นายกฯชี้แจงครม. กรณี"แดงถ่อย" ล้มประชุมอาเซียน ก่อจลาจลในกทม. และมุ่งเอาชีวิตฝ่ายบริหาร จึงต้องประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พร้อมแจงทูตทั่วโลกให้เข้าใจ ยันทหารให้ความร่วมมือปราบม็อบ เผยยกปัฯหาการท่องเที่ยวเป็นวาระแห่งชาติ รอการประเมินผลก่อนยกเลิก
พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมครม.นัดพิเศษ เมื่อวานนี้ (17เม.ย.) ว่า ครม. มีมติ 4 ประเด็น เร่งด่วน โดยครม.รับทราบกรณีที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้รายงานลำดับสถานการณ์ และวิธีแก้ไขปัญหาการชุมนุม ในช่วงตั้งแต่การประชุมอาเซียน+3 และ+6 รวมทั้งการชุมนุมในกทม. ตั้งแต่วันที่ 6-11 เม.ย.โดยให้ความสำคัญว่าเหตุการณ์พัฒนาขึ้นระดับหนึ่ง จนถึงขั้นล้มการประชุมอาเซียน หลายเหตุการณ์ในกทม. และเหตุการณ์ที่กระทรวงมหาดไทย ในวันที่ 11 เม.ย. มีหลายเหตุการณ์ที่นำไปสู่ปัญหา
ทั้งนี้ครม.รับทราบ และชื่นชมยินดีที่นายกฯประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหา รวมทั้งยัง ห่วงใยนายกฯ และยังมีการกำชับให้ดูแลรักษาความปลอดภัยของนายกฯ ครม. บุคคลสำคัญ และประชาชนด้วย
นายปณิธาน กล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ ได้เล่าถึงการตัดสินใจในช่วงนั้นว่า สถานการณ์ลุกลาม และขยาย ตัว ผู้ชุมนุมใช้ความรุนแรงที่ชัดเจนว่าความปลอดภัยของครม. ผู้นำระดับประเทศ และประชาชนนั้นไม่ปลอดภัย มาตรการปกติใช้ไม่ได้ นายกฯ จึงตัดสินใจใช้อำนาจพิเศษคือ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยนายกฯแจกคำสั่งที่ดำเนินการไปแล้วให้ครม.รับทราบ และ อนุมัติด้วย
ทังนี้ นายกฯ กังวลกับสิ่งที่ทั่วโลกรับทราบการยกเลิกการประชุมอาเซียน+3 และ+6 เพราะผลกระทบต่างๆ ที่มาจากการไม่ได้ประชุมนั้นมีมาก ฉะนั้นนายกฯ ต้องพิจารณาว่าจะจัดประชุมที่ไหน เมื่อใดและอย่างไร นายกฯต้องทำงานหนักและดูแลการรักษาความปลอดภัยในช่วงนี้
ให้"เทพเทือก"ติดตามสถานการณ์
นายปณิธาน กล่าวว่า นายกฯระบุว่า เหตุการณ์ที่กระทรวงมหาดไทย คือจุดสำคัญจุดหนึ่งที่ชี้ชัดถึงการปองร้ายชีวิตผู้บริหารและเจ้าหน้าที่รัฐ จึงตัดสินใจใช้กฎหมายพิเศษ โดยการตัดสินใจนี้นายกฯ หารือร่วมกับ ครม.บางส่วน และผู้ปฏิบัติงานด้านความมั่นคง มีความเห็นสอดคล้องว่า ต้องดำเนินการแบบเคร่งครัด เข้มงวด โดยฝ่ายบริหารจะให้นโยบายและติดตามสถานการณ์ โดยนายกฯมอบให้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ รับผิดชอบ ส่วนฝ่ายปฏิบัติงานนั้นคือ กองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.)โดยมี พล.อ.ทรงกิตติ จักกะบาตร์ ผบ.สส. ทำหน้าที่ ผอ. กอฉ. โดยนายกฯได้ติดตามและตัดสินใจการแก้ปัญหาทุกระยะ และให้สื่อมวลชนติดตามการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ กอฉ.ทุกอย่าง
นอกจากนี้ จากนี้จะมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบในทุกเรื่องร้องเรียนด้วย และเรื่องร้องเรียนและข่าวลือต่างๆนั้น ตรวจสอบแล้วไม่เป็นความจริง และได้ชี้ แจงตอบโต้ไปทุกเรื่องแล้ว อีกทั้งยังจะมีการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก เหตุการณ์นี้ด้วย
ถกผลกระทบท่องเที่ยวก่อนเลิกพ.ร.ก.
