ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ทหารไทยแนะเอสเอ็มอีระมัดระวังในการทำธุรกิจ หลังเศรษฐกิจส่อทรุดยาว 2 ปี เตรียมรุกสินเชื่อซัพพลายเชนเสริมสภาพคล่องคู่ค้าเสนออัตราดอกเบี้ยพิเศษ ตั้งเป้าสินเชื่อเอสเอ็มอีโต 5,000 ล้านบาท ด้านธุรกิจรายย่อยฟุ้งเตรียมเห็นความเปลี่ยนแปลงของสาขาในไตรมาส2 นี้ พร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยังไม่เคยมีในไทย
นายสยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB เปิดเผยว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอยู่ในขณะนี้ทางผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) จำเป็นที่จะต้องมีความระมัดระวังในการทำธุรกิจหรือการค้าขายมากขึ้น เนื่องจากในภาวะเช่นนี้อาจทำให้เกิดในเรื่องของหนี้การค้า ซึ่งมีปัญหามาจากการที่คู้ค้าชำระหนี้ได้ล่าช้า และจะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของผู้ประกอบการได้ โดยภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวนี้ส่วนตัวมองว่าจะลากยาวเป็นเวลาประมาณ 2 ปี
สำหรับผลกระทบของการที่ลูกหนี้ทางการค้าชำระหนี้ล่าช้าและส่งผลต่อผู้ประกอบการอาจจะมีปัญหาในเรื่องสภาพคล่องนั้น เป็นส่วนทำให้ทางผู้ประกอบการมีความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้น โดยธนาคารมีแนวคิดที่จะนำเสนอสินเชื่อสำหรับเครือข่ายธุรกิจ (ซัพพลายเชน) ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยเข้ามาเสริมสภาพคล่องให้กับคู่ค้าที่อาจประสบปัญหาอยู่ ซึ่งธนาคารสามารถเห็นประวัติทางการเงินจากลูกค้ารายใหญ่ซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารอยู่แล้ว โดยคู่ค้าส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจเอสเอ็มอี โดยธนาคารพร้อมที่จะให้การสนับสนุนสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ
“ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีตอนนี้จะต้องมีการปรับตัวมาก เพราะเศรษฐกิจชะลอตัว อีกทั้งยังมีเรื่องของการปรับลดต้นทุนการผลิต การควบคุมเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย รวมไปถึงเรื่องของการลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงาน ควรให้มีการทำงานเป็นกะ พร้อมทั้งหาช่องทางการตลาดใหม่ โดยเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบมากในช่วงนี้ คือ ธุรกิจเอสเอ็มอีที่ทำด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม ธุรกิจชิ้นส่วนและยานยนต์ และธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ โดยเอสเอ็มอีทั้ง 3 กลุ่มต้องประคองตัวและปรับตัวอย่างมาก”
นายสยาม กล่าวอีกว่า ในปีนี้ธนาคารตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อใหม่ให้กับธุรกิจเอสเอ็มอี 45,000 ล้านบาท เมื่อหักกับสินเชื่อชำระคืนจะทำให้มียอดสินเชื่อเอสเอ็มอีเพิ่มขึ้นสุทธิ 5,000 ล้านบาท จากสิ้นปีที่ผ่านมามียอดสินเชื่อเอสเอ็มอี 117,000 ล้านบาท เพิ่มเป็น 122,000 ล้านบาท
“ยอดสินเชื่อเอสเอ็มของธนาคารมีค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับธนาคารขนาดใหญ่ ขณะที่ฐานลูกค้ามีขนาดใหญ่ ทำให้ธนาคารมีความนสามารถในการขยายสินเชื่อเอสเอ็มอีได้อีกมาก”
สำหรับสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของธุรกิจเอสเอ็มอี ในปัจจุบันมีอยู่กว่า 10 % ของสินเชื่อเอสเอ็มอี ขณะที่เอ็นพีแอลที่เกิดขึ้นใหม่มีอัตราน้อยกว่า 1 % เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาธนาคารมีการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เอ็นพีแอลที่ค้างอยู่จะเป็นเอ็นพีแอลรายเดิม
ด้านนางกาญจนา โรจวทัญญู ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานส่งเสริมการตลาดลูกค้ารายย่อย ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า แผนงานในส่วนของธุรกิจรายย่อยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนรายได้ของธุรกิจรายย่อยเป็น 40 % นั้น จะเริ่มจากการดูแลในเรื่องของสาขา ซึ่งในขณะนี้ค่อนข้างมั่นใจว่าในช่วงไตรมาส 2 นี้จะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนของสาขาธนาคาร ซึ่งจะเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้ทื่ยังไม่เคยเป็นลูกค้าหรือเป็นลูกค้าของธนาคารอยู่แล้วให้ความสนใจกับธนาคารมากขึ้น ทั้งนี้ธนาคารจะมีการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ซึ่งยังไม่เคยมีในเมืองไทยและยังไม่เคยมีให้บริการในสาขามาก่อน
