแง่ผลสะเทือนหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหว การระดมทรัพยากร ผู้เข้าร่วมขบวนการ ยุทธศาสตร์/ยุทธวิธี และนวัตกรรมทางการเคลื่อนไหว ฯลฯ ซึ่งถือได้ว่า เป็นพื้นที่อันอุดม ที่สมควรแก่การศึกษาค้นคว้า วิจัย และสร้างองค์ความรู้ในมิติต่างๆ อย่างละเอียดรอบคอบต่อไปในอนาคต
กล่าวในความหมายนี้ ผมถือว่างานเขียนชิ้นนี้ของอุเชนทร์ เป็นความพยายามนำเสนอมุมมองทางรัฐศาสตร์แบบหนึ่งในการทำความเข้าใจ “ปรากฏการณ์พันธมิตรฯ” ที่ควรนำมาถกเถียงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในวงกว้าง พูดสั้นๆ ก็คือ ผมคิดว่าพี่น้องพันธมิตรฯ ควรอ่านบทความชิ้นนี้เพื่อใช้สำรวจตัวเอง ตรวจสอบตัวเอง และทำความเข้าใจตนเองเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ผ่านมาของตน
สำหรับส่วนที่ผม ไม่เห็นด้วย กับอุเชนทร์นั้นมี 2 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรก ที่ทำให้ผมซึ่งกำลังเริ่มต้นอ่านบทความนี้ด้วยความสนใจถึงกับสะดุดกึก และรู้สึกผิดหวังอย่างแรงคือ ปัญหา 2 ประการที่อุเชนทร์อ้างว่า ประสบด้วยตนเองในการศึกษาทำความเข้าใจพันธมิตรฯ โดย ปัญหาแรก อุเชนทร์ได้ยกคำพูดบางตอนบนเวทีพันธมิตรฯ ของ สมศักดิ์ โกศัยสุข หนึ่งในห้าแกนนำพันธมิตรฯ ในวันที่ 5 กันยายน 2551 ที่บอกว่า การตี นปก.หรือ “ตีคนเลว ตีคนชั่วไม่บาป” มาเป็นสิ่งที่ตั้งแง่สงสัยในคุณธรรมสันติวิธีของพันธมิตรฯ
อันนี้ผมพอเข้าใจได้ว่า อุเชนทร์รู้สึกไม่สบายใจกับคำพูดประโยคนี้ของสมศักดิ์ โกศัยสุข ที่มีภาพลักษณ์ว่าได้อุทิศตนเพื่อผู้ใช้แรงงาน และคนยากจนมาโดยตลอด แต่เหตุไฉนจึงกลับมาใช้คำพูดที่รุนแรงเช่นนี้กับ “คนยากจน” ในคราบของ นปก.ได้ มิหนำซ้ำยังเป็นโวหารที่ชวนให้นึกถึงคำพูดของพระสงฆ์รูปหนึ่งก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม ปี 2519 ที่ปลุกระดมมวลชนว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป”
ผมคิดว่า การที่อุเชนทร์ยกแค่คำพูดบางตอนของแกนนำ โดยเฉพาะการพูดแบบแสดงโวหารบนเวทีโดยขาดการทำความเข้าใจบริบท (context) หรือความเป็นมาของเหตุการณ์การต่อสู้ในช่วงนั้นอย่างที่อุเชนทร์ทำ มันเป็นการรับรู้ที่มีอคติและด้านเดียวอย่างหนึ่ง โดยที่ “ตัวตน” ที่อุเชนทร์ได้แสดงออกมาในบทความนี้คือ “sensitive self” หรือ ตัวตนที่อ่อนไหวต่อเรื่องความรุนแรง ซึ่งจะเห็นได้ว่า ได้มีความพยายามนำเสนอ วาทกรรมที่ตั้งใจจะยัดเยียดภาพลักษณ์ของพันธมิตรฯ ว่าเป็นพวกนิยมความรุนแรง โดยผ่านสื่อบางกลุ่ม และนักวิชาการบางส่วนมาโดยตลอดในช่วงนั้นขณะที่ผมกลับมองว่า โดยภาพรวมๆ แล้ว นี่เป็นการกระทำที่บิดเบือนความจริงมากกว่า
อย่างไรก็ดี ประเด็นความกังวลเรื่องไม่อยากให้เกิดความรุนแรงขึ้นจนถึงขั้นนองเลือด ผมคิดว่า น่าจะเป็นความเห็นพ้องต้องกันของหลายฝ่ายในสังคม โดยเฉพาะฝ่ายพันธมิตรฯ