นายปณิธาน กล่าวว่า ครม.มีมติเรื่องผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการลงทุน เพราะตอนนี้ ผลกระทบเรื่องเหล่านี้ยังอยู่ระหว่างการประเมิน แต่น่าจะมีผลกระทบพอสมควร การท่องเที่ยวนั้นตัวเลขนักท่องเที่ยวลดลงก่อนการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้ว แต่ทั้งนี้ ต้องรอตัวเลขทั้งหมดในฤดูกาลท่องเที่ยวด้วย นายกฯ จะหารือกับทุกฝ่ายเพื่อวางมาตรการเชิงรุก ในการกู้วิกฤต การสร้างภาพลักษณ์ การสร้างตลาดใหม่ โดยนายกฯ จะประชุมกลุ่มย่อยๆ แล้วมอบภารกิจให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปกำหนด นโยบายและมาตรการ ก่อนจะเสนอกลับมาให้ ครม.รับทราบ และอนุมัติต่อไปให้เร็วที่สุด
แจงทูตทั่วโลกยังไม่เลิกพ.ร.ก.
นอกจากนี้นายกฯ ยังได้มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงกับทูตทั่วโลกแล้ว ว่าในทุกระยะนั้นรัฐบาลดำเนินการอะไรไปบ้าง เพราะต่างประเทศกังวลกับการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และกังวลมากกับการใช้ทหาร โดยที่ไม่มอบให้ตำรวจดูแลสถานการณ์ นายกฯ บอกว่าเมื่อวันที่16 เม.ย. ได้เชิญเอกอัคคราชทูต 70 ประเทศ มารับฟังลำดับเหตุการณ์และเหตุผลในการใช้กำลังทหาร รวมทั้งเพิ่มความมั่นใจว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ในไทยอีก โดยวิธีการปัญหาการเมืองและการชุมนุมนั้นต้องใช้การปฏิรูปการเมือง และเรื่องท่องเที่ยว การลงทุน และเศรษฐกิจนั้น ก็หารือกันมากเช่นกัน
ครม.ยังไม่มีมติให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดย นายกฯ บอกว่าจะยกเลิกให้เร็วที่สุดเท่าที่สถานการณ์จะอำนวย เพราะตอนนี้การปลุกระดมประชาชนผ่านสื่อบางแขนงนั้นยังมีอยู่ ตามรายงานของ กอฉ. ฉะนั้นการควบคุมสถานการณ์ และการจับบุคคลตามหมายจับหลายคนนั้น ยังไม่เสร็จ สิ้น
รับรายงาน"สนธิ"ถูกลอบสังหาร
นอกจากนี้ นายกฯยังได้แจ้งกับครม.ว่าได้รับรายงาน การลอบสังหาร นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯในช่วงเช้ามืดแล้ว และกำชับหน่วยงานว่าให้ดูแลความปลอดภัยของ ครม. ผู้นำประชาสังคมและประชาชน หากมีการขอให้รัฐบาลดูแลความปอดลภัยนั้น ก็ให้แจ้งเข้ามา และขอให้มั่นใจว่าจะไม่มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก
นายกฯ บอกว่าหากไม่มีการปลุกระดม ก่อความไม่สงบ ใช้กำลังและความรุนแรงนั้น จะยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินได้ และเชื่อว่าคงใช้เวลาไม่นานนักในการสะสางเรื่องต่างๆ
เตรียมพิจารณากม.คุมการชุมนุม
นอกจากนี้ นายกฯได้รับฟังข้อสังเกตการทำงานของกองทัพ และหน่วยงานต่างๆ ที่ยืนยันว่าเป็น เอกภาพ และมีระบบ รวมทั้งแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ทั้งนี้ได้รับฟัง และเข้าใจความรู้สึกของประชาชนที่กังวล และไม่สบายใจกับ มาตรการในอดีต ที่เมื่อมีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉบับนี้แล้ว ไม่สำเร็จก็จะนำไป ปรับปรุงการทำงานในอนาคตให้ดีขึ้น และมาตรการในอนาคตนั้น นายกฯ บอกว่าจะมีการ นำร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะมาพิจารณา และให้เปรียบเทียบกับ ต่างประเทศด้วย โดยต้องไม่ลิดรอนสิทธิของประชาชน
