ASTVผู้จัดการรายวัน – “รศ.มานพ” ชี้รัฐบาลแก้ม็อบเสื้อแดงไม่มีเวลาแก้ปัญหาเศรษฐกิจ แนะเอกชนเอกซเรย์ตนเองด่วน สร้างสภาพคล่องอย่างหวังขายของได้ ไตรมาส 2 ผู้ประกอบการอ่วมแน่ เชื่อปัญหายื้อไปอีก 2 ปี พร้อมแนะกทม.เปิดตลาดนัดทั่วกรุงให้คนเมืองขายของถูก
รศ.มานพ พงศทัต อาจารย์พิเศษภาควิชาเคหะการ คณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สิ่งที่รัฐบาลต้องแก้ไขภายหลังจากเกิดเหตุก่อจลาจลของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นั้นคือการแก้ไขความไม่สงบทางการเมือง ควบคุมกลุ่มคนเสื้อแดงไม่ให้ก่อความวุ่นวายภายในประเทศและทำให้ประเทศไทยกลับเข้าสู่ภาวะความสงบอีกครั้ง ซึ่งไม่รู้ว่าต้องใช้เวลานานแค่ไหน ทำให้แทบจะไม่มีเวลามาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้เลย
อย่างไรก็ดี หากรัฐบาลต้องการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนในขณะนี้ คือ การที่สถาบันการเงินไม่ปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบ โดยเฉพาะ 5 ธุรกิจเสี่ยง คือ ท่องเที่ยว, ส่งออก, รถยนต์, อสังหาริมทรัพย์และสินเชื่อรายย่อย ที่นับว่าเป็นปัญหาสำคัญมาก เพราะเมื่อไม่ใส่เงินเข้าสู่ระบบแถมยังระงับเงินกู้ ที่ผู้ประกอบการต้องนำไปลงทุนต่อจนแล้วเสร็จ ทำให้เกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง สุดท้ายก็ต้องปิดกิจการ ซึ่งปัญหาหนี้เสียก็จะกลับไปสู่ธนาคารเช่นเดิม
อนึ่ง ก่อเกิดเหตุการณ์จลาจลโดยกลุ่มเสื้อแดง มีการคาดการณ์ว่า อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปี 52 คาดว่าจะติดลบ 0-2 % ล่าสุดศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้เลวร้ายจะติดลบ3.5- 6%
รศ.มานพ กล่าวว่า ในส่วนธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ควรคลายกฎเกณฑ์ในหลายข้อเพื่อผ่อนปรนการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน เช่นการกำหนดเกณฑ์หนี้เสีย และที่สำคัญควรยืดระยะเวลาบังคับใช้การกำกับดูแลเงินกองทุนตามเกณฑ์ บาเซิล 2 ที่มีความเข้มงวดมากขึ้น เพราะแม้ว่าสถาบันการเงินจะมีความพร้อมที่จะใช้มาตรฐานทางบัญชีดังกล่าว แต่สำหรับประชาชนแล้วในขณะนี้ ถือว่ายังไม่มีความพร้อมที่จะให้สถาบันต้องเข้มงวดกับการปล่อยสินเชื่อเช่นนั้น
ดังนั้นเพื่อเป็นทางออกในภาวะที่สถานการณ์ไม่ดี สถาบันการเงินควรยืดหนี้ออกไปอีกอย่างน้อย 1 ปี เพื่อต่อลมหายใจให้แก่ธุรกิจ และควรปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบ หากสถาบันการเงินมั่วแต่กลัวว่าจะเกิดหนี้เสียจนไม่ปล่อยสินเชื่อสุดท้ายเศรษฐกิจแย่ลูกค้าดีก็กลายเป็นหนี้เสียได้ในที่สุด ปัญหาคนว่างงานจะมีมากขึ้นจากเดิมคาดว่า 1.5 ล้านคน แต่หลังจากนี้จะไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน
สำหรับทางออกของนักธุรกิจ ต้องดูแลตนเองตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปทุกคนต้องรีบตรวจสอบการบริหารงานภายในของบริษัทตนเอง เอกซเรย์ทั้งหมด หากพบจุดบกพร่องให้รีบแก้ไข โดยเฉพาะปัญหาสภาพคล่อง เพราะอย่าคิดว่าเดี๋ยวก็ขายสินค้าได้และนำเงินมาใช้จ่ายหรือลงทุน เพราะการขายจะทำได้ยากมาก และจะเป็นเช่นนี้ไปอีกอย่างน้อย 2 ปี และเชื่อว่าปัญหาขาดสภาพคล่องในไทยจะเกิดภายในปีนี้ซึ่งเร็วขึ้นจากเดิมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีหน้า
“ตอนนี้ทุกคนต้องดูแลตัวเอง อย่าคิดว่าวิกฤตคือโอกาส เพราะโอกาสในปีนี้คือคนที่มีเงินเท่านั้นจึงจะแสวงหาโอกาสได้ แต่ตอนนี้คนเริ่มขาดเงินแบงก์ก็ไม่ปล่อยกู้การลงทุนก็ไม่เกิด” รศ.มานพ กล่าว
สำหรับภาคประชาชน คนรวยจะได้หยุดพักไปอีก 1 ปี ไม่ต้องทำอะไร ซึ่งคนกลุ่มนี้สามารถอยู่ได้โดยไม่ลำบากอาจเป็นโอกาสที่จะเดินทางท่องเที่ยว แต่สำหรับคนชั้นกลาง-ล่างลำบากแน่นนอน คนจะมีเงินในกระเป๋าน้อยลง คนบางส่วนจะต้องกลับไปสู่ภาคการเกษตรสำหรับคนชั้นล่างมีที่ดินทำกินในต่างจังหวัดอยู่แล้วทำให้ไม่มีปัญหาหากต้องกลับไปทำการเกษตร แต่สำหรับคนชั้นกลางส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินเพื่อการเกษตร แต่สามาถกลับไปเช่าที่ดินทำกินได้
ส่วนคนเมืองหรือคนในกรุงเทพมหานครควรทำธุรกิจเอสเอ็มอี ทำมาค้าขาย ผู้ว่าราชการกทม.จะต้องเปิดตลาดนัดขายของถูกทุกมุมเมือง เหมือนในช่วงหลักวิกฤตมีตลาดเปิดท้ายขายของ ประชาชนซื้อ-ขายกันเองแลกเปลี่ยนสินค้าเกิดเงินหมุนเวียนในที่สุด
รศ.มานพ พงศทัต อาจารย์พิเศษภาควิชาเคหะการ คณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สิ่งที่รัฐบาลต้องแก้ไขภายหลังจากเกิดเหตุก่อจลาจลของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นั้นคือการแก้ไขความไม่สงบทางการเมือง ควบคุมกลุ่มคนเสื้อแดงไม่ให้ก่อความวุ่นวายภายในประเทศและทำให้ประเทศไทยกลับเข้าสู่ภาวะความสงบอีกครั้ง ซึ่งไม่รู้ว่าต้องใช้เวลานานแค่ไหน ทำให้แทบจะไม่มีเวลามาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้เลย
อย่างไรก็ดี หากรัฐบาลต้องการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนในขณะนี้ คือ การที่สถาบันการเงินไม่ปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบ โดยเฉพาะ 5 ธุรกิจเสี่ยง คือ ท่องเที่ยว, ส่งออก, รถยนต์, อสังหาริมทรัพย์และสินเชื่อรายย่อย ที่นับว่าเป็นปัญหาสำคัญมาก เพราะเมื่อไม่ใส่เงินเข้าสู่ระบบแถมยังระงับเงินกู้ ที่ผู้ประกอบการต้องนำไปลงทุนต่อจนแล้วเสร็จ ทำให้เกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง สุดท้ายก็ต้องปิดกิจการ ซึ่งปัญหาหนี้เสียก็จะกลับไปสู่ธนาคารเช่นเดิม