ปัญหาที่สอง ก็สืบเนื่องมาจาก “sensitive self” ของตัวอุเชนทร์เอง โดยอุเชนทร์ได้ยกบทสนทนาของผู้ดำเนินรายการ Metro Life ทางวิทยุในสื่อเครือผู้จัดการที่พาดพิงถึงกรณีโชติศักดิ์ อ่อนสูง ผู้ไม่ยืนตรงเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์ ซึ่งมีเนื้อหา “ระดมความเห็น” ออกอากาศสดๆ ให้ “จัดการ” กับโชติศักดิ์ แล้วอุเชนทร์ก็ได้ตั้งข้อสงสัยถึงคุณธรรม และความเป็นคนดีของผู้ดำเนินรายการ
เกี่ยวกับประเด็นนี้ อุเชนทร์พลาดอย่างมากที่เขียนว่า วริษฐ์ ลิ้มทองกุล ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินรายการ เป็นบุตรชายของสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้เป็นแกนนำอีกคนหนึ่งของพันธมิตรฯ เพราะนี่เป็นข้อเท็จจริงที่คลาดเคลื่อน (วริษฐ์เป็นหลานชายของสนธิ)
นอกจากนี้ หลังจากเกิดเหตุการณ์นี้ทางสื่อเครือผู้จัดการ ก็ได้ออกมาขอโทษและแสดงความรับผิดชอบต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจริง อันเนื่องมาจากคำพูดที่ไม่สมควรดังกล่าวโดยได้ประกาศยุติการจัดรายการ Metro Life ไปแล้ว แต่อุเชนทร์กลับไม่พูดถึงข้อเท็จจริงในส่วนนี้เลย ความผิดพลาดในเรื่องการรับรู้ข้อเท็จจริงที่คลาดเคลื่อนชนิด “หน้าแตก” แบบนี้ของอุเชนทร์ตั้งแต่หน้าแรกของบทความของเขา จึงทำให้บทความนี้ดูด้อยค่า และลดความน่าเชื่อถือทางวิชาการของอุเชนทร์ลงไปมาก ทั้งๆ ที่ส่วนที่เหลือของบทความนี้ของอุเชนทร์ มีความน่าสนใจทางวิชาการให้แลกเปลี่ยนกันในหลายๆ ประเด็น
ส่วนที่สอง ที่ผมไม่ค่อยเห็นด้วยนัก แต่ก็ยังคิดว่าเป็นมุมมองที่น่าสนใจ และน่าแลกเปลี่ยนกันของบทความนี้ของอุเชนทร์ก็คือ อุเชนทร์ได้พยายามนำ กรอบโครงความคิดเพื่อการปฏิบัติร่วมทางการเมือง (collective action frames) ที่นำเสนอโดยเดวิด สโนว์ (David Snow) และโรเบิร์ต เบนฟอร์ด (Robert Benford) ในบทความ “Framing Processes and Social Movements : An Overview and Assessment” (ปี 2000) มาประยุกต์ใช้ในการศึกษา และอธิบายกรอบโครงความคิดของพันธมิตรฯ
ข้อดี ของมุมมองแบบ “กรอบโครงความคิดเพื่อการปฏิบัติร่วมทางการเมือง” นั้นอยู่ที่ความพยายามในการแก้ไขข้อจำกัด 3 ประการในการศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ซึ่งได้แก่
(1) ข้อจำกัดในการละเลยการตีความปัญหาความเดือดร้อนคับข้องใจ (Neglect of Grivance Interpretation)
(2) ข้อจำกัดในการมองการมีส่วนร่วมแบบหยุดนิ่ง (Static View of Participation)
(3) ข้อจำกัดในการละเลยรายละเอียดเฉพาะของกระบวนการที่มีสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมที่หลากหลาย (Overgeneralization of Participation-Related Process)