ทั้งนี้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ต้องมีการลงรายละเอียด และแยกแยะการชุมนุมลักษณะ ต่างๆด้วย เช่นการชุมนุมที่ล้มล้างระบบ คุกคามผู้นำระหว่างประเทศ ปองร้ายชีวิตนายกฯ ครม. และประชาชนนั้น ร่างกฎหมายฉบับนี้ต้องมีบทลงโทษเป็นการเฉพาะ และมอบให้กฤษฎีกาไปช่วยพิจารณารายละเอียด
ต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉินพื้นที่ 3จว.ใต้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุม ครม. นัดพิเศษว่า มีเรื่องหลักๆ 2 เรือง คือเรื่อง พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 19 เม.ย.นี้ จึงได้มีการพิจารณาต่ออายุ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ทำผลการประเมินมา โดยเฉพาะการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้โดยรวม ครม.มีความเห็นว่ายังมีความจำเป็นในการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินใน 3 จังหวัดภาคใต้ต่อไปอีกครั้ง ส่วนอีกประเด็นที่ครม.พิจารณาคือ เรื่องที่กระทรวงการคลัง ขอก็ยืมเงิน ในกรณีที่รายได้จัดเก็บต่ำกว่าประมาณการ ตรงนี้ รมว.คลัง จะเป็นผู้ให้รายละเอียดต่อไป
เร่งฟื้นฟูด้านการท่องเที่ยว
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลังการพิจารณาเรื่องในวาระทั้งสองเรื่องเสร็จสิ้น ได้มีการประชุมภายในที่มีเฉพาะครม. เลขาธิการครม. ผู้แทนเลขากฤษฏีกา โดยมีการประมวลสถานการณ์เหตุการณ์ทั้งหมด ส่วนประเด็นข้อสงสัย ก็ได้มีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกัน ถือได้ว่าขณะนี้ ครม.ทุกท่าน รับทราบเหตุการณ์และการตัดสินใจทั้งหลาย ที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
นอกจากนี้ ประเด็นที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการคือเรื่องการเยียวยา ซึ่งจะใช้กลไก และหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 51 ในเหตุการณ์ 7 ต.ค. 51 ตนได้กำชับให้เร่งดำเนินการเรื่องเยียวยา ไม่ว่าจะเป็นประชาชน เจ้าหน้าที่ เรื่องงบประมาณเชื่อว่ามีอยู่พร้อมแล้ว ส่วนผลกระทบเรื่องเศรษฐกิจหนัก ที่สุดคือภาคท่องเที่ยว ฉะนั้น ครม.เห็นชอบว่า งานด้านการท่องเที่ยวต่อจากนี้ ต้องถือเป็นระเบียบวาระแห่งชาติ และทางรมว.ท่องเที่ยวฯ จะได้ประมวลมาตรการ ต่างๆเพื่อเร่งฟื้นฟู เรื่องนี้
ชี้แจงความจำเป็นคงพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สำหรับการตัดสินใจที่จะใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในพื้นที่กทม.และปริมณฑลนั้น หลักที่ ครม.และตนจะใช้คือจะพยายามให้สั้นที่สุด แต่จะต้องดูความจำเป็นในการรักษาความสงบเรียบร้อยให้กลับคืนมาอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัญหาที่พบเมื่อสัปดาห์ที่แล้วอาจจะไม่ปรากฎในขณะนี้ ก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการ และอำนาจบางส่วนของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในการดูแลปรับสถานการณ์เข้าอีกระยะ ฉะนั้นขณะนี้ยังไม่มีการยกเลิก ยืนยันจะพิจารณาตามความเหมาะสมต่อไป