สำหรับการแข่งขันของธุรกิจรายย่อยในตลาดนั้น ยังคงมีค่อนข้างสูง โดยหลายธนาคารจะมีการทำตลาดที่ครบเครื่องมากขึ้น และมีรูปแบบที่หลากหลายขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องดีที่ผู้จะได้ประโยชน์มากที่สุดจากการแข่งขันคือผู้บริโภคนั่นเอง ในส่วนของธนาคารทหารไทยขณะนี้ก็มีความพร้อมที่จะแข่งขันอยู่แล้ว
นายสยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB เปิดเผยว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอยู่ในขณะนี้ทางผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) จำเป็นที่จะต้องมีความระมัดระวังในการทำธุรกิจหรือการค้าขายมากขึ้น เนื่องจากในภาวะเช่นนี้อาจทำให้เกิดในเรื่องของหนี้การค้า ซึ่งมีปัญหามาจากการที่คู้ค้าชำระหนี้ได้ล่าช้า และจะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของผู้ประกอบการได้ โดยภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวนี้ส่วนตัวมองว่าจะลากยาวเป็นเวลาประมาณ 2 ปี
สำหรับผลกระทบของการที่ลูกหนี้ทางการค้าชำระหนี้ล่าช้าและส่งผลต่อผู้ประกอบการอาจจะมีปัญหาในเรื่องสภาพคล่องนั้น เป็นส่วนทำให้ทางผู้ประกอบการมีความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้น โดยธนาคารมีแนวคิดที่จะนำเสนอสินเชื่อสำหรับเครือข่ายธุรกิจ (ซัพพลายเชน) ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยเข้ามาเสริมสภาพคล่องให้กับคู่ค้าที่อาจประสบปัญหาอยู่ ซึ่งธนาคารสามารถเห็นประวัติทางการเงินจากลูกค้ารายใหญ่ซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารอยู่แล้ว โดยคู่ค้าส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจเอสเอ็มอี โดยธนาคารพร้อมที่จะให้การสนับสนุนสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ
“ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีตอนนี้จะต้องมีการปรับตัวมาก เพราะเศรษฐกิจชะลอตัว อีกทั้งยังมีเรื่องของการปรับลดต้นทุนการผลิต การควบคุมเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย รวมไปถึงเรื่องของการลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงาน ควรให้มีการทำงานเป็นกะ พร้อมทั้งหาช่องทางการตลาดใหม่ โดยเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบมากในช่วงนี้ คือ ธุรกิจเอสเอ็มอีที่ทำด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม ธุรกิจชิ้นส่วนและยานยนต์ และธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ โดยเอสเอ็มอีทั้ง 3 กลุ่มต้องประคองตัวและปรับตัวอย่างมาก”
นายสยาม กล่าวอีกว่า ในปีนี้ธนาคารตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อใหม่ให้กับธุรกิจเอสเอ็มอี 45,000 ล้านบาท เมื่อหักกับสินเชื่อชำระคืนจะทำให้มียอดสินเชื่อเอสเอ็มอีเพิ่มขึ้นสุทธิ 5,000 ล้านบาท จากสิ้นปีที่ผ่านมามียอดสินเชื่อเอสเอ็มอี 117,000 ล้านบาท เพิ่มเป็น 122,000 ล้านบาท
“ยอดสินเชื่อเอสเอ็มของธนาคารมีค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับธนาคารขนาดใหญ่ ขณะที่ฐานลูกค้ามีขนาดใหญ่ ทำให้ธนาคารมีความนสามารถในการขยายสินเชื่อเอสเอ็มอีได้อีกมาก”
สำหรับสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของธุรกิจเอสเอ็มอี ในปัจจุบันมีอยู่กว่า 10 % ของสินเชื่อเอสเอ็มอี ขณะที่เอ็นพีแอลที่เกิดขึ้นใหม่มีอัตราน้อยกว่า 1 % เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาธนาคารมีการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เอ็นพีแอลที่ค้างอยู่จะเป็นเอ็นพีแอลรายเดิม
ด้านนางกาญจนา โรจวทัญญู ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานส่งเสริมการตลาดลูกค้ารายย่อย ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า แผนงานในส่วนของธุรกิจรายย่อยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนรายได้ของธุรกิจรายย่อยเป็น 40 % นั้น จะเริ่มจากการดูแลในเรื่องของสาขา ซึ่งในขณะนี้ค่อนข้างมั่นใจว่าในช่วงไตรมาส 2 นี้จะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนของสาขาธนาคาร ซึ่งจะเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้ทื่ยังไม่เคยเป็นลูกค้าหรือเป็นลูกค้าของธนาคารอยู่แล้วให้ความสนใจกับธนาคารมากขึ้น ทั้งนี้ธนาคารจะมีการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ซึ่งยังไม่เคยมีในเมืองไทยและยังไม่เคยมีให้บริการในสาขามาก่อน
สำหรับการแข่งขันของธุรกิจรายย่อยในตลาดนั้น ยังคงมีค่อนข้างสูง โดยหลายธนาคารจะมีการทำตลาดที่ครบเครื่องมากขึ้น และมีรูปแบบที่หลากหลายขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องดีที่ผู้จะได้ประโยชน์มากที่สุดจากการแข่งขันคือผู้บริโภคนั่นเอง ในส่วนของธนาคารทหารไทยขณะนี้ก็มีความพร้อมที่จะแข่งขันอยู่แล้ว