แต่ถึงกระนั้น ผมก็ยังคิดว่า มุมมองแบบ “กรอบโครงความคิดเพื่อการปฏิบัติร่วมทางการเมือง” ที่อุเชนทร์นำมาใช้ศึกษาการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ นี้ มันยังไม่สมบูรณ์เพียงพอที่จะทำความเข้าใจ พลวัต (dynamism) ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ เพราะยังเป็นการศึกษาด้วยภาษา ‘มัน’ (‘It’ language) เท่านั้น แต่ขาดการศึกษาด้วยภาษา ‘ฉัน’ (‘I’ language) และภาษา ‘เรา’ (‘We’ language) ในการเข้าใจและเข้าถึงความจริง และพลวัตของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (ยังมีต่อ)
www.suvinai-dragon.com
แต่พี่น้องจะได้สัมผัสความจริงได้เองเป็นระยะๆ เมื่อพี่น้องเฝ้าตามรู้ตามดูจิตของพี่น้องอย่างสม่ำเสมอว่า “โลกก็คือเรา และเราก็คือโลก เราเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกันกับโลก หาได้แบ่งแยกกันไม่”
พี่น้องจะค่อยๆ เริ่มเห็นได้เองว่า สิ่งที่พี่น้องเห็นโดยสักแต่ว่าเห็น และไม่ทำการวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ นั้น มันจะทำให้พี่น้องกลายเป็นสิ่งที่พี่น้องเห็น ในความหมายที่ว่า “ผู้รู้” กับ “สิ่งที่ถูกรู้” ได้กลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หากพี่น้องใช้ความเข้าใจเช่นนี้เข้าไปสัมผัสกับโลก สัมผัสกับทุกเรื่องราวที่เข้ามาในชีวิต พี่น้องย่อมอยู่กับโลกนี้ได้อย่างไม่มีวันถูกโลกทำร้ายได้เลย เพราะพี่น้องจะสามารถเข้าใจและเข้าถึงความจริงของสรรพสิ่งได้อย่างปราศจาก “ตัวตน” ของผู้เป็นเจ้าของความเข้าใจนั้น และพี่น้องจะแลเห็นได้เองอย่างชัดเจนว่า การแบ่งแยกหรือแตกแยกทางความคิดใดๆ ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ โดยมีอาการของ “ตัวกู-ของกู” ซึ่งเป็นเจ้าของความคิดที่ใช้วิจารณ์ดำรงอยู่ มันจะไม่อาจถูกต้องสมบูรณ์ได้เลยทั้งสองฝ่าย
เพราะฉะนั้น ถึงแม้พี่น้องจะเข้าไปอยู่ในสถานการณ์สู้รบที่มีคู่ต่อสู้ที่ต้องโค่นล้มกันในทางการเมือง ซึ่งจำเป็นที่จะต้องเลือกข้างเหมือนอย่างในช่วงปี 2549 และปี 2551 พี่น้องก็ย่อมเลือกยืนอยู่ข้างที่ถูกต้องกว่า และเป็นฝ่ายธรรมะ โดยที่พี่น้องจะเลือกข้างได้อย่างมีสติรู้ทัน และอย่างไม่มีอคติทางความคิดไม่ว่ารักหรือชัง นอกจากนี้ พี่น้องจะไม่มีอาการของนกสองหัว เพราะพี่น้องย่อมสามารถบอกแต่ละฝ่ายได้ว่า เพราะอะไร อีกฝ่ายจึงคิดและเห็นเช่นนั้น และความคิดเห็นเช่นนั้นมีข้อดี และข้อเสียอย่างไร
ด้วยเหตุนี้ พี่น้องจึงสามารถ “บูรณาการ” ข้อเสนอดีๆ ของแต่ละฝ่าย และขจัดทิ้งซึ่งข้อเสียข้อด้อยที่มีอยู่ในแต่ละฝ่าย แล้วสร้าง “ทางเลือกใหม่” ที่เป็นความถูกต้องยิ่งกว่า โดยทำให้ความแตกต่างของแต่ละฝ่ายค่อยๆ จางหายไปคงเหลือเป็นความถูกต้องที่ทั้งสองฝ่ายสามารถกลับมาร่วมมือ และดำรงอยู่แบบสันติ และสร้างสรรค์ร่วมกันได้ในที่สุด เพราะนี่คือ พลวัตของพวกเราเหล่าพี่น้องพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
พี่น้องเอย พี่น้องจะเห็นได้ว่า ความดีใจ ความเสียใจ หรือความโกรธเกลียดชิงชังเป็น สิ่งต้องห้าม สำหรับผู้ที่ทำหน้าที่เป็น ปัญญาชนสาธารณะ หรือ นักคิดทางสังคม ที่ต้องการจะวิเคราะห์ว่า อะไร? ทำไม? และอย่างไร? ถึงทำให้เกิดการต่อสู้อันลือลั่นของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยถึง 193 วันเต็มในปี 2551