ทั้งนี้เพื่อให้มีรูปธรรมในการเดินหน้าแก้ไขปัญหา จะพยายามเข้าไปให้ถึงต้นเหตุของความขัดแย้งในสังคมให้ได้ มี 3 เรื่อง ที่จะต้องดำเนินการต่อไป โดยประเด็นแรก ในแง่การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตนได้ยืนยันมาตลอดในแง่ไม่มีการสูญเสีย ชีวิต ตอนนี้ยังมีความพยายามที่จะเผยแพร่ข่าวสารอยู่ เรื่องนี้จะต้องมีการชี้แจงต่อไป และรัฐบาลได้ตัดสินใจขอเปิดสภา เพื่อให้ใครก็ตามที่มีข้อมูลและยังมีข้อสงสัย เราพร้อมที่จะรับฟังตรวจสอบ และชี้แจง การประชุมสภาสัปดาห์หน้า ในวันพุธ และพฤหัสบดี ตนถือว่าโอกาสนี้ จะทำความโปร่งใสให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยที่รัฐบาลพร้อมที่จะรับข้อมูลต่างๆ ด้วย
ส่วนเงื่อนไขทางการเมือง หลังจากที่ผ่านมายังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกับฝ่ายค้าน ในการเดินหน้าปฏิรูปการเมือง หรือแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรารมนูญได้ วันนี้ได้ขอให้รัฐมนตรีทุกท่าน ซึ่งสังกัดพรรคการเมืองต่างๆ ข่วยกันเร่งรัดกระบวนการที่จะทำให้ทุกพรรคการเมือง สามารถมาพูดคุยและตกลงถึงแนวทางในการเร่งรัด ประเด็นเหล่านี้ได้ เพื่อเป็นการปลดชนวนความขัดแย้งอีกส่วนหนึ่ง
ส่วนข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหาว่ามีการใช้ 2 มาตรฐาน หรือไม่ ตรงนี้จะมีการชี้แจงถึงบทบาทของหน่วยงานต่างๆไปจนถึงกระบวนการยุติธรรม ซึ่งขอยืนยันว่า จะไม่มีการใช้ 2 มาตรฐาน บางทีอาจมีข้อสงสัยว่าทำไมปัจจุบันมีการออกหมายจับ แต่คดีในอดีต ไม่ออกหมายจับ ตรงนี้ขอเรียนว่า ความจำเป็นที่จะต้องออกหมายจับ หรือคัดค้านการประกันตัว หรือ ใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินในขณะนี้ เนื่องจากมีเหตุที่เชื่อได้ว่า ถ้าไม่ดำเนินเช่นนี้ บุคคลที่เกี่ยวข้องจะไปดำเนินการในลักษณะที่เป็นปัญหากับความมั่นคง ถ้าผู้ใดที่เกี่ยวข้องกับคดีความต่างๆในปีที่แล้ว มีพฤติกรรมแบบเดียวกัน ยืนยันว่าจะใช้มาตรฐานเดียวกัน
แจงทหารร่วมมือปราบม็อบ
"มีประเด็นสงสัยว่า ทำไมครั้งนี้ทางกองทัพจึงเข้ามาดำเนินการ ในขณะที่ปีที่แล้วมีอุปสรรค ขอเรียนว่าการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ปีที่แล้วมี 2 ครั้ง ครั้งหนึ่งมอบให้ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ อดีต รมว.มหาดไทย และหนักไปทางการใช้ตำรวจ ซึ่งเป็นเรื่องการตัดสินใจในการบริหารงาน อีกครั้งหนึ่งมีการตั้ง ผบ.ทบ. ซึ่งมีประเด็นว่า ครั้งนี้ไม่ได้ตั้ง แต่มีการทำงาน ผมเรียนว่าปัญหาจริงๆ อยู่ตรงนี้ คือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้กำกับปฏิบัติงานตาม พ.ร.ก. จริงๆ แล้วเป็นผู้ตัดสินใจในเชิงนโยบาย การที่ผมมอบให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ และแน่นอน ผมต้องรับผิดชอบด้วย อยู่ตรงนั้นเท่ากับเป็นการคุ้มครองให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ทหาร หรือข้าราชการ ส่วนอื่นมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่า ถ้าปฏิบัติไปแล้วมีปัญหาอะไร พวกเราต้องรับผิดชอบ หมายถึง ฝ่ายการเมือง แต่ถ้าไปตั้งท่านเหล่านั้นโดยตรง ก็เหมือนกับเป็นการให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามการตัดสินใจของท่าน ซึ่งเป็นการตัดสินใจในเชิงนโยบาย จึงเป็นอุปสรรค นี่ คือความแตกต่าง" นายกรัฐมนตรี กล่าว
พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมครม.นัดพิเศษ เมื่อวานนี้ (17เม.ย.) ว่า ครม. มีมติ 4 ประเด็น เร่งด่วน โดยครม.รับทราบกรณีที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้รายงานลำดับสถานการณ์ และวิธีแก้ไขปัญหาการชุมนุม ในช่วงตั้งแต่การประชุมอาเซียน+3 และ+6 รวมทั้งการชุมนุมในกทม. ตั้งแต่วันที่ 6-11 เม.ย.โดยให้ความสำคัญว่าเหตุการณ์พัฒนาขึ้นระดับหนึ่ง จนถึงขั้นล้มการประชุมอาเซียน หลายเหตุการณ์ในกทม. และเหตุการณ์ที่กระทรวงมหาดไทย ในวันที่ 11 เม.ย. มีหลายเหตุการณ์ที่นำไปสู่ปัญหา
ทั้งนี้ครม.รับทราบ และชื่นชมยินดีที่นายกฯประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหา รวมทั้งยัง ห่วงใยนายกฯ และยังมีการกำชับให้ดูแลรักษาความปลอดภัยของนายกฯ ครม. บุคคลสำคัญ และประชาชนด้วย
นายปณิธาน กล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ ได้เล่าถึงการตัดสินใจในช่วงนั้นว่า สถานการณ์ลุกลาม และขยาย ตัว ผู้ชุมนุมใช้ความรุนแรงที่ชัดเจนว่าความปลอดภัยของครม. ผู้นำระดับประเทศ และประชาชนนั้นไม่ปลอดภัย มาตรการปกติใช้ไม่ได้ นายกฯ จึงตัดสินใจใช้อำนาจพิเศษคือ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยนายกฯแจกคำสั่งที่ดำเนินการไปแล้วให้ครม.รับทราบ และ อนุมัติด้วย
ทังนี้ นายกฯ กังวลกับสิ่งที่ทั่วโลกรับทราบการยกเลิกการประชุมอาเซียน+3 และ+6 เพราะผลกระทบต่างๆ ที่มาจากการไม่ได้ประชุมนั้นมีมาก ฉะนั้นนายกฯ ต้องพิจารณาว่าจะจัดประชุมที่ไหน เมื่อใดและอย่างไร นายกฯต้องทำงานหนักและดูแลการรักษาความปลอดภัยในช่วงนี้
ให้"เทพเทือก"ติดตามสถานการณ์
นายปณิธาน กล่าวว่า นายกฯระบุว่า เหตุการณ์ที่กระทรวงมหาดไทย คือจุดสำคัญจุดหนึ่งที่ชี้ชัดถึงการปองร้ายชีวิตผู้บริหารและเจ้าหน้าที่รัฐ จึงตัดสินใจใช้กฎหมายพิเศษ โดยการตัดสินใจนี้นายกฯ หารือร่วมกับ ครม.บางส่วน และผู้ปฏิบัติงานด้านความมั่นคง มีความเห็นสอดคล้องว่า ต้องดำเนินการแบบเคร่งครัด เข้มงวด โดยฝ่ายบริหารจะให้นโยบายและติดตามสถานการณ์ โดยนายกฯมอบให้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ รับผิดชอบ ส่วนฝ่ายปฏิบัติงานนั้นคือ กองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.)โดยมี พล.อ.ทรงกิตติ จักกะบาตร์ ผบ.สส. ทำหน้าที่ ผอ. กอฉ. โดยนายกฯได้ติดตามและตัดสินใจการแก้ปัญหาทุกระยะ และให้สื่อมวลชนติดตามการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ กอฉ.ทุกอย่าง
นอกจากนี้ จากนี้จะมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบในทุกเรื่องร้องเรียนด้วย และเรื่องร้องเรียนและข่าวลือต่างๆนั้น ตรวจสอบแล้วไม่เป็นความจริง และได้ชี้ แจงตอบโต้ไปทุกเรื่องแล้ว อีกทั้งยังจะมีการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก เหตุการณ์นี้ด้วย
ถกผลกระทบท่องเที่ยวก่อนเลิกพ.ร.ก.
