ASTVผู้จัดการรายวัน - ประธานสมาคมธนาคารไทยผุดแนวคิดขอลดเงินสมทบที่ต้องจ่ายให้สถาบันประกันเงินฝาก 0.4% เพื่อลดต้นทุนและไปเพิ่มดอกเบี้ยเงินฝากหรือลดดอกเบี้ยเงินกู้แทน หวังบรรเทาภาระลูกค้า และเป็นส่วนที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ทางหนึ่ง ชี้สิ่งที่กังวลสุดขณะนี้คือความเชื่อมั่นหากถูกบั่นทอนต่อไปอาจมีผลต่อเงินไหลออกได้ ส่วนนโยบายรัฐหันกู้ในประเทศมากขึ้นจะส่งผลให้ธนาคารมียอดปล่อยสินเชื่อเพิ่มยันสภาพคล่องมีพอเพียงรองรับ ด้านแบงก์กรุงไทยไตรมาสแรกสินเชื่อโต 1.7%
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวนี้ไม่ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเท่าไหร่ก็ไม่ได้เป็นส่วนที่ช่วยให้สินเชื่อมีเพิ่มขึ้นและอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในปัจจุบันก็แทบจะลดลงอีกไม่ได้เนื่องจากมีอัตราที่ต่ำมากแล้ว อีกทั้งในขณะนี้สิ่งที่สำคัญคือต้องคำนึงถึงผู้ฝากเงินเพราะถือว่าเป็นผู้ที่นำเอาเงินส่วนของดอกเบี้ยที่ได้รับมาใช้จ่ายในระบบซึ่งหากผู้ฝากได้รับอัตราดอกเบี้ยที่น้อยก็อาจจะไม่นำเอาเงินออกมาใช้จ่ายก็จะมีผลกระทบต่อมายังเศรษฐกิจได้
ทั้งนี้จึงได้มีแนวคิดเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ฝากเงินด้วยการจะเสนอให้สถาบันประกันเงินฝากลดเงินสมทบในการเรียกเก็บจากธนาคารพาณิชย์ ซึ่งปัจจุบันเรียกเก็บอยู่ที่ 0.4% ของเงินฝาก ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์อยู่ที่ 0.5%ซึ่งเมื่อเทียบแล้วเงินสมทบดังกล่าวคิดเป็นถึง 80% ของเงินฝากดังนั้นหากสามารถลดเงินสมทบดังกล่าวได้ ก็จะทำให้มีต้นทุนที่ลดลงและธนาคารก็จะสามารถไปขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากได้ให้กับผู้ฝากได้หรือลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ก็ได้
"ในภาวะเศรษฐกิจที่แย่ถ้าเราช่วยผู้ฝาก หรืออะไรที่เราลดต้นทุนได้ก็จะเป็นส่วนที่ช่วยผู้ฝากและจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจที่ผ่านมาก็เคยพูดทางวาจาไปบ้างแล้ว แต่เรื่องก็เงียบไปส่วนการลดเงินสมทบดังกล่าวไม่ได้เป็นส่วนช่วยให้สินเชื่อเพิ่มแต่ก็คงจะเป็นการช่วยบรรเทาได้บ้างส่วนสเปรดของแบงก์พาณิชย์ตอนนี้ถือว่าแคบคงกว่าในช่วงเดียวกันของปีก่อนเพราะที่ผ่านมามีการปรับลดดอกเบี้ยมาตลอดซึ่งก็เป็นการลดตามโครงสร้าง"
นายอภิศักดิ์ ทั้งนี้สิ่งที่กังวลที่สุดในขณะนี้ก็คือความมั่นใจในทุกด้านโดยมีการเมืองเป็นตัวเริ่มต้น ถ้ามีความนิ่งก็จะเป็นส่วนให้รัฐได้ลงทุนในโครงการต่าง ๆ ก็จะทำให้เอกชนมีงานทำและต่อเนื่องไปยังภาคส่วนอื่นได้อีก ส่วนสภาพคล่องในตอนนี้ถือว่ายังมีอยู่มาก
แต่หากนักลงทุนยังคงขาดความเชื่อมั่นแล้วมีการถอนเงินลงทุนก็อาจทำให้เกิดการไหลออกของเงินและอาจมีผลต่อสภาพคล่องก็เป็นไปได้