นักคิดทางสังคม จะต้องรักษาความเยือกเย็นของสมอง และจิตใจของตนเอาไว้เสมอมิให้หลงชื่นชมไปกับความสำเร็จในการพัฒนาการต่อสู้ของการเมืองภาคประชาชนที่ทรงพลังยิ่งอย่างขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และมิให้ปล่อยใจไปกับความไม่สมหวังเมื่อขบวนการพันธมิตรฯ ต้องเผชิญกับขีดจำกัดทางประวัติศาสตร์แห่งวิวัฒนาการของสังคมไทย จนยังไม่อาจสถาปนา “การเมืองใหม่” ในเชิงสถาบันขึ้นมาได้ดังใจหวัง
หน้าที่ของ นักคิดทางสังคม นั้นอยู่ที่การทำความเข้าใจ จุดแข็ง และจุดอ่อนของขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ทำให้ขบวนการนี้ได้รับชัยชนะในบางส่วน และประสบความไม่สมหวังในบางส่วน เพราะมีแต่การกระทำเช่นนี้เท่านั้น จึงจะสามารถรักษา คุณค่าและความหมายในทางประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ของขบวนการพันธมิตรฯ เอาไว้ได้อย่างแท้จริง และจะเป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นต่อๆ ไปได้
นอกจากนี้ นักคิดทางสังคม จะต้องไม่ลืมว่า การพิจารณาสรรพสิ่งอย่างด้านเดียว อย่างไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง มักนำมาซึ่งความเพ้อฝัน และความล้มเหลวทางประวัติศาสตร์มานับครั้งไม่ถ้วนเสมอ สาเหตุหลักประการหนึ่งที่ทำให้ฝ่ายระบอบทักษิณพ่ายแพ้ทั้งในทางการเมือง และทางความคิดอย่างหมดรูปก็มาจากการพิจารณาสรรพสิ่งอย่างด้านเดียว และไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงนี้นั่นเอง
* * *
ผม ได้อ่านบทความ “การปฏิบัติการร่วมทางการเมือง : กรณีพันธมิตรฯ” ของ อุเชนทร์ เชียงแสน นักศึกษาปริญญาโท สาขาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่นำเสนอในรัฐศาสตร์-รปศ.วิชาการ 9 และนำมาลงในเว็บไซต์ประชาไทในช่วงต้นเดือนมกราคม 2552 ด้วยความรู้สึกทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย
ผม เห็นด้วย กับอุเชนทร์ ในประเด็นที่ว่า การเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ เพื่อต่อต้านระบอบทักษิณ (รอบแรก) และต่อต้านรัฐบาลหุ่นเชิด (รอบที่สอง) ที่เริ่มต้นในช่วงต้นปี 2549 และดำเนินมาจนถึงปลายปี 2551 นั้น ถือว่า เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองการเคลื่อนไหวที่สำคัญมากในรอบ 15 ปี หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี 2535 ทั้งในแง่ผลสะเทือนหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหว การระดมทรัพยากร ผู้เข้าร่วมขบวนการ ยุทธศาสตร์/ยุทธวิธี และนวัตกรรมทางการเคลื่อนไหว ฯลฯ ซึ่งถือได้ว่า เป็นพื้นที่อันอุดม ที่สมควรแก่การศึกษาค้นคว้า วิจัย และสร้างองค์ความรู้ในมิติต่างๆ อย่างละเอียดรอบคอบต่อไปในอนาคต