นายปณิธาน กล่าวว่า ครม.มีมติเรื่องผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการลงทุน เพราะตอนนี้ ผลกระทบเรื่องเหล่านี้ยังอยู่ระหว่างการประเมิน แต่น่าจะมีผลกระทบพอสมควร การท่องเที่ยวนั้นตัวเลขนักท่องเที่ยวลดลงก่อนการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้ว แต่ทั้งนี้ ต้องรอตัวเลขทั้งหมดในฤดูกาลท่องเที่ยวด้วย นายกฯ จะหารือกับทุกฝ่ายเพื่อวางมาตรการเชิงรุก ในการกู้วิกฤต การสร้างภาพลักษณ์ การสร้างตลาดใหม่ โดยนายกฯ จะประชุมกลุ่มย่อยๆ แล้วมอบภารกิจให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปกำหนด นโยบายและมาตรการ ก่อนจะเสนอกลับมาให้ ครม.รับทราบ และอนุมัติต่อไปให้เร็วที่สุด
แจงทูตทั่วโลกยังไม่เลิกพ.ร.ก.
นอกจากนี้นายกฯ ยังได้มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงกับทูตทั่วโลกแล้ว ว่าในทุกระยะนั้นรัฐบาลดำเนินการอะไรไปบ้าง เพราะต่างประเทศกังวลกับการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และกังวลมากกับการใช้ทหาร โดยที่ไม่มอบให้ตำรวจดูแลสถานการณ์ นายกฯ บอกว่าเมื่อวันที่16 เม.ย. ได้เชิญเอกอัคคราชทูต 70 ประเทศ มารับฟังลำดับเหตุการณ์และเหตุผลในการใช้กำลังทหาร รวมทั้งเพิ่มความมั่นใจว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ในไทยอีก โดยวิธีการปัญหาการเมืองและการชุมนุมนั้นต้องใช้การปฏิรูปการเมือง และเรื่องท่องเที่ยว การลงทุน และเศรษฐกิจนั้น ก็หารือกันมากเช่นกัน
ครม.ยังไม่มีมติให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดย นายกฯ บอกว่าจะยกเลิกให้เร็วที่สุดเท่าที่สถานการณ์จะอำนวย เพราะตอนนี้การปลุกระดมประชาชนผ่านสื่อบางแขนงนั้นยังมีอยู่ ตามรายงานของ กอฉ. ฉะนั้นการควบคุมสถานการณ์ และการจับบุคคลตามหมายจับหลายคนนั้น ยังไม่เสร็จ สิ้น
รับรายงาน"สนธิ"ถูกลอบสังหาร
นอกจากนี้ นายกฯยังได้แจ้งกับครม.ว่าได้รับรายงาน การลอบสังหาร นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯในช่วงเช้ามืดแล้ว และกำชับหน่วยงานว่าให้ดูแลความปลอดภัยของ ครม. ผู้นำประชาสังคมและประชาชน หากมีการขอให้รัฐบาลดูแลความปอดลภัยนั้น ก็ให้แจ้งเข้ามา และขอให้มั่นใจว่าจะไม่มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก
นายกฯ บอกว่าหากไม่มีการปลุกระดม ก่อความไม่สงบ ใช้กำลังและความรุนแรงนั้น จะยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินได้ และเชื่อว่าคงใช้เวลาไม่นานนักในการสะสางเรื่องต่างๆ
เตรียมพิจารณากม.คุมการชุมนุม
นอกจากนี้ นายกฯได้รับฟังข้อสังเกตการทำงานของกองทัพ และหน่วยงานต่างๆ ที่ยืนยันว่าเป็น เอกภาพ และมีระบบ รวมทั้งแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ทั้งนี้ได้รับฟัง และเข้าใจความรู้สึกของประชาชนที่กังวล และไม่สบายใจกับ มาตรการในอดีต ที่เมื่อมีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉบับนี้แล้ว ไม่สำเร็จก็จะนำไป ปรับปรุงการทำงานในอนาคตให้ดีขึ้น และมาตรการในอนาคตนั้น นายกฯ บอกว่าจะมีการ นำร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะมาพิจารณา และให้เปรียบเทียบกับ ต่างประเทศด้วย โดยต้องไม่ลิดรอนสิทธิของประชาชน