อนึ่ง ก่อเกิดเหตุการณ์จลาจลโดยกลุ่มเสื้อแดง มีการคาดการณ์ว่า อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปี 52 คาดว่าจะติดลบ 0-2 % ล่าสุดศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้เลวร้ายจะติดลบ3.5- 6%
รศ.มานพ กล่าวว่า ในส่วนธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ควรคลายกฎเกณฑ์ในหลายข้อเพื่อผ่อนปรนการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน เช่นการกำหนดเกณฑ์หนี้เสีย และที่สำคัญควรยืดระยะเวลาบังคับใช้การกำกับดูแลเงินกองทุนตามเกณฑ์ บาเซิล 2 ที่มีความเข้มงวดมากขึ้น เพราะแม้ว่าสถาบันการเงินจะมีความพร้อมที่จะใช้มาตรฐานทางบัญชีดังกล่าว แต่สำหรับประชาชนแล้วในขณะนี้ ถือว่ายังไม่มีความพร้อมที่จะให้สถาบันต้องเข้มงวดกับการปล่อยสินเชื่อเช่นนั้น
ดังนั้นเพื่อเป็นทางออกในภาวะที่สถานการณ์ไม่ดี สถาบันการเงินควรยืดหนี้ออกไปอีกอย่างน้อย 1 ปี เพื่อต่อลมหายใจให้แก่ธุรกิจ และควรปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบ หากสถาบันการเงินมั่วแต่กลัวว่าจะเกิดหนี้เสียจนไม่ปล่อยสินเชื่อสุดท้ายเศรษฐกิจแย่ลูกค้าดีก็กลายเป็นหนี้เสียได้ในที่สุด ปัญหาคนว่างงานจะมีมากขึ้นจากเดิมคาดว่า 1.5 ล้านคน แต่หลังจากนี้จะไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน
สำหรับทางออกของนักธุรกิจ ต้องดูแลตนเองตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปทุกคนต้องรีบตรวจสอบการบริหารงานภายในของบริษัทตนเอง เอกซเรย์ทั้งหมด หากพบจุดบกพร่องให้รีบแก้ไข โดยเฉพาะปัญหาสภาพคล่อง เพราะอย่าคิดว่าเดี๋ยวก็ขายสินค้าได้และนำเงินมาใช้จ่ายหรือลงทุน เพราะการขายจะทำได้ยากมาก และจะเป็นเช่นนี้ไปอีกอย่างน้อย 2 ปี และเชื่อว่าปัญหาขาดสภาพคล่องในไทยจะเกิดภายในปีนี้ซึ่งเร็วขึ้นจากเดิมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีหน้า
“ตอนนี้ทุกคนต้องดูแลตัวเอง อย่าคิดว่าวิกฤตคือโอกาส เพราะโอกาสในปีนี้คือคนที่มีเงินเท่านั้นจึงจะแสวงหาโอกาสได้ แต่ตอนนี้คนเริ่มขาดเงินแบงก์ก็ไม่ปล่อยกู้การลงทุนก็ไม่เกิด” รศ.มานพ กล่าว
สำหรับภาคประชาชน คนรวยจะได้หยุดพักไปอีก 1 ปี ไม่ต้องทำอะไร ซึ่งคนกลุ่มนี้สามารถอยู่ได้โดยไม่ลำบากอาจเป็นโอกาสที่จะเดินทางท่องเที่ยว แต่สำหรับคนชั้นกลาง-ล่างลำบากแน่นนอน คนจะมีเงินในกระเป๋าน้อยลง คนบางส่วนจะต้องกลับไปสู่ภาคการเกษตรสำหรับคนชั้นล่างมีที่ดินทำกินในต่างจังหวัดอยู่แล้วทำให้ไม่มีปัญหาหากต้องกลับไปทำการเกษตร แต่สำหรับคนชั้นกลางส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินเพื่อการเกษตร แต่สามาถกลับไปเช่าที่ดินทำกินได้
ส่วนคนเมืองหรือคนในกรุงเทพมหานครควรทำธุรกิจเอสเอ็มอี ทำมาค้าขาย ผู้ว่าราชการกทม.จะต้องเปิดตลาดนัดขายของถูกทุกมุมเมือง เหมือนในช่วงหลักวิกฤตมีตลาดเปิดท้ายขายของ ประชาชนซื้อ-ขายกันเองแลกเปลี่ยนสินค้าเกิดเงินหมุนเวียนในที่สุด