ASTVผู้จัดการรายวัน - ไทยพาณิชย์เผยแผนสินเชื่อเอสเอ็มอี ตั้งเป้าโต 5% และเน้นขยายฐานไปยังลูกค้ารายย่อยมากขึ้น พร้อมทั้งพยายามคุมเอ็นพีแอลไม่เกิน 5% จัดเจ้าหน้าที่ช่วยลูกค้าแก้ปัญหาสภาพคล่องก่อนจะเป็นหนี้เน่า และเพิ่มช่องทางทำรายได้จากค่าธรรมเนียมมากขึ้น
นายวิวัฒน์ กิตติพงศ์โกศล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่กลุ่มลูกค้าธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยว่า ปีนี้ภาพรวมแนวโน้มความต้องการสินเชื่อของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) จะชะลอตัวลง เนื่องจากผู้ประกอบการชะลอการลงทุนตามภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ต่างให้ความสำคัญกับการดูแล ลูกค้าอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ในส่วนของธนาคารยังให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่ภาคเอสเอ็มอีตามปกติ โดยในปีนี้ตั้งเป้าการเติบโตของสินเชื่ออยู่ที่ 5%เท่ากับอัตราการเติบโตของปีก่อน หรือ เติบโตประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ยอดสินเชื่อรวมปี 2552 ประมาณ 250,000 ล้านบาท
สำหรับในปีนี้จะขยายฐานไปยังลูกค้าขนาดเล็กมากขึ้น เพราะเป็นกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือจากธนาคารอีกมาก โดยการปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีปีนี้จะมาจากการขอสินเชื่อหมุนเวียนถึง 70% ซึ่งการปล่อยสินเชื่อในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมานั้นยังค่อนข้างทรงตัวจากปีก่อน และไม่ค่อยมีลูกค้ารายใหม่เข้ามาขอสินเชื่อ
ทั้งนี้ ธนาคารยังตั้งเป้าหมายที่จะควบคุมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของเอสเอ็มอีให้อยู่ที่ไม่เกิน 5% จากปัจจุบันอยู่ที่กว่า 3% โดยในช่วง 2 เดือนแรกก็มีรายใหม่เข้ามาบ้าง ซึ่งเป็นพวกธุรกิจโรงแรมที่ได้รับผลกระทบต่อเนื่องมาจากฤดูกาลท่องเที่ยวช่วงที่ผ่านมาแต่ตอนนี้เริ่มดีขึ้นแล้วโดยหากธนาคารสามารถเข้าไปช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาได้ทันลูกค้าก็จะไม่เป็นหนี้เอ็นพีแอล
สำหรับเอ็นพีแอลของธุรกิจเอสเอ็มอีกลุ่มลูกค้าที่ได้รับผลกระทบอันดับแรกๆ คือ ธุรกิจโรงแรม ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 51 ขณะที่เอสเอ็มอีทั่วไป สาเหตุที่เกิดหนี้เอ็นพีแอลมาจากคู่ค้าไม่ชำระค่าสินค้าหรือชำระหนี้ช้าลง ทำให้เกิดปัญหาเรื่องของสภาพคล่องธนาคารจะเน้นเข้าไปช่วยเหลือลูกค้าด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ยืดระยะเวลาชำระหนี้ เพื่อให้ลูกค้ามีสภาพคล่องในการทำธุรกิจต่อไป พร้อมกับเติมสภาพคล่องให้กับลูกค้า
"ขณะนี้ธุรกิจโรงแรมเริ่มดีขึ้น โดยโรงแรมที่เกาะสมุย ภูเก็ต และพังงา ยอดเข้าพักได้ปรับขึ้นมาเป็น 40-50 % สูงกว่าช่วงสิ้นปีที่อยู่ที่ 20 % ซึ่งตอนนี้การท่องเที่ยวเริ่มฟื้น ธุรกจเอสเอ็มอีที่มีปัญหาจะเป็นกลุ่มที่สร้างโรงแรมใหม่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ในกลุ่มนี้มีภาระในการผ่อนชำระเงินกู้มาก ดังนั้นธนาคารจึงช่วยปรับโครงสร้างหนี้ด้วยการยืดระยะเวลาการชำระหนี้"นายวิวัฒน์ กล่าวอีกว่า
ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตลอดปีนี้ทั้งปีจะอยู่ในระดับต่ำและการที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าเคลื่อนไหวอยู่ที่ 35-36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จะช่วยธุรกิจเอสเอ็มอีที่ประกอบธุรกิจส่งออก มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น นอกจากนี้การที่รัฐบาลช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอี ด้วยการสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และการค้ำประกันเงินกู้ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ทำให้ธุรกิจเอสเอ็มอีได้รับผลประโยชน์จากมาตรการดังกล่าว
สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีในปีนี้ธนาคาร จะหันมาเน้นทำรายได้จากค่าธรรมเนียมมากขึ้น โดยเฉพาะรายได้จากค่าธรรมเนียมธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งบริษัทคาดว่ารายได้ค่าธรรมเนียมจะเติบโต15% ได้ จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 10-15% ของรายได้รวมจากธุรกิจเอสเอ็มอี และในระยะเวลา 2 ปีข้างหน้า ตั้งเป้าว่าจะเพิ่มฐานรายได้ค่าธรรมเนียมของธุรกิจเอสเอ็มอีเป็น 30%