ทั้งนี้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ต้องมีการลงรายละเอียด และแยกแยะการชุมนุมลักษณะ ต่างๆด้วย เช่นการชุมนุมที่ล้มล้างระบบ คุกคามผู้นำระหว่างประเทศ ปองร้ายชีวิตนายกฯ ครม. และประชาชนนั้น ร่างกฎหมายฉบับนี้ต้องมีบทลงโทษเป็นการเฉพาะ และมอบให้กฤษฎีกาไปช่วยพิจารณารายละเอียด
ต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉินพื้นที่ 3จว.ใต้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุม ครม. นัดพิเศษว่า มีเรื่องหลักๆ 2 เรือง คือเรื่อง พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 19 เม.ย.นี้ จึงได้มีการพิจารณาต่ออายุ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ทำผลการประเมินมา โดยเฉพาะการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้โดยรวม ครม.มีความเห็นว่ายังมีความจำเป็นในการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินใน 3 จังหวัดภาคใต้ต่อไปอีกครั้ง ส่วนอีกประเด็นที่ครม.พิจารณาคือ เรื่องที่กระทรวงการคลัง ขอก็ยืมเงิน ในกรณีที่รายได้จัดเก็บต่ำกว่าประมาณการ ตรงนี้ รมว.คลัง จะเป็นผู้ให้รายละเอียดต่อไป
เร่งฟื้นฟูด้านการท่องเที่ยว
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลังการพิจารณาเรื่องในวาระทั้งสองเรื่องเสร็จสิ้น ได้มีการประชุมภายในที่มีเฉพาะครม. เลขาธิการครม. ผู้แทนเลขากฤษฏีกา โดยมีการประมวลสถานการณ์เหตุการณ์ทั้งหมด ส่วนประเด็นข้อสงสัย ก็ได้มีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกัน ถือได้ว่าขณะนี้ ครม.ทุกท่าน รับทราบเหตุการณ์และการตัดสินใจทั้งหลาย ที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
นอกจากนี้ ประเด็นที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการคือเรื่องการเยียวยา ซึ่งจะใช้กลไก และหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 51 ในเหตุการณ์ 7 ต.ค. 51 ตนได้กำชับให้เร่งดำเนินการเรื่องเยียวยา ไม่ว่าจะเป็นประชาชน เจ้าหน้าที่ เรื่องงบประมาณเชื่อว่ามีอยู่พร้อมแล้ว ส่วนผลกระทบเรื่องเศรษฐกิจหนัก ที่สุดคือภาคท่องเที่ยว ฉะนั้น ครม.เห็นชอบว่า งานด้านการท่องเที่ยวต่อจากนี้ ต้องถือเป็นระเบียบวาระแห่งชาติ และทางรมว.ท่องเที่ยวฯ จะได้ประมวลมาตรการ ต่างๆเพื่อเร่งฟื้นฟู เรื่องนี้
ชี้แจงความจำเป็นคงพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สำหรับการตัดสินใจที่จะใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในพื้นที่กทม.และปริมณฑลนั้น หลักที่ ครม.และตนจะใช้คือจะพยายามให้สั้นที่สุด แต่จะต้องดูความจำเป็นในการรักษาความสงบเรียบร้อยให้กลับคืนมาอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัญหาที่พบเมื่อสัปดาห์ที่แล้วอาจจะไม่ปรากฎในขณะนี้ ก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการ และอำนาจบางส่วนของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในการดูแลปรับสถานการณ์เข้าอีกระยะ ฉะนั้นขณะนี้ยังไม่มีการยกเลิก ยืนยันจะพิจารณาตามความเหมาะสมต่อไป