สำหรับผลประกอบการของธนาคารในไตรมาสแรกของปีนี้มียอดสินเชื่อเพิ่มขึ้น 1.7% หรือเป็นเงินประมาณ 17,000 ล้านบาท ซึ่งหากสินเชื่อยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องก็เชื่อว่าในปีนี้จะสามารถปล่อยสินเชื่อได้ตามเป้าหมาย ส่วนการทำกำไรปีนี้ยอมรับว่าคงจะน้อยกว่าในปีที่ผ่านมา เพราะภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว อัตราการขยายตัวของสินเชื่อน้อย เกิดจากความต้องการสินเชี่อเพื่อการลงทุนของเอกชนลดลง หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันรายได้พิเศษ ที่มีกำไรจากการขายหุ้น หรือรายได้จากเงินลงทุน เช่น จากเดิมธนาคารมีเงินปันผลจากการลงทุนกองทุนวายุภักษ์ จากเดิมได้ปีละ 1,000 ล้านบาท มีเศรษฐกิจมีปัญหาเงินลงทุนดังกล่าวก็ต้องปรับตัวลดลง
ส่วนกรณีที่รัฐบาลมีนโยบายจะกู้เงินในประเทศประมาณ 90,000 ล้านบาท นั้น ธนาคารพาณิชย์สามารถรองรับกับเงินกู้ดังกล่าวได้ เนื่องจากปัจจุบันสภาพคล่องส่วนเกินทั้งระบบมีอยู่ 800,000-900,000 ล้านบาท ซึ่งสภาพคล่องส่วนเกินที่เหลือมีเพียงพอต่อการกู้เงินของรัฐบาล และรองรับการกู้เงินจากภาคเอกชนได้โดยไม่มีปัญหา อย่างไรก็ตามผลจากอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจที่กระทรวงการคลังมีการคาดการณ์ว่าปีนี้เศรษฐกิจจะติดลบ 5 % ซึ่งจะทำให้ผลจากการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐลดลง ในจุดนี้รัฐบาลจำเป็นต้องกู้เงินจากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น เพื่อนำเงินไปชดเชยกับรายได้ในการจัดเก็บที่ลดลง ส่งผลให้ยอดสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบเพิ่มขึ้น
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวนี้ไม่ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเท่าไหร่ก็ไม่ได้เป็นส่วนที่ช่วยให้สินเชื่อมีเพิ่มขึ้นและอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในปัจจุบันก็แทบจะลดลงอีกไม่ได้เนื่องจากมีอัตราที่ต่ำมากแล้ว อีกทั้งในขณะนี้สิ่งที่สำคัญคือต้องคำนึงถึงผู้ฝากเงินเพราะถือว่าเป็นผู้ที่นำเอาเงินส่วนของดอกเบี้ยที่ได้รับมาใช้จ่ายในระบบซึ่งหากผู้ฝากได้รับอัตราดอกเบี้ยที่น้อยก็อาจจะไม่นำเอาเงินออกมาใช้จ่ายก็จะมีผลกระทบต่อมายังเศรษฐกิจได้
ทั้งนี้จึงได้มีแนวคิดเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ฝากเงินด้วยการจะเสนอให้สถาบันประกันเงินฝากลดเงินสมทบในการเรียกเก็บจากธนาคารพาณิชย์ ซึ่งปัจจุบันเรียกเก็บอยู่ที่ 0.4% ของเงินฝาก ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์อยู่ที่ 0.5%ซึ่งเมื่อเทียบแล้วเงินสมทบดังกล่าวคิดเป็นถึง 80% ของเงินฝากดังนั้นหากสามารถลดเงินสมทบดังกล่าวได้ ก็จะทำให้มีต้นทุนที่ลดลงและธนาคารก็จะสามารถไปขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากได้ให้กับผู้ฝากได้หรือลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ก็ได้