นายวิวัฒน์ กิตติพงศ์โกศล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่กลุ่มลูกค้าธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยว่า ปีนี้ภาพรวมแนวโน้มความต้องการสินเชื่อของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) จะชะลอตัวลง เนื่องจากผู้ประกอบการชะลอการลงทุนตามภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ต่างให้ความสำคัญกับการดูแล ลูกค้าอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ในส่วนของธนาคารยังให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่ภาคเอสเอ็มอีตามปกติ โดยในปีนี้ตั้งเป้าการเติบโตของสินเชื่ออยู่ที่ 5%เท่ากับอัตราการเติบโตของปีก่อน หรือ เติบโตประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ยอดสินเชื่อรวมปี 2552 ประมาณ 250,000 ล้านบาท
สำหรับในปีนี้จะขยายฐานไปยังลูกค้าขนาดเล็กมากขึ้น เพราะเป็นกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือจากธนาคารอีกมาก โดยการปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีปีนี้จะมาจากการขอสินเชื่อหมุนเวียนถึง 70% ซึ่งการปล่อยสินเชื่อในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมานั้นยังค่อนข้างทรงตัวจากปีก่อน และไม่ค่อยมีลูกค้ารายใหม่เข้ามาขอสินเชื่อ
ทั้งนี้ ธนาคารยังตั้งเป้าหมายที่จะควบคุมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของเอสเอ็มอีให้อยู่ที่ไม่เกิน 5% จากปัจจุบันอยู่ที่กว่า 3% โดยในช่วง 2 เดือนแรกก็มีรายใหม่เข้ามาบ้าง ซึ่งเป็นพวกธุรกิจโรงแรมที่ได้รับผลกระทบต่อเนื่องมาจากฤดูกาลท่องเที่ยวช่วงที่ผ่านมาแต่ตอนนี้เริ่มดีขึ้นแล้วโดยหากธนาคารสามารถเข้าไปช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาได้ทันลูกค้าก็จะไม่เป็นหนี้เอ็นพีแอล
สำหรับเอ็นพีแอลของธุรกิจเอสเอ็มอีกลุ่มลูกค้าที่ได้รับผลกระทบอันดับแรกๆ คือ ธุรกิจโรงแรม ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 51 ขณะที่เอสเอ็มอีทั่วไป สาเหตุที่เกิดหนี้เอ็นพีแอลมาจากคู่ค้าไม่ชำระค่าสินค้าหรือชำระหนี้ช้าลง ทำให้เกิดปัญหาเรื่องของสภาพคล่องธนาคารจะเน้นเข้าไปช่วยเหลือลูกค้าด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ยืดระยะเวลาชำระหนี้ เพื่อให้ลูกค้ามีสภาพคล่องในการทำธุรกิจต่อไป พร้อมกับเติมสภาพคล่องให้กับลูกค้า
"ขณะนี้ธุรกิจโรงแรมเริ่มดีขึ้น โดยโรงแรมที่เกาะสมุย ภูเก็ต และพังงา ยอดเข้าพักได้ปรับขึ้นมาเป็น 40-50 % สูงกว่าช่วงสิ้นปีที่อยู่ที่ 20 % ซึ่งตอนนี้การท่องเที่ยวเริ่มฟื้น ธุรกจเอสเอ็มอีที่มีปัญหาจะเป็นกลุ่มที่สร้างโรงแรมใหม่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ในกลุ่มนี้มีภาระในการผ่อนชำระเงินกู้มาก ดังนั้นธนาคารจึงช่วยปรับโครงสร้างหนี้ด้วยการยืดระยะเวลาการชำระหนี้"นายวิวัฒน์ กล่าวอีกว่า
ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตลอดปีนี้ทั้งปีจะอยู่ในระดับต่ำและการที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าเคลื่อนไหวอยู่ที่ 35-36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จะช่วยธุรกิจเอสเอ็มอีที่ประกอบธุรกิจส่งออก มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น นอกจากนี้การที่รัฐบาลช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอี ด้วยการสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และการค้ำประกันเงินกู้ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ทำให้ธุรกิจเอสเอ็มอีได้รับผลประโยชน์จากมาตรการดังกล่าว
สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีในปีนี้ธนาคาร จะหันมาเน้นทำรายได้จากค่าธรรมเนียมมากขึ้น โดยเฉพาะรายได้จากค่าธรรมเนียมธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งบริษัทคาดว่ารายได้ค่าธรรมเนียมจะเติบโต15% ได้ จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 10-15% ของรายได้รวมจากธุรกิจเอสเอ็มอี และในระยะเวลา 2 ปีข้างหน้า ตั้งเป้าว่าจะเพิ่มฐานรายได้ค่าธรรมเนียมของธุรกิจเอสเอ็มอีเป็น 30%