ทั้งนี้เพื่อให้มีรูปธรรมในการเดินหน้าแก้ไขปัญหา จะพยายามเข้าไปให้ถึงต้นเหตุของความขัดแย้งในสังคมให้ได้ มี 3 เรื่อง ที่จะต้องดำเนินการต่อไป โดยประเด็นแรก ในแง่การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตนได้ยืนยันมาตลอดในแง่ไม่มีการสูญเสีย ชีวิต ตอนนี้ยังมีความพยายามที่จะเผยแพร่ข่าวสารอยู่ เรื่องนี้จะต้องมีการชี้แจงต่อไป และรัฐบาลได้ตัดสินใจขอเปิดสภา เพื่อให้ใครก็ตามที่มีข้อมูลและยังมีข้อสงสัย เราพร้อมที่จะรับฟังตรวจสอบ และชี้แจง การประชุมสภาสัปดาห์หน้า ในวันพุธ และพฤหัสบดี ตนถือว่าโอกาสนี้ จะทำความโปร่งใสให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยที่รัฐบาลพร้อมที่จะรับข้อมูลต่างๆ ด้วย
ส่วนเงื่อนไขทางการเมือง หลังจากที่ผ่านมายังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกับฝ่ายค้าน ในการเดินหน้าปฏิรูปการเมือง หรือแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรารมนูญได้ วันนี้ได้ขอให้รัฐมนตรีทุกท่าน ซึ่งสังกัดพรรคการเมืองต่างๆ ข่วยกันเร่งรัดกระบวนการที่จะทำให้ทุกพรรคการเมือง สามารถมาพูดคุยและตกลงถึงแนวทางในการเร่งรัด ประเด็นเหล่านี้ได้ เพื่อเป็นการปลดชนวนความขัดแย้งอีกส่วนหนึ่ง
ส่วนข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหาว่ามีการใช้ 2 มาตรฐาน หรือไม่ ตรงนี้จะมีการชี้แจงถึงบทบาทของหน่วยงานต่างๆไปจนถึงกระบวนการยุติธรรม ซึ่งขอยืนยันว่า จะไม่มีการใช้ 2 มาตรฐาน บางทีอาจมีข้อสงสัยว่าทำไมปัจจุบันมีการออกหมายจับ แต่คดีในอดีต ไม่ออกหมายจับ ตรงนี้ขอเรียนว่า ความจำเป็นที่จะต้องออกหมายจับ หรือคัดค้านการประกันตัว หรือ ใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินในขณะนี้ เนื่องจากมีเหตุที่เชื่อได้ว่า ถ้าไม่ดำเนินเช่นนี้ บุคคลที่เกี่ยวข้องจะไปดำเนินการในลักษณะที่เป็นปัญหากับความมั่นคง ถ้าผู้ใดที่เกี่ยวข้องกับคดีความต่างๆในปีที่แล้ว มีพฤติกรรมแบบเดียวกัน ยืนยันว่าจะใช้มาตรฐานเดียวกัน
แจงทหารร่วมมือปราบม็อบ
"มีประเด็นสงสัยว่า ทำไมครั้งนี้ทางกองทัพจึงเข้ามาดำเนินการ ในขณะที่ปีที่แล้วมีอุปสรรค ขอเรียนว่าการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ปีที่แล้วมี 2 ครั้ง ครั้งหนึ่งมอบให้ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ อดีต รมว.มหาดไทย และหนักไปทางการใช้ตำรวจ ซึ่งเป็นเรื่องการตัดสินใจในการบริหารงาน อีกครั้งหนึ่งมีการตั้ง ผบ.ทบ. ซึ่งมีประเด็นว่า ครั้งนี้ไม่ได้ตั้ง แต่มีการทำงาน ผมเรียนว่าปัญหาจริงๆ อยู่ตรงนี้ คือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้กำกับปฏิบัติงานตาม พ.ร.ก. จริงๆ แล้วเป็นผู้ตัดสินใจในเชิงนโยบาย การที่ผมมอบให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ และแน่นอน ผมต้องรับผิดชอบด้วย อยู่ตรงนั้นเท่ากับเป็นการคุ้มครองให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ทหาร หรือข้าราชการ ส่วนอื่นมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่า ถ้าปฏิบัติไปแล้วมีปัญหาอะไร พวกเราต้องรับผิดชอบ หมายถึง ฝ่ายการเมือง แต่ถ้าไปตั้งท่านเหล่านั้นโดยตรง ก็เหมือนกับเป็นการให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามการตัดสินใจของท่าน ซึ่งเป็นการตัดสินใจในเชิงนโยบาย จึงเป็นอุปสรรค นี่ คือความแตกต่าง" นายกรัฐมนตรี กล่าว