กล่าวในความหมายนี้ ผมถือว่างานเขียนชิ้นนี้ของอุเชนทร์ เป็นความพยายามนำเสนอมุมมองทางรัฐศาสตร์แบบหนึ่งในการทำความเข้าใจ “ปรากฏการณ์พันธมิตรฯ” ที่ควรนำมาถกเถียงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในวงกว้าง พูดสั้นๆ ก็คือ ผมคิดว่าพี่น้องพันธมิตรฯ ควรอ่านบทความชิ้นนี้เพื่อใช้สำรวจตัวเอง ตรวจสอบตัวเอง และทำความเข้าใจตนเองเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ผ่านมาของตน
สำหรับส่วนที่ผม ไม่เห็นด้วย กับอุเชนทร์นั้นมี 2 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรก ที่ทำให้ผมซึ่งกำลังเริ่มต้นอ่านบทความนี้ด้วยความสนใจถึงกับสะดุดกึก และรู้สึกผิดหวังอย่างแรงคือ ปัญหา 2 ประการที่อุเชนทร์อ้างว่า ประสบด้วยตนเองในการศึกษาทำความเข้าใจพันธมิตรฯ โดย ปัญหาแรก อุเชนทร์ได้ยกคำพูดบางตอนบนเวทีพันธมิตรฯ ของ สมศักดิ์ โกศัยสุข หนึ่งในห้าแกนนำพันธมิตรฯ ในวันที่ 5 กันยายน 2551 ที่บอกว่า การตี นปก.หรือ “ตีคนเลว ตีคนชั่วไม่บาป” มาเป็นสิ่งที่ตั้งแง่สงสัยในคุณธรรมสันติวิธีของพันธมิตรฯ
อันนี้ผมพอเข้าใจได้ว่า อุเชนทร์รู้สึกไม่สบายใจกับคำพูดประโยคนี้ของสมศักดิ์ โกศัยสุข ที่มีภาพลักษณ์ว่าได้อุทิศตนเพื่อผู้ใช้แรงงาน และคนยากจนมาโดยตลอด แต่เหตุไฉนจึงกลับมาใช้คำพูดที่รุนแรงเช่นนี้กับ “คนยากจน” ในคราบของ นปก.ได้ มิหนำซ้ำยังเป็นโวหารที่ชวนให้นึกถึงคำพูดของพระสงฆ์รูปหนึ่งก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม ปี 2519 ที่ปลุกระดมมวลชนว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป”
ผมคิดว่า การที่อุเชนทร์ยกแค่คำพูดบางตอนของแกนนำ โดยเฉพาะการพูดแบบแสดงโวหารบนเวทีโดยขาดการทำความเข้าใจบริบท (context) หรือความเป็นมาของเหตุการณ์การต่อสู้ในช่วงนั้นอย่างที่อุเชนทร์ทำ มันเป็นการรับรู้ที่มีอคติและด้านเดียวอย่างหนึ่ง โดยที่ “ตัวตน” ที่อุเชนทร์ได้แสดงออกมาในบทความนี้คือ “sensitive self” หรือ ตัวตนที่อ่อนไหวต่อเรื่องความรุนแรง ซึ่งจะเห็นได้ว่า ได้มีความพยายามนำเสนอ วาทกรรมที่ตั้งใจจะยัดเยียดภาพลักษณ์ของพันธมิตรฯ ว่าเป็นพวกนิยมความรุนแรง โดยผ่านสื่อบางกลุ่ม และนักวิชาการบางส่วนมาโดยตลอดในช่วงนั้นขณะที่ผมกลับมองว่า โดยภาพรวมๆ แล้ว นี่เป็นการกระทำที่บิดเบือนความจริงมากกว่า
อย่างไรก็ดี ประเด็นความกังวลเรื่องไม่อยากให้เกิดความรุนแรงขึ้นจนถึงขั้นนองเลือด ผมคิดว่า น่าจะเป็นความเห็นพ้องต้องกันของหลายฝ่ายในสังคม โดยเฉพาะฝ่ายพันธมิตรฯ
ปัญหาที่สอง ก็สืบเนื่องมาจาก “sensitive self” ของตัวอุเชนทร์เอง โดยอุเชนทร์ได้ยกบทสนทนาของผู้ดำเนินรายการ Metro Life ทางวิทยุในสื่อเครือผู้จัดการที่พาดพิงถึงกรณีโชติศักดิ์ อ่อนสูง ผู้ไม่ยืนตรงเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์ ซึ่งมีเนื้อหา “ระดมความเห็น” ออกอากาศสดๆ ให้ “จัดการ” กับโชติศักดิ์ แล้วอุเชนทร์ก็ได้ตั้งข้อสงสัยถึงคุณธรรม และความเป็นคนดีของผู้ดำเนินรายการ
