น.ส.ดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) พิจารณาผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลกว่ายังมีความรุนแรงและมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งเป็นความเสี่ยงต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย จึงมีมติลดอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรหรืออาร์พี 1 วันที่เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 1.50 เป็นร้อยละ 1.25 ต่อปี โดยมีผลทันที
ขณะเดียวกัน กนง.ยังมีความเป็นห่วงการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เพราะหากยืดเยื้อก็จะกระทบความเชื่อมั่นของประชาชน ภาคเอกชน และอาจมีผลทำให้การลงทุนในโครงการต่างๆ ของรัฐบาลชะลอออกไป รวมทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามคาดการณ์ จะมีผลทำให้เศรษฐกิจไทยติดลบมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยวันที่ 22 เมษายนนี้ ธปท.จะแถลงปรับประมาณการเศรษฐกิจใหม่จากที่เคยคาดการณ์ว่า ปีนี้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จะเติบโตร้อยละ 0-2 แต่สถานการณ์ล่าสุดพบว่าจีดีพีติดลบแน่นอน แต่ยังเชื่อว่าจีดีพีไตรมาส 1 จะดีกว่าไตรมาส 4 ที่ติดลบร้อยละ 4.3 เนื่องจากมีสัญญาณเศรษฐกิจบางตัวดีขึ้น
น.ส.ดวงมณี กล่าวอีกว่า หลังจากที่ กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง 3 ครั้ง ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551 จนถึงเดือนมีนาคม 2552 รวมร้อยละ 2.25 ทำให้ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามนโยบายของ ธปท.ประมาณร้อยละ 70 โดยลดดอกเบี้ยเงินฝาก 12 เดือนร้อยละ 1.8 ดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 1.1 และการที่ กนง.มีมติลดดอกเบี้ยครั้งนี้อีกร้อยละ 0.25 ก็เป็นการฉีดยาแรง ซึ่งจะต้องประเมินว่าธนาคารพาณิชย์จะลดดอกเบี้ยตามลงเมื่อใด ซึ่งขึ้นอยู่กับต้นทุนของแต่ละธนาคาร สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 6.25 ดอกเบี้ยเงินกู้แท้จริงร้อยละ 6.4 ส่วนดอกเบี้ยเงินฝาก 12 เดือนอยู่ที่ร้อยละ 0.95 ส่วนดอกเบี้ยเงินฝากแท้จริงร้อยละ 0.54
ขณะเดียวกัน กนง.ยังมีความเป็นห่วงการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เพราะหากยืดเยื้อก็จะกระทบความเชื่อมั่นของประชาชน ภาคเอกชน และอาจมีผลทำให้การลงทุนในโครงการต่างๆ ของรัฐบาลชะลอออกไป รวมทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามคาดการณ์ จะมีผลทำให้เศรษฐกิจไทยติดลบมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยวันที่ 22 เมษายนนี้ ธปท.จะแถลงปรับประมาณการเศรษฐกิจใหม่จากที่เคยคาดการณ์ว่า ปีนี้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จะเติบโตร้อยละ 0-2 แต่สถานการณ์ล่าสุดพบว่าจีดีพีติดลบแน่นอน แต่ยังเชื่อว่าจีดีพีไตรมาส 1 จะดีกว่าไตรมาส 4 ที่ติดลบร้อยละ 4.3 เนื่องจากมีสัญญาณเศรษฐกิจบางตัวดีขึ้น
น.ส.ดวงมณี กล่าวอีกว่า หลังจากที่ กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง 3 ครั้ง ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551 จนถึงเดือนมีนาคม 2552 รวมร้อยละ 2.25 ทำให้ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามนโยบายของ ธปท.ประมาณร้อยละ 70 โดยลดดอกเบี้ยเงินฝาก 12 เดือนร้อยละ 1.8 ดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 1.1 และการที่ กนง.มีมติลดดอกเบี้ยครั้งนี้อีกร้อยละ 0.25 ก็เป็นการฉีดยาแรง ซึ่งจะต้องประเมินว่าธนาคารพาณิชย์จะลดดอกเบี้ยตามลงเมื่อใด ซึ่งขึ้นอยู่กับต้นทุนของแต่ละธนาคาร สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 6.25 ดอกเบี้ยเงินกู้แท้จริงร้อยละ 6.4 ส่วนดอกเบี้ยเงินฝาก 12 เดือนอยู่ที่ร้อยละ 0.95 ส่วนดอกเบี้ยเงินฝากแท้จริงร้อยละ 0.54