"ในภาวะเศรษฐกิจที่แย่ถ้าเราช่วยผู้ฝาก หรืออะไรที่เราลดต้นทุนได้ก็จะเป็นส่วนที่ช่วยผู้ฝากและจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจที่ผ่านมาก็เคยพูดทางวาจาไปบ้างแล้ว แต่เรื่องก็เงียบไปส่วนการลดเงินสมทบดังกล่าวไม่ได้เป็นส่วนช่วยให้สินเชื่อเพิ่มแต่ก็คงจะเป็นการช่วยบรรเทาได้บ้างส่วนสเปรดของแบงก์พาณิชย์ตอนนี้ถือว่าแคบคงกว่าในช่วงเดียวกันของปีก่อนเพราะที่ผ่านมามีการปรับลดดอกเบี้ยมาตลอดซึ่งก็เป็นการลดตามโครงสร้าง"
นายอภิศักดิ์ ทั้งนี้สิ่งที่กังวลที่สุดในขณะนี้ก็คือความมั่นใจในทุกด้านโดยมีการเมืองเป็นตัวเริ่มต้น ถ้ามีความนิ่งก็จะเป็นส่วนให้รัฐได้ลงทุนในโครงการต่าง ๆ ก็จะทำให้เอกชนมีงานทำและต่อเนื่องไปยังภาคส่วนอื่นได้อีก ส่วนสภาพคล่องในตอนนี้ถือว่ายังมีอยู่มาก
แต่หากนักลงทุนยังคงขาดความเชื่อมั่นแล้วมีการถอนเงินลงทุนก็อาจทำให้เกิดการไหลออกของเงินและอาจมีผลต่อสภาพคล่องก็เป็นไปได้
สำหรับผลประกอบการของธนาคารในไตรมาสแรกของปีนี้มียอดสินเชื่อเพิ่มขึ้น 1.7% หรือเป็นเงินประมาณ 17,000 ล้านบาท ซึ่งหากสินเชื่อยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องก็เชื่อว่าในปีนี้จะสามารถปล่อยสินเชื่อได้ตามเป้าหมาย ส่วนการทำกำไรปีนี้ยอมรับว่าคงจะน้อยกว่าในปีที่ผ่านมา เพราะภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว อัตราการขยายตัวของสินเชื่อน้อย เกิดจากความต้องการสินเชี่อเพื่อการลงทุนของเอกชนลดลง หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันรายได้พิเศษ ที่มีกำไรจากการขายหุ้น หรือรายได้จากเงินลงทุน เช่น จากเดิมธนาคารมีเงินปันผลจากการลงทุนกองทุนวายุภักษ์ จากเดิมได้ปีละ 1,000 ล้านบาท มีเศรษฐกิจมีปัญหาเงินลงทุนดังกล่าวก็ต้องปรับตัวลดลง
ส่วนกรณีที่รัฐบาลมีนโยบายจะกู้เงินในประเทศประมาณ 90,000 ล้านบาท นั้น ธนาคารพาณิชย์สามารถรองรับกับเงินกู้ดังกล่าวได้ เนื่องจากปัจจุบันสภาพคล่องส่วนเกินทั้งระบบมีอยู่ 800,000-900,000 ล้านบาท ซึ่งสภาพคล่องส่วนเกินที่เหลือมีเพียงพอต่อการกู้เงินของรัฐบาล และรองรับการกู้เงินจากภาคเอกชนได้โดยไม่มีปัญหา อย่างไรก็ตามผลจากอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจที่กระทรวงการคลังมีการคาดการณ์ว่าปีนี้เศรษฐกิจจะติดลบ 5 % ซึ่งจะทำให้ผลจากการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐลดลง ในจุดนี้รัฐบาลจำเป็นต้องกู้เงินจากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น เพื่อนำเงินไปชดเชยกับรายได้ในการจัดเก็บที่ลดลง ส่งผลให้ยอดสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบเพิ่มขึ้น