เกี่ยวกับประเด็นนี้ อุเชนทร์พลาดอย่างมากที่เขียนว่า วริษฐ์ ลิ้มทองกุล ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินรายการ เป็นบุตรชายของสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้เป็นแกนนำอีกคนหนึ่งของพันธมิตรฯ เพราะนี่เป็นข้อเท็จจริงที่คลาดเคลื่อน (วริษฐ์เป็นหลานชายของสนธิ)
นอกจากนี้ หลังจากเกิดเหตุการณ์นี้ทางสื่อเครือผู้จัดการ ก็ได้ออกมาขอโทษและแสดงความรับผิดชอบต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจริง อันเนื่องมาจากคำพูดที่ไม่สมควรดังกล่าวโดยได้ประกาศยุติการจัดรายการ Metro Life ไปแล้ว แต่อุเชนทร์กลับไม่พูดถึงข้อเท็จจริงในส่วนนี้เลย ความผิดพลาดในเรื่องการรับรู้ข้อเท็จจริงที่คลาดเคลื่อนชนิด “หน้าแตก” แบบนี้ของอุเชนทร์ตั้งแต่หน้าแรกของบทความของเขา จึงทำให้บทความนี้ดูด้อยค่า และลดความน่าเชื่อถือทางวิชาการของอุเชนทร์ลงไปมาก ทั้งๆ ที่ส่วนที่เหลือของบทความนี้ของอุเชนทร์ มีความน่าสนใจทางวิชาการให้แลกเปลี่ยนกันในหลายๆ ประเด็น
ส่วนที่สอง ที่ผมไม่ค่อยเห็นด้วยนัก แต่ก็ยังคิดว่าเป็นมุมมองที่น่าสนใจ และน่าแลกเปลี่ยนกันของบทความนี้ของอุเชนทร์ก็คือ อุเชนทร์ได้พยายามนำ กรอบโครงความคิดเพื่อการปฏิบัติร่วมทางการเมือง (collective action frames) ที่นำเสนอโดยเดวิด สโนว์ (David Snow) และโรเบิร์ต เบนฟอร์ด (Robert Benford) ในบทความ “Framing Processes and Social Movements : An Overview and Assessment” (ปี 2000) มาประยุกต์ใช้ในการศึกษา และอธิบายกรอบโครงความคิดของพันธมิตรฯ
ข้อดี ของมุมมองแบบ “กรอบโครงความคิดเพื่อการปฏิบัติร่วมทางการเมือง” นั้นอยู่ที่ความพยายามในการแก้ไขข้อจำกัด 3 ประการในการศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ซึ่งได้แก่
(1) ข้อจำกัดในการละเลยการตีความปัญหาความเดือดร้อนคับข้องใจ (Neglect of Grivance Interpretation)
(2) ข้อจำกัดในการมองการมีส่วนร่วมแบบหยุดนิ่ง (Static View of Participation)
(3) ข้อจำกัดในการละเลยรายละเอียดเฉพาะของกระบวนการที่มีสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมที่หลากหลาย (Overgeneralization of Participation-Related Process)
แต่ถึงกระนั้น ผมก็ยังคิดว่า มุมมองแบบ “กรอบโครงความคิดเพื่อการปฏิบัติร่วมทางการเมือง” ที่อุเชนทร์นำมาใช้ศึกษาการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ นี้ มันยังไม่สมบูรณ์เพียงพอที่จะทำความเข้าใจ พลวัต (dynamism) ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ เพราะยังเป็นการศึกษาด้วยภาษา ‘มัน’ (‘It’ language) เท่านั้น แต่ขาดการศึกษาด้วยภาษา ‘ฉัน’ (‘I’ language) และภาษา ‘เรา’ (‘We’ language) ในการเข้าใจและเข้าถึงความจริง และพลวัตของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (ยังมีต่อ)
www.suvinai-dragon.com